460 likes | 1.06k Views
ทบทวนผลการดำเนินงาน โครงการโภชนบูรณาการ ในโรงเรียนนำร่องระดับประถมศึกษา ภายใต้แผนงานโภชนาการเชิงรุก ปี 2550 - 2551 โดย... ศูนย์ประสานงานโครงการโภชนาการสมวัย (สสส.). วัตถุประสงค์ : โครงการโภชนบูรณาการในโรงเรียนนำร่อง. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการบูรณาการงานโภชนาการใน
E N D
ทบทวนผลการดำเนินงานโครงการโภชนบูรณาการในโรงเรียนนำร่องระดับประถมศึกษาภายใต้แผนงานโภชนาการเชิงรุกปี 2550 - 2551โดย...ศูนย์ประสานงานโครงการโภชนาการสมวัย (สสส.)
วัตถุประสงค์ : โครงการโภชนบูรณาการในโรงเรียนนำร่อง • เพื่อศึกษาการบริหารจัดการบูรณาการงานโภชนาการใน • โรงเรียนนำร่อง สังกัด กทม., เทศบาล, สพฐ. และเอกชน • ให้เป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice Model) ด้านการจัดการ • อาหารและโภชนาการที่มีประสิทธิภาพยั่งยืน • เพื่อให้ได้ข้อเสนอนโยบายระดับองค์กร / ท้องถิ่น และผลักสู่ • นโยบายระดับชาติ • กลุ่มเป้าหมาย : เด็กนักเรียนอายุ 6 – 14 ปีในโรงเรียน • นำร่องสังกัด กทม. เทศบาล สพฐ. และเอกชน
Ultimate Goal ปี 2553 • แนวโน้มของเด็กวัยเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีภาวะโภชนาการสมวัยเพิ่มขึ้น Outcome ปี 2552 - 2553 • นโยบายโภชนบูรณาการในโรงเรียนประถมศึกษาระดับท้องถิ่น • และระดับชาติ Output ปี 2550 - 2551 • Best Practice Model ด้านโภชนบูรณาการในโรงเรียนนำร่อง สังกัด กทม. • เทศบาล สพฐ. และเอกชน • ข้อเสนอนโยบายด้านโภชนบูรณาการในโรงเรียนประถมศึกษาระดับองค์กร / • ท้องถิ่น เพื่อผลักสู่นโยบายระดับชาติ
Roadmap :โภชนบูรณาการในโรงเรียน ปี พ.ศ. 2550 - 2553 จัดเวทีวิชาการระดมสมองผู้เชี่ยวชาญ 2 ครั้ง รวบรวมBest Practice Model • Integrated Package : Core Content • อาหาร • สิ่งแวดล้อม • การเรียนรู้ ใน-นอกหลักสูตร • การเฝ้าระวังและประเมินภาวะโภชนาการ Best Practice Model : โภชนบูรณาการ ในโรงเรียน • การบริหารจัดการ : Core Process • การมีส่วนร่วม • การพัฒนาบุคลากร • การมีเครื่องมือประเมินตนเอง • การขับเคลื่อนนโยบาย ชุมชน ขนมทางเลือกเพื่อสุขภาพ (ขบเคี้ยว/ขนมไทย) กทม. อปท. (เทศบาล) เอกชน สพฐ. ปีการศึกษา 2551 รายงานการวิจัยเชิงสำรวจสถานการณ์ และวิเคราะห์ นโยบาย/ กฎหมาย / กฎ / ระเบียบ / มาตรการ และการบริหารจัดการโภชนาการในโรงเรียน ระดับท้องถิ่น / ประเทศ จัดเวทีสังเคราะห์/วิเคราะห์ของ 4Setting (ปลายปี 2551) บทเรียน จากการทดลองทำ (Best Practice Model) จัดทำ Policy Mapping (ต้นปี 2552) ข้อเสนอนโยบาย ระดับองค์กร/ท้องถิ่น เพื่อผลักสู่นโยบายระดับชาติ สื่อสารสาธารณะ ผลักนโยบาย School Policy ปี 2552 - 2553
Roadmap โภชนบูรณาการในโรงเรียน สังกัด กทม., เทศบาล, สพฐ., เอกชน ปี พ.ศ. 2550 - 2551 ม.ค. – มี.ค.51 ธ.ค.50 • ประชุมบูรณาการ • (2 – 3 ครั้ง) • คณะทำงาน • ครูแกนนำ/ผู้ปกครอง • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • (ศธ/สธ/เกษตร/อบต./กทม.ฯลฯ) • Preparatory plan • คัดเลือกโรงเรียนนำร่อง • ประสานผู้บริหาร/ต้นสังกัด/โรงเรียน มี.ค.51 • Inclusive Planning / Policy / Budget Operation Plan / Organization Chart • Integrated Package (IP) • สังกัด กทม. เทศบาล สพฐ. เอกชน พ.ค. – มิ.ย.51 เม.ย.51 นิเทศ 2 - 5 ครั้ง และ ประเมิน ผล (ต.ค.51) เก็บข้อมูลพื้นฐาน (Situation analysis) ประชุมผู้เชี่ยวชาญ จัดทำ “ชุดการเรียนรู้ ด้านโภชนบูรณาการ” พ.ค. – ก.ย.51 พ.ค.-มิ.ย.51 ดำเนินงานโภชนบูรณาการในโรงเรียน Training & Standardization พ.ค.-มิ.ย.51 ประชุมนำเสนอ IP แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนทั้งหมด ต.ค.-พ.ย.51 พ.ย. – ธ.ค.51 ถอดบทเรียน - บริหารจัดการ - ประเมิน IP ข้อเสนอนโยบาย ระดับองค์กร / ท้องถิ่น เพื่อผลักสู่นโยบายระดับชาติ Best Practice Model
คำจำกัดความ “Integrated Package ด้านโภชนบูรณาการในโรงเรียน” • โภชนบูรณาการในโรงเรียน หมายถึง • การจัดกิจกรรมบูรณาการ (Integrated Package) โครงการด้านอาหารและโภชนาการ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กวัยเรียน มี Core Content4 องค์ประกอบ ได้แก่ • 1. คุณภาพและมาตรฐานอาหารในโรงเรียน (เน้นผักและผลไม้ ไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็ม) • อาหารในโรงเรียนในโครงการนี้หมายถึง อาหารกลางวัน (และอาหารเช้า ถ้ามี) เครื่องดื่ม และอาหารว่าง โดยใช้โปรแกรมการจัดอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนของสถาบันวิจัยโภชนาการ/มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพและมาตรฐาน
Core Content (ต่อ) 2. บูรณาการโภชนาการในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยบูรณาการองค์ความรู้ จำนวน 5 เรื่อง ในชุดการเรียนรู้เสริมหลักสูตรของโรงเรียนและท้องถิ่น ได้แก่ - การอ่านฉลากอาหาร - เด็กไทยไม่กินหวาน - กินเป็นเน้นผัก - การควบคุมป้องกันและแก้ไขโรคอ้วน - มาตรฐานอาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารว่าง และเครื่องดื่ม โดยบูรณาการกับกิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และกิจกรรม อย.น้อย ฯลฯ
Core Content (ต่อ) 3. การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย โดยครอบคลุม 2 ด้าน คือ - ด้านกายภาพ เช่น การมีสถานที่ / อุปกรณ์ในการออกกำลังกายที่เพียงพอ, การจัดการด้านสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน ได้แก่ โรงอาหารถูกสุขลักษณะ, สุขาน่าใช้, ร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารในโรงเรียน และชุมชนได้รับการรับรอง CFGT / เมนูชูสุขภาพ - ด้านสังคม ได้แก่ กฎ ระเบียบ มาตรการต่างๆ เช่น มาตรการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ การส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ มาตรการการควบคุมการจำหน่ายอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสนับสนุนการจำหน่ายอาหาร / ขนมเพื่อสุขภาพที่ผ่านการรับรองจากกรมอนามัย ตัวอย่างเช่น - การประกาศเขตปลอดน้ำอัดลม / น้ำหวาน / ขนมกรุบกรอบ ใน โรงเรียนและชุมชน - การประกาศเขตปลอดโฆษณาอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และ ส่งเสริมสื่อดี
Core Content (ต่อ) 4. การเฝ้าระวังและประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน โดยให้นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม INMU Thai Growth ของสถาบันวิจัยโภชนาการ เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังและประเมินผลภาวะโภชนาการ
คำจำกัดความ “การบริหารจัดการด้านโภชนบูรณาการในโรงเรียน” • ประกอบด้วย Core Process 4 ด้าน ได้แก่ • 1. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการของเด็กนักเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่อไปนี้ • 1.1Inclusive Planning : ร่วมวางแผน จัดทำโครงการ /กิจกรรม ร่วมดำเนินงาน ติดตาม ประเมินผล และถอดบทเรียน • 1.2Role & Responsibility : มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน โดยการจัดทำ Organization Chart และมี Operation Plan • โดยศึกษา Best Practice จากโครงการเด็กกินอิ่มเรายิ้มได้และเครือข่ายอื่นๆ
Core Process (ต่อ) 2. การพัฒนาบุคลากรที่มีอิทธิพลกับโภชนาการของเด็กนักเรียน 2.1 พัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านอาหารและโภชนาการ โดยนำองค์ความรู้และทักษะที่เป็น Best Practice ซึ่งภาคีเครือข่ายของแผนงานโภชนาการเชิงรุกได้พัฒนาขึ้นมาในระยะที่ 1 มาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียน และการบริหารจัดการของโรงเรียนและชุมชนโดยเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ ใน 7 เรื่อง ต่อไปนี้ 2.1 รูปแบบการส่งเสริมการกินผักผลไม้ในโรงเรียน 2.2 รูปแบบการดำเนินงานลดการกินหวานในโรงเรียน 2.3 รูปแบบการควบคุมและป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน 2.4 รูปแบบการส่งเสริมการอ่านฉลากในโรงเรียน 2.5 ระบบการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน และ การใช้โปรแกรม INMU Thai Growth 2.6 การใช้แบบประเมินตนเองด้านโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร 2.7 มาตรฐานอาหารกลางวันในโรงเรียนสำหรับเด็กไทย และการใช้ โปรแกรมการจัดอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียน
Core Process (ต่อ) 2.2 พัฒนาศักยภาพครูด้านการสื่อสาร โดยจัดทำหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ สำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดกระบวนการเรียนการสอน การจัดทำสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนสาระสำคัญของหลักสูตรการอบรม (จำนวน 3 วัน 2 คืน) • สร้างแรงจูงใจ เสริมพลังเพื่อให้มีความเชื่อมั่น และเห็นคุณค่าของตนเองต่อความสำเร็จ • ความเข้าใจต่อสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของเด็กในปัจจุบัน • ความรู้พื้นฐานด้านอาหารและโภชนาการที่ควรรู้และเข้าใจ • ความรู้พื้นฐานหลักการสื่อสาร(เพื่อการเปลี่ยนแปลง) และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง • ทักษะวิชาชีพ • การผลิตสื่อ และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการประยุกต์ใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ • สื่อใกล้ตัว/ใช้วัสดุท้องถิ่น • สื่อละครเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
Core Process (ต่อ) 3. การมีเครื่องมือประเมินตนเองสำหรับโรงเรียนและเครือข่ายของกทม. เทศบาล สพฐ. และเอกชน โดยใช้เครื่องมือต่อไปนี้ 3.1 แบบประเมินตนเองด้านโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร 3.2 แบบประเมินนโยบายและมาตรการโรงเรียน 3.3 แบบฟอร์มการสำรวจข้อมูลพื้นฐานก่อนและหลังดำเนินงาน เช่น ความรู้ & พฤติกรรมด้านอาหารและออกกำลังกาย, ภาวะ โภชนาการ, ภาวะสุขภาพอื่นๆ , สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ฯลฯ 3.4 แบบฟอร์มรายงานความก้าวหน้าของโครงการ (ระบบ Online) 3.5 แบบฟอร์มการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ระหว่างดำเนินการ และสิ้นสุดโครงการ
Core Process (ต่อ) 4. การขับเคลื่อนนโยบาย 4.1 มีการจัดเวที (Policy Forum) เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายระดับองค์กร และท้องถิ่น เพื่อผลักสู่นโยบายระดับชาติ
เครื่องมือและสื่อที่ใช้ในการดำเนินงานเครื่องมือและสื่อที่ใช้ในการดำเนินงาน ด้านอาหารและโภชนาการ -แบบประเมินโภชนาการและสุขาภิบาลในโรงเรียนของวุฒิอาสาธนาคารสมอง - แบบประเมินนโยบายและมาตรการโรงเรียน (มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ) - โปรแกรมสำเร็จรูปประเมินภาวะโภชนาการ (INMU Thai Growth) ของ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล - โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดอาหารโรงเรียนของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ - เมนูจานผัก / เมนูอ่อนหวาน -CD / VCD เพลงผัก ผลไม้ เพลงอ่อนหวาน - DVD ดร.สมาร์ทพิฆาตโรคอ้วน (โครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย) - คู่มือการสร้างเสริมสุขภาพ (นักเรียน/ครู) (โครงการเด็กไทยดูดี มีพลานามัย) - หนังสือ / เอกสาร ไม่กินหวาน และธงโภชนาการ - สื่อต่างๆ , ชุดนิทรรศการ
รายชื่อโรงเรียนเครือข่ายโครงการโภชนบูรณาการในโรงเรียนนำร่อง 4 สังกัด ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ จำนวน 19 โรงเรียน
KPI โภชนบูรณาการในโรงเรียน ปี 2551 (แผนงานฯ) KPI 1 : จำนวนโรงเรียนนำร่องโครงการโภชนบูรณาการ ในโรงเรียน สังกัด กทม., เทศบาล, สพฐ. และเอกชน KPI 2 : จำนวนองค์กรและภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินโครงการ KPI 3 : จำนวนรูปแบบ(Best Practice Model) การดำเนินงาน โภชนบูรณาการในโรงเรียน สังกัด กทม., เทศบาล, สพฐ. และเอกชน (เอกสารการถอดบทเรียน 1 ชุด/4 รูปแบบ) KPI 4 : ข้อเสนอนโยบายโภชนบูรณาการในโรงเรียนระดับ องค์กร / ท้องถิ่น เพื่อผลักสู่นโยบายระดับชาติ
KPI โภชนบูรณาการในโรงเรียน ปี 2551 (ระดับโรงเรียน) KPI 1 : จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ KPI 2 : จำนวนองค์กรและภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินโครงการ KPI 3 : เอกสารการถอดบทเรียน (Best Practice Model) การดำเนินงาน โภชนบูรณาการในโรงเรียน สังกัด กทม., เทศบาล, สพฐ. และเอกชน - จำนวนองค์ความรู้ / นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจัดการ อาหารและโภชนาการในโรงเรียน / ชุมชน - คุณภาพของ Integrated Package และการบริหารจัดการ - พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่พึงประสงค์ ของนักเรียน - การเปลี่ยนแปลงด้านภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน - ระดับความพึงพอใจของนักเรียน / ผู้ปกครอง / เครือข่ายต่อโครงการ / กิจกรรม KPI 4 : ข้อเสนอนโยบายโภชนบูรณาการในโรงเรียนระดับองค์กร / ท้องถิ่น เพื่อ ผลักสู่นโยบายระดับชาติ
ข้อค้นพบที่สำคัญ จากการดำเนินงาน โครงการโภชนบูรณาการในโรงเรียนนำร่อง 4 สังกัด
ข้อค้นพบที่สำคัญ จากการดำเนินงาน โครงการโภชนบูรณาการในโรงเรียนนำร่อง (ภาพรวม) Input 1 :การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม 1.1 จัดทำผังมโนทัศน์ และจัดทำแผนการสอน โดยบูรณาการประเด็นคุณภาพอาหารและ โภชนาการ (เน้น ผัก ผลไม้ ลดหวาน มัน เค็ม ฉลากโภชนาการ และการออกกำลังกาย) ไม่น้อยกว่า 4 กลุ่มสาระ 1.2 จัดทำแผนการเรียนรู้กลางด้านอาหารและโภชนาการซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดของหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 1.3 จัดทำชุดความรู้และคู่มือครูด้านอาหารและโภชนาการ 1.4 จัดทำชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมให้เป็นผู้นำการ เปลี่ยนแปลงด้านอาหารและโภชนาการ 1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำสื่อการเรียนการสอนเสริมหลักสูตรในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น สื่อเสริมประสบการณ์การเรียนการสอน เพลง การ์ตูน Animation เสียงตามสาย ฯลฯ 1.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมให้เครือข่ายผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดทำ กิจกรรมเสริมหลักสูตร หรือบูรณาการกับกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม
Input 2 :การบริหารจัดการอาหารโรงเรียน 2.1 กำหนดประเภทและคุณภาพของอาหาร ขนม และเครื่องดื่มในโรงเรียน ตามหลักโภชนาการ โดยเน้น “ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็มผัก ผลไม้” เช่น ส่งเสริมให้มีร้านขายผลไม้แทนขนมกรุบกรอบ 2.2 ผลักดันนโยบายและกฎหมายปลอดน้ำอัดลม / เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลไม่เกิน 5 % ของส่วนผสมทั้งหมด และขนมกรุบกรอบ ขนมเหนียวหนืด 2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดอาหารมื้ออื่นตามความจำเป็นสำหรับนักเรียนที่ ขาดแคลนและด้อยโอกาส 2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้โปรแกรมอาหารกลางวัน เพื่อจัดอาหารให้ได้คุณค่า อาหารทางโภชนาการและการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า 2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการติดตามประเมิน โดยคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน / หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ 2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนเชิดชูเกียรติผู้มีส่วนร่วมในการประกอบอาหารโรงเรียนที่ดี มีมาตรฐานด้านอาหารและโภชนาการ
Input 3 :การจัดปัจจัยเอื้อต่อการเรียนรู้ด้านโภชนาการในโรงเรียน 3.1 สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของเด็กนักเรียน เช่น มีเสียงตามสาย นิทรรศการ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงการเรียนรู้เสริม หลักสูตร 3.2 จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย สำหรับเด็กนักเรียนทั่วไป และกลุ่มเสี่ยง 3.3 ร้านอาหารในโรงเรียนไม่มีการจัดวางชุดเครื่องปรุงรส 3.4 การสร้างสื่อและกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ เช่น เพลง เพลงเรือแหลมโพธิ์ มวยไทย ระบำไก่ชน 3.5 ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมหลักสูตร เช่น ตะกร้าโภชนาการ 3.6 สภานักเรียนจัดกิจกรรมการแสดง เช่น การออกกำลังกาย และส่งเสริมโภชนาการที่ดี 3.7 เครือข่ายผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนักเรียน เช่น จัดรณรงค์การกินผัก ผลไม้ 3.8 ร่วมมือกับชุมชนในการหาพื้นที่ทำการเกษตร และออกกำลังกาย เช่น ขอใช้พื้นที่รถไฟ 3.9 ส่งเสริมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันและการเรียนรู้ เช่น เลี้ยงปลา ปลูกผัก
Process 4 :การติดตามประเมินผลและการเฝ้าระวังทางโภชนาการ 4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ เด็กนักเรียน 4.2 พัฒนาแบบประเมินตนเองสำหรับการดำเนินงานอาหารโรงเรียนโดยร่วมมือ กับวุฒิอาสาธนาคารสมอง กลุ่มสุขภาพ 4.3 ผลักดันให้มีระบบการติดตามประเมินผล ทั้งระดับส่วนกลางและภูมิภาค 4.4 สร้างระบบการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการแบบครบวงจร โดยอยู่ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามนโยบายของ สพฐ. 4.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อโรคจากอาหารและ โภชนาการ และแสวงหาความร่วมมือในการดูแล และรักษา โดยเชื่อมโยงกับ สปสช.
Process 5 : การบริหารจัดการที่ทำให้เกิดต้นแบบที่ดี ด้านโภชนบูรณาการในโรงเรียน ก. ด้านบุคลากรในโรงเรียน • ทุกโรงเรียนต้องมีครูด้านโภชนาการ ที่จบการศึกษาวิชาเอกด้านคหกรรมศาสตร์ ๑ คน เพื่อเป็นบุคลากรหลักที่ดูแลงานด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน • ครูที่รับผิดชอบงานอาหารกลางวันของโรงเรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะ ให้มีความรู้ด้านโภชนาการ จนสามารถบริหารจัดการให้เกิดงานโภชนาการโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ • พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบการพัฒนางานโภชนาการในโรงเรียน อันประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง
ข. ด้านระบบ/กลไกที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา • บริหารงานอาหารและโภชนาการโดยนำข้อมูลจากการประเมินผลและการเฝ้าระวังปัญหามาใช้เป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย ข้อมูลการประเมินผล ทั้งการประเมินผลภายในและการประเมินจากภายนอก การนิเทศ และ การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ (ถ้ามี) • มีเครื่องมือการประเมินตนเองด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน และแนวทางในการผลักดันให้ถูกใช้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ • มีผู้ที่มีความรู้ด้านโภชนาการเข้าร่วมเป็นกรรมการสถานศึกษา และให้ผู้บริหารโรงเรียนรายงานเรื่องนี้ให้คณะกรรมการสถานศึกษาทราบเป็นประจำ • ดำเนินการโดยใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย
ค. ด้านนโยบาย • ผลักดันให้เรื่องโภชนาการในโรงเรียนเป็นนโยบายระดับชาติ เช่น การมีนโยบาย นำเงินกองทุนอาหารกลางวันใช้ส่งเสริมงานด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน เป็นต้น • บรรจุเรื่องงานพัฒนาโภชนาการเข้าสู่นโยบาย ภารกิจ และแผนงานของหน่วยงานภาครัฐ ดังต่อไปนี้ คือ กระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น) กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรุงเทพมหานคร เทศบาล และ องค์การบริการส่วนตำบล) และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการทำงานของผู้บริหาร • เชื่อมโยงงานสู่ผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลอาหารและโภชนาการในเด็กและเยาวชน ให้เห็นความสำคัญ และมีนโยบาย มาตรการสนับสนุนภารกิจนี้ อย่างต่อเนื่อง (policy advocacy) • สร้างกลไกการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ที่นำไปสู่การมีผู้รับผิดชอบในทุกระดับ (บรรจุไว้ในวิสัยทัศน์ของจังหวัด)
จาก...โภชนบูรณาการ...ก้าวสู่...แหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนปี 2552 - 2553
เป้าหมาย :โครงการโภชนบูรณาการ ในโรงเรียนนำร่อง สังกัด กทม. เทศบาล สพฐ. เอกชน ภายใต้แผนงานโภชนาการเชิงรุก (ปี 2551)ยกระดับสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียน ปี พ.ศ. 2552 - 2553 จำนวน 35 โรงเรียน ผลักดันนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น
นิยาม “แหล่งเรียนรู้” (สสส.) หมายถึง กิจกรรม สื่อ การรณรงค์ ผลิตภัณฑ์ การพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน และองค์กรที่ผ่านกระบวนการถอดบทเรียน ซึ่งสามารถนำบทเรียนไปประยุกต์ใช้ และขยายผลได้
(ร่าง) นิยาม “แหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียน” หมายถึง โรงเรียนที่ดำเนินงานตามเกณฑ์การเป็นโรงเรียนต้นแบบโภชนบูรณาการ หรือโรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านอาหารและโภชนาการ และผ่านกระบวนการถอดบทเรียนด้านการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดี ในการบูรณาการงานอาหารและโภชนาการสู่งานประจำแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยบุคลากรทั้งในและนอกโรงเรียนรวมทั้งภาคีเครือข่ายสามารถนำบทเรียนไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาต่อยอด และขยายผลได้ ในลักษณะดาวกระจาย อย่างน้อย 1 : 2
(ร่าง) เกณฑ์การประเมิน “แหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียน” 1. เป็นโรงเรียนต้นแบบโภชนบูรณาการ หรือโรงเรียนที่พึงประสงค์ ด้านอาหารและโภชนาการ ที่มีการดำเนินงานครอบคลุม 5 องค์ประกอบ แต่อาจจะมีผลงานเด่นครบทุกองค์ประกอบ หรือเฉพาะองค์ประกอบใด องค์ประกอบหนึ่ง ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 : การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม องค์ประกอบที่ 2 : การบริหารจัดการอาหารโรงเรียนที่มีคุณภาพและ ได้มาตรฐานโภชนาการ องค์ประกอบที่ 3 : การจัดปัจจัยเอื้อต่อการเรียนรู้ด้านโภชนาการในโรงเรียน องค์ประกอบที่ 4 : การติดตามประเมินผลและการเฝ้าระวังทางโภชนาการ องค์ประกอบที่ 5 : การบริหารจัดการที่ทำให้เกิดต้นแบบที่ดีด้านโภชนบูรณา การ หรือโรงเรียนที่พึงประสงค์ด้านอาหารและโภชนาการ
2. มีบุคลากรที่สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ “การจัดการอาหารและ โภชนาการในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพยั่งยืน” ได้ 3. ผ่านกระบวนการถอดบทเรียน และมีการนำบทเรียนไปประยุกต์ใช้ เพื่อ พัฒนาต่อยอด และขยายผลได้ 4. มีมาตรการทางสังคม / นโยบายสาธารณะในระดับโรงเรียน และท้องถิ่น 5. มีโครงการพัฒนางานและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง 6. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ฝึกอบรม ด้านการจัดการอาหาร และโภชนาการในระดับท้องถิ่น ประเทศ และสากล
หารือ : แนวทางการยกระดับ โรงเรียนต้นแบบโภชนบูรณาการ สังกัด กทม. สู่การเป็น แหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการ