781 likes | 1.42k Views
การประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา. หน่วยที่ 1 หลักการประกันคุณภาพการศึกษา. Educational Quality Assurance in School. กิจกรรมที่ 1. ให้นักศึกษาอภิปรายความหมายของคำว่า “คุณภาพ” ว่าหมายถึงอะไร. การประกันคุณภาพการศึกษาคืออะไร.
E N D
การประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา หน่วยที่ 1 หลักการประกันคุณภาพการศึกษา Educational Quality Assurance in School
กิจกรรมที่ 1 ให้นักศึกษาอภิปรายความหมายของคำว่า “คุณภาพ” ว่าหมายถึงอะไร
การประกันคุณภาพการศึกษาคืออะไร • “คุณภาพ” เป็นคำที่มีพื้นฐานมาจากภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรม ซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องคือ การตรวจสอบ การควบคุม มาตรฐานหรือข้อกำหนดและความพอใจของลูกค้า
ความหมาย Deming นิยามว่า คุณภาพ คือ ระดับที่สามารถทำนายได้ของความเหมือนและความไว้วางใจ Juran นิยาม คุณภาพ คือ ความเหมาะสมสำหรับการใช้
Crosby นิยามว่า คุณภาพ คือ ความตรงตามข้อกำหนด ไม่ใช่ความดีหรือความสวยงาม Xe-rox นิยามว่า สิ่งที่จัดให้กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอก รวมถึงการผลิตและการบริการตามต้องการและความจำเป็นของลูกค้า Feigenbaumนิยามว่า คุณภาพ คือ วิธีการในการบริหารองค์กรหรือการประกอบขึ้นเป็นสินค้าทั้งหมด และลักษณะนิสัยของการบริการ การตลาด การวิศวกรรม การผลิตและการบำรุงรักษา โดยที่สินค้าและบริการนั้นตรงตามความคาดหวังของลูกค้า
Hutchins(1991 : 1-2)สรุปว่าคุณภาพ สามารถนิยามได้หลายประการขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแนวคิด คือ คุณภาพ หมายถึง ความตรงตามลักษณะเฉพาะ และมาตรฐานในการใช้ประโยชน์ขององค์กรเป็นนิยามที่ถือองค์กรเป็นพื้นฐาน คุณภาพ หมายถึง ความเหมาะสมกับการใช้ของสินค้าหรือบริการเป็นนิยามที่ถือเอาความพึงพอใจของลูกค้าเป็นพื้นฐาน
คุณภาพ หมายถึง การตอบสนองความต้องการ ความปรารถนาและความคาดหวังของลูกค้าได้ในราคาประหยัด เป็นนิยามที่มีพื้นฐานมาจากความพึงพอใจของลูกค้าและองค์กร เข็มทอง ศิริแสงเลิศ (2540:22) สรุปความหมายของคุณภาพว่า หมายถึงลักษณะของสินค้า บริการ หรือกระบวนการผลิตที่ตรงตามมาตรฐาน เหมาะสมกับการใช้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า คุ้มกับค่าใช้จ่ายและทำให้เกิดความพึงพอใจ
วิฑูรย์ สิมะโชคดี (2541:2-4) ได้ให้ความหมายของคำว่า “คุณภาพ”ไว้ดังนี้ 1. สินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเลิศในทุกด้าน 2. สินค้าหรือบริการที่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือมาตรฐาน 3. สินค้าหรือบริการที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า 4. สินค้าหรือบริการที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า 5. สินค้าหรือบริการที่ปราศจากการชำรุดหรือข้อบกพร่อง 6. คุณภาพมีความหมายต่างกันไปตามความรู้สึกหรือความต้องการของผู้ใช้หรือลูกค้า
หลักการของคุณภาพ มี 4 ประการคือ 1. คุณภาพ หมายถึง การทำได้ตรงตามข้อกำหนด ไม่ใช่ความดีหรือความงาม 2. ระบบคุณภาพ คือ การป้องกัน ไม่ใช่การประเมิน 3. มาตรฐานของผลงาน คือ การปลอดความบกพร่อง 4. การวัดคุณภาพ คือ การหาค่าใช้จ่ายที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน ไม่ใช่การหาตัวบ่งชี้มาตรฐาน
ลักษณะระบบคุณภาพ • 1. มีการออกแบบโครงสร้างความรับผิดชอบ ขั้นตอน กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรขององค์กร เพื่อนำมาใช้กับการบริหารเพื่อคุณภาพ • 2. ฝ่ายบริหารได้พัฒนาจัดตั้งและนำระบบคุณภาพไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อให้นโยบายวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้บรรลุผลสำเร็จ
ลักษณะระบบคุณภาพ • 3. ระบบคุณภาพต้องมีรายการองค์ประกอบต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานนานาชาติอย่างเหมาะสม • 4. ภารกิจของระบบคุณภาพ คือ การให้ความเชื่อมั่นว่า - ทุกคนเข้าใจระบบเป็นอย่างดี และระบบนั้นมีประสิทธิผล - สินค้าหรือบริการ สามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างแท้จริง - เน้นที่การป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ไขหลังจากเกิดปัญหา
การประกันคุณภาพคืออะไรการประกันคุณภาพคืออะไร • Sallis (2002:17) นิยามว่าการประกันคุณภาพคือ การออกแบบคุณภาพมุ่งสู่กระบวนการสร้างความตระหนักและความมั่นใจในผลผลิต
การประกันคุณภาพคืออะไรการประกันคุณภาพคืออะไร Hoy, Bayne-Jardine and Wood (2000 : 11) นิยามการประกันคุณภาพไว้ดังนี้ • 1. เป็นข้อกำหนดมาตรฐานโดยผู้เชี่ยวชาญ • 2. มาตรฐานคุณภาพการจัดการเป็นการสร้างข้อตกลง ของความจำเป็นในการจัดหาคุณภาพตามความคาดหวังและความต้องการของลูกค้า
การประกันคุณภาพคืออะไรการประกันคุณภาพคืออะไร • การประกันคุณภาพ คือ กลยุทธ์ที่ได้วางแผนไว้อย่างเป็นระบบและการปฏิบัติงานที่ได้มีการออกแบบไว้โดยเฉพาะ เพื่อรับประกันว่ากระบวนการได้รับการดูแล รวมถึงการปฏิบัติงานนั้นมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่ตลอดเวลา(Cuttance,1994:5)
การประกันคุณภาพคืออะไรการประกันคุณภาพคืออะไร • การประกันคุณภาพ คือ เป็นระบบการควบคุมตรวจสอบ และตัดสินคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด มีการควบคุมให้เกิดการปฏิบัติตามเกณฑ์ มีการตรวจสอบการปฏิบัติ และตัดสินว่างานนั้นบรรลุตามเกณฑ์หรือไม่(สมคิด พรมจุ้ยและสุพักตร์ พิบูลย์,2545)
การประกันคุณภาพเป็นวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องมาจากการตรวจสอบและควบคุมเชิงคุณภาพ การประกันคุณภาพยังคงเน้นความสำคัญของคุณภาพ และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัดและเทคนิควิธีวัด สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา ก็คือ การสร้างความมั่นใจโดยการมีมาตรการป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดเกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นการออกแบบและขั้นดำเนินงานจนถึงขั้นที่ได้ผลผลิตออกมา นอกจากนี้ก็มีการนำผลการประเมินในทุกขั้นตอนมาใช้เพื่อการวางแผน ออกแบบและการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
Hutchins (1991: 3-4) แบ่งการสร้างคุณภาพได้เป็น 4 ขั้น • ขั้นที่ 1 การตรวจสอบ (Inspection) โดยหน่วยตรวจสอบ ตรวจผลิตภัณฑ์เทียบกับข้อกำหนด การแบ่งกลุ่มสินค้า การตัดเกรด และรายงานไปยังหน่วยผลิตเพื่อแก้ไข
ขั้นที่ 2 การควบคุมคุณภาพ(Quality Control) โดยหน่วยตรวจสอบหรือหน่วยควบคุมคุณภาพ มีจุดเน้นในการควบคุมกระบวนการผลิตให้มีความสูญเสียน้อยที่สุด ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีการตรวจสอบตนเอง มีการทดสอบสินค้า การให้ข้อมูลป้อนกลับและการแก้ไข
ขั้นที่ 3 การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) มีหน่วยประกันคุณภาพที่ให้การฝึกอบรมและให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีจุดเน้นการประกันกระบวนการ และคุณภาพสินค้า มีทั้งตรวจสอบจากภายนอกและภายในองค์กร มีเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นสากล เช่น ISO 9000
ขั้นที่ 4 การบริหารคุณภาพทั้งองค์กร (Total Quality Management) เป็นการให้ความสำคัญกับคุณภาพมากขึ้น จุดเน้นคือการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกกระบวนการทำงาน โดยมีกลุ่มงานและทุกคนในองค์กรเป็นผู้รับผิดชอบ
สรุป การประกันคุณภาพ หมายถึง การประกันคุณภาพกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ระบบย่อย คือ การวางแผนเกี่ยวกับคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และการทบทวนระบบเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้ใช้ในกระบวนการปฏิบัติงานทุกด้านขององค์กร
การประกันคุณภาพการศึกษา คืออะไร • การประกันคุณภาพทางการศึกษา เกิดจากการรวมแนวคิด 2 อย่างเข้าด้วยกันคือ แนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา
ความหมายของคุณภาพการศึกษา • เป็นการผสมผสานคุณภาพ 3 ส่วน คือ คุณภาพตามมาตรฐานทางการศึกษาคุณภาพตามความต้องการของผู้รับบริการ และคุณภาพตามความมุ่งหมายของผู้ให้บริการ โดยภาพรวม 2 ส่วนแรกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณภาพของส่วนที่ 3 เกิดขึ้นก่อนซึ่งได้แก่กระบวนการบริหารการศึกษาที่มีคุณภาพ
ประเทศที่ริเริ่มพัฒนาแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา คือ ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้เริ่มนำแนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพไปใช้ในสถานศึกษาในปี 1988 และในปี 1992 ได้เริ่มใช้มาตรฐาน BS 5750 หรือ ISO 9000 มากำหนดมาตรฐานทางการศึกษา และทำให้เกิดแนวทางสำหรับการปฏิบัติของโรงเรียนเพื่อประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นและแนวคิดนี้ได้แพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน
ลักษณะเด่นของการประกันคุณภาพทางการศึกษามี 5 ประการ(Murgatroyd and Morgan ,1994) 1. มาตรฐานการศึกษากำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก 2. มาตรฐานเขียนในรูปของความคาดหวังที่โรงเรียนจะต้องบรรลุถึง 3. มาตรฐานต้องสามารถประเมินได้โดยใช้เกณฑ์ที่เป็นปรนัย 4. มาตรฐานต้องใช้อย่างเสมอภาค ไม่มีการยกเว้นโดยปราศจากเหตุผลสมควร 5. การประกันคุณภาพการศึกษา จะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวน (Audit and Review)การทดสอบด้วยแบบมาตรฐาน และการประเมินคุณภาพการศึกษา
การดำเนินงานประกันคุณภาพทางการศึกษาโรงเรียนต้องดำเนินการในองค์ประกอบหลัก 4 ประการได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบผล และการปฏิบัติการวางแผนอย่างต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทยมีการดำเนินการดังนี้การประกันคุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทยมีการดำเนินการดังนี้ 1. จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเท่าเทียมกัน 2. ส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการประกันคุณภาพทางการศึกษาเพื่อสร้างจิตสำนึกในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการจัดการศึกษาร่วมกัน
3. สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างเสรีภาพในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของส่วนภูมิภาคกับกรอบการดำเนินงานที่ส่วนกลางกำหนด 4. พัฒนาคุณภาพและดำเนินการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามวงจรคุณภาพP-D-C-A
วงจรคุณภาพ PDCA (Plan – Do – Check - Act) • เริ่มจากกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานของการศึกษา แล้ววางแผน (P) เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดจากการดำเนินการตามแผน (D) ในขณะที่ดำเนินการก็ทำการตรวจสอบ (C) ว่าดำเนินการไปแล้วนำไปสู่เป้าหมายหรือไม่เพียงใด แล้วนำผลการตรวจสอบใช้ปรับปรุง(A) แล้ววางแผนให้ดำเนินงานในขั้นต่อไปให้ดีขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะต้องทำให้เป็นวงจรต่อเนื่อง
กระบวนการดำเนินงานตามวงจรดังกล่าวมี 3 ขั้นตอน 1. การควบคุมคุณภาพได้แก่ การกำหนดมาตรฐาน และการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานด้วยการกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ 2. การตรวจสอบ และการปรับปรุงได้แก่ การตรวจสอบภายใน และการตรวจสอบภายนอก เพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน 3. การประเมินคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเป็นระยะ เพื่อการรักษาคุณภาพให้ยั่งยืนต่อไป
สรุประบบประกันคุณภาพการศึกษาสรุประบบประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึงระบบการบริหารงานของโรงเรียน ที่ทำให้โรงเรียนสามารถบรรลุถึงมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจในคุณภาพของโรงเรียน ระบบดังกล่าวประกอบด้วย 3 ระบบย่อย คือ ระบบการวางแผน ระบบการควบคุม ระบบรับการทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงาน
การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่าง ๆที่เป็นกิจวัตรปกติของสถานศึกษาทั้งด้านวิชาการและการบริการ/การจัดการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง คือ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม ว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้
สถานศึกษาจะต้องดำเนินการในเรื่องการประกันคุณภาพดังนี้สถานศึกษาจะต้องดำเนินการในเรื่องการประกันคุณภาพดังนี้ 1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี 2. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 3. การดำเนินการประกันคุณภาพทุกขั้นตอนให้เน้นการประสานงานและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สถานศึกษาจะต้องดำเนินการในเรื่องการประกันคุณภาพดังนี้สถานศึกษาจะต้องดำเนินการในเรื่องการประกันคุณภาพดังนี้ 4. สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปีการศึกษาให้เรียบร้อยภายในเดือนเมษายนของทุกปี 5. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก
กิจกรรม ถ้าครูผู้สอนได้นำการประกันคุณภาพการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแล้ว 1.ระบบการวางแผนคุณภาพ ของครูคือภาระงานใดที่ครูต้องทำ 2.ระบบการควบคุมคุณภาพ ของครูคือภาระงานใดที่ครูต้องทำ 3.ระบบรับการทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงาน ของครู คือภาระงานใดที่ครูจะต้องทำ ให้นักศึกษารวมกลุ่มกัน ไม่เกิน 5 คน ช่วยกันอภิปรายตามข้อ 1-3แล้วสรุปบันทึกผลการอภิปราย ( สุ่มตัวแทนกลุ่มมานำเสนอหน้าชั้นเรียน)
หลักการประกันคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการ หลักสูตร ผู้สอนและผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ความหมายของมาตรฐานการศึกษา “มาตรฐานการศึกษา” หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
มาตรฐานการศึกษามีอะไรบ้างมาตรฐานการศึกษามีอะไรบ้าง 1. มาตรฐานการศึกษาของชาติ 2. มาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับการศึกษา 3. มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร
1. มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ เป็นเป้าหมายการจัดการศึกษาของชาติ ครอบคลุมการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท นั่นคือ ครอบคลุมการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา การอุดมศึกษา และครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนั้น มาตรฐานการศึกษาของชาติจึงเป็นการกำหนดเป้าหมายที่กว้างเพื่อให้องค์กรหลักที่จัดการศึกษาสามารถนำไปกำหนดแนวทางนำสู่การปฏิบัติได้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้
มาตรฐานการศึกษาของชาติ แบ่งออกเป็น 3 มาตรฐาน 11 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก(คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข) ตัวบ่งชี้ 1.1 กำลังกาย กำลังใจที่สมบูรณ์ 1.2 ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการดำรงชีวิตและการพัฒนา สังคม 1.3 ทักษะการเรียนรู้และการปรับตัว 1.4 ทักษะทางสังคม 1.5 คุณธรรม จิตสาธารณะ และจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
มาตรฐานที่ 2 แนวการจัดการศึกษา ตัวบ่งชี้ 2.1การจัดหลักสูตรการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ศักยภาพ 2.2 มีการพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากร ทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ 2.3 มีการบริหารจัดการที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
มาตรฐานที่ 3 แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ ตัวบ่งชี้ 3.1การบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา กับชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ 3.2 การศึกษาวิจัย สร้างเสริม สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้และ กลไกการเรียนรู้ 3.3 การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคม ในแต่ละตัวบ่งชี้ ยังมีตัวบ่งชี้ย่อยอีก ครูและบุคลากรทางการ ศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาเพิ่มเติม
2. มาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับการศึกษา จากมาตรฐานการศึกษาของชาติ องค์กรหลักที่จัดการศึกษาต้องนำมาตรฐานการศึกษาของชาติมากำหนดเป็นมาตรฐานสู่การปฏิบัติในแต่ละระดับ ในที่นี้ขอเสนอรายละเอียดของมาตรฐานการศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
2.1 มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย • อุดมการณ์การศึกษาปฐมวัย อุดมการณ์ของการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรกเพื่อวางรากฐานชีวิตของเด็กไทยให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
หลักการของการจัดการศึกษาปฐมวัยหลักการของการจัดการศึกษาปฐมวัย • 1. หลักการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม • 2. หลักการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็น สำคัญ • 3. หลักการสร้างเสริมความเป็นไทย • 4. หลักความร่วมมือ • 5. หลักแห่งความสอดคล้อง
2.2 มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน อุดมการณ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนโดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองของโลก เพื่อเป็นรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิตรวมทั้งเพื่อการพัฒนาหน้าที่การงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตนและครอบครัว และเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต
หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักการสำคัญของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน • 1. หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ • 2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย • 3. หลักแห่งความเสมอภาค • 4. หลักการมีส่วนร่วม • 5. หลักแห่งความสอดคล้อง
3. มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน ซึ่งหมายถึงหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน มาตรฐานในที่นี้หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ พึงปฏิบัติได้เมื่อเรียนจบการศึกษามาตรฐานการเรียนรู้จึงเป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาหลักสูตร และเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3. มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร ดังนั้น มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน นั่นคือ หากสถานศึกษาจัดการศึกษาตามหลักสูตร โดยยึดมาตรฐานการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ครบถ้วนในแต่ละช่วงชั้น ในขณะเดียวกันก็พัฒนาองค์ประกอบอื่นๆ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยดำเนินการอย่างจริงจังและเข้มแข็ง ย่อมส่งผลถึงคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแน่นอนในทำนองเดียวกัน การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ก็ย่อมส่งผลถึงคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยด้วย
ตัวอย่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานกับ มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร
หลักการ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้านวิชาการ หลักสูตร ผู้สอนและผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา(Internal Quality Assurance System) เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา