220 likes | 605 Views
อัตราส่วนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่. นสพ . นิติพัฒน์ วัฒนจิตศิริ นสพ . เจษฎา พิมพ์รัตน์. หลักการและเหตุผล.
E N D
อัตราส่วนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่อัตราส่วนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่ นสพ.นิติพัฒน์วัฒนจิตศิริ นสพ.เจษฎาพิมพ์รัตน์
หลักการและเหตุผล • มีการระบาดของไข้เลือดออกในจังหวัดพิษณุโลกทุกปีแม้ว่าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้มีการป้องกันการเกิดโรคด้วยวิธีการต่างๆให้ประชากรในชุมชนทราบแล้วก็ตาม • การป้องกันการระบาดของไข้เลือดออกที่ดีก็ต้องมีการกำจัดยุงลายที่มีประสิทธิภาพทำให้ลดอุบัติการณ์การเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้
ทบทวนวรรณกรรม • จากการสำรวจของกรมควบคุมโรคติดต่อที่ได้สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในภาคต่างๆปี 2533 พบว่าแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายร้อยละ 70.82 เป็นแหล่งเก็บกักน้ำภายในเขตครัวเรือนทั้งที่เป็นน้ำดื่มและน้ำใช้ร้อยละ 15.68 เป็นแหล่งน้ำจานรองขาตู้กันมดที่เหลือเป็นแหล่งอื่นๆที่มีน้ำขังได้ในชุมชนเช่นยางรถยนต์
คำถามหลัก • จำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่
คำถามรอง • จำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่
วัตถุประสงค์การวิจัย • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจำนวนแหล่งเก็บกักน้ำในเขตครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำกับจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกภายในชุมชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ • ส่งเสริมการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตครัวเรือน • ทราบถึงอัตราความเสี่ยงของประชากรในชุมชนที่มีภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำที่จะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก
ระเบียบวิธีการวิจัย • รูปแบบการวิจัยCross Sectional Analytic Study • กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา ศึกษาเปรียบเทียบในชุมชน 2 ชุมชนที่มีอุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยสำรวจประชากรเป็นหลังคาเรือนเพื่อเก็บข้อมูลการเกิดโรคไข้เลือดออกภายในครอบครัวนั้นๆภายในปีพ.ศ.2545 และข้อมูลจำนวนแหล่งเก็บกักน้ำในเขตครัวเรือน
ขนาดประชากร • กำหนดการสำรวจและสอบถามภายในชุมชนหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 หมู่บ้านวังส้มซ่าตำบลท่าโพธิ์อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกโดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจและสอบถามจำนวนชุมชนละ 25 หลังคาเรือน
การคัดเลือกกลุ่มประชากรการคัดเลือกกลุ่มประชากร • คัดเลือกบ้านที่จะทำการสำรวจโดยวิธีการสุ่มเลือกบ้านที่อยู่ติดกันภายในรัศมี 50 เมตรจากจุดเริ่มต้นในการสำรวจเนื่องจากมีการศึกษาพบว่ายุงลายจะหากินภายในเขตรัศมี 50 เมตรเท่านั้น
อคติการวิจัย • ยุงลายที่แพร่กระจายมาจากแหล่งอื่นนอกชุมชนเช่นทางรถยนต์ • ผลกระทบจากปัจจัยอื่นเช่นการพ่นยาฆ่าแมลง,การนอนกางมุ้ง,การเลี้ยงปลากินลูกน้ำเป็นต้นชึ่งจะมีผลต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย • ผลกระทบจากค่าลูกน้ำยุงลาย BI ,CI และ HI
เครื่องมือการวิจัย • การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลชุมชนตามแบบสอบถาม • ผู้ทำการวิจัยเก็บข้อมูลบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมจากการเดินสำรวจภายในบริเวณบ้าน
ตัวอย่างแบบสอบถาม แบบสอบถามการวิจัย : ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคไข้เลือดออกและแหล่งเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิดในเขตครัวเรือนภายในชุมชน • -บ้านเลขที่........................................... • -จำนวนผู้อยู่อาศัย................................คน • -จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกภายในปี 2545 มี.......คน • -จำนวนแหล่งเก็บกักน้ำในเขตครัวเรือน • 1.ภาชนะเก็บกักน้ำที่มีฝาปิดมีจำนวน ...................... • 2.ภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิด (ใส่ทรายอะเบท) มีจำนวน ......... • 3.ภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิด (ไม่ใช้ทรายอะเบท) มีจำนวน ......
การวิเคราะห์ข้อมูล • เป็นการศึกษาวิจัยในรูปแบบ Cross Sectional Analytic Study โดยนำข้อมูลที่เก็บมาได้จะมี 2 ตอนคือ ตอนที่1 : ความสัมพันธ์ของจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิดและไม่มีการป้องกันลูกน้ำยุงลายมีผลต่อจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่ ข้อมูล :ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ได้ข้อมูลจากการนับ) การวิเคราะห์ข้อมูล : Pearson Chi-Square
การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 2 :การศึกษาจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่ ข้อมูล: ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ได้ข้อมูลจากการนับ) การวิเคราะห์ข้อมูล : Case-Controlเพื่อหาค่าRelative Risk และ Odds ratio
กรอบความคิด ปัจจัยที่กระทบ -การใช้สารเคมีกำจัดยุง -การป้องกันยุงกัด -แหล่งเพาะพันธุ์ยุงอื่นๆ ชุมชนที่ 2 มีการระบาดของไข้เลือดออกน้อย ชุมชนที่1 มีการระบาดของไข้เลือดออกมาก ความแตกต่างของแหล่งเก็บกัก น้ำภายในครัวเรือนของทั้ง2ชุมชน
ผลการศึกษา ตอนที่1 : ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำยุงลายมีผลต่อจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่
หมู่ที่(อุบัติการณ์ไข้เลือดออก)หมู่ที่(อุบัติการณ์ไข้เลือดออก) ภาชนะที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำยุงลาย ภาชนะที่มีการป้องกันลูกน้ำยุงลาย รวม 2(อุบัติการณ์สูง) 38 161 199 1(อุบัติการณ์ต่ำ) 11 125 136 รวม 49 289 335 ตาราง :แสดงจำนวนจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่มีการป้องกันลูกน้ำกับจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำชุมชนหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 บ้านวังส้มซ่าตำบลท่าโพธิ์อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก
Chi-square • Chi-square = 335*((38*125)-(161*11))2/(49*286*199*136) = 7.84 • อัตราส่วนจำนวนภาชนะที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำมีผลทำให้อุบัติการณการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น > 99% (p<0.01)
หมู่ที่ จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนประชากรที่ทำการสำรวจ รวม 2 8 105 113 1 3 86 89 รวม 11 191 202 ตอนที่ 2 :การศึกษาจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำภายในครัวเรือนที่ไม่มีการป้องกันลูกน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่ ตาราง แสดงจำนวนผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกภายในปีพ.ศ.2545 ของชุมชนหมู่ที่ 1 และชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านวังส้มซ่าตำบลท่าโพธิ์อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก
ตอนที่ 2(ต่อ) • Odds ratio = 2.18
จริยธรรมในการวิจัย • เนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับจำนวนภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่มีฝาปิดในครัวเรือนว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนหรือไม่โดยทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งจะทำการสัมภาษณ์โดยผู้ทำการวิจัยไม่มีการบันทึกชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์และไม่มีการนำเสนอข้อมูลที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ถูกสัมภาษณ์แต่อย่างใดจึงเชื่อได้ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อจริยธรรมการวิจัยทางการแพทย์