540 likes | 738 Views
Knowledge Forum and the Best Practice 52. นพพร เพียรพิกุล งานบริการ ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ มีนาคม 255 3. มหกรรม Knowledge Forum and The Best Practice 52. กิจกรรม : กิจกรรม KM ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพฯ เจ้าภาพ : มหาวิทยาลัย
E N D
Knowledge Forum and the Best Practice 52 นพพร เพียรพิกุล งานบริการ ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ มีนาคม 2553
มหกรรม Knowledge Forum and The Best Practice 52 กิจกรรม: กิจกรรม KM ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพฯ เจ้าภาพ: มหาวิทยาลัย สถานที่จัด: ห้องประชุมใหญ่ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วัน-เวลา: 30 กรกฎาคม 2552 9.00-16.30 น.
กิจกรรม • การเสวนาหัวข้อ การพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้ • การจัดนิทรรศการกิจกรรมการจัดการความรู้ • การประกวดแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) (กิจกรรม KM ของคณะ/สำนัก)
NIDA KM • แผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ (แผนพัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้) • Sharing • Knowledge Forum • การศึกษาดูงาน • NIDA KM: Wisdom for Change • www.km.nida.ac.th • การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กร • Doing • Best Practice • NIDA Academic Bank • KM Active • Training • การสัมมนาการจัดการความรู้ประจำปี (NIDA KM Seminar) + การประกวดและนำเสนอผลงาน
บรรยากาศในห้องประชุม บรรยากาศในห้องประชุม
ผลการประกวด • รางวัลที่ 1 โครงการ Students’ Journey: Way to Success (คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) • รางวัลที่ 2 โครงการ Helpdesk Service System (สำนักการศึกษาระบบสารสนเทศ) • รางวัลที่ 3 โครงการฐานข้อมูลคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการบริหารและบริการ
ผลการประกวด รางวัลชมเชย โครงการBook Delivery Service (สำนักบรรณสารการพัฒนา) โครงการพัฒนาเว็บไซต์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (คณะรัฐประศาสนศาสตร์)
รางวัลชนะเลิศ Best Practice 52 โครงการ “Students’ Journey: Way to Success” ของ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารภายในคณะระหว่างคน 3 กลุ่ม คือ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่คณะ และนักศึกษา โดยใช้แหล่งข้อมูลเดียวกัน (เว็บไซต์)
ขั้นตอน • วางโครงร่างและเนื้อหาที่จะบรรจุในโครงการ • ฝ่ายการศึกษาของคณะกำหนดตารางกิจกรรมว่าช่วงไหนนักศึกษา ต้องทำอะไร โดยละเอียดตามลำดับเหตุการณ์ ในตลอด 2 ปี (โดยขอให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาช่วยกันพิจารณาข้อมูลทั้งหมด) • จัดทำข้อมูลบนเว็บไซต์ • สร้างห้องเรียน (E-Classroom) เพื่อเป็นช่องทางให้อาจารย์และนักศึกษาติดต่อกัน ในการ มอบหมายงาน ส่งงาน และส่งการบ้าน ฯลฯ
รางวัลชมเชย (สำนักบรรณสารการพัฒนา)
การบริการ “หนังสือด่วน ส่งถึงที่”Book Delivery Service สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กุมภาพันธ์ 2553
เหตุผลความเป็นมา สาเหตุ หนังสือที่อาจารย์เสนอซื้อ ทำบันทึกแจ้งรายชื่อไปแล้วไม่มายืม นานจนต้องนำขึ้นชั้น มีการจองหนังสือที่มีคนยืมแล้ว รอจนหมดอายุการจอง ไม่มายืม (อายุการจอง 5 วัน) วัตถุประสงค์ เพื่อให้หนังสือพบกับผู้ใช้ที่ต้องการใช้ อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอบนชั้นนาน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าของงบประมาณที่จัดหามา เป็นบริการเชิงรุก เพื่อสร้างความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการ
ข้อได้เปรียบ เป็นมหาวิทยาลัยเล็ก ทั้งในด้านพื้นที่ และด้านจำนวนบุคลากร มีการส่งหนังสือประจำวันอยู่แล้ว เป็นโอกาสประชาสัมพันธ์งานบริการห้องสมุด ใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องของบประมาณเพิ่ม ได้แก่ แรงงาน รถจักรยาน
การดำเนินการระยะแรก 9 มีนาคม 2552 โครงการนำร่อง บริการเฉพาะคณาจารย์ (ประมาณ 180 คน) เพื่อดูปัญหาที่จะเกิดขึ้น ก่อนขยายโครงการไปสู่บุคลากรทั้งสถาบัน 1 มิถุนายน 2552 ขยายการบริการให้กับบุคลากรทั้งสถาบัน (ประมาณ 750 คน) ผลสรุป ประเภทบุคลากรที่ใช้มากที่สุด คือ อาจารย์ ประเภทหนังสือที่ยืม วิชาการ ช่องทางที่ใช้มากสุดคือ จองผ่านระบบ OPAC รองลงมาคือ โทรศัพท์ อีเมล เสนอซื้อ
ช่องทางการขอรับบริการช่องทางการขอรับบริการ โทรศัพท์ Hotline สายด่วน 3737 (One Stop Service) E-mail: services@nida.ac.th, services.nida@gmail.com การจองผ่าน OPAC (คนละ 3 เล่ม) จองผ่านระบบ ICS (Internal Communication System) ของสถาบัน ช่องทางใหม่ MSN: services.nida@gmail.com
ปัญหาและอุปสรรค แรก ๆ ตอนเปิดตัวใหม่ ๆ ผู้ใช้ยังไม่ค่อยทราบช่องทางการขอรับบริการ ด้านเทคโนโลยี อีเมลช้า ต้องโทรศัพท์มาสอบถาม (โทรศัพท์เร็วที่สุด) ต้องใช้โปรแกรมเสริมในการดึงข้อมูลการจองหนังสือที่มีสถานภาพ On shelf, In Process, In Cataloging ต้องตรวจสอบหนังสือที่อยู่บนชั้นจอง ว่ามีหนังสือที่ควร Delivery หรือไม่ ตลอดเวลา ต้องตรวจสอบตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับรอบการส่ง (วันละ 4 รอบ 9.00, 11.00, 12.00 และ 16.00 น.) ต้องมีหลักฐานยืนยันการรับบริการ
ข้อดี ทำให้ประชาคมรู้จักสำนักบรรณสารการพัฒนามากขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา หนังสือมีการใช้อย่างคุ้มค่า หนังสือไม่ต้องรอผู้ใช้มายืมเอง สร้างความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็น End User เป็นไปตามคำขวัญของสำนัก “ทรัพยากรทันสมัย ตอบสนองฉับไว สร้างความพึงใจ เพื่อผู้ใช้บริการ”
แผนงานในอนาคต จัดวางตู้ Book Drop ตามอาคารต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการมาคืน ข้อค้นพบ ผู้ใช้บางคนยังต้องการมาห้องสมุดเพื่อเลือกดูหนังสือเองจากชั้น ซึ่งมีหลากหลาย และมีอรรถรสมากว่า Shop ทาง OPAC แล้วขอ BDS ผู้ใช้ไม่สามารถดูหน้าสารบัญได้ อ่านชื่อแล้วน่าสนใจ แต่ไม่รู้เนื้อหาตรงหรือไม่ (ห้องสมุดเพิ่งเริ่มสแกนหน้าปก หน้าสารบัญและ เนื้อหา 10 หน้าแรกเข้า OPAC ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ไม่นาน) ดูคลิป BDS ที่ http://www.km.nida.ac.th/librarykm
บริการหนังสือด่วน บุคคลภายนอก (10.2) ปี 2551 บริการภายใน 14 ช.ม. เวลาทำการ(บริการผู้ใช้ทุกประเภทใช้เวลาเท่ากัน) ปี 2552 เริ่ม 4 มกราคม 2553 บริการภายใน 6 ช.ม. เวลาทำการ สำหรับบุคลภายนอกเท่านั้น ประเภทอื่นยังคงเวลาประกันเท่าเดิม เงื่อนไข บริการเฉพาะบุคคลภายนอกที่มาติดต่อด้วยตนเองเท่านั้น หนังสือที่ต้องการต้องอยู่ในสถานภาพ In Process และ In Cataloging ขอรับบริการได้คนละ 2 เล่ม
ขั้นตอนการบริการ ผู้ใช้มาติดต่อ เขียนแบบฟอร์ม โทรศัพท์แจ้งงานวิเคราะห์ฯ โพสต์คำขอในระบบ ICS ห้องบริการหนังสือด่วน งานวิเคราะห์ฯดำเนินการทุกขั้นตอนจนเสร็จส่งให้บรรณารักษ์งานบริการ และโพสต์ว่าดำเนินการแล้ว บรรณารักษ์งานบริการโทรศัพท์หรืออีเมลแจ้งผู้ใช้บริการ และโพสต์ว่าติดต่อผู้ใช้แล้วช่องทางใด วันที่ เวลา สำนักงานเลขานุการเก็บข้อมูล โดยคำนวณเวลาตั้งแต่เริ่มติดต่อขอรับบริการจนงานบริการแจ้งผู้ใช้