1 / 12

นโยบายถนนไร้ฝุ่น

นโยบายถนนไร้ฝุ่น. จัดนำเสนอโดย นายวีร ยุทธ คำบุญเรือง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย.

kermit-ruiz
Download Presentation

นโยบายถนนไร้ฝุ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายถนนไร้ฝุ่น จัดนำเสนอโดย นายวีรยุทธ คำบุญเรือง

  2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย - เนื่องด้วยถนนลูกรังในชนบท ได้สร้างปัญหาด้านสุขภาพ และความไม่สะดวกในการเดินทางสัญจรและการขนส่งพืชผลทางเกษตรของประชาชนในชนบท รัฐบาลจึงได้มีนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบทจากเดิมซึ่งเป็นผิวทางลูกรังเป็นถนนลาดยางหรือถนนคอนกรีต หรือที่เรียกกันว่า "โครงการถนนไร้ฝุ่น"

  3. องค์ประกอบของนโยบาย • เพื่อหวังแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นสามารถเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น ตลอดจนทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณสองข้างทางมีสุขภาพที่ดีขึ้น ปราศจากโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากฝุ่นละอองและเพื่อให้ในส่วนของทุกภูมิภาคทั่วประเทศมีถนนที่ได้มาตรฐาน สามารถเดินทาง ขนส่งสินค้า ผลผลิตการเกษตร ได้ตามฤดูกาล มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย

  4. วัตถุประสงค์ของนโยบายวัตถุประสงค์ของนโยบาย • ลดปัญหาสุขภาพของประชาชน เนื่องจากฝุ่นละอองในอากาศ • ความสะดวก ปลอดภัย ในการสัญจรทุกฤดูกาลของประชาชนในชนบท • เกิดการกระจายรายได้ในระบบเศรษฐกิจไทย • เกิดการจ้างงาน

  5. เหตุผลวิธีการบรรลุเป้าหมาย/ทรัพยากรที่สนับสนุน • รัฐบาลได้เริ่มดำเนินการเปิดตัวถนนไร้ฝุ่นสายแรกของประเทศ บ้านแสลงพัน-บ้านหนองน้ำขุ่น ตำบลทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555  พร้อมยืนยันกับพี่น้องคนไทยว่า รัฐบาลจะเร่งดำเนินโครงการถนนไร้ฝุ่นทั่วประเทศ ให้เสร็จสิ้นภาย ใน 3 ปี • ทั้งนี้ การปฏิบัติงานได้แบ่งออกเป็น 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555 โดยในปี 2553 กำหนดให้มีการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นบนสายทางหลวงชนบทที่สำคัญและมีความพร้อม จำนวน 3,246 กิโลเมตร ใช้งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 14,821 ล้านบาท ในปี 2554 ก่อสร้างถนนไร้ฝุ่น ระยะทางรวม 1,983.5 กิโลเมตร และในปี 2555 ก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นระยะทางรวม 1,983.5 กิโลเมตร ตามลำดับ • สำหรับโครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นของทางหลวงชนบท จ.บุรีรัมย์ มีระยะทางทั้งสิ้น 238 กิโลเมตร โดยในปี 2553 จะดำเนินการก่อสร้าง 105 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือ จำนวน 133 กิโลเมตร ดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2554-2555 ทั้งนี้ ในส่วน ถนนสายบ้านแสลงพัน-บ้านหนองน้ำขุ่น ได้สำรวจและออกแบบ ประมาณราคาเรีแล้ว

  6. เหตุผลวิธีการบรรลุเป้าหมาย/ทรัพยากรที่สนับสนุน (ต่อ) • ซึ่งก็เป็นไปตามนโยบาย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยขยายการให้บริการด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในชนบท ให้กระจายสู่ภูมิภาคและชุมชนอย่างทั่วถึง เพียงพอ มีคุณภาพมาตรฐาน และคุ้มค่าต่อการลงทุน อาทิ บริการน้ำสะอาด ไฟฟ้า ระบบสื่อสาร โทรคมนาคมขั้นพื้นฐาน ที่อยู่อาศัยรวมถึงพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางในชนบทจากผิวทางลูกรังเดิมเป็นถนนลาดยาง หรือถนนคอนกรีต เนื่องจากถนนลูกรังสร้างปัญหาด้านสุขภาพให้กับประชาชน ไม่สะดวกในการเดินทางสัญจร และการขนส่งพืชผลทางการเกษตร โดยได้บรรจุ โครงการถนนไร้ฝุ่น ของกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม จำนวนกว่า 7,200 กิโลเมตร ไว้ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 • สำหรับโครงการถนนไร้ฝุ่นทั่วประเทศนี้ รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณจากงบกลางปีแสนล้านให้จำนวน 1,500 ล้านบาท ซึ่งสามารถสร้างถนนได้กว่า 400 กิโลเมตร จากเป้าหมายที่กระทรวงได้วางไว้ทั้งสิ้น 7,000 กิโลเมตร และกระทรวงการคลังได้เห็นชอบให้กรมทางหลวงชนบทกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า วงเงิน 1.5 หมื่นล้าน เพื่อใช้ดำเนินโครงการถนนไร้ฝุ่น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากที่ได้รับจัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ และหากโครงการนี้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ จะต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3.4 หมื่นล้านบาท รวมระยะทางถนนไร้ฝุ่นที่สำเร็จเป็นรูปธรรม 7,200 กิโลเมตร

  7. เหตุผลวิธีการบรรลุเป้าหมาย/ทรัพยากรที่สนับสนุน (ต่อ) และซึ่งถ้าหากกรมทางหลวงฯ ได้รับอนุมัติเงินกู้ 1.5 หมื่นล้านบาทจากไจก้า จะสามารถก่อสร้างถนนได้อีก3,000 กิโลเมตร และเมื่อนำมารวมกับงานก่อสร้างถนนที่ได้รับจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ จะสามารถก่อสร้างถนนได้ทั้งหมด3,450 กิโลเมตร ดังนั้นจึงยังมีถนนอีกกว่า 3,000 กิโลเมตร ที่รอการก่อสร้าง ซึ่งกรมทางหลวงฯ จะเสนอใช้งบประมาณประจำปี 2553 เพื่อนำมาดำเนินการ สำหรับโครงการที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาแล้วนั้น ทางกระทรวงคมนาคมจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในปีนี้ ซึ่งนอกจากจะสร้างชีวิตและคุณภาพของประชาชนแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้และการสร้างงาน ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วย โครงการถนนไร้ฝุ่นนอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตและการเดินทางสัญจรของประชาชนในชนบทเป็นไปอย่างสะดวก และปลอดภัยในทุกฤดูกาลแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อประชาชนและประเทศชาติในภาพรวม คือ เป็นการกระจายรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงานบุคลากรด้านช่าง ธุรการ ช่างฝีมือ และคนงานในท้องถิ่น จำนวน 70,517 คน ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข เนื่องจากโรคที่เกิดจากฝุ่นละอองในอากาศ จำนวน 683 ล้านบาท/ ปี ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ จำนวน 484 ล้านบาท/ปี ประหยัดค่าน้ำมันในการสัญจรของประชาชนในท้องถิ่นได้ปีละ 5,676 ล้านบาท/ปี

  8. เหตุผลวิธีการบรรลุเป้าหมาย/ทรัพยากรที่สนับสนุน นโยบาย(ต่อ) • สำหรับโครงข่ายทางหลวงในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 445,511 กม. แบ่งเป็น กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 51,537 กม. ลาดยางแล้ว 51,360 กม. เหลือถนนลูกรังอีกจำนวน 177 กม. กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 41,509 กม. ลาดยาง แล้ว 34,296 กม. เหลือถนนลูกรังจำนวน 7,213 กม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 352,465 กม. ลาดยางแล้ว 200,778 กม. เหลือถนนลูกรัง 151,687 กม. ทั้งนี้ ถนนลูกรังในชนบทนั้น ได้สร้างปัญหาด้าน สุขภาพและความไม่สะดวกในการเดินทางของประชาชนในชนบทเป็นอย่างมากกระทรวงคมนาคม จึงมีนโยบายมอบหมายให้ ทช. ดำเนินการยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบทในส่วนที่เป็นผิวทางลูกรังให้เป็นถนนลาดยาง หรือถนนคอนกรีต ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติโครงการถนนไร้ฝุ่นไว้ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข้ง 2555 เมื่อวันที่ 6 พ.ค.2552 โดยในปี 2553 ทช. ได้รับงบประมาณให้ก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นระยะทาง รวม 3,246 กม. เป็นเงิน 14,821 ล้านบาท

  9. ปัจจัยกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของนโยบายปัจจัยกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของนโยบาย • หากรัฐบาลต้องมองย้อนกลับในระดับภาคประชาชนทุกคนในทุก ๆภูมิภาคต่าง ๆ เป็นตัวบ่งชี้ว่าได้รับประโยชน์สูงสุดหรือคุ้มค่ากับเงินงบประมาณที่ทุ่มลงไปกับแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง(ตอน โครงการถนไร้ฝุ่น) ได้อย่างแท้จริงหรือไม่และประชาชนทุกคนมีความพึงพอใจกับนโยบายถนนไร้ฝุ่นนี้มากน้อยเพียงใด

  10. ผลการดำเนินการของนโยบายผลการดำเนินการของนโยบาย • “โครงการถนนไร้ฝุ่นของ ทช. ถือเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงคมนาคมที่จะปรับปรุงถนนโครงข่ายทางหลวง ชนบทที่เป็นผิวลูกรังให้เป็นถนนลาดยาง เพื่อให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศมีถนนที่ได้มาตรฐาน สามารถเดินทาง ขนส่งสินค้า ผลผลิตการเกษตร ได้ตามฤดูกาล มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์กับประชาชนในภูมิภาค และคุ้มค่ากับเงินงบประมาณอย่างแท้จริง และคิดว่าประชาชนทุกคนคงมีความพึงพอใจกับถนนไร้ฝุ่นนี้นับเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลจะผลักดันถนนไร้ฝุ่นทั่วประเทศ หลังจากเฟสแรกเสร็จ จากทั้งหมด 900 โครงการทั่วประเทศ คาดว่าเฟสแรกจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2553 อย่างไร ก็ดี ตามแผนก่อสร้างดังกล่าว ได้แบ่งออกเป็น 4 ภาค คือ ภาคเหนือ 198 โครงการ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 โครงการ ภาคกลาง 245 โครงการ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 14 โครงการ ภาคใต้ 168 โครงการ ก่อสร้าง แล้วเสร็จ 3 โครงการ และภาคอีสาน 290 โครงการ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 4 โครงการสำหรับเฟส 2 ระยะทาง 4,000 กม. วงเงินก่อสร้าง 20,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอดำเนินการ โดยอยู่ใน พ.ร.บ.เงินกู้ไทยเข้มแข็ง หากผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ก็จะทำให้โครงการครบตามเป้าหมายที่ ทช.7, 213 กม.ที่ทช.ดูแลอยู่ ในโครงการไทยเข้มแข็งฯ หลังจากนั้น คมนาคมจะพิจารณาปรับปรุง ถนนลูกรังในพื้นที่ห่างไกลประมาณ 150,000 กม. เพื่อนำมาพิจารณาในเฟส 3 และ 4 ต่อไป

  11. ผลการดำเนินการของนโยบาย(ต่อ)ผลการดำเนินการของนโยบาย(ต่อ) • ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีโครงการก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นบนทางหลวงชนบทในปีงบประมาณ 2553 ทั้งหมด 22 โครงการ รวมระยะทางกว่า 10 9 กม. วงเงินงบประมาณ 439 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 20 โครงการ และก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ สายบ้านแสลงพัน-บ้านหนองขุ่น และสายแยก ทล.24 บ้านโคกสว่าง ต.ท่าโพธิ์ชัย อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ อย่างไรก็ตาม ในทุกโครงการจะต้องมีการบันทึกความร่วมมือ 3 ฝ่าย หรือไตรภาคี (MOU) อันประกอบด้วย ทช. ผู้รับจ้าง และประชาชน เพื่อเกิดความโปร่งใสในการบริหารงานโครงการ       “ได้ทดสอบมาตรฐานของโครงสร้างและผิวถนนในเส้นทางแรกด้วย พบว่าความหนาของผิวถนนตลอดเส้นทางได้มาตรฐาน มีความหนามากกว่า 4 เซนติเมตร รองรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 25 ตัน และมีอายุใช้งาน 7-10 ปี จึงเป็นเครื่องยืนยันว่าการประมูลก่อสร้าง ในเฟสแรกมีมาตรฐานแข็งแรงและโปร่งใส การดำเนินโครงการถนนไร้ฝุ่นมีประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะภาคเกษตรนำผลผลิตไปจำหน่ายได้” นายวิชาญ กล่าวว่ากันว่า โครงการถนนไร้ฝุ่นของ ทช. นั้น ทำให้การสัญจรของประชาชนในชนบทเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ในทุกฤดูกาล และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อประชาชนและประเทศชาติ เช่น เป็นการกระจายรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงานบุคลากรด้านช่าง ธุรการ ฝ่ายฝีมือ และคนงานในท้องถิ่น จำนวนกว่า 7 หมื่นคนอีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข เนื่องจากโรคที่เกิดจากฝุ่นละอองในอากาศ จำนวน 683 ล้านบาท/ปี รวมทั้งประหยัดค่าน้ำมันในการสัญจรของประชาชนในท้องถิ่นได้ปีละ 5,676 ล้านบาท/ปี และประหยัดค่าใช้จ่ายด้านซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ จำนวน 484 ล้านบาท/ปี • ดังนั้นโครงการถนนไร้ฝุ่น จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่รัฐบาล มุ่งหวังสร้างประโยชน์และพัฒนาประเทศให้ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง

  12. จบ การนำเสนอ

More Related