300 likes | 561 Views
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระดับอุดมศึกษา เรื่อง การตัดเกรดด้วยคอมพิวเตอร์ วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร. สุพัฒน์ สุกมลสันต์. เวลา 13.00 น . – 17.00 น. วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร. โปรแกรม NTSCORE.
E N D
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระดับอุดมศึกษาเรื่อง การตัดเกรดด้วยคอมพิวเตอร์วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร. สุพัฒน์ สุกมลสันต์ เวลา 13.00 น . – 17.00 น. วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
โปรแกรม NTSCORE • เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยกำหนดระดับคะแนนจากคะแนนสอบหลายชุด โดยการแปลงคะแนนให้เป็นคะแนนมาตรฐานทีก่อน คะแนนเหล่านี้ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบหรือการวิเคราะห์รายข้อด้วยโปรแกรม CTAI มาก่อน โปรแกรมนี้ช่วยในการกำหนดระดับคะแนน (ตัดเกรด) 1 วิธีและ 2 ระบบ
โปรแกรม NGRADE • เป็นโปรแกรมช่วยกำหนดระดับคะแนนจากผลการสอบแบบปรนัย 1 ชุดเท่านั้นและแบบทดสอบนี้จะต้องผ่านการตรวจให้คะแนนหรือวิเคราะห์รายข้อแล้วด้วยโปรแกรม CTAI มาก่อน โปรแกรมนี้ช่วยในการกำหนดระดับคะแนน (ตัดเกรด) 6 วิธีและ 2 ระบบ
วิธีการกำหนดระดับคะแนนวิธีการกำหนดระดับคะแนน • การวัด (Measurement) หมายถึง การบรรยายเชิงปริมาณที่แสดงว่าผู้เรียนสัมฤทธิ์ผลการเรียนมากน้อยเพียงใด • การประเมินผล (Evaluation) หมายถึงกระบวนการตัดสินใจอย่างมีระบบว่าผู้เรียนสามารถสัมฤทธิ์ผลการเรียนในเชิงปริมาณหรือเชิงคุณลักษณะรวมทั้งคุณค่ามากน้อยเพียงใด
เครื่องมือการวัดและการประเมินผลการเรียนเครื่องมือการวัดและการประเมินผลการเรียน • แบบทดสอบ • แบบสอบถาม • แบบประเมิน • แบบสัมภาษณ์ • แบบสังเกต • มาตรวัดมิติ • กิจกรรมการเรียน • แบบประเมินตนเอง • ชิ้นงานต่างๆ
ประเภทของการประเมินและปรัชญาที่เกี่ยวข้องประเภทของการประเมินและปรัชญาที่เกี่ยวข้อง • การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์และแบบอิงปริเขต • การประเมินผลแบบอิงตนเอง • การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม • การประเมินค่าตามความเป็นจริง
ปรัชญาการประเมินผลและการกำหนดระดับคะแนนปรัชญาการประเมินผลและการกำหนดระดับคะแนน • ระดับคะแนน • แนวคิดด้านการเรียนและการประเมินผล
วิธีการเรียนและการประเมินผลวิธีการเรียนและการประเมินผล • ปรัชญาการเรียนรู้ของนักพฤติกรรมนิยม • ปรัชญาการเรียนรู้ของนักมนุษยนิยม • ปรัชญาการเรียนรู้ของนักปฏิบัติการนิยม • ปรัชญาการเรียนรู้ของนักวิศนุกรรมนิยม
ปรัชญาการเรียนรู้ของนักพฤติกรรมนิยมปรัชญาการเรียนรู้ของนักพฤติกรรมนิยม • ได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดสกินเนอร์ (Skinner) และคณะ • เชื่อว่าเงื่อนไขที่ดีที่สุดของการเรียนรู้เกิดจากบทเรียนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วอย่างดี • การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการนำเสนอเนื้อหาหน่วยย่อยที่มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีทีละน้อย เพื่อให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ • การเรียนรู้ความมีเสริมแรงทั้งทางบวกและทางลบ
การเรียนและประเมินผลของนักพฤติกรรมนิยมการเรียนและประเมินผลของนักพฤติกรรมนิยม • บอกให้ผู้เรียนรู้วัตถุประสงค์ของแต่ละบท • ผู้สอนกำหนดมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ล่วงหน้าขึ้นเอง หรืออิงเกณฑ์ที่นิยม • ใช้แบบทดสอบวินิจฉัยหลังจากสอนแต่ละบท • ให้งานเสริมแก่ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ • ให้เวลาเรียนเพิ่มแก่ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ • เน้นการเรียนแบบตามระดับความสามารถและประเมินผลแบบอิงเกณฑ์
ปรัชญาการเรียนรู้ของนักมนุษยนิยมปรัชญาการเรียนรู้ของนักมนุษยนิยม • ได้รับอิทธิพลแนวคิดจาก Illich และ Kozol • มีความเชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีผู้เรียนควรมีความสุขในการเรียน เรียนตามความสามารถของตนเอง และเรียนสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจ
การเรียนและประเมินผลของนักมนุษยนิยมการเรียนและประเมินผลของนักมนุษยนิยม • ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียน • ให้เวลาและเสรีภาพผู้เรียนเต็มที่ในการเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ • ในความสำคัญการเรียนด้านพุทธิปริเขตมากเท่ากับด้านจิตปริเขต • เน้นความเป็นกันเองระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน • เน้นการเรียนแบบร่วมมือในระดับ และประเมินผลแบบอิงตนเอง
ปรัชญาการเรียนรู้ของนักปฏิบัติการนิยมปรัชญาการเรียนรู้ของนักปฏิบัติการนิยม • ได้รับแนวคิดมาจาก William James • เชื่อว่าสิ่งที่ผู้เรียนควรเรียนรู้ได้แก่สิ่งที่จะมีคุณค่าหรือประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของผู้เรียนในอนาคต • ผู้เรียนควรต้องเรียนรู้ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคตอย่างน้อยในระดับที่จะเอาชีวิตรอดได้
การเรียนและประเมินผลของนักปฏิบัติการนิยมการเรียนและประเมินผลของนักปฏิบัติการนิยม • เรียนรู้สิ่งที่จำเป้นต่อชีวิตในอนาคต • ช่วยผู้เรียนค้นหาจุดเด่นและจุดด้อยของตนเอง • มุ่งพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียนเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ • มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ในระดับต่ำสุดที่ยอมรับได้ • เน้นการเรียนแบบเพื่อมีชีวิตรอดและประเมินผลแบบอิงกลุ่ม
ปรัชญาการเรียนรู้ของนักวิศนุกรรมนิยมปรัชญาการเรียนรู้ของนักวิศนุกรรมนิยม • ได้รับอิทธิพลแนวคิดมาจาก Socrates, Ernest, Glasersfeld และอื่นๆ • เชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียน • ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้และความเข้าใจสิ่งต่างๆ จากโลกของผู้เรียนได้เอง • ผู้เรียนแต่ละคนสามารถสร้างกฏเกณฑ์และรูปแบบทางความคิดได้เองจาก ประสบการณ์ของตนเอง • การเรียนรู้คือกระบวนการปรับรูปแบบทางความคิดของแต่ละบุคคลให้เหมาะสมกับประสบการณ์ใหม่
การเรียนและประเมินผลของนักวิศนุกรรมนิยมการเรียนและประเมินผลของนักวิศนุกรรมนิยม • ผู้เรียนควรจะสามารถเรียนรู้สิ่งที่ตนเองต้องการจะเรียน • สิ่งที่เรียนรู้ควรเป็นสิ่งที่ใช้ได้จริงในชีวิต • ครูควรเป็นผู้อำนวยความสะดวก สนับสนุน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน • เน้นการเรียนแบบร่วมมือต่างระดับ และแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แล้วประเมินแบบอิงงาน หรือแบบอิงความสามารถจลน์ ด้วยแบบทดสอบทางเลือก
กระบวนการในการกำหนดระดับคะแนนกระบวนการในการกำหนดระดับคะแนน
วิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์วิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์ • คำนวณจากร้อยละของคะแนนดิบ • ข้อดีข้อเสีย • ข้อดีเข้าใจสำหรับผู้เรียน ผู้สอน และผู้ปกครอง • ข้อเสียควาหมายไม่ชัดเจน เป็นวิธีเชิงประดิษฐ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
วิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์วิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์ • คำนวณจากปริมาณงาน ข้อดีข้อเสีย • ข้อดี แต่ละระดับคะแนนมีความหายชัดเจนและน่าเชื่อถือ • ข้อเสียความรู้ความสามารถด้านพุทธิพิสัยและจิตพิสัยคำนวณเป็นปริมาณได้ยาก การสร้างเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับใช้เวลานาน เหมาะสำหรับการประเมินผลด้าน Motor Skills
วิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงตนวิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงตน • คำนวณจากคะแนนพัฒนาการ ข้อดีข้อเสีย • ข้อดี เข้าใจง่ายสำหรับผู้เรียน ผู้สอน และผู้ปกครอง • ข้อเสีย ผู้เรียนที่มีความรู้ดีหรือค่อนข้างดี มักเสียเปรียบผู้เรียนที่มีความรู้น้อย และแปลความคะแนนพัฒนาการติดลบยาก
วิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงกลุ่มวิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงกลุ่ม • คำนวณโดยอาศัยโค้งปกติ ข้อดีข้อเสีย • ข้อดีมีเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบความรุ้และความสามารถของผู้เรียนกับบุคลอื่นเป็นเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปของนักวัดและนักประเมินผล • ข้อเสีย ไม่เหมาะกับผู้เรียนจำนวนน้อย (น้อยกว่า 100 คน ) ไม่เหมาะกับกลุ่มผู้เรียนคัดสรร และผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครองไม่ค่อยเข้าใจความหมาย
วิธีการที่ใช้ • วิธีใช้ Preset Fixed Percentages of Testes • วิธีใช้ Normalized T-Score
วิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงกลุ่มวิธีกำหนดระดับคะแนนแบบอิงกลุ่ม • คำนวณโดยไม่อาศัยโค้งปกติล ข้อดีข้อเสีย • ข้อดีเหมาะกับจำนวนผู้เรียนมากและน้อยที่เป็นกลุ่มคัดสรร ผู้เรียน ผู้สอน ผู้ปกครองพอเข้าใจความหมาย เป็นเกณฑ์ที่นักวัดผลทั่วไปยอมรับ • ข้อเสีย ขาดเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบความรู้และ ความสามารถของผู้เรียนกับบุคคลอื่น
วิธีการที่ใช้ • วิธีใช้Range of Raw Score • วิธีใช้Range of Linear Score • วิธีใช้ Percentages of Raw Score • วิธีใช้ Percentages of Testes • วิธีใช้ Mean and S.D of Raw Score • วิธีใช้ Mean and SEM of Raw Score • วิธีใช้Grade Point Average
คำแนะนำในการรวมคะแนนต่างชุดและคิดระดับคะแนน (ตัดเกรด) • ควรแปลงคะแนนดิบแต่ละชุดเป็นคะแนนมาตรฐาน เช่น Z – Score • คูณคะแนนมาตรฐานด้วยค่าน้ำหนักความสำคัญของคะแนนแต่ละชุด • หาค่าเฉลี่ยของคะแนนมาตรฐาน • แปลงคะแนนเฉลี่ยเป็นคะแนนมาตรฐานแบบ T – Score • คิดระดับคะแนนโดยวิธีใช้Ringes of Linear T – Score • พิจารณาหาจุดตัดโดยการประเมินผลทั้งแบบอิงเกณฑ์และแบบอิงกลุ่มพร้อมกัน
คำแนะนำทั่วไปในการตัดเกรดคำแนะนำทั่วไปในการตัดเกรด DO’S • สร้างข้อสอบให้มีความเที่ยงและความตรงสูงตามหลักสูตร • ตรวจสอบความเที่ยงตรงและความยุติธรรม • ประเมินผลทั้งแบบอิงเกณฑ์และแบบอิงกลุ่ม • ไม่จำเป็นต้องให้เกรดครบ • ยึดวัตถุประสงค์ของรายวิชา DON’Ts • รวมคะแนนต่างชุดโดยใช้คะแนนดิบ • ใช้ Normalized T - Score ตัดเกรดกับกลุ่มผู้เรียนที่คัดสรรหรือจำนวนน้อย • กำหนดจุดตัดโดยไม่คำนึงถึงความคลาดเคลื่อนต่างๆ ในการวัด