281 likes | 818 Views
มังคุด. สถานการณ์การผลิตมังคุดในไทย. ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ด้านการผลิต
E N D
สถานการณ์การผลิตมังคุดในไทยสถานการณ์การผลิตมังคุดในไทย ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ด้านการผลิต แนวโน้มปี 2557 คาดว่าจะมีเนื้อที่ให้ผลลดลงจากปี 2556 เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับต้นทุนการผลิตสูง ผลตอบแทนที่ได้รับไม่จูงใจ ทำให้เกษตรกรโค่นต้นมังคุดที่อายุมาก แล้วเปลี่ยนไปปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน ในขณะที่ผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการติดดอกออกผล
ด้านการตลาด ๏ความต้องการบริโภค คาดว่า ความต้องการบริโภค คาดว่า ความต้องการบริโภคภายในประเทศของมังคุดสดและผลิตภัณฑ์ ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตลดลง ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น ๏ การส่งออก คาดว่า จะมีการส่งออกมังคุดสดและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการมังคุดคุณภาพ โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งต้องการมังคุดสดยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ๏ ราคา คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง แต่ความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อาจเกิดปัญหาราคาตกต่ำในช่วงผลผลิตกระจุกตัวได้
ตลาดส่งออกมังคุดสดของไทย ปี 2556 5 ที่มา : กรมศุลกากร Office of Agricultural Economics (OAE)
แนวโน้มการส่งออกมังคุดสดของไทยในประเทศอาเซียน ปี 2554 - 2556 6 ที่มา : กรมศุลกากร Office of Agricultural Economics (OAE)
ศักยภาพการแข่งขันของไทยในอาเซียนศักยภาพการแข่งขันของไทยในอาเซียน 7 Office of Agricultural Economics (OAE)
สถานการณ์พืช มีข้อได้เปรียบ/เสียเปรียบ ข้อได้เปรียบ • เป็น Queen of Fruit รสชาติดีเป็นที่ยอมรับ/ต้องการในตลาดโลก • เกษตรกรและผู้ส่งออกมีความชำนาญและประสบการณ์สูง • มีคุณค่าทางโภชนาการสูง • แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายประเภท
ข้อเสียเปรียบ • ต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์สูง • ผลผลิตเกิดความเสียหายง่าย อายุการเก็บรักษาสั้น • ผลผลิตส่วนมากมีจำหน่ายเป็นฤดูกาล
ปัญหางานส่งเสริมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปัญหางานส่งเสริมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 1. ผลผลิตออกพร้อมกัน (ภาคตะวันออก – ใต้ (ชุมพร/ระนอง/พังงา)) • แนวทางแก้ไข - ควรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมังคุดเหลื่อมฤดู โดยการจัดการใบ ดอก และผล 2. การเก็บเกี่ยวผลผลิต - ไม่ถูกระยะ - ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม • แนวทางแก้ไข– ถ่ายทอดวิธีการเก็บเกี่ยวมังคุดคุณภาพที่ถูกต้องตามระยะของมังคุด ให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและเกษตรกร รวมทั้งแนะการใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการเก็บผลผลิต - พัฒนาอุปกรณ์การเก็บเกี่ยวให้เหมาะสมกับพื้นที่
ปัญหางานส่งเสริมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปัญหางานส่งเสริมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3. คุณภาพผลผลิต (เนื้อแก้ว /ยางไหล/ ผิวลาย/หูดำ) • แนวทางแก้ไข– เนื้อแก้ว การจัดการน้ำในสวนโดยการให้น้ำสม่ำเสมอในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต - ยางไหล ใช้เทคโนโลยีการจัดการมังคุดคุณภาพ - ผิวลาย ควบคุมเพลี้ยไฟ /ไรแดง ตั้งแต่ระยะออกดอกถึงระยะผลอ่อน - หูดำ ควบคุมโรคไหม้ในระยะผลอ่อน
ปัญหางานส่งเสริมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปัญหางานส่งเสริมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 4. ขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว • แนวทางแก้ไข– กรณีสวนใหม่ ใช้เทคโนโลยีการควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกินไป - กรณีสวนเก่า พัฒนาเครื่องมือเก็บเกี่ยวให้เหมาะสม 5. การตลาด • แนวทางแก้ไข– ส่งออกต่างประเทศ มีเงื่อนไขแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดังนั้น ผู้ผลิต ต้องทำให้ผลผลิตได้คุณภาพตรงตามเงื่อนไข ของประเทศที่จะส่งไปขาย 6 ผลผลิตมังคุดด้อยคุณภาพ • แนวทางแก้ไข– การแปรรูปผลผลิตมังคุดด้อยคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่า
ต้นทุนการผลิต • ต้นทุน(ปี 56 : บาท/ไร่) 1. ต้นทุนผันแปร 6,922.90 2. ต้นทุนคงที่ 2,274.27 3. ต้นทุนรวมต่อไร่ 9,197.17 4. ต้นทุนรวมต่อกิโลกรัม 13.77 5. ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 682
แนวทางการส่งเสริม (ข้อมูลเชิงรุก-เชิงรับ) มาตรการเชิงรุก : 1) การพัฒนาองค์กรเกษตรกร • การจัดตั้งกลุ่มใหม่ และการพัฒนากลุ่มเดิม • การพัฒนาเครือข่ายในทุกระดับ • การพัฒนากลุ่มผู้ผลิตมังคุดระดับจังหวัด และส่งเสริมการลงทุนในด้านเครื่องจักรกล เช่น เครื่องคัดแยกขนาดและสีมังคุด เป็นต้น • สร้างความเชื่อมั่นภายในกลุ่มสมาชิก และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน • สร้างเครือข่ายการผลิตมังคุดครบวงจร ให้มีการเชื่อมโยงกันตลอดห่วงโซ่การผลิต • พัฒนากลุ่มให้สามารถผลักดันผลผลิตมังคุดสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้
2. การลดต้นทุน • ลดการใช้สารเคมี • ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ • ใช้เครื่องกลแทนแรงงานคน 3. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต • อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร เน้นการจัดการก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว • ส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ผลิตมังคุดได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และพัฒนาต่อเนื่องสู่มาตรฐาน ASEAN GAP • การผลิตมังคุดปลอดสารพิษ • ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพโดยกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ตามพัฒนาการของพืช
4. การสร้างอัตลักษณ์ • พัฒนาตราสัญลักษณ์ผลผลิตของกลุ่ม • พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตมังคุด 5. การขยายตลาด • พัฒนาระบบโลจิสติกส์ • พัฒนาการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อบแห้ง แช่อิ่ม น้ำมังคุด แช่เย็น ฯลฯ และพัฒนาเป็นวัตถุดิบเบื้องต้นในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น เครื่องสำอาง ยา เครื่องดื่มสุขภาพ เป็นต้น • การกำหนดมาตรฐานคุณภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 6. อื่นๆ • สนับสนุนห้องเย็น เครื่องอบไอน้ำเพื่อการจัดการผลผลิตส่งออก
มาตรการเชิงรับ : 1. พัฒนาระบบชลประทาน • พัฒนาระบบชลประทานให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ 2. ศึกษาวิจัยเชิงลึก • การยืดอายุการเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา • การค้าในประเทศและต่างประเทศ
3. ศึกษาการตลาดผลไม้ • การขนส่งมังคุดทางเรือไปประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย • การตลาดและคุณภาพมังคุดคัด 4. อื่นๆ • ขยายตลาดในประเทศและต่างประเทศให้มากขึ้น
สรุป หลักสูตร • วิเคราะห์สถานการณ์ - ด้านการผลิตและการตลาดของ มังคุด - ศักยภาพการแข่งขัน (TCM) ในตลาด AEC • มาตรฐาน ASEAN GAP • เทคโนโลยีการผลิตมังคุดคุณภาพ