1 / 33

โครงงานวิจัย

โครงงานวิจัย. เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพการกำจัด กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียที่มีความสกปรกสูง II. คณะผู้วิจัย. นนอ.ก้อง กระดังงา นนอ.ธำรงค์ คงช่วย. อาจารย์ที่ปรึกษา. น.อ.หญิง กรองกาญจน์ มหาชนะวงศ์ ร . อ. สมพงษ์ บุตรงาม. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา.

kata
Download Presentation

โครงงานวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงงานวิจัย เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพการกำจัด กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงII

  2. คณะผู้วิจัย นนอ.ก้องกระดังงา นนอ.ธำรงค์ คงช่วย อาจารย์ที่ปรึกษา น.อ.หญิง กรองกาญจน์ มหาชนะวงศ์ ร.อ. สมพงษ์ บุตรงาม

  3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันนี้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆได้มีการปล่อยน้ำเสียออกมาเป็นปริมาณมาก แม้ว่าจะมีการบำบัดน้ำเสียแต่ก็ไม่สามารถจะบำบัดได้ดีเท่าที่ควรเนื่องจากระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้อาจยังมีประสิทธิภาพที่ยังไม่ดีพอยกตัวอย่างในโรงงานผลิตเบียร์ไฮเนเกนที่แม้ว่าจะมีการบำบัดน้ำเสียแต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องปริมาณตะกอนส่วนเกินมากเกินไป เนื่องจากทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการนำไปทิ้ง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเรื่องนี้เพื่อทำการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และหาวิธีการที่จะกำจัดกากตะกอนส่วนเกินที่มากเกินไป โดยทางคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยต่อจากงานวิจัยของ นนอ. อำนวยเกิดแก้ว นนอ. อดิศักดิ์นันทวิศาลและนนอ. ทักษิณจันทรศร

  4. วัตถุประสงค์ของงานวิจัยวัตถุประสงค์ของงานวิจัย • เพื่อทำการศึกษาการเพิ่ม ลักษณะและปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้นจากระบบบำบัดน้ำเสีย • เพื่อศึกษาระยะเวลาและปรับปรุงการกำจัดตะกอนส่วนเกินที่ต้องทิ้งออกนอกระบบโดยที่ไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย • เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดกากตะกอนจุลินทรีย์ ส่วนเกินของระบบบำบัดน้ำเสีย

  5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ -   สามารถลดปริมาณตะกอนส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพโดยการย่อยสลายกากตะกอนได้ภายในระบบบำบัดน้ำเสีย - สามารถลดค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการกำจัดกากตะกอนได้ - สามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  6. สมมติฐาน เมื่อได้รับการปรับปรุงและออกแบบระบบบำบัดเพิ่มเติมจากงานวิจัยของนนอ.อำนวยเกิดแก้วนนอ.อดิศักดิ์นันทวิศาลและนนอ.ทักษิณจันทรศร ปีพ.ศ.2544 คือการเพิ่มระบบบำบัดแบบSeptic เข้าไปในกระบวนการบำบัดน้ำเสียเดิมสามารถทำให้กำจัดกากตะกอนส่วนเกินได้เพิ่มขึ้นโดย ไม่ทำให้ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียลดลง

  7. ถัง Septic

  8. ขอบเขตของการวิจัย -ศึกษาและกำจัดตะกอนส่วนเกินโดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียทาง ชีวภาพเพื่อให้มีตะกอนส่วนเกินเหลือน้อยที่สุด -   ศึกษา ออกแบบและทำการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นแบบจำลองของงานวิจัย -   ศึกษาเรื่องการเพิ่มขึ้นและการย่อยสลายกากตะกอนที่เกิดขึ้นจากระบบบำบัดน้ำเสีย

  9. การดำเนินงานวิจัย 1. เตรียมแบบจำลองระบบบำบัดน้ำเสียพร้อมติดตั้งเครื่องมือชุดควบคุมการไหล

  10. ระบบบำบัดน้ำเสีย 80% 20 % F/M น้ำทิ้ง

  11. 2. เลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เพื่อให้เกิดการปรับตัว - วัด pH ให้อยู่ในช่วง 6.6-8.0 เพื่อควบคุมเชื้อจุลชีพให้มีค่า pH ที่เป็นกลาง - เติม FeCl2 วันละ 1 มล.เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม

  12. 3. ทำการทดลองหาค่า MLSS เพื่อสังเกตลักษณะตะกอน

  13. 4. เพิ่มความสกปรกของน้ำเสีย

  14. 5. สูบตะกอนกลับเข้าสู่ถังเติมอากาศเพื่อควบคุม F IM ratio ให้อยู่ในช่วง 0.2 – 0.4 มก.BOD5 I (มก.MLSS.วัน)

  15. 6. เมื่อค่า MLSS ถึง 6,000 มก.I ล.จึงทำการ สูบตะกอนส่วนเกินเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียตามที่ออกแบบไว้

  16. 7. ทำการตรวจสอบค่าความสกปรกของน้ำเสีย (ค่า BOD)

  17. 8. ตรวจสอบระยะเวลาที่ทำการสูบตะกอนส่วนเกินกลับ สู่ระบบบำบัดน้ำเสีย สังเกตการเปลี่ยนแปลงภายในระบบ และตรวจสอบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย

  18. ผลการทดลอง

  19. กราฟแสดงค่า MLSS ๐ ๐

  20. ตารางแสดงค่า BOD Check เมื่อ : 2 ตุลาคม พ.ศ. 2545

  21. รายการคำนวณFIMratio ขนาดถังเติมอากาศ = 0.128 ลบ.ม. ค่า BOD ที่เข้าถังเติมอากาศ = 720 มก.I ล. ค่า MLSS วันที่ทดสอบ = 4,113 มก.I ล. อัตราการไหลของน้ำเสีย = 0.140 ลบ.ม.

  22. F นน.บีโอดีเข้าระบบต่อวัน M นน.จุลชีพในระบบ อัตราการไหลของน้ำเสีย(ลบ.ม.I วัน) x บีโอดี(มก.I ล.) x 1000 ปริมาตรถังเติมอากาศ(ลบ.ม.) x MLSS(มก.I ล.) x 1000 0.140(ลบ.ม.I วัน) x 720(มก.I ล.) x 1000 0.128(ลบ.ม.) x 4113(มก.I ล.) x 1000 0.19

  23. วิเคราะห์ผลการทดลอง จากการทดลองสังเกตพบว่าเมื่อสูบตะกอนส่วนเกินกลับไปได้เป็นเวลา 22 วันปริมาณจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศ (Aeration) จะลดลงซึ่งวัดค่า MLSS ได้เฉลี่ยประมาณ 4,000 มก./ลิตรและลดลงเรื่อยๆจนกระทั่งลดลงเหลือ 3,900 มก./ ลิตรอาจเนื่องมาจากการสูบตะกอนส่วนเกินกลับเข้าไปในถัง Septic และ Anoxic ทำให้ค่าความสกปรกของน้ำเสียมีค่าเพิ่มมากขึ้นจนทำให้เชื้อจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศ (Aeration) เกิดอาการชะงักไม่สามารถย่อยสลายสารอาหารได้และบางส่วนจะตายไปในที่สุด ไม่ยอมกินอาหารสังเกตได้จากในถัง เติมอากาศ (Aeration) มีกลิ่นเหม็นมากซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพการบำบัดลดน้อยลง เมื่อได้มีการตรวจสอบค่า BOD5ของน้ำเสียก่อนเข้าสู่ถังเติมอากาศ เหลือค่า BOD5เพียง28.6%

  24. ประสิทธิภาพการบำบัด • ค่า BOD ของน้ำเสียก่อนบำบัด = 2,520 มก.I ล. • ค่า BOD ของน้ำเสียหลังบำบัด = 37.5 มก.I ล. ประสิทธิภาพการบำบัด =(BOD ก่อน –BOD หลัง) x 100% BOD ก่อน = (2,520– 37.5) x 100% 2,520 = 98.5 %

  25. สรุปผลการวิจัย วิธีการกำจัดกากตะกอนส่วนเกิน โดยการนำกลับเข้าไปให้ถูกย่อยสลายในถังกึ่งไร้อากาศและถังSepticนั้นถึงแม้ว่าประสิทธิภาพโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแต่การที่นำตะกอนกลับเข้าไปในระบบทำให้ค่าความสกปรกของน้ำเสียมีค่าสูงขึ้น จนทำให้เชื้อแบคทีเรียชนิดใช้อากาศย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ทันดังนั้นต้องปรับปรุงวิธีขั้นตอนในการนำตะกอนกลับสู่ระบบหรือขั้นตอนในการบำบัดให้มีความเหมาะสมมากกว่านี้ จึงจะย่อยสลายกากตะกอนส่วนเกินได้โดยเชื้อแบคทีเรียไม่อ่อนแรงลง

  26. ข้อจำกัด ปัญหาและแนวทางแก้ไข • ในการสร้างแบบจำลองเกี่ยวข้องกับความดันมักจะเกิดการรั่วซึมของถัง ต้องระมัดระวังและทำการประกอบแบจำลองที่ป้องกันการรั่วซึมได้ดี • เกิดการอุดตันในท่อต่าง ๆ และแรงดันต่ำ ควรใช้ข้อต่อสามทางป้องกันไขมันที่มาอุดตันบริเวณปากท่อทางออก หรือใช้ท่อขนาดใหญ่ขึ้น • การเติมอากาศไม่สม่ำเสมอ ควรมีเครื่องเติมอากาศอย่างน้อย 2 ชุด เพื่อสับเปลี่ยนการใช้งานป้องกันการชำรุด

  27. การเตรียมสารเคมีต้องเตรียมให้พร้อม และตรวจสอบสารเคมีที่ใช้ให้ถูกต้องตามคู่มือวิเคราะห์ เพื่อป้องกันการล่าช้าและไม่มีการผิดพลาด • การเติมอากาศในถัง Aeration จะเกิดฟองอากาศจำนวนมาก ควรจะใช้ละอองน้ำฉีดพ่นเพื่อลดฟองอากาศ • การสูบตะกอนกลับทำได้ยาก ควรแบ่งพื้นที่ควบคุมการตกตะกอนหรือออกแบบใหม่ให้สามารถสูบตะกอนกลับได้ดี และสามารถวัดปริมาณการสูบตะกอนได้แบบสม่ำเสมอ

  28. Future Research จะเห็นได้ว่าปัญหาหลัก ๆ คือ เมื่อทำการสูบตะกอน-กลับแล้วเชื้อแบคทีเรียแบบใช้อากาศเกิดอาการชะงักดังนั้น ในงานวิจัยต่อไปควรจะเพิ่มประสิทธิภาพของถังเติมอากาศ เช่น ควรเลื้ยงเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการสูบตะกอนกลับให้ค่า MLSS อยู่ในช่วง 8,000 – 10,000 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ ควรเติม มีเดีย เข้าไปในถังเติมอากาศ

  29. ตอบข้อซักถาม ?ๆๆๆๆ

  30. ลักษณะของถังต่าง ๆ • Septic มีเชื้อ Anaerobic ย่อยน้ำเสีย ลักษณะคล้ายถังเกรอะ • UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket)เป็นถังที่มีเชื้อ Anaerobic ที่มีลักษณะเป็นชั้นของตะกอน โดยให้น้ำเสียไหลผ่านชั้นตะกอนนี้ • Anoxicจะมีเชื้อทั้ง Anaerobic และ Aerobic ใช้สำหรับกำจัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส • Anaerobicมีเชื้อ Anaerobic ย่อยน้ำเสีย ตามปกติจะมีมีเดียเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัด • Aeration จะมีเชื้อ Aerobic ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดทั้งกลิ่นและน้ำเสีย • ถังตกตะกอน เป็นถังที่ใช้สำหรับรองรับตะกอนที่เกิดจากการย่อยน้ำเสียจากถัง Aeration

  31. ขนาดถัง • V น้ำเสีย = 2()(45)2x50/ (4x1000) = 160 ลิตร • VUASB= 31 x 40 x (40-8) / 1000 = 39.68 ลิตร • VAnoxic= 31 x 60 x (40-12) / 1000 = 52.08 ลิตร • VAnaerobic= 31 x 58 x (40-13) / 1000 = 48.55 ลิตร • VAeration= 40 x 80 x (55-15) / 1000= 128 ลิตร • V ตะกอน = 90 x 26 x (30-7) / 1000 = 53.82 ลิตร • VSeptic = 365.79 ลิตร

More Related