150 likes | 433 Views
พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และ ที่ แก้ไขเพิ่มเติม และ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ราชการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ. ตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติเดินทาง ออกจากราชการ
E N D
พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการสิทธิที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติเดินทาง ออกจากราชการ ผู้มีอำนาจอนุมัติ : อนุมัติระยะเวลาเดินทางล่วงหน้า/หลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติราชการตามความจำเป็น หากผู้เดินทางได้รับอนุมัติให้ลากิจ/ลาพักผ่อนก่อนหรือหลังการเดินทาง ต้องขออนุมัติระยะเวลาดังกล่าวในการเดินทางด้วย
การเทียบสิทธิ : ลูกจ้าง จ้างจากเงินงบประมาณ ยกเว้น ชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง เทียบตำแหน่ง “ลูกจ้างทุกประเภท = ประเภททั่วไปปฎิบัติงาน” อ้างถึง หนังสือที่ กค0406.6/ว 104ลว22 ก.ย. 51
การเทียบสิทธิ : พนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ/เทคนิค = ประเภททั่วไปปฏิบัติงาน กลุ่มงานบริหารทั่วไป/ วิชาชีพเฉพาะ เมื่อรับราชการ –9 ปี ประเภทวิชาการปฏิบัติการ 10 - 17 ปี ประเภทวิชาการชำนาญการ 17 ปีขึ้นไป ประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ
การเทียบสิทธิ : พนักงานราชการ (ต่อ) กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ เมื่อรับราชการ –4 ปี ประเภทวิชาการปฏิบัติการ 5 - 10 ปี ประเภทวิชาการชำนาญการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ = ประเภทวิชาการเชี่ยวชาญ ยกเว้น ผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนอัตราสูงสุด = ประเภทวิชาการเชี่ยวชาญ
การเทียบสิทธิ : สื่อมวลชน หัวหน้าข่าวหรือบรรณาธิการคอลัมนิสต์ = ประเภทวิชาการชำนาญการ นักข่าวหรือนักประชาสัมพันธ์ = ประเภทวิชาการปฏิบัติการ
การเทียบสิทธิ การเทียบตำแหน่งข้าราชการส่วนท้องถิ่นและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ที่ กค0406.6/ว 105 ลว22 ก.ย. 51) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานส่วนท้องถิ่นในสายงานนักบริหารงาน ข้าราชการอัยการ ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ (ที่ นร1008/ว 30 ลว15 ก.ย. 53 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตำแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดำรงตำแหน่งฯ)
การนับเบี้ยเลี้ยง การเดินทางล่วงหน้า/เดินทางกลับทีหลัง กรณีผู้เดินทางมีเหตุส่วนตัวที่ต้องเดินทางไปล่วงหน้าหรือเดินทางกลับทีหลัง และได้ขอลากิจหรือลาพักผ่อนไว้ล่วงหน้า การเดินทางล่วงหน้า ให้เริ่มนับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติราชการ การเดินทางกลับล่าช้า ให้นับเวลาสิ้นสุดการปฏิบัติราชการ
ค่าเช่าที่พัก ค่าเช่าที่พักหมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการเช่าห้องพักในโรงแรมหรือที่พักแรม ซึ่งผู้เดินทางไปราชการสามารถเบิกค่าที่พักได้ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด การพักแรมที่ไม่สามารถเบิกค่าเช่าที่พักได้ ได้แก่ การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ การพักแรมในที่พักแรม ซึ่งทางราชการจัดที่พักไว้ให้แล้ว
ค่าเช่าที่พัก กรณีเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ซึ่งมีผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 ขึ้นไปเป็นหัวหน้าคณะ หากมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่เดียวกันกับที่พักเพื่อเป็นที่ประสานงานของคณะหรือบุคคลอื่น ให้เบิกค่าเช่าที่พักเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้อง(ไม่เกิน 2,500 บาท) หรือเบิกค่าเช่าห้องชุดแทนได้เท่าที่จ่ายจริง (ไม่เกิน 5,000 บาท)
ค่าพาหนะ พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 22 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พ.ศ. 2550 ข้อ 9 การเดินทางไปราชการ ให้ใช้ยานพาหนะประจำทาง ให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ไม่เกินสิทธิตามประเภทของพาหนะที่ใช้เดินทาง
ค่าพาหนะ (ต่อ) ค่าพาหนะ แบ่งเป็น พาหนะรับจ้าง พาหนะประจำทาง และพาหนะส่วนตัว หลักเกณฑ์การเบิกค่าพาหนะรับจ้าง : ต่ำกว่าระดับ 6 ลงมา เบิกได้เมื่อไม่มีรถประจำทาง กรณีมีรถประจำทาง แต่มีเหตุจำเป็นต้องใช้รถรับจ้าง เช่น มีสัมภาระ เดินทางเช้าตรู่ หรือเดินทางยามค่ำคืน
ค่าพาหนะ (ต่อ) กรณีมีความจำเป็นต้องเดินทางล่วงหน้า หรือไม่สามารถเดินทางกลับที่ตั้งสำนักงานเมื่อปฏิบัติราชการเสร็จ เพราะเหตุส่วนตัว เบิกค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงตามเส้นทางที่ได้รับคำสั่งให้ไปราชการ กรณีเดินทางนอกเส้นทางระหว่างการลา ให้เบิกค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริง โดยไม่เกินอัตราตามเส้นทางทีได้รับคำสั่งให้ไปราชการ
ค่าพาหนะ (ต่อ) กรณีเดินทางโดยเครื่องบิน : ผู้มีสิทธิ ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการขึ้นไป กรณีเดินทางโดยรถไฟ ชั้น 1 นั่งนอนปรับอากาศ : ผู้มีสิทธิ ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการขึ้นไป