220 likes | 607 Views
โครงการส่งเสริมและขยายผล การลดต้นทุนการผลิตข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี. นางอ้อมใจ แตรสังข์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุพรรณบุรี. โดย. กรณีตัวอย่างของจังหวัดสุพรรณบุรี
E N D
โครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวจังหวัดสุพรรณบุรีโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวจังหวัดสุพรรณบุรี นางอ้อมใจ แตรสังข์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุพรรณบุรี โดย
กรณีตัวอย่างของจังหวัดสุพรรณบุรีกรณีตัวอย่างของจังหวัดสุพรรณบุรี • สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินโครงการ ณ ม.4 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โดยมี นายพิชิต เกียรติสมพร บ้านเลขที่ 22/2 ม.4 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เกษตรกรต้นแบบการลดต้นทุนการผลิตข้าว (ครูติดแผ่นดิน) เป็นผู้ดำเนินการจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตข้าวแบบลดต้นทุน จำนวน 9 ไร่
กระบวนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวกระบวนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าว 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยผ่านการประชุมคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี อาสาสมัครเกษตร เกษตรหมู่บ้าน และผู้นำในชุมชน
2. คัดเลือกบุคคลเป้าหมาย - ครูติดแผ่นดิน มีการคัดเลือกแล้วตามโครงการพัฒนาการกระบวนการ ส่งเสริมการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตพืชยุทธศาสตร์จังหวัด - เกษตรกรขยายผล คัดเลือกโดยครูติดแผ่นดิน
3. ถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยครูติดแผ่นดิน - จัดทำแปลงเรียนรู้ - การวิเคราะห์ดิน - การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ปุ๋ยสั่งตัด) - การจัดการเมล็ดพันธุ์ - การจัดการศัตรูพืช - การบำรุงปรับปรุงดิน - การใช้สารชีวภัณฑ์
โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการจัดเวที 4 ครั้ง เวทีที่ 1 - วัตถุประสงค์โครงการการลดต้นทุนการผลิตข้าว - การผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP เพื่อการผลิตข้าวที่ยั่งยืน - การผลิตและการใช้ประโยชน์จากสารชีวภัณฑ์ - สาธิตการผลิตการทำน้ำหมักชีวภาพและสารไล่แมลง
เวทีที่ 2 - การจัดการเมล็ดพันธุ์ - การบำรุงปรับปรุงดิน - การบริหารศัตรูพืช - การวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน
เวทีที่ 3 - ฝึกปฏิบัติการเก็บตัวอย่างดิน - การวิเคราะห์ตัวอย่างดิน - คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเฉพาะที่ - แนวทางการหาปุ๋ยให้กับสมาชิก
เวทีที่ 4 - สรุปบทเรียนแนวทางการผลิตข้าวยั่งยืน (การลดต้นทุนการผลิตข้าว) - ข้อตกลงการพัฒนาเครือข่าย
4. สรุปผลการส่งเสริมโครงการโดยการถอดองค์ความรู้ โดยได้ประชุมสัมมนาถอดองค์ความรู้เรื่องการลดต้นทุนการผลิตข้าว เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552 ณ โรงแรมสองพันบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการโดยสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
มีศูนย์เรียนรู้การลดต้นทุนการผลิตข้าว ซึ่งภายในศูนย์ ประกอบด้วยองค์ความรู้ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตข้าว ดังนี้ - การวิเคราะห์ดิน - การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ปุ๋ยสั่งตัด) - การจัดการเมล็ดพันธุ์ - การจัดการศัตรูพืช - การบำรุงปรับปรุงดิน - การผลิตและใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
ผลการลดต้นทุน • ต้นทุนการผลิต/ไร่ ก่อน หลัง 1. การเตรียมดิน (บาท/ไร่) จำนวน 338 338 2. การเตรียมพันธุ์ (บาท/ไร่) จำนวน 480 450 3. การปลูก (บาท/ไร่) จำนวน 50 60 4. ค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดวัชพืช (บาท/ไร่) จำนวน 270 135 5. ค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดแมลง (บาท/ไร่) จำนวน 410 306 6. ค่าใช้จ่ายในการป้องกันกำจัดโรค (บาท/ไร่) จำนวน - - 7. ค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ(บาท/ไร่) จำนวน 1,350 745 8. ค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยว (บาท/ไร่) จำนวน 500 500 9. ค่าขนส่งผลผลิต (บาท/ไร่) จำนวน 100 100 • ผลผลิต (ก.ก./ไร่) จำนวน 944 952 • ต้นทุนการผลิตรวม (บาท/ไร่) จำนวน 3,498 2,634 • ราคาที่เกษตรกรขายได้ (บาท/ก.ก.) จำนวน 11 11 • กำไร (บาท/ไร่) จำนวน 6,890 7,838
องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการ
การเตรียมแปลงก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว จะมีการกระจายฟางและไถกลบตอซังข้าว เพื่อเพิ่มธาตุอาหารและอินทรียวัตถุภายในดิน หมักฟางโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพ หลังจากนั้น 10 วัน ไถคราด เตรียมดินเพื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวพร้อมเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำมาวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช โดยเก็บตัวอย่างดินที่ความลึก 10 เซนติเมตร สุ่มเก็บตัวอย่างดิน 20 จุดภายในแปลงเรียนรู้ เมื่อเก็บตัวอย่างดินได้แล้ว จะนำมาตากในที่ร่มให้ดินแห้ง แล้วบดให้ละเอียด นำมาวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ แช่เมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา ในอัตรา เชื้อ 2 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร เพื่อป้องกันโรคเชื้อราและเร่งอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ • หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว ในอัตรา 20 – 25 กิโลกรัม/ไร่ โดยใช้พันธุ์พิษณุโลก 2 จากศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวชุมชน • หลังจากหว่านข้าว 7 วัน ฉีดยาคุมฆ่าหญ้า • เมื่อต้นข้าวอายุได้ 10 วัน ไขน้ำเข้านาให้มีความสูง 5 – 10 เซนติเมตร
เมื่อต้นข้าวอายุได้ 15 – 20 วัน จะปล่อยแตนเบียนในอัตรา 1 ไร่ ต่อ แตนเบียน 10,000 ตัว เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูข้าว • เริ่มสำรวจแมลงตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ทุก 3-4 วัน จดบันทึกและวิเคราะห์แนวโน้มการระบาดของแมลงศัตรูข้าว • มีการดูแลรักษาระดับน้ำภายในแปลงนาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
ตัวอย่างดินจะนำมาวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช โดยใช้ชุด ตรวจสอบ N-P-K ในดินแบบรวดเร็ว (Soil Test Kit)ซึ่งวิเคราะห์แล้วมีไนโตรเจนในระดับสูง ฟอสฟอรัสในระดับต่ำ และโพแทสเซียมในระดับปานกลาง มี pH เป็นกลาง และเป็นชุดดินสระบุรี(ตรวจสอบโดยการหาพิกัดของพื้นที่แปลงเรียนรู้ ด้วยเครื่อง GPS ) โดยจะใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ การใช้ปุ๋ย N-P-K ในชุดดินสระบุรี ดังนี้ • ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 เมื่อต้นข้าว อายุ 30 วัน ปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-60 จำนวน 5 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยเคมี สูตร 18-46-0 จำนวน 9 กิโลกรัม/ไร่ • ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อต้นข้าว อายุ 60 วัน ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 จำนวน 3 กิโลกรัม/ไร่
ภายในแปลงเรียนรู้นี้จะใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชภายในแปลงเรียนรู้นี้จะใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น หากมีการระบาดของแมลงศัตรูข้าวจะใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในการกำจัด
ได้ดำเนินการถ่ายทอดขยายผลความรู้ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตข้าวให้กับเกษตรกร จำนวน 10 ราย ได้แก่ • 1. นายชูเกียรติ สุพรรณคง 239 ม.4 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี • 2. นายสุคิด จันทร์พูน 75 ม.4 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี • 3. นายสวัสดิ์ ชีพนุรัตน์ 144/1 ม.4 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี • 4. นายประเสริฐ เอี่ยมสำอางค์ 488 ม.4 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี • 5. นายสิงห์ โตทอง 84 ม.4 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี • 6. นางสาวประมวล พงษ์สุทัศน์ 22/1 ม.4 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี • 7. นายสมนึก ขันทอง 21/1 ม.5 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี • 8. นายมิตร สิงห์ทอง 33 ม.2 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี • 9. นายบุญเกิด แสงเจริญธรรม 45/2 ม.2 ต.สวนแตง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี • 10. นายอุดร รูปโฉม 96/2 ม.3 ต.ดอนโพธิ์ทอง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าว 1. การวางแผนการดำเนินโครงการให้ตรงกับช่วงการผลิตข้าวของเกษตรกร ต้นแบบ 2. การคัดเลือกเกษตรกรขยายผล โดยการคัดเลือกเกษตรกรที่มีความสนใจ ในเรื่องลดต้นทุนการผลิตข้าวเป็นหลัก 3. บรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. การจัดทำแปลงสาธิต สถานที่ตั้งแปลงสะดวกในการที่เกษตรกรสามารถ เข้าไปศึกษาเรียนรู้ได้ง่าย 5. การให้ความสนใจของผู้นำในชุมชน