110 likes | 263 Views
“บทบาทของบัณฑิตแรงงาน ต่อการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพัฒนาพิเศษ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา”. เอกสารประกอบการถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM). จัดโดย : กลุ่มสนับสนุนเครือข่ายและประสานภูมิภาค สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.
E N D
“บทบาทของบัณฑิตแรงงาน“บทบาทของบัณฑิตแรงงาน ต่อการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพัฒนาพิเศษ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา” เอกสารประกอบการถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) จัดโดย : กลุ่มสนับสนุนเครือข่ายและประสานภูมิภาค สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
สืบสานแนวพระราชดำริ : “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โครงการจ้างบัณฑิตอาสาสมัคร(บัณฑิตแรงงาน) ลักษณะโครงการ : โครงการภายใต้แผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แผนงานที่ 3 : แผนพัฒนาคุณภาพคน พหุวัฒนธรรม และมาตรฐานการบริการสังคม ผู้รับผิดชอบโครงการ : กลุ่มสนับสนุนเครือข่ายและประสานภูมิภาค สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณที่ 3 : ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดวามเหลื่อมล้ำทางสังคม แผนงาน 3.2 : การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงาน กิจกรรมหลัก : จ้างบัณฑิตแรงงาน บัณฑิตแรงงานจังหวัดยะลา บัณฑิตแรงงานจังหวัดนราธิวาส บัณฑิตแรงงานจังหวัดสงขลา บัณฑิตแรงงานจังหวัดปัตตานี
1. หลักการและเหตุผล กระทรวงแรงงานได้ดำเนินการโครงการจ้างบัณฑิตอาสาสมัคร โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่อง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยเริ่มดำเนินการโครงการในปี พ.ศ. 2551 ด้วยการจ้างผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ว่างงาน ไม่จำกัดสาขา เป็นผู้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่และประสงค์ที่จะเป็นบัณฑิตของกระทรวงแรงงาน ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย จำนวน 294 คน ทำหน้าที่เสมือนผู้แทนกระทรวงแรงงานในการนำภารกิจและบริการของกระทรวงแรงงานไปสู่ประชาชนในพื้นที่/ ชุมชน ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างงานให้กับบัณฑิตที่ว่างงาน สามารถตรึงคนในพื้นที่ ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน ปลูกฝังสำนักรักบ้านเกิด สร้างความผูกพันต่อถิ่นกำเนิด และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของท้องถิ่นตนเองอย่างแท้จริง ตลอดรวมถึงการสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคง เพื่อเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. กรอบแนวคิด การดำเนินงานโครงการจ้างบัณฑิตอาสาสมัคร อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดหลัก 6 ประการ คือ 2.1 เพื่อจ้างบัณฑิตที่ว่างงานในพื้นที่ มาทำหน้าที่เป็นบัณฑิตอาสาสมัคร และเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน ให้สนองตอบต่อนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงแรงงาน และ ของชาติ ตลอดจนภารกิจด้านความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.2 เพื่อให้บัณฑิตอาสาสมัคร เป็นผู้เสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานให้อาสาสมัครแรงงานในระดับพื้นที่ ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานให้อาสาสมัครแรงงาน 2.3 เพื่อขยายเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น 2.4 เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตอาสาสมัคร ให้มีจิตสำนึกรักความสามัคคี มีสำนึกต่อประเทศในการเป็นผู้ให้ และเสียสละเพื่อชุมชนและหมู่บ้านของตนเอง รวมทั้งมีจิตสำนึกของความเป็นอาสาสมัคร ตลอดจนตระหนักในภาระหน้าที่ด้านความมั่นคง ทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ 2.5 เพื่อเป็นสื่อกลาง และเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐบาล และประชาชนในพื้นที่ 2.6 เพื่อให้บัณฑิตอาสาสมัคร และอาสาสมัครแรงงานมีส่วนช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในระดับพื้นที่ เนื่องจากมีบัณฑิตอาสาสมัคร หลายหน่วยงานปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความชัดเจน กระทรวงแรงงานจึงได้เปลี่ยนชื่อเรียก “บัณฑิตอาสาสมัคร” เป็น “บัณฑิตแรงงาน” ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา
3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตแรงงาน เป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน และนโยบายของรัฐบาลไปสู่ประชาชนในพื้นที่ 2. เพื่อให้บัณฑิตแรงงาน เป็นผู้เสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานให้อาสาสมัครแรงงานในระดับพื้นที่ และเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานให้กับอาสาสมัครแรงงาน 3. เพื่อให้บัณฑิตแรงงาน และอาสาสมัครแรงงานมีส่วนช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในระดับพื้นที่
4. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย บัณฑิตผู้ว่างงาน ไม่จำกัดสาขา เป็นผู้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ และประสงค์ที่จะเป็นบัณฑิตของกระทรวงแรงงาน ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 294 คน ดังนี้ 1. จังหวัดปัตตานี จำนวน 116 คน 2. จังหวัดยะลา จำนวน 59 คน 3. จังหวัดนราธิวาส จำนวน 78 คน 4. จังหวัดสงขลา จำนวน 41 คน ( 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) 5. งบประมาณดำเนินการ • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้รับงบกลาง วงเงิน 39,417,300 บาท • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้รับงบประมาณปกติ วงเงิน 39,417,300 บาท • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณปกติ วงเงิน 39,659,000 บาท • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณปกติ วงเงิน 39,920,000 บาท
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระดับผลผลิต (Output) : บัณฑิตแรงงานภาคใต้ จำนวน 294 คน มีงานทำ และสามารถทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงาน และรัฐบาล ไปสู่ประชาชนในพื้นที่ ระดับผลลัพธ์ (Outcome) : 1. บัณฑิตแรงงาน และอาสาสมัครแรงงาน มีส่วนช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในระดับพื้นที่ และเป็นกลไกขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงานสู่ประชาชน ในพื้นที่/ ชุมชน ที่มีความอ่อนไหว และมีปัญหาด้านความมั่นคงสูง 2. บัณฑิตแรงงานเป็นผู้เสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการทำงานให้อาสาสมัครแรงงานในระดับพื้นที่ อีกทั้งเป็น พี่เลี้ยงในการดำเนินงานร่วมกับอาสาสมัครแรงงาน ด้วยสำนึกของความเสียสละเพื่อชุมชนและหมู่บ้านของตนเอง
7. ผลการดำเนินงานของบัณฑิตแรงงาน ปี 2551-2554 การดำเนินงานของบัณฑิตแรงงานในพื้นที่ ภายใต้ภารกิจด้านต่าง ๆ ของ กระทรวงแรงงาน มีดังนี้ 1. บริการด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เช่น การคุ้มครองแรงงานผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน การป้องกันดูแล และแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงาน 2.บริการด้านการจัดหางาน เช่น จัดหางานในและต่างประเทศ ส่งเสริมการมีงานทำ และการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ แก่ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสอดส่องดูแลปัญหาด้านแรงงานต่างด้าว 3. บริการด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่น ประสานการช่วยเหลือประชาชน ด้านการฝึกอาชีพอิสระระยะสั้น เพื่อเพิ่มโอกาสการมีงานทำ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน 4. บริการด้านการประกันสังคม เช่น การส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบ เข้าสู่ระบบประกันสังคมมากขึ้น และการให้ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแก่ลูกจ้าง และนายจ้าง เป็นต้น 5. บริการด้านอื่นๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารราชการ และ ข่าวสารด้านแรงงาน การให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน และการหลอกลวงคนหางาน เป็นต้น 7. 1 ผลการดำเนินงานปี 2551 ตารางที่ 1 ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาสมัคร (บัณฑิตแรงงาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
7. 2 ผลการดำเนินงานปี 2552 ตารางที่ 2 ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาสมัคร (บัณฑิตแรงงาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ผลการดำเนินงานของบัณฑิตอาสาสมัคร (บัณฑิตแรงงาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัดผลผลิตหลัก และ 1 ตัวชี้วัดผลผลิตเสริม ผลการดำเนินการส่วนใหญ่สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ปรากฏตามตาราง ดังต่อไปนี้
7. 3 ผลการดำเนินงานปี 2553 ตารางที่ 3 สรุปผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสาสมัคร (บัณฑิตแรงงาน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สรุปผลการดำเนินงานของบัณฑิตแรงงาน ตามตัวชี้วัดที่กำหนด ภายใต้โครงการ จ้างบัณฑิตแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
7. 3 ผลการดำเนินงานปี 2554 ตารางที่ 3 ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2553 - มีนาคม 2554) สรุปผลการดำเนินงานของบัณฑิตแรงงาน ตามตัวชี้วัดที่กำหนด ภายใต้โครงการ จ้างบัณฑิตแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2553-มีนาคม 2554)