700 likes | 846 Views
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และบทบาทภาครัฐ. By Pizza-Tipz. ญี่ปุ่น. ทศวรรศที่ 1860-1900 (สมัยเมจิ). 1868-1885 “โครงสร้างพื้นฐาน” วางรากฐานสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม 1. ยกเลิกข้อจำกัดด้านต้นทุนค่าเดินทาง และการพาณิชย์ 2. กรอบที่รัฐบาลโชกุนใช้คลุมเศรษฐกิจได้รับการผ่อนคลาย
E N D
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และบทบาทภาครัฐ By Pizza-Tipz
ทศวรรศที่ 1860-1900 (สมัยเมจิ) • 1868-1885 “โครงสร้างพื้นฐาน” • วางรากฐานสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม 1. ยกเลิกข้อจำกัดด้านต้นทุนค่าเดินทาง และการพาณิชย์ 2. กรอบที่รัฐบาลโชกุนใช้คลุมเศรษฐกิจได้รับการผ่อนคลาย 3. ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างชนชั้น 4. ปฏิรูปที่ดิน
ความเปลี่ยนแปลงจากการปฏิรูปที่ดินความเปลี่ยนแปลงจากการปฏิรูปที่ดิน • ได้มีการยอมรับกรรมสิทธิในการถือครองที่ดินของเอกชนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย สำหรับเจ้าที่ดิน และชาวนาที่มีที่นาของตนเอง • ที่ดินที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นของเอกชนนั้น ให้มีการเวนคืนเข้าเป็นที่ดินของรัฐ และของสำนักพระราชวังจักรพรรดิ • ได้มีการปฏิรูปภาษีที่ดิน โดยเรียกเก็บเป็นเงินสดในอัตรา 3% ของมูลค่าที่ดิน ที่ทางการประเมินราคาเอาไว้ ในปี1873 เดิมแล้วภาษีที่ดินแบบเก่าจะเก็บจากผลผลิต โดยเก็บอัตราเฉลี่ยประมาณ 40-50% จากผลผลิต
ผลจากการปฏิรูปที่ดิน • ให้รัฐบาลมีรายได้มากขึ้นบ้างและมีรายได้อย่างสม่ำเสมอ • ชาวไร่ ชาวนาพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางเกษตรกรรมให้สูงขึ้น • ช่วยเร่งให้มีการกระจายเศรษฐกิจการเงิน เข้าสู่สังคมหมู่บ้านเกษตรในชนบททั่วไป
ปี 1872 มีการวางทางรถไฟจากโตเกียวไปโยโกฮา • ปี 1872 ปฏิรูปเงินตราและธนาคาร โดยประกาศใช้ระบบเงินตราใหม่ที่มีมาตรฐานเดียวกัน และประกาศใช้กฎหมายธนาคารแห่งชาติ • ปี 1881 รัฐบาลเมจิก็ประสบความสำเร็จในการเชื่อมเมืองหลักๆเกือบทั้งหมดด้วยระบบโทรเลข • อุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดคือ การผลิตเสื้อผ้า การผลิตด้านนี้ช่วยลดสินค้าเข้าของญี่ปุ่นได้มากกว่าครึ่งในระหว่างปี 1868-1882
ทศวรรศที่ 1900-1920 • ปี 1900 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว • ปี 1915 – 1920 กองเรือพาณิชย์ญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นเกือบเท่าตัว • เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างหนักได้ช่วยทำให้ความคึกคักทางเศรษฐกิจ
ปี 1920-1932 ปัญหาเศรษฐกิจขึ้นเนื่องจาก • ผลิตผลทางเกษตรกรรมนั้นเพิ่มขึ้นน้อยมาก การผลิตวัตถุดิบ และผลิตผลทางเกษตรกรรมเริ่มคงที่ • มีการใช้จ่ายภาครัฐลดลง • เกิดจากลักษณะเศรษฐกิจโลกในระยะนั้น (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1) ระดับราคาสินค้าของประเทศส่วนใหญ่ได้ตกต่ำลงมากกว่าของญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเสียเปรียบในดุลการค้า
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 – ปี 1973 • รัฐวิสาหกิจก็ยังคงมีความสำคัญในการผลิตเหล็ก และเหล็กกล้า เครื่องจักร และอาวุธ • รัฐบาลยังเป็นผู้รับผิดชอบส่วนใหญ่ ในการก่อสร้างทางรถไฟ เครื่องอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ • ส่วนแบ่งของรัฐบาลในการสะสมทุนภายในไม่เคยเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 40 ทั้งนี้การแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เพื่อเป็นการนำทางภาคเอกชน
รัฐบาลญี่ปุ่นใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณเงินภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อสูงถึง 166% ในปี 1948 • สหรัฐได้ส่งนาย Joseph M. Dodge มาให้คำปรึกษาในปี 1949
“Dodge Line” • รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบสมดุล • จะต้องยกเลิกระบบให้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลให้แก่ภาคเอกชนทั้งหมด • จะต้องยกเลิกบรรษัทการเงินเพื่อการบูรณะประเทศ (RFC) เนื่องจากเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อของประเทศสูงเกินกว่าร้อยเปอร์เซนต์ • จะต้องใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอัตราเดียว แทนระบบหลายอัตราที่ใช้กันอยู่ซึ่งต่อมาได้กำหนดไว้ที่ระดับ 360 เยน ต่อ 1 ดอลลาห์สหรัฐ
ผลของ “Dodge Line” • อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือเพียง 63% ในปี 1949 และลดลงมาอีกเหลือเพียง 18% ในปี 1950 • เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง • มีการปลดคนงานออกจำนวนมาก
สงครามเกาหลีปี 1950 • มีการลงทุนขนานใหญ่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ • ญี่ปุ่นส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 2.7 เท่า • บริษัทที่เคยผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่น ก็ค่อยๆแปรรูปไปผลิตสินค้าอื่นๆแทน เช่น บริษัท Misubishi Heavy Industries ก็เปลี่ยนจากการผลิตเครื่องบินรบ และเรือรบ มาเป็นตู้เย็น กะทะ ฯลฯ แทน
ก่อตั้ง MITI ปี 1949 MITI มีบทบาทดังนี้ • อนุมัติเกี่ยวกับการขอซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อนำไปซื้อสินค้าหรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศ • ให้สิทธิ และประโยชน์ด้านภาษีอากรแก่อุตสาหกรรมเป้าหมาย • ส่งเสริมให้บริษัทญี่ปุ่นควบกิจการด้วยกันเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of scale)
เสนอกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม หรือ Industrial Rationalization Promotion Law โดยกำหนดมาตรการสนับสนุนมากมายทางด้านภาษีอากร • ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาโดย MITI มีหน่วยงานวิจัย และพัฒนาของตนเอง คือ Agency of Industrial Science and Technology
ปี 1960 แผนการเพิ่มรายได้เป็น 2 เท่า (Income – Doubling Plan) รัฐได้ทำหน้าที่ดังนี้ • ส่งเสริมทุนสาธารณะ • สร้างโครงสร้างอุตสาหกรรมในระดับสูง • สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ • พัฒนากำลังคน และเทคโนโลยี • ลดช่องว่างโครงสร้าง 2 ชั้น และรักษาความมั่นคง
ปี 1960 แผนการเพิ่มรายได้เป็น 2 เท่า (Income – Doubling Plan) โดยแผนนี้ได้กำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจไว้ถึง 10% ทำให้รัฐวิสาหกิจต่างๆเพิ่มการลงทุนขนานใหญ่
ทศวรรษที่ 60 รัฐบาลได้ควบคุมการนำเข้าโดยใช้วิธีกำหนดโควต้า และควบคุมเงินตราต่างประเทศ • ปี 1963 เนื่องจากช่วงทศวรรษนี้มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายธุรกิจขนาดย่อมพื้นฐาน (Basic Small Business Law) • ปี 1964 การวางแผนเศรษฐกิจนั้นเน้นการสนับสนุนการค้าต่างประเทศเสรี
เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เจริญเติบโตในอัตราเฉลี่ยสูงกว่า 10% ในช่วงค.ศ. 1955-1970 และสิ้นสุดลงเมื่อเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันในปี 1973 ทำให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจ จากส่งเสริมการเจริญเติบโตในระดับสูง มาเป็นการเจริญเติบโตอย่างช้าๆ และเน้นการกระจายรายได้ในสังคม
ญี่ปุ่นกับวิกฤตการณ์เศรษฐกิจฟองสบู่ ปี 1990 • วิกฤติเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มต้นเมื่อปี 1990 ซึ่งเป็นผลมาจากการเก็งกำไรในทรัพย์สิน เช่น การเก็งกำไรในตลาดหุ้น, อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนในกิจการที่ให้ผลตอบแทนต่ำ • เดือนธันวาคม 1989 ธนาคารกลางของญี่ปุ่นได้วิตกเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ และภาวะเงินเฟ้อ จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเวลานั้นจาก 4.25% มาเป็น 6% ส่งผลให้ฟองสบู่แตกราคาทรัพย์สินทั้งในส่วนที่ดินและราคาหุ้นลดต่ำลงมาก
บทบาทรัฐในการการวิกฤตเศรษฐกิจ 1990 • การปฏิรูปโครงสร้างการคลัง เพื่อคลายความกังวลของประชาชนเรื่องความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ • การแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อฟื้นฟูกลไกการไกล่เกลี่ยด้านการเงินเพื่อที่จะทำให้ทรัพยากรไหลไปสู่สาขาที่เจริญเติบโต • การดำเนินการปฏิรูปกฎระเบียบและการปฏิรูปราชการ
มาตรการทางการคลังที่ใช้แก้ปัญหา 1990 ญี่ปุ่นได้ใช้มาตรการทางการคลังเพื่อแก้ไขปัญหาดังนี้ • การออกพันธบัตรรัฐบาล เพื่อดูดซับสภาพคล่องล้นเกิน ออกจากภาคการเงินของญี่ปุ่น และลดทอนโอกาสการปล่อยกู้ ทั้งนี้ยังเป็นการสร้างรายได้แก่สถาบันการเงิน • การออกนโยบายการลดทอนภาระทางภาษีของธุรกิจ และประชาชน • การออกเงินทุนสาธารณะ (Public Funds) เพื่อการปล่อยกู้ให้ภาคเอกชน
นโยบายการเงินที่ใช้แก้ปัญหา 1990 • ปี 1995 ได้มีการจัดตั้งธนาคารใหม่ในนามธนาคารโตเกียวเคียวโด เพื่อรับโอนกิจการจากสหกรณ์ออมทรัพย์โตเกียวเคียววะและสหกรณ์ออมทรัพย์อันเซน • ปี1996 เปลี่ยนเป็น ธนาคาร Resolution and Collection Bank เพื่อเป็นธนาคารทำหน้าที่ควบรวมและบริหารจัดการหนี้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ล้ม
นโยบายการเงินที่ใช้แก้ปัญหา 1990 • ได้อัดฉีดเงินทุนภาครัฐจำนวน 685,000 ล้านเยน เพื่อจัดการแก้ปัญหาการล้มของบริษัทสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกันก็ได้จัดตั้งบรรษัทบริหารหนี้เพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรับโอนหนี้ของบริษัทสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย • ในปี 1999 บรรษัท Resolution and Collection Corporation ทำหน้าที่บริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยรับโอนกิจการจากสถาบันการเงินที่ล้ม และซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากสถาบันการเงินทั่วไป
นโยบายการเงินที่ใช้แก้ปัญหา 1990 • โอซามุ วาตานาเบ ประธานและซีอีโอองค์การการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น หรือเจโทร กล่าวว่า หลังจากเศรษฐกิจเริ่มทำท่าว่าจะฟื้นตัวในช่วงปี 1996 รัฐบาลกลับตัดสินใจผิดพลาด ด้วยการคุมเข้มนโยบายการเงินเร็วเกินไป ทำให้ปัญหาหนี้เสียภาคธนาคารยิ่งรุนแรง และทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 1997
นโยบายการเงินที่ใช้แก้ปัญหา 1990 • รัฐบาลใช้จ่ายเงินเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกว่า 40 ล้านล้านเยน ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบันสูงถึง 154.6% (2003)
ปัญหาภาวะเงินฝืด ปี 1999 • รัฐบาลญี่ปุ่นก็พยายามแก้ไขปัญหาโดยให้ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น • มีการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล • ธนาคารของญี่ปุ่นไม่ได้ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และประชาชนก็ไม่ได้จับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงเรื่อยๆจนใกล้ 0% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เรียกว่า “liquidity trap” หรือ “กับดักสภาพคล่อง” ทำให้นโยบายการเงินไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
ปัญหาภาวะเงินฝืด ปี 1999 • เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 กระทรวงการคลังของญี่ปุ่นได้ออกธนบัตรรูปแบบใหม่ออกมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะช่วย "refresh" เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ซบเซาต่อเนื่องมาหลายปี ธนบัตรใหม่ที่พิมพ์ออกมาในระยะแรกมีจำนวน 5 หมื่นล้านฉบับ และส่วนที่เหลือจะค่อยๆ ทยอยเข้าสู่ระบบ ซึ่งคาดการณ์ ไว้ว่าจะสามารถนำธนบัตรใหม่ออกมาใช้แทนที่ธนบัตรเก่า ที่มีอยู่ประมาณหนึ่งแสนล้านฉบับได้หมดภายในสิ้นปี 2548 นั่นหมายความว่าจะมีเงินหมุนเวียน (ชั่วคราว) เพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า
บทเรียนที่ได้จากญี่ปุ่นบทเรียนที่ได้จากญี่ปุ่น • ต้องหาสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า • ลดภาษีการนำเข้าสินค้าประเภททุน • รัฐควรส่งเสริมการพัฒนาทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมไปพร้อมๆกัน • พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ • การกระจายความเจริญ
บทเรียนที่ได้จากญี่ปุ่น (ต่อ) • รัฐบาลควรแทรกแซงเศรษฐกิจเป็นระยะๆ ตามสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น • ด้านการจัดการปัญหาหนี้เสีย หรือ NPL ของญี่ปุ่นนั้น ประเทศไทยไม่ควรเอาอย่างเนื่องจาก รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาแก้ไขปัญหาช้าเกินไป พร้อมทั้งปล่อยให้สถาบันทางการเงินที่มีหนี้เสียอยู่มากดำเนินการต่อพร้อมให้เงินอุดหนุนจนเกิดหนี้สาธารณะมากมาย อีกทั้งในช่วงภาวะเงินฝืด ราคาสินค้าปรับตัวลง แต่รัฐบาลกลับให้เงินอุดหนุนสินค้าบางชนิด เช่น ที่ดิน ให้มีระดับราคาที่สูงอยู่ ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทศวรรษที่ 60: นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งออก มาตรการที่รัฐบาลเกาหลีได้นำมาปฏิบัติ ได้แก่ • การระดมทุนทั้งภายในและต่างประเทศ • การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศถึงร้อยละ 26.4 • การลดค่าเงินวอนลงเกือบ 100% • ขจัดอุปสรรคและขั้นตอนที่ยุ่งยากในการส่งออก • ช่วยเหลือด้านเงินกู้ระยะสั้นเพื่อการส่งออก และใช้ระบบคืนภาษีแก่วัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก • รวมทั้งมุ่งชักจูงให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในเกาหลีให้มากขึ้น
ทศวรรษที่ 60: นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งออก Economic Achievements of Korea in 1960’s
ทศวรรษที่ 70: นโยบายเน้นหนักด้านการสร้างอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี • การส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการก่อตั้งอุตสาหกรรมส่งออกและอุตสาหกรรมเคมี • มุ่งหาตลาดในการส่งออกใหม่ๆให้มีการกระจายตัวมากขึ้น • ขยายการผลิตธัญพืชให้พอเลี้ยงตัวเองได้
ทศวรรษที่ 70: นโยบายเน้นหนักด้านการสร้างอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี Share of investment in heavy and chemical industries to manufacturing industries in the 1970’s
ทศวรรษที่ 80: นโยบายรักษาระดับความเจริญเติบทางเศรษฐกิจที่สูง พร้อมทั้งการมีเสถียรภาพทางด้านราคา • การควบคุมสภาพคล่องทางการเงิน • เปลี่ยนแนวทางที่เคยส่งเสริมอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี มาเป็นให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม • การแก้ไขราคาสินค้าที่ผิดปกติ โดยเลิกควบคุมราคาสินค้าบางชนิด และส่งเสริมให้มีการแข่งขันโดยเปิดการค้านำเข้าเสรีมากขึ้น • การใช้นโยบายทางการคลังด้านการงบประมาณอย่างระมัดระวัง
บทบาทภาครัฐในการพัฒนาประเทศเกาหลีใต้บทบาทภาครัฐในการพัฒนาประเทศเกาหลีใต้ • การใช้มาตรการด้านภาษีอากร • การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ • การปรับอัตราแลกเปลี่ยน • การตั้งสถาบันส่งเสริมการส่งออก • การพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน
การใช้มาตรการด้านภาษีอากรการใช้มาตรการด้านภาษีอากร • การยกเว้นหรือลดอัตราภาษีให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมการส่งออก • การยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียมศุลกากรสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้า และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งสินค้าประเภททุนที่จะใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก • การยกเว้นไม่เก็บภาษีทางอ้อมในวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปและรายได้จากการส่งออก • การให้ส่วนลดภาษีทางตรงในรายได้ที่ได้รับจากกิจกรรมการส่งออก
การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ
การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ
การปรับอัตราแลกเปลี่ยนการปรับอัตราแลกเปลี่ยน
การตั้งสถาบันส่งเสริมการส่งออกการตั้งสถาบันส่งเสริมการส่งออก • กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม • บรรษัทส่งเสริมการค้าเกาหลี • ธนาคารเพื่อการส่งออก-นำเข้าของเกาหลี • สมาคมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรของเกาหลี • สมาคมพ่อค้าเกาหลี • บรรษัทการค้าระหว่างประเทศของเกาหลี • สมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งเกาหลี
การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานระหว่างปี 1967-1983
บทเรียนที่ได้จากเกาหลีบทเรียนที่ได้จากเกาหลี • การส่งเสริมการส่งออก • การพัฒนาชนบท • การส่งเสริมด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
“ฮ่องกง” เมืองท่าปลอดภาษี 1842 • จากสงครามฝิ่นทำให้จีนต้องทำสนธิสัญญานานกิง และยกฮ่องกงให้กับอังกฤษเป็นเวลากว่า 150 ปี ทรัพยากรที่สำคัญที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจก็คือ • ท่าเรือขนถ่ายสินค้าซึ่งเป็นท่าเรือปลอดภาษี เหมาะแก่การขนถ่ายสินค้าไปยังจุดต่างๆ • ธุรกิจต่างๆ ในฮ่องกงสามารถดำเนินไปได้อย่างเสรี โดยรัฐบาลไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง • ฮ่องกงมีประชากรที่มีคุณภาพ และขยัน ทำให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว
บทบาทภาครัฐที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจบทบาทภาครัฐที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ • ในระยะต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจ (1842 – 1900) รัฐส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนการส่งออก โดยเน้นหนักที่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในการผลิตมาก (Labor-intensive industries) • รัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาคธุรกิจเอกชน • รัฐบาลที่ทางอังกฤษมอบหมายให้ปกครองฮ่องกงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจปล่อยตามสบายอย่างเคร่งครัด (Laissez-faire)
บทบาทภาครัฐที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ (ต่อ) • รัฐบาลไม่ได้ให้เงินช่วยเหลือ,ให้สิทธิพิเศษแก่อุตสาหกรรมหรือกิจการใดๆ • การเก็บภาษีอยู่ในอัตราที่ต่ำ • การเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกจากฮ่องกงเป็นไปได้อย่างเสรี • รัฐมีหน้าที่หลักคือ จัดบริการ และสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อเป็นหลักประกันในความมั่นคงของสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา • รัฐมีบทบาทในการรักษาระบบกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และความเชื่อมั่นกับภาคธุรกิจ
บทบาทภาครัฐในปัจจุบันบทบาทภาครัฐในปัจจุบัน • รัฐบาลฮ่องกงวางแนวทางที่จะพัฒนาให้ฮ่องกงเป็น International Financial and high-valued added services center • โครงการเปิดเสรีการค้าระหว่างฮ่องกง จีน Closer Economic Partnership Arrangement (CEPA I, II)