840 likes | 1.27k Views
Accounting II. Asst.Prof.Dr.Panchat Akarak p.thipnew1@hotmail.com School of Accounting Chiang Rai Rajabhat University. บทที่ 7. หนี้สิน ( Liabilities ). หัวข้อสำคัญหนี้สิน. ความหมาย ( Definition ) การจัดประเภท (Classification ) การบันทึกบัญชี ( Recorded )
E N D
Accounting II Asst.Prof.Dr.Panchat Akarak p.thipnew1@hotmail.com School of Accounting Chiang Rai Rajabhat University
บทที่ 7 หนี้สิน (Liabilities) Intermediate Accounting I
หัวข้อสำคัญหนี้สิน • ความหมาย (Definition) • การจัดประเภท (Classification) • การบันทึกบัญชี (Recorded) การรับรู้หนี้สิน/ จุดสิ้นสุด • การแสดงรายการในงบการเงิน (Presentation and Disclosure) Intermediate Accounting I
ความหมาย (Definition) • หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันที่เกิดจากเหตุการณ์ในอดีต และทำให้กิจการต้องสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต Intermediate Accounting I
ความหมาย (ต่อ) • สรุปความหมาย หนี้สิน หมายถึง -เป็นภาระผูกพันในปัจจุบัน -เป็นผลของรายการและเหตุการณ์ที่เกิดอดีต -ทำให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจเพื่อชำระภาระผูกพันในอนาคต Intermediate Accounting I
การจัดประเภทหนี้สิน การจัดประเภทหนี้สิน-ตามระยะเวลา -หนี้สินหมุนเวียน -หนี้สินไม่หมุนเวียน การจัดประเภทหนี้สิน-รายการที่เกิดและต้องชำระ -หนี้สินที่กำหนดมูลค่าได้ชัดเจน -หนี้สินที่ต้องประมาณการ -หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น Intermediate Accounting I
การจัดประเภทหนี้สิน การจัดประเภทหนี้สิน-ตามระยะเวลา -หนี้สินหมุนเวียน (ระยะสั้น) -หนี้สินไม่หมุนเวียน (ระยะยาว) Intermediate Accounting I
ประเภทหนี้สิน (Liabilities) • กรณีที่มีความน่าจะเป็นค่อนข้างแน่ที่กิจการจะต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เพื่อชำระภาระผูกพัน แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดหรือมีจำนวนเท่าใด หนี้สินนั้นเรียกว่า “ประมาณการหนี้สิน (Provisions)” • หนี้สินที่ในปัจจุบันยังไม่มีความแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่จะขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต หนี้สินประเภทนี้เรียกว่า “หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities)”
หนี้สินหมุนเวียน ( Current Liabilities) หนี้สินหมุนเวียนกำหนดมูลค่าได้ชัดเจน 1. เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (Bank Overdraft) 2. เงินกู้ยืมระยะสั้น (Short-term Loans) 3. เจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable) 4. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) 5. ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable) 6. ส่วนของหนี้สินไม่หมุนเวียนที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี (Current Maturities of Long-term Debt)
หนี้สินหมุนเวียน ( Current Liabilities) หนี้สินหมุนเวียนกำหนดมูลค่าได้ชัดเจน (ต่อ) 7. เงินปันผลค้างจ่าย (Dividends Payable) 8. ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย (Value Added Tex Payable) 9. รายได้รับล่วงหน้า (Unearned Revenues) 10. หนี้สินเกี่ยวกับพนักงาน (Employee-Related Liabilities) 11. เงินมัดจำที่กิจการต้องจ่ายคืน (Refundable Deposit) Intermediate Accounting I
หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non Current Liabilities) การจัดประเภทหนี้สิน-ตามระยะเวลา 2. หนี้สินไม่หมุนเวียน(Non Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่กิจการจะชำระภาระผูกพันระยะเวลาเกิน 1 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง รายได้รับล่วงหน้าระยะยาว / เงินกู้สถาบันการเงิน / เจ้าหนี้บริษัทในเครือ / หุ้นกู้ Intermediate Accounting I
การจัดประเภทหนี้สิน การจัดประเภทหนี้สิน-รายการที่เกิดและต้องชำระ 1. หนี้สินมีจำนวนชัดเจน-จำนวนที่เกิดขึ้นและชำระ ตัวอย่าง เจ้าหนี้การค้า / ตั๋วเงินจ่าย / ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย /เงินกู้สถาบันการเงิน / เจ้าหนี้บริษัทในเครือ / หุ้นกู้ Intermediate Accounting I
การจัดประเภทหนี้สิน การจัดประเภทหนี้สิน-รายการที่เกิดและต้องชำระ (ต่อ) 2. หนี้สินประมาณการ-ต้องประมาณการจากข้อมูล ตัวอย่าง หนี้สินประมาณการรับประกันคุณภาพสินค้า /การขายสินค้าสมนาคุณ / หนี้สินจากการขายบัตรของขวัญ หรือ บัตรกำนัล Intermediate Accounting I
ประมาณการหนี้สิน • ประมาณการหนี้สิน หมายถึง • หนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาที่ภาระผูกพันนั้นจะเกิดขึ้น หรือมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชำระ
การจัดประเภทหนี้สิน การจัดประเภทหนี้สิน-รายการที่เกิดและต้องชำระ 3. หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น -มีเหตุการณ์บ่งบอกแต่ยังไม่ชัดเจนแน่นอน เช่น ตั๋วเงินรับขายลด / การค้ำประกัน / คดีความยังไม่สิ้นสุด /การสลักหลังโอนตั๋วเงิน / ภาษีอาจถูกประเมินเพิ่มเติม Intermediate Accounting I
การรับรู้ประมาณการหนี้สินการรับรู้ประมาณการหนี้สิน • กิจการจะรับรู้ประมาณการหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน • เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อ ดังนี้ • 1. กิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบันซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีต • 2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของกิจการในการชำระภาระผูกพัน ดังกล่าว • 3. สามารถประมาณมูลค่าของภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ Intermediate Accounting I
การบันทึกบัญชีหนี้สินการบันทึกบัญชีหนี้สิน • การรับรู้บัญชีหนี้สิน • Dr. เงินสด/สินค้า/ค่าบริการ xx Cr. หนี้สิน (ระบุชื่อ) xx Intermediate Accounting I
การบันทึกบัญชีหนี้สินการบันทึกบัญชีหนี้สิน • จุดสิ้นสุดบัญชีหนี้สิน Dr. หนี้สิน (ระบุชื่อ) xx Cr. เงินสด/สินค้า xx Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • เจ้าหนี้การค้า (Account Payable) (ใช้ราคาขั้นต้น) วันเกิดรายการ Dr. ซื้อสินค้า 50,000 Cr. เจ้าหนี้การค้า 50,000 วันชำระหนี้ Dr. เจ้าหนี้การค้า 50,000 Cr. เงินสด 48,000 ส่วนลดรับ 2,000 Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • เจ้าหนี้อื่น(Other Account Payable) (ใช้ราคาขั้นต้น) วันเกิดรายการ Dr.เครื่องใช้สำนักงาน 50,000 Cr. เจ้าหนี้อื่น 50,000 วันชำระหนี้ Dr. เจ้าหนี้อื่น 50,000 Cr. เงินสด 48,000 เครื่องใช้สำนักงาน 2,000 Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • ตั๋วเงินจ่าย (Note Payable) -ตั๋วเงินจ่ายการค้า -ตั๋วเงินจ่ายอื่น ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ 50,000 บาท โดยรับรองตั๋วเงินอายุ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี วันซื้อ Dr. ซื้อสินค้า 50,000 Cr. ตั๋วเงินจ่ายการค้า 50,000 วันชำระหนี้Dr. ตั๋วเงินจ่ายการค้า 50,000 ดอกเบี้ยจ่าย 1,500 Cr. เงินสด 51,500 Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • ตั๋วเงินจ่ายอื่น (OtherNote payable) -ตั๋วเงินจ่ายกู้ยืม มีดอกเบี้ย /ไม่มีดอกเบี้ย กรณี ตั๋วเงินจ่ายมีดอกเบี้ย กู้เงินระยะสั้น 50,000 บาทระยะเวลา 3 เดือน โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินมี อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี กิจการจะจ่ายเงินเมื่อครบกำหนด วันกู้เงิน Dr. เงินสด 50,000 Cr. ตั๋วเงินจ่ายอื่น 50,000 วันชำระหนี้Dr. ตั๋วเงินจ่ายอื่น 50,000 ดอกเบี้ยจ่าย 1,500 Cr. เงินสด 51,500 Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • ตั๋วเงินจ่ายอื่น (Othernote payable ) กรณี -ตั๋วเงินจ่ายไม่มีดอกเบี้ย กู้เงินระยะสั้น 50,000 บาทระยะเวลา 3 เดือน โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีดอกเบี้ย ถูกหักส่วนลดไว้ 1% ต่อเดือน วันกู้เงิน Dr. เงินสด 48,500 ส่วนลดตั๋วเงิน 1,500 Cr. ตั๋วเงินจ่ายอื่น 50,000 วันชำระหนี้Dr. ตั๋วเงินจ่ายอื่น 50,000 ดอกเบี้ยจ่าย 1,500 Cr. เงินสด 50,000 ส่วนลดรับตั๋วเงิน 1,500 Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • ตั๋วเงินจ่ายอื่น (Othernote payable) • จากโจทย์ตัวอย่างเดิม กู้ยืมเงิน 3 เดือน • วันกู้ยืมเป็นวันที่ 1 พฤศจิกายน 25x5 • ปิดบัญชีวันที่ 31 ธันวาคม 25x5 การบันทึกปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี กรณี ตั๋วเงินจ่าย-มีดอกเบี้ย Dr. ดอกเบี้ยจ่าย 1,000 Cr. ดอกเบี้ยค้างจ่าย 1,000 ปรับปรุงดอกเบี้ยค้างจ่าย 2 เดือน Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • ตั๋วเงินจ่ายอื่น (Othernote payable) • จากโจทย์ตัวอย่างเดิม กู้ยืมเงิน 3 เดือน • วันกู้ยืมเป็นวันที่ 1 พฤศจิกายน 25x5 • ปิดบัญชีวันที่ 31 ธันวาคม 25x5 การบันทึกปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี กรณี ตั๋วเงินจ่าย-ไม่มีดอกเบี้ย Dr. ดอกเบี้ยจ่าย 1,000 cr. ส่วนลดตั๋วเงินจ่าย 1,000 ปรับปรุงส่วนลดตั๋วเงินจ่าย 2 เดือน Intermediate Accounting I
การแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงินกรณี- ตั๋วเงินจ่ายมีดอกเบี้ย งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x5 หนี้สินหมุนเวียน.- ตั๋วเงินจ่ายอื่น 50,000 ดอกเบี้ยค้างจ่าย 1,000 Intermediate Accounting I
การแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงินกรณี- ตั๋วเงินจ่ายไม่มีดอกเบี้ย งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x5 หนี้สินหมุนเวียน.- ตั๋วเงินจ่ายอื่น 50,000 หัก ส่วนลดตั๋วเงินจ่าย 500 ตั๋วเงินจ่ายอื่น-ราคาตามบัญชี 49,500 Intermediate Accounting I
ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย (Value Added Tax Payable) ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่ายเกิดขึ้นจากการที่กิจการจดทะเบียนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการซื้อขายสินค้าจะเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า ส่วนกิจการให้บริการจะเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระเงิน กิจการมีความรับผิดชอบในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร ซึ่งกิจการมีหน้าที่ที่จะต้องบันทึกภาษีซื้อและภาษีขายพร้อมกับสรุปรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือน
ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย(Value Added Tax Payable) • ในกรณีที่ยอดภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ส่วนต่างที่เกิดขึ้นคือ ยอดค้างชำระที่กิจการจะต้องนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ผ่านแบบ ภ.พ. 30 และ • แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียน ณ วันสิ้นเดือนภายใต้หัวข้อ ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) ต้องยื่นเสียภาษีภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป • กิจการมีรายงานภาษีซื้อเดือน ม.ค. 28,000 บาท รายงานภาษีขาย เดือน ม.ค. 56,000 บาท การบันทึกบัญชี วันเกิดภาษีซื้อ Dr.ซื้อ/ค่าใช้จ่าย 400,000 ภาษีซื้อ7% 28,000 Cr. เงินสด/เจ้าหนี้ 428,000 วันเกิดภาษีขาย Dr. ลูกหนี้/เงินสด 856,000 Cr. ขาย/รายได้ค่าบริการ 800,000 ภาษีขาย 7% 56,000 วันสิ้นเดือน ม.ค. Dr. ภาษีขาย 56,000 Cr. ภาษีซื้อ 28,000 เจ้าหนี้-สรรพากร 28,000 Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) ต้องนำส่งภาษีภายใน วันที่ 7 ของเดือนถัดไป • ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย โจทย์ กิจการจ่ายค่าโฆษณาให้บริษัท ก. จำกัด จำนวน 50,000 บาท และ ได้หักภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายไว้ 2% การบันทึกบัญชี วันจ่ายค่าใช้จ่าย Dr. ค่าโฆษณา 50,000 Cr. เงินสด 49,000 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย 1,000 วันนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย Dr. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย 1,000 Cr. เงินสด 1,000 Intermediate Accounting I
เงินสมทบกองทุนประกันสังคมค้างจ่าย(Social Security Fund Payable) • กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund) เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทน เป็นการร่วมรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ สงเคราะห์บุตร ชราภาพ การว่างงาน และการตาย เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
เงินสมทบในส่วนของกิจการ (Contribution of Social Security Fund) หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุน ประกันสังคมทุกเดือนในอัตราฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกำหนดค่าจ้างรายเดือนต่ำสุด 1,650 บาท (ร้อยละ 5 เป็นเงิน 83 บาท) และค่าจ้างรายเดือนสูงสุดเดือนละ 15,000 บาท (ร้อยละ 5 เป็นเงิน 750 บาท)
ตารางการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจ่ายและค้างจ่ายตารางการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจ่ายและค้างจ่าย
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) ต้องนำส่งภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป • เงินประกันสังคมค้างจ่าย โจทย์ กิจการจ่ายเงินเดือนพนักงาน 64,000 บาท และได้หักเงินประกันสังคมไว้ 5% =2,200และ กิจการจ่ายสมทบอีก 5% =2,200 การบันทึกบัญชี วันจ่ายเงินเดือน Dr. เงินเดือน 64,000 เงินประกันสังคมจ่ายสมทบ 2,200 Cr. เงินสด 61,800 เงินประกันสังคมค้างจ่าย 4,400 วันนำส่งเงินประกันสังคม Dr. เงินประกันสังคมค้างจ่าย 4,400 Cr. เงินสด 4,400
เงินปันผลค้างจ่าย (Dividend Payable) • การลงทุนในตราสารทุนผลตอบแทนที่ได้รับคือ ปันผล และกิจการโดยส่วนใหญ่จะตอบแทนผู้ลงทุนในรูปของการจ่ายเงินปันผล กิจการจะจ่ายเงินปันผลจากผลกำไรของกิจการตามมติเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัทและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น • การจ่ายเงินปันผลจึงถือเป็นการจัดสรรผลกำไรของกิจการให้แก่ผู้ถือหุ้น กิจการนิยมประกาศจ่ายเงินปันผลต่อหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • เงินปันผลค้างจ่าย 25 กุมภาพันธ์ กิจการประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นเงิน 500,000.- 15 มีนาคม กิจการจ่ายเงินปันผลตามที่ประกาศภายใน 2-4 สัปดาห์ การบันทึกบัญชี ก.พ.25 Dr. กำไรสะสม 500,000 Cr. เงินปันผลค้างจ่าย 500,000 มี.ค.15 Dr. เงินปันผลค้างจ่าย 500,000 Cr. เงินสด 500,000 Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • เงินโบนัสค้างจ่าย 31 ธ.ค. กิจการมีกำไรสุทธิก่อนโบนัส 10,000,000 บาท และประกาศ ให้โบนัสพนักงานจำนวน 10 % ของกำไรสุทธิก่อนหักโบนัส (10,000,000*10%= 1,000,000) มี.ค.15 กิจการจะจ่ายโบนัสให้กับพนักงานตามที่ประกาศ ธ.ค. 31 Dr.โบนัสจ่าย 1,000,000 Cr. เงินโบนัสค้างจ่าย 1,000,000 มี.ค. 15 Dr. เงินโบนัสค้างจ่าย 1,000,000 Cr. เงินสด 1,000,000 Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน(Current Liabilities) • หนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้าที่ขาย ขายเครื่องใช้ไฟฟ้า 5,000,000 บาท จำนวน 1,000 เครื่อง สินค้ามีการรับประกันคุณภาพ 1 ปี จากอดีตคาดว่าสินค้าที่ขายไปจะมีลูกค้านำมาซ่อมในช่วงรับประกันประมาณ 5% ของจำนวนเครื่องที่ขาย ค่าใช้จ่ายในการรับประกันประมาณเครื่องละ 500 บาท ปีที่ขายลูกค้านำมาซ่อมแล้ว 10 เครื่อง Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน(Current Liabilities) • การบันทึกบัญชี • ลูกค้านำมาซ่อม 10 เครื่อง @ 500.- Dr. ค่าใช้จ่ายในการรับประกันคุณภาพสินค้า 5,000 Cr. เงินสด/วัสดุ/อะไหล่ใช้ไป 5,000 ลูกค้านำมาซ่อมแล้วจำนวน 10 เครื่อง • วันสิ้นงวด ปรับปรุง 40 เครื่อง Dr. ค่าใช้จ่ายในการรับประกันคุณภาพสินค้า 20,000 Cr. หนี้สินจากการรับประกันคุณภาพสินค้า 20,000 ตั้งประมาณการหนี้สินจากการรับประกันที่เหลืออีก 40 เครื่อง Intermediate Accounting I
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) • หนี้สินจากการขายบัตรกำนัล/บัตรของขวัญ 1-30 พ.ย. ห้างสรรพสินค้า ขายบัตรของขวัญ เพื่อให้ลูกค้านำมาแลก สินค้าได้เป็นเงิน 500,000 บาท มีอายุ 3 เดือน พ.ย.-31 ธ.ค. มีลูกค้านำมาแลกสินค้าแล้วเป็นเงิน 300,000 บาท 31 ธ.ค. มีบัตรของขวัญที่ยังไม่หมดอายุและยังไม่นำมาแลกสินค้า 200,000.- การบันทึกบัญชี พ.ย. 1 Dr. เงินสด 500,000 Cr. หนี้สินจากการขายบัตรของขวัญ 500,000 ขายบัตรของขวัญให้ลูกค้า
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) การบันทึกบัญชี 25x5 พ.ย.1-ธ.ค.31 Dr. หนี้สินจากการขายบัตรของขวัญ 300,000 Cr. ขายสินค้า 300,000 ลูกค้านำบัตรของขวัญมาแลกสินค้า
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) งบแสดงฐานะการเงิน 31 ธันวาคม 25x5 หนี้สินหมุนเวียน.- หนี้สินจากการขายบัตรของขวัญ200,000
หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น(Contingent Liabilities) • ตั๋วเงินรับขายลด • การโอนตั๋วเงินชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ • การโอนตั๋วเงินให้สถาบันการเงิน • การค้ำประกันเงินกู้ • ภาษีที่กำลังถูกประเมินเพิ่มเติม • คดีความอยู่ในชั้นศาล
หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น(Contingent Liabilities) การแสดงรายการในงบการเงิน 1) เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ตัวอย่าง การแสดงรายการในงบการเงิน แสดงรายการในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน … หมายเหตุ 5 กิจการถูกประเมินภาษีเพิ่มเติม อยู่ในขั้นอุทธรณ์ หมายเหตุ 6 กิจการมีคดีฟ้องร้องลูกหนี้ที่ค้างชำระคดียังไม่สิ้นสุด
หนี้สินไม่หมุนเวียน(Non Current Liabilities) • หุ้นกู้ (Bonds) หมายถึง ตราสารที่แสดงความเป็นหนี้ต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ • ราคาจำหน่ายหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยตลาด หุ้นกู้ขายในราคาตามมูลค่า อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาด หุ้นกู้ขายในราคาสูงกว่ามูลค่า อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาด หุ้นกู้ขายในราคาต่ำกว่ามูลค่า
หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non Current Liabilities) Above par 584,240 ส่วนเกินมูลค่า Premium 84,240 (-) • หุ้นกู้ Bonds At Par 500,000 ส่วนลดมูลค่า Discount 84,240 (+) Below par 415,760 Intermediate Accounting I
หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current Liabilities) • หุ้นกู้ (Bonds) ขายสูงหรือต่ำกว่ามูลค่า • การตัดจำหน่ายส่วนเกินมูลค่า/ส่วนลดมูลค่า ตามอายุ • มี 2 วิธี 1. วิธีเส้นตรง (Straight line method) ทางบัญชีไม่ใช้ 2. วิธีอัตราดอกเบี้ยแท้จริง มาตรการบัญชีให้ใช้ (Effective interest rate method)
หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non Current Liabilities) • หุ้นกู้ (Bonds) 2 ธ.ค. กิจการจดทะเบียนหุ้นกู้มูลค่าที่ตราไว้ 500,000 บาท อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 1 ครั้ง ในวันสิ้นปี หุ้นกู้ลงวันที่ 2 มกราคม 25x5 (กิจการปิดบัญชีวันสิ้นปี) มีค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้ 50,000 บาท 2 ม.ค. นำออกขายในราคา 584,240 อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน 6% ต่อปี