271 likes | 2.5k Views
หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต. รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555. หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต.
E N D
หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555
หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต
โดยปกติเมื่อสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ตายลงก็มักจะถูกย่อยสลายให้เน่าเปื่อยผุพังลงจนไม่มีซากเหลืออยู่ แต่สำหรับบางสภาวะที่ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของซากสิ่งมีชีวิตได้ดี เช่น การอยู่ในน้ำแข็ง การอยู่ในยางไม้ (อำพัน) หรือการฝังตัวอยู่ในดินโคลนจนกลายเป็นหินจะทำให้สิ่งมีชีวิตที่ตายลงยังคงเหลือให้เห็นเป็นซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้เราทราบว่าเคยมีสิ่งมีชีวิตมากมายที่เกิดขึ้นในอดีต หลายชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์ และส่วนใหญ่ที่มีชีวิตอยู่ก็มีสัณฐานเปลี่ยนแปลงไป ซากดึกดำบรรพ์จะพบมากในหินชั้นหรือหินตะกอน นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณอายุของซากดึกดำบรรพ์ได้จากอายุของชั้นหิน ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหินชั้นล่างย่อมมีอายุมากกว่าซากที่พบในหินชั้นบน และเมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างแล้วซากดึกดำบรรพ์ในหินชั้นบนจะมีความซับซ้อนและมีโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันมากกว่า
หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบหลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ
สิ่งมีชีวิตบางชนิดเมื่อเราดูจากลักษณะภายนอกจะเห็นว่ามีลักษณะต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างรยางค์คู่หน้าจะพบว่ามีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน การที่สิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างของอวัยวะบางอย่างคล้ายคลึงกันแม้ว่าจะทำหน้าที่แตกต่างกันก็ตาม เช่น แขนคน ขาแมว รยางค์คู่หน้าของวาฬ และปีกค้างคาว เราเรียกโครงสร้างลักษณะนี้ว่า ฮอมอโลกัส (homologous structure) ความคล้ายคลึงกันของโครงสร้างลักษณะนี้เป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าสิ่งมีชีวิตนั้นๆมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน
หลักฐานจากวิทยาเอ็มบริโอเปรียบเทียบหลักฐานจากวิทยาเอ็มบริโอเปรียบเทียบ
ในบางกรณีที่ไม่สามารถศึกษากายวิภาคเปรียบเทียบในระยะตัวเต็มวัยได้ แต่เมื่อศึกษาการเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอแล้ว พบว่าใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ จากการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังระยะแรกๆ จะเห็นว่ามีอวัยวะบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน เช่น ช่องเหงือก(gill slit) และหาง เป็นต้น ความคล้ายคลึงกันของการเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอนี้อาจเป็นไปได้ว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเหล่านี้ต่างมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่มีการปรับเปลี่ยนรูปร่างอันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลหลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ก้าวหน้า ไปมาก นับตั้งแต่ที่เมนเดลได้จุดประกายการศึกษาสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต และจุดเปลี่ยนสำคัญที่เจมส์ วัตสัน (James Watson) และฟรานซิส คริก (Francis Crick) ได้ค้นพบโครงสร้างสามมิติของดีเอ็นเอ ในปี พ.ศ.2496ความรู้ทางพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการศึกษาสารพันธุกรรมหรือดีเอ็น เอก็ก้าวหน้านับแต่นั้นมา สิ่งมีชีวิตพื้นฐานทุกชนิดมีดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม (ยกเว้นไวรัสบางชนิด) ความเหมือนหรือความแตกต่างของลำดับเบสในดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด สามารถใช้บ่งชี้ถึงความใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ กล่าวคือสิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดกันเชิงวิวัฒนาการจะมีความเหมือนกันของ ดีเอ็นเอมากกว่าสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น และเนื่องจากโปรตีนเป็นผลิตภัณฑ์จากรหัสของดีเอ็นเอ ดังนั้นจึงอาจใช้การศึกษาเปรียบเทียบความต่างของโปรตีนในการเปรียบเทียบความ ต่างของยีนในสิ่งมีชีวิตเพื่อศึกษาวิวัฒนาการได้เช่นกัน
หลักฐานทางด้านชีวภูมิศาสตร์หลักฐานทางด้านชีวภูมิศาสตร์
สภาพแวดล้อมต่างๆ บนโลก ล้วนมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้มีการกระจายพันธุ์พืชและสัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ เช่น นกฟินช์ในหมู่เกาะกาลาปากอสคล้ายกันกับนกฟินช์ที่อยู่บนทวีปอเมริกาใต้ อาจเป็นไปได้ว่าบรรพบุรุษนกฟินช์อาจอพยพและแพร่กระจายจากทวีปอเมริกาใต้ มาอยู่บนหมู่เกาะกาลาปากอสและเมื่อเวลาผ่านไปทำให้เกิดนกฟินช์หลายสปีชีส์ที่มีลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่จากข้อมูลเหล่านี้สนับสนุนว่าในอดีตแผ่นดินอาจต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกันและแยกจากกันในเวลาต่อมาซึ่งข้อมูลทางชีวภูมิศาสตร์จึงถือเป็นข้อมูลสนับสนุนหนึ่งที่บ่งชี้และช่วยให้เราเข้าใจวิวัฒนาการได้มากขึ้น
คณะผู้จัดทำ กลุ่มที่ 5 ม.6/3 1.นายบรรณวิทิต ประดิษฐพัสตรา เลขที่ 10ก. 2.นางสาวชลพรรษ แน่นหนา เลขที่ 18ก. 3.นางสาวสุชาดา ชื่นชม เลขที่ 19ก. 4.นางสาวศิวพร ตันตะราวงศา เลขที่ 22ก. 5.นางสาวสุขภัทราณ์พร เรืองคล้าย เลขที่ 14ข. เสนอ อาจารย์ บรรจบ ธูปพงษ์