190 likes | 196 Views
แนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการ ในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น Guidelines for organizing learning areas for Students with Disabilities in Central Library, Khon Kaen University นายประสิทธิ์ ประทุมรัตน์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ที่มาและความสำคัญ.
E N D
แนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการ ในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่นGuidelines for organizing learning areas for Students with Disabilities in Central Library, KhonKaen University นายประสิทธิ์ ประทุมรัตน์สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่มาและความสำคัญ • ประเทศไทยให้ความสำคัญคนพิการ(รัฐธรรมนูญ 2560, พรบ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 2551, พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2550) • ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนของนักศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) • การจัดบริการห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้แก่นักศึกษาพิการในประเทศไทย ส่วนใหญ่จัดให้บริการตามที่จัดให้กับนักศึกษาปกติทั่วไป โดยไม่ได้คำนึงถึงความต้องการและความพกพร่องของนักศึกษาพิการ(สมาน ลอยฟ้า และคณะ, 2557) • นักศึกษาพิการมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่เรียนรู้ เพื่อการศึกษาค้นคว้าเช่นเดียวกับนักศึกษาปกติเช่นกัน
ที่มาและความสำคัญ (ต่อ) • สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งมั่นสู่การเป็น KKU Library for All
วัตถุประสงค์การวิจัย • เพื่อศึกษาประสบการณ์ และความต้องการในการใช้พื้นที่เรียนรู้ในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาพิการ • เพื่อนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน • 1. ทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • 2. ศึกษาประสบการณ์ และความต้องการของนักศึกษาพิการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก • 3. วิเคราะห์ข้อมูล และกำหนด "ร่างแนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น" • 4. จัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาผู้พิการ และให้นักศึกษาพิการมาทดลองใช้บริการ รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ • 5. ยืนยัน "ร่างแนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น" โดยใช้วิธีการอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนนักศึกษาพิการ
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน (ต่อ) • 1. การทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • แนวความคิดประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience: UX) • ประสบการณ์ผู้ใช้ หมายถึง ทัศนคติ (Attitudes) และพฤติกรรม (Behavior) ของบุคคลที่มีต่อบริการ (Service) • ประสบการณ์ผู้ใช้ มีความสำคัญต่อการออกแบบบริการ • นำไปสู่การสร้างบริการที่สามารถส่งมอบประสบการณ์ใช้บริการ ที่ดีให้กับผู้ใช้ได้ • ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดี (Feeling) มีความต้องการที่จะใช้ (Want) เป็นที่น่าจดจำและบอกต่อ (Rohrer, 2014)
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน (ต่อ) • 1. การทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • แนวทางการพัฒนาการเข้าถึงห้องสมุดสำหรับคนพิการ ของ IFLA • ประกอบด้วยแนวทางที่สำคัญ 4 ด้าน คือ • 1) การเข้าถึงห้องสมุดทางกายภาพ • 2) รูปแบบสื่อสำหรับคนพิการ • 3) บริการห้องสมุดและการสื่อสารกับคนพิการ • 4) การสร้างความร่วมมือกับคนพิการและองค์กรเพื่อคนพิการ (Irvall, B., & Nielsen, G. S., 2005)
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน (ต่อ) • 2. การศึกษาประสบการณ์ และความต้องการของนักศึกษาพิการ • กลุ่มตัวอย่าง : นักศึกษาพิการ จำนวน 8 คน(พิการทางสายตา ทางการเคลื่อนไหว ทางการได้ยิน และออทิสติก) • เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง • วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสัมภาษณ์เชิงลึก Access to Libraries for Persons with Disabilities: Checklist. IFLA Professional Reports(Irvall, B., & Nielsen, G. S., 2005)
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน(ต่อ)ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน(ต่อ) • 3. การวิเคราะห์ข้อมูล • นำผลจากการศึกษาประสบการณ์นักศึกษาพิการ (UX) และความต้องการมาวิเคราะห์ • กำหนดร่างแนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาผู้พิการในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามแนวทางของ IFLA(Design) ที่จอดรถมอเตอร์ไซต์ รถเข็นคนพิการ
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน (ต่อ) • 4. จัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Prototype) • สถานที่ • ชั้น 2 อาคารศูนย์สารสนเทศ (ใกล้ประตูทางเข้า-ออกห้องสมุด) • เครื่องมือ/อุปกรณ์ • เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมหูฟัง จำนวน 2 เครื่อง • โต๊ะนั่งอ่านที่สอดรถเข็น Wheelchair เข้าได้ • โต๊ะนั่งพักผ่อน • สื่อสำหรับคนพิการ • หนังสือเสียง และหนังสืออักษรเบรล์
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน (ต่อ) • ภาพการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการ (Prototype)
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน (ต่อ) • เชิญชวนนักศึกษาพิการมาทดลองใช้พื้นที่เรียนรู้ และให้ข้อเสนอแนะ (User Testing)
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน (ต่อ) • 5. ยืนยัน ร่างแนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการ • ผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนนักศึกษาพิการ
ผลการศึกษา • แนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น • สถานที่ ควรอยู่ใกล้กับประตูทางเข้า-ออกห้องสมุดหรือบริเวณที่นักศึกษาพิการสามารถเดินทางเข้า-ออกได้ด้วยความสะดวกและปลอดภัย สามารถใช้เสียงได้ มีที่บังตา รวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือ/อุปกรณ์ • ห้องศึกษาแบบเดี่ยว ควรมีเครื่องคอมพิวเตอร์และชั้นวางหนังสือ และสามารถให้รถเข็นนั่ง (Wheelchair) เข้า-ออกได้สะดวก • ห้องศึกษาแบบกลุ่ม ควรมีจอภาพติดผนังและสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ • พื้นที่นั่งอ่านร่วมกับนักศึกษาปกติ ควรกระจายอยู่ทั่วอาคารห้องสมุด และมีโต๊ะนั่งอ่านที่สามารถสอดรถเข็นนั่ง (Wheelchair) เข้าไปได้ • พื้นที่สำหรับชมวีดีทัศน์ ควรมีชุดเครื่องเสียงที่สามารถรับฟังภายในห้องได้ และมีหูฟังให้เลือกใช้ด้วย
อภิปลายผล/ข้อเสนอแนะ • การจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการ • ควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจความพิการ เข้าถึงนักศึกษาพิการ และจัดพื้นที่เรียนรู้ตามศักยภาพของห้องสมุด • นักศึกษาพิการ ยังรวมถึงนักศึกษาที่มีความพิการชั่วคราวและเกิดขึ้นภายหลัง • นำแนวความคิดเรื่อง การจัดการเชิงระบบ (System management) มาใช้พัฒนาบริการห้องสมุด เพื่อให้นักศึกษาพิการเข้าถึงบริการห้องสมุดได้แบบเบ็ดเสร็จ
การนำไปใช้ประโยชน์ • ใช้เป็นแนวทางในการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาผู้พิการในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น • ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการได้
ผลจากการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการผลจากการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการ • นักศึกษาพิการ • รับทราบถึงความตั้งใจของห้องสมุด มีการบอกต่อ และมาใช้บริการห้องสมุดเป็นประจำ • จำนวนนักศึกษาพิการมาใช้บริการเพิ่มขึ้น • มหาวิทยาลัยขอนแก่น • นำเสนอข่าวในหน้าแรกของเว็บไซต์ • ข่าวได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ • ถูกคัดเลือกเป็นข่าวเด่นประจำปี 2561
ผลจากการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการผลจากการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาพิการ • สื่อมวลชน • สยามรัฐ • เดลินิวส์ • ข่าวสด • กรุงเทพธุรกิจ • ไทยนิวส์
Suggestions Comments? Thank you!