330 likes | 541 Views
การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ. การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ.
E N D
การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ
การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ การจัดการของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ อาศัยแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 ดังนี้ ข้อ 7 ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ให้ขายโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีประกวดราคา เว้นแต่จะมีกฎหมายหรือ มติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือของกลางที่ต้องการจัดการตามข้อ 8 ข้อ 9
ข้อ 8 ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วและเป็นของกลางที่ไม่ควรขาย อธิบดีกรมป่าไม้หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมป่าไม้จะสั่งให้เอาไว้ใช้ในราชการ ปล่อย ทำลาย หรือจัดการตามสมควรก็ได้ ข้อ 9 การขายของกลางให้องค์การการกุศล วัด หรือการสาธารณะประโยชน์ ให้กระทำได้โดยไม่ต้องขายตามข้อ 7 แต่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมป่าไม้ ข้อ 10 การขายของกลางตามข้อ 7 ให้ดำเนินการได้ดังนี้ ให้อธิบดีกรมป่าไม้ / ป่าไม้เขตหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี แต่งตั้งข้าราชการเป็นคณะกรรมการจำนวน 3 – 4 คน โดยประธานกรรมการดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 และมีเลขานุการ 1 คน เพื่อดำเนินการขาย ฯลฯ
การจัดการไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ ไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ไม่ว่าจะเป็นไม้ท่อนหรือไม้ แปรรูป มีมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2502 ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้รับซื้อไม้ของกลางเสียทั้งสิ้น ไม้ของกลางที่ถูกตัดโค่นในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม้ว่าไม้ของกลางดังกล่าวจะตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ก็ห้ามมิให้จำหน่าย(ตามมาตรา 54 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535) แต่ให้นำไปใช้ประโยชน์ในราชการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยอนุมัติจากอธิบดี
ทั้งนี้ ให้หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจัดทำรายละเอียดแผนการใช้ไม้หรือพฤกษชาติของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินเสนออธิบดีพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยอธิบดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเสนอ เป็นแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการจัดการกับไม้หรือพฤกษชาติอื่นที่ผู้กระทำผิดได้ตัดโค่นหรือแผ้วถางลงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2538 ข้อ 5 หมายเหตุ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ควรพิจารณาข้าราชการในสังกัดร่วมเป็นคณะกรรมการเสนออธิบดีพิจารณาด้วย โดยประธานกรรมการควรเป็นผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า
หนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ด่วนที่สุด ที่ ทส 0901 / 13860 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2547 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการจำหน่ายไม้ของกลางในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ ได้แจ้งยกเลิกแนวทางปฏิบัติกรณีไม้ของกลางที่ตรวจยึดได้ในเขตอุทยานแห่งชาติ ให้ขอไว้ใช้ในราชการทั้งสิ้น ตามหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ด่วนที่สุด ที่ ทส 0909.3 / 3530 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2546 แล้ว และให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจำหน่ายไม้ของกลางระหว่างคดีหรือคดีถึงที่สุด ดังนี้ นอกจากปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบหรือมติ ค.ร.ม. ที่เกี่ยวข้องแล้ว ก่อนเสนอขายให้ อ.อ.ป. ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกกรณี
หนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ด่วนที่สุด ที่ ทส 0904 / 6531 – 6532 ลงวันที่ 18 เมษายน 2548 เรื่องขออนุมัติจำหน่ายไม้ของกลางระหว่างคดี แจ้งว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) มีนโยบายห้ามจำหน่ายไม้ของกลางที่ตรวจยึดได้ตามความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตอุทยานแห่งชาติ เช่นเดียวกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไม้หวงห้ามที่ถูกทำให้ตายแต่ยังคงยืนต้นตายอยู่ ถือเป็นของกลางในคดีเพื่อใช้พิสูจน์ในทางคดีว่ามีผู้กระทำผิดหรือไม่ แต่มิใช่เป็นของกลางในคดีที่ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบและตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย จึงไม่อาจขายไม้นั้นให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดได้ การนำไม้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในราชการ ต้องกระทำตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เท่านั้น (ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกา ที่ สร 0601 / 3266 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2523 เรื่องหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับพยานวัตถุและของกลางในคดีป่าไม้)
การจัดการของป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการของป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ ของป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นของป่าที่ควรขายให้ดำเนินการขายโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีประกวดราคา ถ่านไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน ให้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ข้อ 9 กล่าวคือขายของกลางให้องค์การการกุศล วัด หรือการสาธารณะประโยชน์ ให้กระทำได้โดยไม่ต้องขายตามข้อ 7 แต่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมป่าไม้ (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0708.06 / 18833 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 เรื่องมาตรการจัดการกับของป่าหวงห้าม(ถ่านไม้) ของกลาง)
ถ่านไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน และไม่ควรขาย ให้เอาไว้ใช้ในราชการหรือทำลาย หรือจัดการตามสมควร ซึ่งกรมป่าไม้มอบหมายให้ป่าไม้เขตเป็นผู้มีอำนาจสั่งการ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1763 / 2537 ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เรื่องมอบหมายให้ป่าไม้เขตสั่งการเกี่ยวกับถ่านไม้ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน กล้วยไม้ป่าทุกชนิดที่เป็นของกลางเมื่อตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการทุกราย ห้ามมิให้ประมูลจำหน่ายโดยเด็ดขาด และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้มอบกล้วยไม้ป่าของกลางแก่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่เป็นท้องที่เดิมของกล้วยไม้ป่านั้นๆ บำรุงรักษาไว้ต่อไป (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0743.03 / 3627 - 3628 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 เรื่องของป่าหวงห้ามของรัฐบาล)
ชิ้นไม้กฤษณาและชิ้นไม้จันทน์หอมของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการเพื่อการศึกษาค้นคว้า วิจัยทางด้านวิชาการทุกราย (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0743.03 / 3627 - 3628 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535 เรื่องของป่าหวงห้ามของรัฐบาล)
การจัดการกับสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการกับสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ การจัดการกับสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ ให้ดำเนินการตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าที่ตกเป็นของแผ่นดิน พ.ศ. 2540 ความโดยสรุปคือ ถ้าสัตว์ป่ายังมีชีวิตอยู่ให้ส่งหน่วยงานของส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าที่อยู่ใกล้เคียงรับไปดูแลรักษาเพื่อปล่อยกลับคืนสู่ป่า
ถ้าสัตว์ป่าตายหรือเป็นซากของสัตว์ป่าให้ส่งหน่วยงานของส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าที่อยู่ใกล้เคียงรับไปเก็บรักษา แต่ถ้าไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ ให้ขออนุมัติผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า ป่าไม้เขต เพื่อดำเนินการทำลาย โดยตั้งคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และคณะกรรมการอย่างน้อย 1 คน ต้องเป็นข้าราชการเพื่อควบคุมการทำลาย แล้วรายงานอธิบดีทราบ ห้ามมิให้จำหน่าย จ่าย โอนสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ
การจัดการกับยานพาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการกับยานพาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถไถ ให้ป่าไม้เขตแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสภาพรถยนต์ รถจักรยานยนต์ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินก่อน ประกอบด้วยข้าราชการดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 เป็นประธาน และมีกรรมการอีก 2 – 3 คน โดยมีเลขานุการหนึ่งคน หากปรากฏว่าของกลางยังมีสภาพใช้การได้หรือสามารถจะซ่อมบำรุงให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียไปแล้ว ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการ โดยหน่วยงานในสังกัดก่อน หากไม่มีหน่วยงานในสังกัดขอไว้ใช้ในราชการ ให้แจ้งหน่วยงานอื่นภายนอกทราบ เพื่อขอเอาไว้ใช้ในราชการ
จักรยาน เกวียน รถเข็น ล้อเลื่อน เรือ แพ ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการ หรือแจ้งให้หน่วยงานภายนอกขอเอาไว้ใช้ในราชการ (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0708.3 / 28094 - 28095 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2537 เรื่องการดำเนินการกับยานพาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดิน)
การจัดการสัตว์พาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการสัตว์พาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ สัตว์พาหนะของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ (ยกเว้นช้าง) ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดหรือวิธีประกวดราคา สำหรับช้างของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ ให้มอบให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หมายเหตุ โดยปกติเมื่อเจ้าหน้าที่จับกุม ตรวจยึดสัตว์พาหนะของกลางได้ ให้รีบดำเนินการขออนุมัติจำหน่ายในระหว่างคดีโดยเร็วทุกราย เพื่อไม่ให้มีปัญหาในเรื่องค่าเลี้ยงดู (ตามหนังสือที่ กษ 0704(5) / 26323 ลงวันที่ 8 กันยายน 2530 เรื่องการดำเนินการกับสัตว์พาหนะของกลางในคดีป่าไม้ และหนังสือที่ กษ 0708 / 31086 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เรื่องจำหน่ายช้างของกลางในระหว่างคดี)
การจัดการเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบการจัดการเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือศาลสั่งริบ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการ ให้ส่วนราชการที่มีเลื่อย โซ่ยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด ซึ่งศาลพิพากษาให้ริบตกเป็นของแผ่นดิน พิจารณาสภาพของเลื่อยโซ่ยนต์ก่อน หากสามารถใช้การได้ ให้ขอเอาไว้ใช้ในราชการหรือให้ส่วนราชการอื่นหรือรัฐวิสาหกิจอื่นขอใช้ (ตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0708.06 / 14417 - 14418 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เรื่องมาตรการควบคุมเครื่องเลื่อยโซ่(เลื่อยยนต์)) เนื่องจากพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 ได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการขอมีและการนำเลื่อยโซ่ยนต์ไปใช้ประโยชน์ในราชการ ไว้ดังนี้ มาตรา 4 ห้ามมิให้ผู้ใดมี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ฯลฯ
มาตรา 17 วรรคสอง เลื่อยโซ่ยนต์ที่ศาลสั่งริบ ให้นำไปใช้ประโยชน์ในราชการหรือจำหน่ายให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือทำลายตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมป่าไม้ นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ หมายความว่า อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายสำหรับกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายสำหรับจังหวัดอื่น เลื่อยโซ่ยนต์ หมายความว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง
บัดนี้ได้มีกฎกระทรวงและระเบียบเกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2551 ดังนี้ กฎกระทรวงกำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2551ไว้ดังนี้ เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ (บาร์) ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว และส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วย เครื่องจักรกลต้นกำลังที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า หรือแผ่นบังคับโซ่ (บาร์) ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว
ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2551 เป็นต้นไป มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ เลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบ ต้องมอบให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่ เพื่อสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บรักษาและจัดทำทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบ ตามแบบ ลซ.ปม. 1 ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใด มีความประสงค์ที่จะขอเลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบไปใช้ประโยชน์ในราชการหรือขอซื้อ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ลซ.ปม. 2 ต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่หรืออธิบดีกรมป่าไม้ เพื่อเสนออธิบดีกรมป่าไม้พิจารณาอนุมัติ
เมื่ออธิบดีกรมป่าไม้อนุมัติแล้ว ให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่มอบเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมออกหนังสือรับรองตามแบบ ลซ.ปม. 3 และสำเนาทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินหรือที่ศาลสั่งริบ ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจผู้ขอ ให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนำเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมหนังสือรับรองแบบ ลซ. ปม. 3 และสำเนาทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ไปยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ ตามแบบ ลซ.1 ต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ท้องที่ที่จะนำไปใช้ เพื่อให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ท้องที่พิจารณาออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ต่อไป(ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545)
การทำลายเลื่อยโซ่ยนต์ เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่ โดยอนุมัติของอธิบดีกรมป่าไม้ ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองต้องยื่นคำขอมีเลื่อยโซ่ยนต์ต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ท้องที่ภายในวันที่ 20 กันยายน 2551 (ตามประกาศกรมป่าไม้เรื่องรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 ฉบับลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551)
ของกลางตกเป็นของแผ่นดินเมื่อใดของกลางตกเป็นของแผ่นดินเมื่อใด ของกลางตกเป็นของแผ่นดินในกรณีใดกรณีหนึ่ง ใน 4 กรณี ดังนี้ 1.1 โดยคำพิพากษาของศาลให้ริบหากคดีถึงที่สุด และศาลมีคำพิพากษาให้ริบของกลางในคดี ของกลางดังกล่าวก็ตกเป็นของแผ่นดิน 1.2 โดยเจ้าของยินยอมยกให้เป็นของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 1.3 โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอรับคืนของกลางที่เจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดไว้ ตามมาตรา 64 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือศาลไม่พิพากษาให้ริบ ภายในกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือวันที่คำพิพากษาศาลถึงที่สุด
1.4 โดยการเก็บรักษาไว้ของหน่วยงานของรัฐและเจ้าของมิได้เรียกเอาคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1327 ซึ่งต้องเข้าข่ายหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้ ข้อ1 เป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาโดยการกระทำผิดหรือเกี่ยวกับการกระทำผิดโดยประการอื่น ข้อ 2 ได้ส่งไว้ในความรักษาของกรมในรัฐบาล และ ข้อ 3 เจ้าของมิได้เรียกเอาคืน(ขอคืน) ภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งทรัพย์ของกลางในคดีไว้ในความรักษาของเจ้าหน้าที่ หรือถ้าได้ฟ้องคดีอาญาต่อศาลแล้ว ให้นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่ถ้าหากไม่ทราบตัวเจ้าของทรัพย์ของกลาง ให้ผ่อนเวลาออกไปเป็น 5 ปี
เอกสารประกอบการขออนุมัตินำของกลางที่ศาลสั่งริบให้ตกเป็นของแผ่นดินไปใช้ในราชการเอกสารประกอบการขออนุมัตินำของกลางที่ศาลสั่งริบให้ตกเป็นของแผ่นดินไปใช้ในราชการ เมื่อหน่วยงานประสงค์จะขอนำของกลางที่ศาลสั่งริบให้ตกเป็นของแผ่นดินไปใช้ประโยชน์ในราชการ ควรแนบเอกสารประกอบหนังสือรายงานอธิบดี ดังนี้ 1. สำเนาคำพิพากษาที่สั่งให้ริบของกลางที่จะขออนุมัติใช้ 2. หนังสือรับรองจากศาลว่าคดีถึงที่สุดแล้ว 3. หนังสือรับรองจากศาลว่า ของกลางในคดีที่ศาลสั่งริบ ไม่มีเจ้าของมาขอคืนทรัพย์สินต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หมายเหตุ ส่วนใหญ่เอกสารในข้อ 3 จะใช้กับการขออนุมัติใช้ของกลางจำพวกที่มีทะเบียนควบคุม เช่น รถยนต์ รถไถ รถจักรยานยนต์ เลื่อยโซ่ยนต์ เป็นต้น
การคืนของกลางในระหว่างคดีการคืนของกลางในระหว่างคดี การคืนของกลางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 ในระหว่างคดีหรือคดียังไม่สิ้นสุด โดยปกติต้องดำเนินการตามความเห็นของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี ยกเว้นของกลางที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดไว้ตามมาตรา 64 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ต้องดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532 ข้อ 6 กล่าวคือ “ ถ้ามี ผู้ร้องขอคืนของกลางในระหว่างคดี ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีแจ้งหน่วยงานผู้รักษาของกลางทราบ เพื่อพิจารณาเสนอกรมป่าไม้(กรมต้นสังกัด) ดำเนินการขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ตามมาตรา 64 ตรี แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ แล้ว จึงจะคืนให้เจ้าของหรือผู้มีสิทธิ์ไปได้”
เมื่อเจ้าพนักงานป่าไม้ ได้รับแจ้งจากพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนว่าไม่ขอริบของกลาง และให้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 นั้น ถ้าเป็นกรณีตรวจยึดของกลางไว้ตามมาตรา 64 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เจ้าพนักงานป่าไม้ต้องมีหน้าที่พิจารณาเสนอขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ตามมาตรา 64 ตรี แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ต่อไป การทำเรื่องเสนอรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่เป็นการละเมิดแต่อย่างใด (ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0501 / 351 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2529 เรื่องหารือเกี่ยวกับการขออนุมัติคืนรถยนต์ของกลาง)
การคืนของกลางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่เป็นอำนาจของพนักงานอัยการ การแจ้งคืนของกลางของพนักงานอัยการเป็นเพียงคำแนะนำของพนักงานอัยการเท่านั้น (ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601 / 2564 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2530 เรื่องหารือเกี่ยวกับการคืนไม้ของกลาง) การคืนของกลางให้แก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิ์ตามกฎหมายนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งมอบของกลางที่จะคืนดังกล่าวแก่พนักงานสอบสวน เพื่อคืนให้แก่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิ์ตามกฎหมายต่อไป เนื่องจากการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาของกลางนั้นเป็นการดูแลรักษาแทนพนักงานสอบสวนตามข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532 (ตามหนังสือกรมป่าไม้ที่ กษ 0708 / 26663 – 26664 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2543 เรื่องหารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคืนของกลางคดีป่าไม้)
หมายเหตุ ของกลางในคดี หากเป็นทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดดังกล่าวและทรัพย์สินนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีหรือการพิจารณาคดี กรณีเช่นนี้จะต้องคืนให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือสิ่งของนั้นทันที มิใช่ยึดไว้จนคดีถึงที่สุด (ศาลฎีกามีคำพิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847 / 2536 ความโดยสรุปว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่จะยึดทรัพย์ของบุคคลที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดไว้ประกอบคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 หาได้ไม่” )
เนื่องจากมีคำพิพากษาศาลฎีกาไว้เป็นบรรทัดฐานตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182 / 2538 ความโดยสรุป “ จำเลยที่ 1 เคยนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำผิดพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาครั้งหนึ่งแล้ว ผู้ร้องได้ทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่ผู้ร้องก็หาได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและติดตามรถยนต์ของกลางคืนทันทีไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำผิดอีก ผู้ร้องก็ไม่ประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ การที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางในลักษณะนี้ จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 นั่นเอง การกระทำของผู้ร้องจึงเป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลาง ก็ไม่มีอำนาจที่จะร้องขอคืนของกลาง”
ดังนั้น กรณีที่ผู้กระทำผิดได้ใช้รถยนต์เช่าซื้อไปกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ขอให้เจ้าหน้าที่แจ้งบริษัท/ห้างร้านเจ้าของรถยนต์ดังกล่าวทราบและขอให้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น หากไม่ดำเนินการจะถือว่ามีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด หากปรากฏภายหลังว่าผู้เช่าซื้อได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวไปใช้กระทำผิดอีก เจ้าหน้าที่สามารถใช้หนังสือดังกล่าวแจ้งพนักงานสอบสวนและใช้คัดค้านการใช้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของขอคืนของกลางจากศาลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ได้