810 likes | 2.1k Views
ยุคของคอมพิวเตอร์. ยุคของคอมพิวเตอร์ 5 ยุค. คอมพิวเตอร์ยุค หลอดสุญญากาศ (พ.ศ. 2488 – 2501 ) คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507 ) คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม ( พ.ศ. 2508 - 2512 ) คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ ( พ.ศ. 2513 - 2532 ) คอมพิวเตอร์ยุค เครือข่าย ( พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน).
E N D
ยุคของคอมพิวเตอร์ 5 ยุค • คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ (พ.ศ. 2488 – 2501) • คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507) • คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม ( พ.ศ. 2508 - 2512 ) • คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (พ.ศ. 2513 - 2532) • คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย ( พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน)
คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ(พ.ศ. 2488 – 2501) • เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ (vacuum tube) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ขนาดเท่าหลอดไฟฟ้าตามบ้านเป็นองค์ประกอบหลักของวงจรไฟฟ้า และใช้บัตรเจาะรูในการเก็บข้อมูล และคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ใช้ดรัมแม่เหล็ก (magnetic) เป็นหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำหลักนี้จะเก็บข้อมูลในขณะที่มีการประมวลผลเท่านั้น ความเร็วในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้มีหน่วยเป็น หนึ่งในพันวินาที (millisecond) ใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก ทำให้มีการพัฒนาอุปกรณ์อื่นขึ้นใช้งานแทน
การสั่งงาน ใช้ภาษาเครื่องในระยะแรกซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน ต่อมาได้มีการคิดค้นภาษาสัญลักษณ์ (symbolic language) ขึ้นช่วยงาน โดยใช้ภาษาชนิดเขียนคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงใช้ตัวแปลภาษาแปลงเป็นภาษาเครื่องอีกครั้งหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I) , อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
ENIAC MARK I UNIVAC
คอมพิวเตอร์ยุคสุญญากาศคอมพิวเตอร์ยุคสุญญากาศ
ENIAC • ในปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคนคือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และเจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert)ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเป็นเครื่องแรกของโลก มีชื่อว่า อินิแอค (Electronic Numerical Integrator And calculator : ENIAC) โดยเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศและใช้งานที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ก็มีการสร้างคอมพิวเตอร์และเครื่องคำนวณที่ใช้หลอดสุญญากาศขึ้นอีกหลายรุ่น เช่น IBM 603 IBM 604 และ IBM SSEC แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไอบีเอ็มสร้างในยุคหลอดสุญญากาศยุคแรกนี้ยังเน้นในเรื่องการคำนวณ
ในปี พ.ศ. 2488 จอห์น วอน นอยแมน (John von Neumann) ได้สนใจเครื่องอินิแอค และได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาถึงจนปัจจุบัน
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง • ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น • เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507) • เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีผู้คิดค้น 3 ท่าน คือ บาร์ดีน (J.Bardeen) แบรทเทน (H.W.Brattain) และชอคเลย์ (W.Shockley) โดยทรานซิสเตอร์ที่พัฒนาขึ้นครั้งแรกมีขนาด 1 ใน 100 ของหลอดสุญญากาศเท่านั้น นอกจากขนาดเล็กแล้วยังมีคุณสมบัติที่ดีอีกหลายประการ คือ ไม่เปลืองกระแสไฟฟ้า ไม่ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่องเมื่อแรกเปิดเครื่อง ทำให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและความเร็วเพิ่มขึ้น จนกระทั่งสามารถบวกจำนวน 2 จำนวนได้ในเวลาประมาณหนึ่งในล้านวินาที (microsecond) โดยที่ทรานซิสเตอร์เป็นปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญยิ่ง จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามคนได้รับรางวัลโนเบล
ทรานซิสเตอร์มีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในยุคนี้มีการใช้ภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้คำย่อเป็นคำสั่งแทนรหัสตัวเลข ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกขึ้น และได้มีการพัฒนาภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้
สำหรับในประเทศไทยก็มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้เข้ามาใช้เช่นกันในปี พ.ศ. 2507 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา ในระยะเดียวกันสำนักสถิติแห่งชาติก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมโนครัวประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์นี้ หน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากจนทำให้ระบบการเก็บข้อมูลในจานแม่เหล็กมีความจุได้สูงขึ้นมาก • ในยุคนี้การสร้างคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่เราเรียกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputers) คือ Livermore Atomic Research Computer (LARC) และเครื่อง IBM 7030 เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านความเร็วในการคำนวณ และเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร (network)
ทรานซิสเตอร์ • นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการวิจัยเบล (Bell Laboratories) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ได้สำเร็จ ทรานซิสเตอร์มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็ก ใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูงกว่าและที่สำคัญคือสามารถผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าหลอดสุญญากาศ ดังนั้นคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมาจึงใช้ทรานซิสเตอร์และทำให้สิ้นสุดคอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศในเวลาต่อมา
ทรานซิสเตอร์ชนิดต่างๆทรานซิสเตอร์ชนิดต่างๆ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS) • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language) • เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้