770 likes | 1.01k Views
การประชุมชี้แจงและเตรียมการ. การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา ( V-NET ) ระดับสนามสอบ ประจำปีการศึกษา 2554 25 - 27 มกราคม 2555 โดย ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และ สถาบัน ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน ). วัตถุประสงค์ของการประชุม.
E N D
การประชุมชี้แจงและเตรียมการการประชุมชี้แจงและเตรียมการ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)ระดับสนามสอบ ประจำปีการศึกษา 2554 25 - 27 มกราคม 2555 โดย ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
วัตถุประสงค์ของการประชุมวัตถุประสงค์ของการประชุม 1. เพื่อให้สนามสอบมีความเข้าใจวิธีการดำเนินการจัด สอบ V-NET ปีการศึกษา 2554 อย่างชัดเจน 2. หัวหน้าสนามสอบกลับไปจัดประชุมคณะทำงานระดับ สนามสอบ และกำกับให้การจัดสอบในสนามสอบ มีความยุติธรรม โปร่งใส และได้มาตรฐาน 3. คณะทำงานระดับสนามสอบเข้าใจ และปฏิบัติถูกต้อง ตามคู่มือการจัดสอบ V-NET ปีการศึกษา 2554
หัวข้อการประชุม 1. ข้อมูลการจัดสอบ V-NET ปีการศึกษา 2554 2. ข้อกำหนดการจัดสอบ V-NET 3. ภารกิจของศูนย์สอบ 4. ภารกิจของสนามสอบ 5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ 6. วิธีการทำงานของกรรมการคุมสอบ 7. การรับ-ส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบและเอกสารการสอบ
วัตถุประสงค์ของการทดสอบ V-NET 1. เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2545 (ปรับปรุง 2546) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2545 2. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา 3. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ
หน่วยงานที่สอบ V-NET (จ.ลำปาง และ จ.อุตรดิตถ์) • สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(วท. 2 /วอศ. 2 / วช. 2/ วก. 3 / วทก.1) • สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ลำปาง 3 / อุตรดิตถ์ 1) • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ลำปาง 3)
1. ข้อมูลสำหรับการบริหารจัดสอบ V-NET
ข้อมูลการจัดสอบศูนย์สอบมทร. ล้านนา ลำปาง
ข้อมูลการจัดสอบศูนย์สอบมทร. ล้านนา ลำปาง (ต่อ)
ข้อมูลการจัดสอบศูนย์สอบมทร. ล้านนา ลำปาง (ต่อ)
กำหนดการสอบV-NET ปีการศึกษา 2554 ปวช.3 สอบวันอาทิตย์ ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 ปวส.2 สอบวันอาทิตย์ ที่ 5กุมภาพันธ์ 2555 www.niets.or.th
ตารางสอบ V-NET ปวช. 3วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555
ตารางสอบ V-NET ปวส. 2วันอาทิตย์ที่ 5กุมภาพันธ์ 2555
2. ข้อกำหนดการจัดสอบ V-NET 1. ระดับ ปวช.3 สอบโดยใช้ข้อสอบ จำนวน 3 ฉบับตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2545 (ปรับปรุง 2546) 2. วิชาที่ผู้เข้าสอบทุกคนสอบเหมือนกันคือ วิชาสมรรถนะพื้นฐานและการเรียนรู้ และวิชาสมรรถนะพื้นฐานวิชาชีพ 3. วิชาที่ผู้เข้าสอบแยกสอบตามกลุ่มประเภทวิชาคือ สมรรถนะวิชาชีพประเภทวิชา (แบ่งเป็น 11 กลุ่ม)
2. ข้อกำหนดการจัดสอบ V-NET 4. ระดับ ปวส.2 สอบโดยใช้ข้อสอบ จำนวน 2 ฉบับตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2545 5. ผู้เข้าสอบทุกคนสอบเหมือนกันทุกวิชา 6. ฉบับที่ 1 วิชาสมรรถนะพื้นฐานประยุกต์ ฉบับที่ 2 วิชาสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้ และสมรรถนะพื้นฐานวิชาชีพ
2. ข้อกำหนดการจัดสอบ V-NET (ต่อ) 7. แบบทดสอบ และ กระดาษคำตอบ จะบรรจุแยกซองกัน แบบทดสอบและกระดาษคำตอบมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้เข้าสอบในห้องสอบนั้น 8. แบบทดสอบแต่ละชุดวิชามี รหัสสีเฉพาะ เหมือนกันทั้งที่ซองแบบทดสอบ กระดาษคำตอบ และ ซองบรรจุกระดาษคำตอบ 9. กระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบทุกคนได้ระบุข้อมูลของผู้เข้าสอบไว้แล้ว หากไม่ตรงกับผู้เข้าสอบหรือชำรุด ให้ใช้กระดาษคำตอบสำรอง
2. ข้อกำหนดการจัดสอบ V-NET (ต่อ) 10. ซองแบบทดสอบจะถูกปิดด้วย“เทปกาวพิเศษแบบทำลายตนเอง”เพื่อมิให้เปิดจนถึงห้องสอบ ในแต่ละชุดวิชาที่สอบจะมีจำนวนซองแบบทดสอบ 1 ซอง และซองกระดาษคำตอบ 1 ซองต่อห้องสอบ 11. สทศ. จะบรรจุซองแบบทดสอบ และ ซองกระดาษคำตอบ ลงในกล่องแยกกันตามจำนวนห้องสอบของแต่ละสนามสอบ แต่ละสนามมีแบบทดสอบสำรอง 5% และกระดาษคำตอบสำรอง 10% ของผู้เข้าสอบ 12. ศูนย์สอบรับกล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และเอกสารเกี่ยวกับการสอบแล้ว ตัวแทนศูนย์สอบนำไปให้สนามสอบในวันและเวลาที่เหมาะสม
2. ข้อกำหนดการจัดสอบ V-NET (ต่อ) 13. หัวหน้าสนามสอบเปิดกล่องบรรจุแบบทดสอบต่อหน้าตัวแทนศูนย์สอบหรือผู้ที่ศูนย์มอบหมาย ก่อนเวลาสอบของแต่ละวิชาไม่เกิน 1 ชั่วโมง 14. หลังสอบเสร็จ สนามสอบต้องนับจำนวนกระดาษคำตอบให้ครบถ้วนตามจำนวนทั้งของผู้เข้าสอบและขาดสอบบรรจุใส่ซองกระดาษคำตอบแล้วปิดทับด้วยเทปกาวพิเศษ แล้วบรรจุลงในกล่องปรับขนาดสำหรับใส่ซองกระดาษคำตอบ 15.สนามสอบนับจำนวนแบบทดสอบให้ครบถ้วนแล้วใส่ซอง และบรรจุลงกล่องแบบทดสอบ
2. ข้อกำหนดการจัดสอบ V-NET (ต่อ) • หัวหน้าสนามสอบนำกล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบ กล่องแบบทดสอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ ส่งศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมายของศูนย์สอบ โดยศูนย์สอบจะนับจำนวนกล่องให้ครบตามจำนวนที่สนามสอบส่งเท่านั้น 17.สทศ. จะนัดหมายมารับกล่องกระดาษคำตอบกลับ พร้อมบัญชีส่งจำนวนกล่องกระดาษคำตอบฯ (V-NET 3)ที่ศูนย์สอบ 18. สทศ. จะนัดหมายมารับกล่องแบบทดสอบกลับ พร้อมบัญชีส่งจำนวนกล่องแบบทดสอบ (V-NET 4)ที่ศูนย์สอบในภายหลัง 19. ศูนย์สอบต้องส่งรายงานการจัดสอบและรายงานสรุปค่าใช้จ่ายฯ ให้ สทศ. ทางไปรษณีย์ ภายใน 30 วัน หลังเสร็จสิ้นการสอบ
3. ภารกิจของศูนย์สอบ 1. กำหนดแผนการกระจายเอกสารให้สนามสอบคู่มือการจัดสอบ V-NET ระดับสนามสอบและกรรมการ คุมสอบ และ DVD การคุมสอบ ซองเอกสารประกอบการสอบ และอุปกรณ์การสอบ กล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบกลับ 2. กำหนดแผนการรับกล่องกระดาษคำตอบกลับ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ จากสนามสอบ 3. จัดทำคำสั่งคณะกรรมการ ระดับสนามสอบ
3. ภารกิจของศูนย์สอบ(ต่อ) 4. จัดประชุมหัวหน้าสนามสอบและตัวแทน 5. กำกับให้หัวหน้าสนามสอบจัดประชุมคณะกรรมการระดับสนามสอบ (หรือตัวแทนศูนย์สอบไปจัดประชุมเอง) • กำกับให้สนามสอบเตรียมความพร้อมก่อนการสอบ เช่น ประกาศรายชื่อผู้เข้าสอบ การจัดเตรียมห้องสอบwww.lpc.rmutl.ac.th/vnet 7. วางแผนและจัดเตรียมค่าใช้จ่ายให้สนามสอบ
3. ภารกิจของศูนย์สอบ(ต่อ) 8. แต่งตั้งตัวแทนศูนย์สอบ และส่งไปประจำที่สนามสอบ 9. กำกับ ควบคุมให้การจัดสอบของสนามสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความยุติธรรมและโปร่งใส 10. แก้ปัญหาในการดำเนินการจัดสอบของศูนย์สอบ และสนามสอบ 11. รวบรวมและจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และเอกสารเกี่ยวข้องกับการจัดสอบ ไว้ที่ศูนย์สอบ
3. ภารกิจของศูนย์สอบ(ต่อ) 12. รายงานผลการดำเนินการจัดสอบ V-NET ให้ สทศ.ทราบ ภายใน 30 วัน หลังจากเสร็จสิ้นการสอบ 13. ส่งรายงานสรุปค่าใช้จ่ายการจัดสอบ V-NET ให้ สทศ. ภายใน 30 วัน หลังจากเสร็จสิ้นการสอบ
4. ภารกิจของสนามสอบ 1. ประสานงานกับศูนย์สอบ และดำเนินการตามนโยบายของศูนย์สอบอย่างเคร่งครัด 2. เสนอชื่อคณะกรรมการระดับสนามสอบ ให้ศูนย์สอบอนุมัติแต่งตั้ง 3. ติดต่อรับคู่มือการจัดสอบ V-NET และ DVD การคุมสอบจากศูนย์สอบ 4. จัดประชุมคณะกรรมการ ระดับสนามสอบ(หรือตัวแทนศูนย์สอบเป็นผู้ดำเนินการ)
4. ภารกิจของสนามสอบ (ต่อ) 5. ติดต่อรับซองเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบจากศูนย์สอบ 6. เตรียมความพร้อมก่อนการจัดสอบ เกี่ยวกับสถานที่สอบและห้องสอบ การประชาสัมพันธ์การสอบ การประกาศรายชื่อและเลขที่นั่งสอบ 7. รับ...กล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และกล่องใส่ซองกระดาษคำตอบกลับ จากศูนย์สอบ และเก็บรักษาให้ปลอดภัย (หรือตัวแทนศูนย์สอบนำไปตอนเช้าวันสอบ)
4. ภารกิจของ สนามสอบ(ต่อ) 8. ประสานงานศูนย์สอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของกรรมการระดับสนามสอบ 9. จัดสอบภายในสนามสอบให้มีประสิทธิภาพ เป็นตามแนวปฏิบัติที่ สทศ. กำหนดมีความยุติธรรมและโปร่งใส 10. ส่ง...กล่องกระดาษคำตอบกลับ กล่องแบบทดสอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ ให้ศูนย์สอบ 11. รายงานสรุปการดำเนินการจัดสอบให้ศูนย์สอบทราบ
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ 1. หัวหน้าสนามสอบ 2. กรรมการกลาง โดยกำหนดอัตรา 1 คน : 3 ห้องสอบ 3. กรรมการคุมสอบ จำนวน 2 คน : 1 ห้องสอบ โดยกรรมการคุมสอบไม่คุมนักเรียนตนเอง 4. หัวหน้าตึก
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) 5. นักการ ภารโรงโดยกำหนดอัตรา 1 คน : 5 ห้องสอบ • เจ้าหน้าที่ตำรวจมีในกรณีในสนามสอบมีหลายโรงเรียน • กรรมการอื่นๆ (ปชส. พยาบาล เจ้าหน้าที่รักษาแบบทดสอบ)
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) 1. หัวหน้าสนามสอบ 1.1 เสนอรายชื่อกรรมการระดับสนามสอบให้ศูนย์สอบแต่งตั้ง 1.2 จัดประชุมคณะกรรมการระดับสนามสอบก่อนวันสอบ 1.3 รับซองเอกสารและอุปกรณ์การสอบจากศูนย์สอบ 1.4 เตรียมความพร้อมในการจัดสอบ กำกับให้มีการติดรายชื่อผู้เข้าสอบประกาศ สทศ. เรื่องข้อปฏิบัติสำหรับผู้เข้าสอบ V-NET และตารางสอบที่บอร์ด ปชส. ติดรายชื่อผู้เข้าสอบ แผนผังที่นั่งหน้าห้องสอบ จัดห้องสอบและติดสติกเกอร์บนโต๊ะผู้เข้าสอบ
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) 1.5 รับกล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และกล่องปรับขนาด ใส่ซองกระดาษคำตอบกลับ (RETURN) จากศูนย์สอบ และเก็บรักษาให้ปลอดภัยก่อนมอบให้กรรมการคุมสอบนำไปใช้สอบ 1.6 ประสานงานกับศูนย์สอบเรื่องตัวแทนศูนย์สอบที่มาประจำสนามสอบ 1.7 กำกับ ติดตาม ดูแล การจัดสอบให้เกิดความเรียบร้อย 1.8 จ่ายค่าปฏิบัติงานของคณะกรรมการระดับสนามสอบ และรวบรวมหลักฐานส่งศูนย์สอบ
1.9 ส่งกล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบกลับ กล่องบรรจุแบบทดสอบ และซองเอกสาร การจัดสอบทั้งหมด ให้ตัวแทนศูนย์สอบ 1.10 นำเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้บรรจุใส่ซองเอกสาร ส่งศูนย์สอบ- ใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ (สทศ.2) แผ่นที่ระบุสนามสอบส่งคืนศูนย์สอบ- ใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ (สทศ.3) / แบบคำขอแก้ไขข้อมูล (สทศ.6) (ถ้ามี)- บัญชีรับ-ส่งแบบทดสอบระหว่างหัวหน้าสนามสอบกับกับกรรมการคุมสอบ (V-NET 1)- บัญชีส่งกระดาษคำตอบและเอกสารฯ จากหัวหน้าสนามสอบถึงศูนย์สอบ (V-NET 2)- ใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ปฏิบัติงานประจำสนามสอบ- เอกสารกำกับการเปิดกล่องบรรจุแบบทดสอบ (V-NET 10) - รายงานผลการปฏิบัติงานการจัดสอบ V-NET ระดับสนามสอ-เอกสารหรือหลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) 2. หัวหน้าตึก 2.1 ประสานงานกับหัวหน้าสนามสอบ 2.2 รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับ-ส่งแบบทดสอบ ระหว่างกองกลางของสนามสอบกับกรรมการคุมสอบ 2.3 ควบคุมความเรียบร้อยภายในตึก หรืออาคารที่รับผิดชอบ โดยให้ดำเนินการตามนโยบายที่ สทศ.กำหนด 2.4ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอบเข้ามาในบริเวณตึกหรืออาคารที่ทำการสอบ
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) หัวหน้าตึก (ต่อ) 2.5 รายงานต่อหัวหน้าสนามสอบ ในกรณี- กรรมการคุมสอบไม่เพียงพอ- ผู้เข้าสอบมาผิดสนามสอบ- มีการทุจริตในห้องสอบ- ผู้เข้าสอบได้รับความไม่สะดวก- ผู้เข้าสอบเจ็บป่วย- กรรมการคุมสอบบกพร่องต่อหน้าที่หรือประพฤติไม่เหมาะสม
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) 3. กรรมการกลาง 3.1 แจกซองแบบทดสอบ ซองกระดาษคำตอบ และใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ(สทศ.2) ของวิชาที่สอบตามตารางสอบ ให้กรรมการคุมสอบ(ห้ามแจกซองแบบทดสอบและกระดาษคำตอบวิชาที่ยังไม่สอบให้กรรการคุมสอบนำไปเก็บไว้) 3.2 รับซองแบบทดสอบ ซองกระดาษคำตอบ และ สทศ.2 หลังเสร็จสิ้นการสอบของแต่ละวิชา ตรวจความเรียบร้อยและนับจำนวนกระดาษคำตอบให้ครบทั้งผู้เข้าสอบและขาดสอบก่อนปิดผนึกซองกระดาษคำตอบ และปิดทับด้วยเทปกาวพิเศษ ต่อหน้ากรรมการคุมสอบ
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) 3.3 บริการผู้เข้าสอบที่ขอแก้ไขข้อมูล (ให้เขียนแบบ สทศ.6) 3.4 กรรมการกลางเดินตรวจความเรียบร้อยระหว่างการสอบ
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) 4. กรรมการคุมสอบ 4.1 อ่านคู่มือการจัดสอบฯ สำหรับสนามสอบและกรรมการคุมสอบ และ ดู DVD การจัดสอบให้เข้าใจ 4.2 รับ-ส่งซองแบบทดสอบ ซองกระดาษคำตอบ และใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบ (สทศ.2) ของวิชาที่สอบตามตารางสอบ จากหัวหน้าสนามสอบ หรือกรรมการกลาง 4.3ดูแลความเรียบร้อยของห้องสอบ และบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้การสอบเป็นไปอย่างยุติธรรมและโปร่งใส 4.4กำกับการสอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส และปฏิบัติตามคู่มือการจัดสอบฯ อย่างเคร่งครัด 4.5รายงานการคุมสอบต่อหัวหน้าสนามสอบ/กรรมการกลาง
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) 5. นักการ ภารโรง 5.1 จัดเตรียมป้ายประชาสัมพันธ์การสอบ และสถานที่สำหรับการจัดสอบ 5.2 ดำเนินการจัดห้องสอบตามผังประกาศรายชื่อผู้เข้าสอบ 5.3 ดำเนินการตามที่หัวหน้าสนามสอบมอบหมาย
5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับสนามสอบ (ต่อ) 6. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจสอบและทำให้เกิดความเรียบร้อยในสนามสอบ 7. กรรมการอื่น ๆ ( พยาบาล ปชส. ดูแลรักษาแบบทดสอบ งานที่หัวหน้าสนามสอบมอบหมาย)
6. วิธีการทำงานของกรรมการคุมสอบ 1. รายงานตัวต่อหัวหน้าสนามสอบก่อนเวลาสอบ 30 นาที 2. รับซองแบบทดสอบ + ซองกระดาษคำตอบ + สทศ.2 (ลงชื่อรับในบัญชีรับ-ส่งแบบทดสอบ) ( V-NET 1) 3. ตรวจสอบความเรียบร้อยภายในห้องสอบ 4.ก่อนเวลาสอบ 15 นาทีตรวจบัตรหรือหลักฐานแสดงตนของผู้เข้าสอบ ก่อนอนุญาตให้เข้านั่งที่โต๊ะตามเลขที่นั่งสอบของตนเอง
6. วิธีการทำงานของกรรมการคุมสอบ (ต่อ) 5. อธิบายประกาศ สทศ.เรื่องข้อปฏิบัติสำหรับผู้เข้าสอบ (5 ข้อ)และระเบียบการเข้าห้องสอบ (7 ข้อ) 6.ก่อนเวลาสอบ 10 นาที ให้ผู้เข้าสอบ 2 คน เป็นตัวแทนลงชื่อรับรองความเรียบร้อยของซองแบบทดสอบ ใน สทศ.2 ทั้ง 2 แผ่น 7. แจกกระดาษคำตอบ (สทศ.1) ให้ตรงกับผู้เข้าสอบ เป็นรูปตัว Uย้ำให้นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องว่าเป็นของตนเองเท่านั้น และให้ลงลายมือชื่อบน สทศ.1 (ด้วยปากกาหมึกดำ/น้ำเงิน)
หน้าห้อง โต๊ะกรรมการ 1 1 12 13 24 25 2 11 14 23 26 3 10 15 22 27 4 9 16 21 28 5 8 17 20 29 6 7 18 19 30 โต๊ะกรรมการ 2 6. วิธีการทำงานของกรรมการคุมสอบ (ต่อ) แจก และ เก็บ เป็นรูปตัว U ตามแผนผังที่นั่งสอบ
การใช้กระดาษคำตอบสำรองการใช้กระดาษคำตอบสำรอง • กรณีกระดาษคำตอบไม่ตรงกับผู้เข้าสอบหรือชำรุด- แจกกระดาษคำตอบสำรอง พร้อมลงชื่อกำกับบนกระดาษคำตอบก่อนแจกผู้เข้าสอบ (ให้ผู้เข้าสอบกรอกข้อมูลด้วยปากกา และระบายวงกลมด้วย 2B ให้สมบูรณ์) • กรณีนักเรียนเข้าสอบกรณีพิเศษ (ผู้ที่ไม่มีชื่อใน สทศ.2 และมีเลขที่นั่งสอบที่ออกโดย สทศ.) - ให้กรรมการคุมสอบระบายในกระดาษคำตอบสำรอง ตรงช่อง “ผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ” พร้อมลงชื่อกำกับก่อนแจกให้ผู้เข้าสอบ
6. วิธีการทำงานของกรรมการคุมสอบ (ต่อ) • แจกแบบทดสอบตามลำดับเลขที่นั่งสอบ เป็นรูปตัว U และให้เขียนชื่อ – สกุล เลขที่นั่งสอบบนปกแบบทดสอบ 9. เมื่อถึงเวลาสอบให้ผู้เข้าสอบตรวจสอบความเรียบร้อยของแบบทดสอบ (จำนวนหน้า จำนวนข้อ) และประกาศให้ลงมือทำข้อสอบ (ให้ระบายคำตอบด้วยดินสอ 2B เท่านั้น) 10.หลังจากเริ่มสอบผ่านไป 30 นาที เก็บแบบทดสอบ และกระดาษคำตอบของนักเรียนที่ขาดสอบกลับคืน และให้ผู้เข้าสอบลงชื่อใน สทศ.2 ทั้ง 2 ใบ
กรณีมีผู้ขาดสอบ ให้ใช้ดินสอดำ 2B ระบาย “ข” บนหัวกระดาษคำตอบตรงช่อง “กรณีขาดสอบ” และให้เขียนคำว่า -ขาดสอบ- ด้วยปากกาหมึกแดงลงในช่องเซ็นชื่อผู้เข้าสอบใน สทศ.2 ทั้ง 2 แผ่น • กรณีกระดาษคำตอบไม่ตรงกับผู้เข้าสอบหรือชำรุด ให้ใช้ดินสอ 2B ระบาย “ย” บนหัวกระดาษคำตอบตรงช่อง “กรณียกเลิกกระดาษคำตอบ” และลงลายมือชื่อ แล้วเก็บส่ง สทศ. โดยบรรจุใส่ซองกระดาษคำตอบเรียงต่อจากกระดาษสำรองที่ผู้เข้าสอบคนนั้นใช้
ห้ามกรรมการคุมสอบ แก้ไขแบบทดสอบหรืออธิบายเพิ่มเติมจากแบบทดสอบ (เว้นแต่ได้รับแจ้งจากหัวหน้าสนามสอบ) • ห้ามกรรมการคุมสอบ ทำกิจกรรมอื่นที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อการสอบ (คุยโทรศัพท์ คุยเสียงดัง ทำงานส่วนตัว อ่านหนังสือ ฯลฯ) • กำกับการสอบในห้องตลอดเวลา เว้นมีเหตุจำเป็น ต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 คนอยู่ในห้องสอบ
6. วิธีการทำงานของกรรมการคุมสอบ (ต่อ) 11. ประกาศให้ผู้เข้าสอบทราบเมื่อเวลาสอบผ่านไป 1 ชั่วโมงและ ก่อนหมดเวลาสอบ 5 นาที 12. เมื่อหมดเวลาสอบ ประกาศให้ผู้เข้าสอบหยุดทำข้อสอบ วางดินสอ หรือ ปากกา และห้ามผู้เข้าสอบลุกจากที่นั่ง 13. ตรวจสอบความเรียบร้อยของการเขียนข้อมูล ที่ปกแบบทดสอบ ที่หัวกระดาษคำตอบ และการระบายเลขที่นั่งบนกระดาษคำตอบและแบบทดสอบให้ถูกต้อง ก่อนอนุญาตให้ผู้เข้าสอบออกจากห้องสอบ
6. วิธีการทำงานของกรรมการคุมสอบ (ต่อ) • กรรมการคนที่ 1 เก็บแบบทดสอบ กรรมการคนที่ 2 เก็บกระดาษคำตอบ 15. รวบรวมและนับจำนวนกระดาษคำตอบทั้งหมด ทั้งของผู้เข้าสอบและขาดสอบ เรียงลำดับจากเลขที่นั่งสอบน้อยไปมาก แล้วหุ้มด้วย สทศ.2 (แผ่นที่ระบุศูนย์สอบส่งคืน สทศ.) ใช้กระดาษแข็งประกบด้านบน - ล่าง
กรณีที่มีการยกเลิกกระดาษคำตอบ ให้นำกระดาษคำตอบที่ยกเลิกมาเรียงต่อกระดาษคำตอบสำรองของผู้เข้าสอบคนนั้นใช้ • กรณีมีผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ ให้เรียงกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบจากหมายเลขที่นั่งน้อยไปหามาก แล้วหุ้มด้วยใบเซ็นชื่อผู้เข้าสอบกรณีพิเศษ ( สทศ.3) แล้วบรรจุลงในซองกระดาษคำตอบในห้องสอบสุดท้ายของสนามสอบ
16. บรรจุกระดาษคำตอบลงซองกระดาษคำตอบ และกรอกข้อมูลหน้าซองกระดาษคำตอบให้เรียบร้อยโดยยังไม่ต้องปิดผนึกซอง 17. นำซองกระดาษคำตอบซึ่งบรรจุ สทศ.2 (ที่ใช้หุ้มกระดาษคำตอบ) + ซองแบบทดสอบ + สทศ.2 ที่เหลือ 1 แผ่น (แผ่นที่ระบุสนามสอบส่งคืนศูนย์สอบ) ส่งหัวหน้าสนามสอบ / กรรมการกลาง ลงชื่อส่งกระดาษคำตอบในบัญชีรับส่งแบบทดสอบ (V-NET 1)หลังจากหัวหน้าสนามสอบ / กรรมการกลาง ตรวจนับกระดาษคำตอบและเอกสารถูกต้องแล้วจากนั้นกรรมการกลางจะปิดผนึกและปิดทับด้วยเทปกาวพิเศษ
7. การรับ-ส่งแบบทดสอบ กระดาษคำตอบและเอกสารการสอบ • สทศ. จะบรรจุซองแบบทดสอบ และ ซองกระดาษคำตอบ ลงในกล่องแยกกันตามจำนวนห้องสอบของแต่ละสนามสอบ • หัวหน้าสนามสอบรับ กล่องแบบทดสอบ กล่องกระดาษคำตอบ และกล่องใส่ซองกระดาษคำตอบกลับ จากศูนย์สอบ และเก็บรักษาให้ปลอดภัย (หรือตัวแทนศูนย์สอบนำไปตอนเช้าวันสอบ) • หัวหน้าสนามสอบส่ง กล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบ กล่องแบบทดสอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ ไปยังศูนย์สอบตามกำหนดนัดหมาย