990 likes | 1.83k Views
คำแนะนำการทำสัมมนา วิชาสัมมนา 515-497 515-596 และ 515-597. นิยามและความหมาย. วิชา สัมมนาคือ...................................?. วิชาสัมมนาที่มีกลุ่มนักศึกษาเรียนร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ โดย
E N D
คำแนะนำการทำสัมมนาวิชาสัมมนา 515-497 515-596 และ 515-597
วิชาสัมมนาคือ...................................?วิชาสัมมนาคือ...................................? วิชาสัมมนาที่มีกลุ่มนักศึกษาเรียนร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ โดย • 1. นักศึกษาต่างคนต่างก็ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองในหัวข้อที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน เพื่อหาความรู้หรือข้อสรุปใหม่ๆ • 2. มาเรียบเรียงเป็นรายงานบรรยายในที่ประชุมของนักศึกษาในชั้นเรียน • 3. เพื่อการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้ต่างๆ ระหว่างกัน
บทความสัมมนาคือ...........................?บทความสัมมนาคือ...........................? • เป็นบทความทางวิทยาศาสตร์ ที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จัดอยู่ในประเภทบทความเทคนิค (technical paper) • เป็นข้อมูลมือสองที่ผู้เขียนไม่ได้วิจัยเอง
บทความสัมมนาคือ..............? (ต่อ) • เป็นการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการจากเอกสารต่างๆ หรืองานวิจัยของผู้อื่น • ต้องนำมาเรียบเรียงหรือสังเคราะห์ให้เป็นชุดวิชาการ (package) เพื่อให้ได้ข้อสรุปในเรื่องนั้นๆ • ต้องมีเอกสารอ้างอิง
ชนิดของสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ชนิดของสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ ก.หนังสือ • ตำรา (Textbook) • หนังสือเฉพาะเรื่อง (Monograph) • หนังสือทั่วไป ข. วารสาร (Journal)
ชนิดของสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ (ต่อ) ค.รายงานการประชุมสัมมนา (Proceeding) ง. รายงานการวิจัย (Research report) จ. นิตยสาร (Magazine)
ชนิดของบทความทางวิทยาศาสตร์ชนิดของบทความทางวิทยาศาสตร์ ก.บทความปฐมภูมิ • วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ (Thesis and Dissertation) • บทความวิจัย (Research article) • รายงานวิจัย (Research report)
ชนิดของบทความทางวิทยาศาสตร์ (ต่อ) ข. บทความทุติยภูมิ • บทความปริทัศน์ (Review article) • บทความเทคนิคและภาคนิพนธ์ (Technical paper and Term paper) • บทความทั่วไป
โครงสร้างของบทความทางวิทยาศาสตร์โครงสร้างของบทความทางวิทยาศาสตร์
การนำเสนอสัมมนา • เป็นการบรรยายเนื้อหาที่ได้เรียบเรียง โดยผู้นำเสนอสัมมนา จะถูกประเมินทั้งการเขียน การพูดและเทคนิคการนำเสนอ • ตัวหนังสือชัดเจน อ่านง่าย คำบรรยายใน powerpoint จะมีเฉพาะประเด็นที่สำคัญ ต่างจากการเขียนบทความใน word • มีภาพมีสีสัน มีเสียง มี animation
การนำเสนอสัมมนา (ต่อ) • ขนาดตัวหนังสือในตารางต้องมีขนาดพอเหมาะและควรเน้นข้อมูลที่สำคัญให้ชัดเจน • ผู้พูดต้องรู้จักเรียบเรียงเรื่องที่จะพูดไม่ให้วกวน เยิ่นเย้อ พูดได้ตามเวลาที่กำหนด • ผู้พูดต้องศึกษาเรื่องที่จะพูดให้เข้าใจ ไม่ใช่มาอ่านเรื่องให้ฟัง และควรพยายามตอบคำถามในเนื้อเรื่องให้ได้
โครงสร้างของสัมมนา • ชื่อเรื่อง • ชื่อผู้เขียน • บทคัดย่อ • คำนำ • เนื้อเรื่อง • ตอน 1 • ตอน 2 • สรุป • เอกสารอ้างอิง
(1) ชื่อเรื่อง • เปรียบเหมือนบทคัดย่อที่สั้นที่สุด • เลือกคำที่เด่น น่าสนใจและจูงใจให้อ่านเรื่องเต็ม • ชื่อเรื่องที่ดีควรมีคุณสมบัติ 4 อย่างคือ • - แสดงเอกลักษณ์ทางวิชาการ • - มีคำสำคัญ (keyword) • - มีคำดรรชนี (index word) • - แสดงวัตถุประสงค์
หลักในการตั้งชื่อเรื่อง...................หลักในการตั้งชื่อเรื่อง................... • อย่าให้สั้นหรือยาวเกินไป (ไม่ควรสั้นกว่า 5 คำ หรือยาวกว่า 20 คำ) • ชื่อเรื่องเป็นวลี ไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ไม่มีกริยา • หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ไม่มีความหมายหรือไม่มีความสำคัญที่ชัดเจน เช่น การศึกษา...อิทธิพลของ..... • ชื่อเรื่องไม่ใช้ชื่อย่อ คำย่อ ศัพท์เทคนิค เช่น ไม่ใช้ พรบ. , GMO, Fe
(2) การเขียนบทคัดย่อ • คือการย่อทุกโครงสร้างของบทความ ดึงมาเฉพาะส่วนสำคัญ และเก็บรายละเอียดเท่าที่จะทำได้ตามความยาวที่กำหนด • ส่วนที่ย่อคือ คำนำ วัตถุประสงค์ อุปกรณ์วิธีการ ผล และส่วนสรุปที่สำคัญ • บทคัดย่อต้องแยกเป็นหน้าอิสระจากเรื่องเต็ม • ไม่มีเอกสารอ้างอิง • เสนอผลที่แน่นอน เช่น เป็นตัวเลข • เป็นหน้าแรกของบทความที่ตีพิมพ์
การเขียนบทคัดย่อ (ต่อ) แม้จะปรากฏแรกสุด.......แต่ต้องเป็นสิ่งที่เขียนหลังสุด หลังจากเขียนทั้ง paper หมดแล้ว • หน้าที่ของ abstract คือ "ทำให้คนอ่านรู้ว่า paper นี้มันเกี่ยวกับอะไร เพื่อให้เขาตัดสินใจได้ว่าเขาต้องการอ่าน full paper หรือไม่" มันจึงต้องมีข้อมูลที่จะทำหน้าที่นี้ให้สมบูรณ์ และเป็นเหตุให้มัน คือ "ย่อความ" ของ full paper
การเขียนบทคัดย่อ (ต่อ) • Abstract จะประกอบด้วย "ทำไมถึงทำงานวิจัยนี้" "ทำอะไร" "ทำอย่างไร" และ "ได้ผลอะไร" • "ทำไมจึงทำงานวิจัยนี้“ เป็นการบอกให้ผู้อ่านทราบ background ของเรื่องว่ามีปัญหาอะไร (บอกให้ทราบเหตุผลการทำ) • "ทำอะไร" เป็นการบอกว่าปัญหาข้างต้นนั้น ทำให้เราทำวิจัยเรื่องนี้ใน "ประเด็นอะไร" • สองหัวข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการทำให้เขาเชื่อว่า เราได้ทำในสิ่งที่ควรทำ
การเขียนบทคัดย่อ (ต่อ) • ส่วน "ทำอย่างไร" "ได้ผลอะไร" นั้นเป็นการสรุปวิธีการและผล เราจะเน้นที่ผลมากกว่าวิธีการ (เพราะต้องไม่ให้ยืดเยื้อ) เวลาบอกผล เราต้องบอกเป็นเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ • ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนี้เขาต้องการตัวเลขที่บอกความก้าวหน้าของศาสตร์นี้ เช่น ต้องบอกว่า "วิธีนี้ทำให้ต้นทุนลดลงเหลือเพียง 20 บาท/กก. ซึ่งคิดเป็นเพียง 30% ของวิธีเดิม" ไม่ใช่เขียนว่า "วิธีนี้ช่วยให้ลดต้นทุนได้มาก
(3) การเขียนบทนำ คือ ส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่า • เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด สำคัญอย่างไร • ตอบคำถามว่าเราทำเรื่องนี้ทำไม • เมื่อได้ทำการค้นคว้าทดลองแล้วได้ประโยชน์อย่างไร
การเขียนบทนำ (ต่อ) • “Introduction เปรียบเสมือนประตูหน้าบ้านที่เปิดแง้มอยู่ ภายในมีเฟอร์นิเจอร์เป็นประกายวับ ภายใต้แสงดาวสลัวที่ผ่านหน้าต่างเข้ามา เมื่อคุณถอดรองเท้าก้าวเข้าไปเปิดสวิทซ์ไฟ คุณก็พบกับทางเดินภายในที่มีบรรยากาศเชิญชวนให้คุณก้าวเท้าเข้าไป นี่คือบรรยากาศของ introduction”
การเขียนบทนำ • หน้าที่ของ introduction คือ บอกให้คนอ่านเชื่อว่าเรื่องนี้ "เป็นเรื่องสมควรทำ" และคุณ "สมควรอ่านเนื้อหาภายในให้จบ" จะว่า introduction เป็น ”คนเชียร์แขก” ก็ย่อมได้ • หากไม่สามารถ convince ได้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสมควรทำ มันก็จะไม่มีใครสนใจอ่าน(ถึงแม้เนื้อหาภายในจะน่าสนใจ)
เทคนิคการเขียนบทนำ 1. เริ่มต้น ภายใน 5 ประโยคแรกให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของปัญหา แล้วชี้แจงให้เห็นว่า หากเราแก้ปัญหานี้ได้มันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆ อย่างไร (ทั้งประเทศชาติ ผู้ประกอบการ เกษตรกร ฯลฯ) ตรงนี้เรียกว่าโผล่หัวเข้าประตูมาก็ถูกยัดด้วยข้อมูลที่มี impact สูง หากสามารถทำให้เหมือนเปิดสวิทซ์ไฟแล้วเข้าไปวาบสว่างภายในความคิดได้ยิ่งดี มันเป็นการใช้ "ความสำคัญ" ของเรื่องไปกระตุ้นต่อมความสนใจของคนอ่าน
เทคนิคการเขียนบทนำ (ต่อ) 2. ตอนต่อไปก็เป็น literature review (กรุณาย้อนไปอ่าน literature review ว่ามันต่างกับใน proposal อย่างไร) ใช้ literature review แสดงให้เห็นว่าเรา "ไม่มีวิธีหาคำตอบด้วยวิธีอื่นอีกแล้วนอกจากทำวิจัย (ที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ )" ดังนั้นการตรวจเอกสารจะต้องกระชับ ตรงประเด็น ที่สำคัญมาก คือ "แสดงให้เห็นช่องว่างของความรู้" ตอนนี้ประมาณ 20 -30 ประโยค
เทคนิคการเขียนบทนำ (ต่อ) 3 ตามด้วยเสนอสมมุติฐาน เมื่อแสดง gap ของความรู้แล้วก็ต้องเสนอสมมุติฐานของการทำงานวิจัยด้วย สมมุติฐานเป็นการบอกว่าเรามีความคิดทำมันอย่างไร ซึ่งมันจะสะท้อนต่อไปใน methodology สัก10-15 ประโยคสำหรับตอน 3 นี้ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว 4. สรุปให้ได้ความทำนองว่า ดังนั้นเราจึงเสนอผลงานวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งคุณจะได้อ่านต่อไป ตรงนี้ไม่เกิน 2 ประโยค
(4) การตรวจเอกสาร • คือ การสรุปงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนั้นที่ได้ทำมาก่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลว่า • ในอดีต ได้มีการทำวิจัยไว้บ้างหรือไม่ ทำอย่างไร ได้ผลอย่างไร • ในขณะนี้ ได้ผลสรุปว่าอย่างไร • วิธีการเขียนขั้นกับข้อกำหนดของแหล่งที่ต้องการตีพิมพ์ • ระบบนาม- ปี • ระบบตัวเลข
หลักการเขียนการตรวจเอกสารหลักการเขียนการตรวจเอกสาร ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงฉบับเดียว • ผู้แต่งคนเดียว • นำหน้าประโยค สุวรรณ (2545) รายงานว่า........................ • หลังประโยค ....................... (สุวรรณ, 2545) ระบบ นาม - ปี
หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงฉบับเดียว • ผู้แต่ง 2 คน (นำหน้าประโยค ) • สุวรรณ และ กนก (2545) รายงานว่า... • ผู้แต่ง >=3 คน (นำหน้าประโยค ) • สุวรรณ และ คณะ (2545) รายงานว่า...
หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) ตัวอย่างเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ • จากเอกสารอ้างอิงฉบับเดียว • การถ่ายทอดยีนเข้าสู่พืช อาจกระทำโดยใช้เครื่องยิงอนุภาค (Sanford และคณะ, 1987) • Sanford และคณะ (1987) ได้ใช้เครื่องยิง...
หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) • จากเอกสารอ้างอิงมากกว่า 1 ฉบับ • 2 ฉบับและผู้เขียนหลายคน(Petersan, 1960; Johnson และ Anderson, 1972) • ผู้เขียนคนเดียวกันแต่มีหลายฉบับ(Gardner, 1980a, b, c) • ผู้เขียนหลายคนแต่ชื่อซ้ำกัน (Johnson, 1989a; Johnson, 1989b)
หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) • ต้องเขียนให้กลมกลืนแทบเป็นเนื้อเดียวกัน โดยนำรายละเอียดจากเอกสารแต่ละเรื่องมาต่อกันให้มีลำดับแบบใดแบบหนึ่ง เช่น • แบบเก่า - ใหม่ • แบบเหตุ - ผล • แบบวิธีการ - ผล เช่น............(พิจารณาจากหน้าถัดไป)
หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) • การปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ทนแล้ง กระทำได้สำเร็จ โดยคัดเลือกในสภาพการปลูกที่เป็นจริง (เอกสารอ้างอิง) แต่วิธีการนี้ต้องใช้เวลาตลอดทั้งฤดู และเป็นวิธีที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความปรวนแปรในเรื่องปริมาณน้ำฝน (เอกสารอ้างอิง) ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมคือการคัดเลือกในห้องปฏิบัติการ หรือในเรือนเพาะชำ (เอกสารอ้างอิง)
หลักการเขียนการตรวจเอกสาร (ต่อ) • จัดตามลำดับเวลา เอกสารใดเกิดก่อนจัดลำดับไว้ก่อน • จัดแยกเอกสารออกเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มวิธีการทดลอง กลุ่มของผลการทดลองที่มีความสอดคล้องกัน สนับสนุนกัน หรือ ขัดแย้งกัน • ไม่ใช้เอกสารเรื่องใดมากเกินความจำเป็น ให้นำมาเฉพาะผลสำคัญ และอยู่ในแนวเดียวกับบทความที่กำลังเขียน • ตอนสุดท้ายให้ทิ้งท้ายด้วยปัญหาที่เป็นเหตุให้ต้องทำการวิจัย
(5) หลักการเขียนวิธีการทดลอง (Materials and Methods) • วิธีการทดลอง เป็นการบรรยายว่าเราจะทำอะไรอย่างไรใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง บรรยายวิธีการทดลองเป็นขั้นตอนตามลำดับเวลา และตามลำดับความสำคัญ • วัสดุทั่วไปที่ไม่ทำให้ผลการทดลองแตกต่างกับการทดลองอื่น ไม่ต้องกล่าวถึงอย่างละเอียดแต่หากใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันน่าจะให้ผลต่างกันแนะนำว่าก็ให้ระบุชนิดของเครื่องมือหรือเครื่องหมายการค้า ถ้าเป็นวิธีการทดลองที่คิดขึ้นเองให้บรรยายอย่างละเอียด
หลักการเขียนวิธีการทดลอง (ต่อ) • ถ้าการทดลองใช้วิธีทางสถิติที่มีความเฉพาะ ให้บรรยายด้วย เช่น แผนการทดลอง วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และชนิดของโปรแกรมสถิติที่ใช้
(6) ผลการทดลอง สามารถเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การบรรยาย รูป กราฟ และตาราง ทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีหลักดังนี้..... • การเสนอผลในแบบบรรยาย รูป กราฟ และตาราง ต้องมีรายละเอียดที่ไม่ซ้ำกัน
ผลการทดลอง (ต่อ) • ถ้าไม่มีตอนวิจารณ์แยกต่างหาก ให้วิจารณ์หลัการเสนอผลแต่ละตาราง โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของการทดลอง • การบรรยายต้องชี้ให้เห็นจุดเด่น ผลการวิจัยที่น่าสนใจ ความแตกต่างระหว่างปัญหาต่างๆ (Treatment)
การนำเสนอประเภทตาราง • ต้องมีชื่อตาราง (caption) เพื่อให้ชื่อและรายละเอียดสั้นๆ แก่ตารางนั้น • แต่ละตารางต้องมีการกล่าวถึงไว้ในเนื้อเรื่อง เช่น “ผลการทดลองครั้งนี้ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1” • ชื่อตารางต้องอยู่เหนือตาราง • ต้องมีเลขที่ตาราง แม้ในเรื่องมีเพียงตารางเดียว • ในตารางต้องบอกหน่วยวัดให้ชัดเจน
การนำเสนอประเภทตาราง (ต่อ) • ข้อความในตารางส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลข ซึ่งต้องมีการจัดระเบียบเป็นอย่างดี ข้อมูลในสดมภ์เดียวกันต้องวางให้ตรงกัน • ถ้าข้อมูลเป็นจำนวนเต็ม ควรวางให้เลขหลักหน่วยตรงกัน และควรมีเครื่องหมายจุลภาคคั่นค่าตัวเลข เช่น 12,462 • ถ้าข้อมูลเป็นทศนิยม ควรจัดให้มีจุดทศนิยมตรงกัน ตัวเลขหลังจุดทศนิยมควรลดให้เหลือเท่าที่จำเป็น ปกติจะเหลือเป็นจำนวนคู่ คือ 2 หลัก หรือ 4 หลัก
การนำเสนอประเภทตาราง (ต่อ) • กรณีใช้คำย่อ ต้องมีหมายเหตุอธิบายใต้ตาราง • ในกรณีที่ได้ตารางมาจากบทความที่อื่น ต้องบอกที่มาของตารางด้วย
การนำเสนอประเภทกราฟ • กราฟวงกลม ข้อมูลที่แสดงสัดส่วน • กราฟเส้น ข้อมูลที่แสดงการเปลี่ยนไป ตามเวลา • กราฟแท่ง ข้อมูลที่แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ • กราฟที่นำเสนอ ควรอ่านผลได้ง่าย ไม่ใช่มีเส้นเต็มไปหมด หากเป็นดังนี้ ต้องเปลี่ยนนำเสนอในลักษณะอื่น
โอกาสที่เชื้อไวรัสจะมีชีวิตอยู่ในผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมโอกาสที่เชื้อไวรัสจะมีชีวิตอยู่ในผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ตารางที่2.The effect of temperature and pH on time for 90% Foot-and- mouth virus inactivation.
ภาพที่ X กราฟแสดงการจัดสรรเงินงบประมาณและเงินรายได้ ปี 2544 ที่มา งานนโยบายและแผน คณะทรัพยากรธรรมชาติ, 2545