770 likes | 1.26k Views
SG004 ปีการศึกษา 255 5. โดย... อาจารย์ทิวา เพ็ญสุข. 1. โลกและการเปลี่ยนแปลง. เครื่อง ไซส โมกราฟ เป็นเครื่องมือวัดคลื่นแผ่นดินไหว.
E N D
SG004 ปีการศึกษา2555 โดย... อาจารย์ทิวา เพ็ญสุข
1. โลกและการเปลี่ยนแปลง
เครื่องไซสโมกราฟ เป็นเครื่องมือวัดคลื่นแผ่นดินไหว
ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านไปตามตัวตึก และฐานรากผ่านไปยังพื้นดิน ความสั่นสะเทือน วัดโดยไซโมกราฟ ที่เลอมอง โดเฮอตี้ และสถานที่อื่น ๆ มีค่าเท่ากับ 0.7 หน่วยของแผ่นดินไหว
http://hilight.kapook.com/ view/55209/2
แผ่นดินทรุด และแยกเป็นทางยาว ดอยแม่สลอง เชียงราย http://hilight.kapook.com/view/55209/2
คลื่นสึนามิ คลื่นสึนามิ (Tsunami) เป็นคลื่นขนาดยักษ์ “สึ” เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “ท่าเรือ” นามิ แปลว่า “คลื่น”ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะ ชาวประมงญี่ปุ่นออกไปหาปลา พอกลับมาก็เห็นคลื่นขนาดยักษ์พัดทำลายชายฝั่ง คลื่นสึนามิไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ หากแต่เกิดจากแรงสั่นสะเทือน เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหวภูเขาใต้ท้องทะเลถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชนมหาสมุทร แรงสั่นสะเทือนเช่นนี้ทำให้เกิดคลื่นยักษ์ที่มีฐานกว้าง 100 กิโลเมตร แต่สูงเพียง 1 เมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 700 – 800 เมตรต่อชั่วโมง เมื่อคลื่นเดินทางเข้าใกล้ชายฝั่ง สภาพท้องทะเลที่ตื้นเขินทำให้คลื่นลดความเร็วและอัดตัวจนมีฐานกว้าง 2 – 3 กิโลเมตร แต่สูงถึง 10 – 30 เมตร เมื่อกระทบเข้ากับชายฝั่งจึงทำให้เกิดภัยพิบัติมหาศาล
คลื่นสึนามิในประเทศไทยคลื่นสึนามิในประเทศไทย
คลื่นสึนามิในประเทศไทยคลื่นสึนามิในประเทศไทย คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณเหวมหาสมุทรซุนดรา (Sundra trench) ซึ่งมีการยุบตัวของพื้นมหาสมุทรตามรอยต่อของแผ่นอินเดีย-ออสเตรเลีย และแผ่นพม่า
ประเทศไทยกับแผ่นเปลือกโลกประเทศไทยกับแผ่นเปลือกโลก
แผ่นธรณีภาค(แผ่นเปลือกโลก)กับการเคลื่อนที่แผ่นธรณีภาค(แผ่นเปลือกโลก)กับการเคลื่อนที่
2. บรรยากาศกับการเปลี่ยนแปลง
เนื้อหา • บรรยากาศ • คุณสมบัติพื้นฐานของบรรยากาศ • ความหนาแน่น ความดันอากาศ อุณหภูมิอากาศ • ชั้นของบรรยากาศ • ดวงอาทิตย์กับโลก • ปรากฏการณ์เรือนกระจก • คาร์บอนเครดิต • ลม • การพยากรณ์อากาศ
บรรยากาศคืออะไร คือ อากาศ(ที่เราหายใจ)ที่ปกคลุม ห่อหุ้มโลกไว้ ประกอบด้วย ส่วนผสมของแก๊ส ไนโตรเจน(N2)ประมาณ 78% ออกซิเจน(O2) ประมาณ 21% อาร์กอน (Ar) ประมาณ 0.9% คงที่ ส่วนที่เหลือเล็กน้อยจะเป็น พวกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไอน้ำ (H2O) และอื่นๆซึ่งมีค่าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
คุณสมบัติพื้นฐานของบรรยากาศคุณสมบัติพื้นฐานของบรรยากาศ • ความหนาแน่นอากาศ ( ) • ความดันอากาศ (P) • อุณหภูมิอากาศ (T) อ่านว่า “ โลว์ ” สิ่งที่ต้องเข้าใจ คือ ความหมาย การเปลี่ยนแปลงค่าเหล่านี้ในบรรยากาศ
มวล ปริมาตร 1. ความหนาแน่นอากาศ (air density) ความหนาแน่นเปลี่ยน เมื่อ อุณหภูมิเปลี่ยน อุณหภูมิ เพิ่มขึ้น
ความหนาแน่นบรรยากาศ (atmospheric density) ค่าความหนาแน่น จะลดลง เมื่อสูงจากระดับพื้นผิวโลก (ระดับน้ำทะเล) มากขึ้น
ความหนาแน่นอากาศ จะลดลงกับความสูง ดังกราฟ ความหนาแน่นอากาศที่ระดับน้ำทะเลมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ = 1.2250 kg.m-3 เป็น ความหนาแน่นของอากาศที่สูงที่สุด
P = F A 2.ความดันอากาศ (air pressure) หรือ ความกดอากาศ F = แรงดันอากาศ มีหน่วยเป็น นิวตัน A = พื้นที่ มีหน่วยเป็น ตารางเมตร P = ความดันอากาศ มีหน่วยเป็น นิวตันต่อตารางเมตร
ความดันบรรยากาศกับโมเลกุลก๊าซ (atmospheric pressure) P = F/A ความดันต่ำ ความดันปานกลาง ความดันสูงสุด
ความดันบรรยากาศ จะลดลงตามความสูง ดังกราฟ ความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเลมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ P=1013.25 mb( มิลลิบาร์ ) เป็น ความดันของอากาศที่สูงที่สุด เครื่องมือวัดความดันอากาศ เราเรียกว่า บารอมิเตอร์
การประมาณความสูงด้วยค่าความดันบรรยากาศการประมาณความสูงด้วยค่าความดันบรรยากาศ • ในช่วงความสูงไม่เกิน 3000 m • (จากระดับน้ำทะเล) • ประมาณได้ว่า ค่าความดันอากาศจะลดลง 1mb ทุกๆ ความสูงที่เปลี่ยนแปลง 10 m
ตัวอย่างนักไต่เขาอยู่บนภูเขา และอ่านค่าความดันอากาศจากบารอมิเตอร์พบว่า ค่าความดันอากาศเป็น 850 mb อยากทราบ ขณะนี้นักปีนเขาอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณเท่าไหร่ กำหนดให้ ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเลเท่ากับ 1000 mb เฉลย ที่ความดันลดลง 1 mb จะมีความสูง 10 m ที่ความดันลดลง 150 mb จะมีความสูง (150 ×10) / 1 ความสูง = ที่ความดันลดลง × 10 ก. 1000 m ข. 1500 m ค. 850 m ง. 2000 m
3.อุณหภูมิอากาศ (Temperature) • อุณหภูมิ หมายถึง ปริมาณที่บอกระดับความร้อน • หน่วยการวัดที่นิยมใช้ในเครื่องมือวัดได้แก่ • 1. หน่วยวัด องศาสเซลเซียส : ° C • 2. หน่วยวัด องศาฟาเรนไฮท์ : ° F • ซึ่งสัมพันธ์กันดังนี้TC = 5 ( TF - 32 ° ) • 9
ความสูง อุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูง อุณหภูมิลดลงตามความสูง อุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูง อุณหภูมิลดลงตามความสูง อุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศตามความสูงจากผิวโลก ความสูง
คุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความสูงแบ่งบรรยากาศ เป็น 5 ชั้น • บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) • บรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) • บรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์ (Mesosphere) • บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์(Ionosphere) • บรรยากาศชั้นเอกโซสเฟียร์(Exosphere)
1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) • เป็นชั้นที่ติดกับพื้นโลก จนถึงความสูง 11-15 กม. มีปรากฏการณ์อุตุนิยมวิทยาเกิดตลอด • อุณหภูมิลดลงตามความสูง เฉลี่ยประมาณ 6.5C/km เรียก "อัตราการเปลี่ยนของอุณหภูมิตามความสูง" (Temperature Lapse Rate; ) • มวลของอากาศ 99% อยู่ในชั้นนี้ • ไอน้ำ 99% มีบทบาทสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา • เกิดฝน เมฆ พายุ • มีโอโซน 10% อยู่ช่วงบน
2.สตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) • ขอบล่างของมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ความสูงประมาณ 20 กม. • โอโซนมี 90% เราเรียกว่าโอโซนชั้นบน stratospheric ozone คือ Ozone layer • แก๊สโอโซน (O3) ดูดกลืน UV และเปลี่ยนเป็น • ความร้อน เป็นเหตุให้อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นช้าๆ • เรียกชั้นแห่งภาวะ อุณหภูมิผกผัน • (Temperature inversion)
3.เมโซสเฟียร์ (Mesosphere) • ถัดจากสตราโทสเฟียร์ อุณหภูมิบรรยากาศจะลดลงตามความสูง เรียกบริเวณ"เมโซสเฟียร์" ส่วนสูงสุดชั้นนี้จากพื้นประมาณ 70 ถึง 80 กม. เรียกว่า "เมโซพอส" (mesopause) เย็นราวๆ -150 C • (เย็นสุดในบรรยากาศ) • ชั้นนี้สงบเงียบ ไร้ฝุ่นละออง และไอน้ำ ความดันอากาศต่ำประมาณ 0.01 mb หรือ 1 ใน 100,000 ของความดันอากาศที่ผิวโลก
4. ไอโอโนสเฟียร์(Ionosphere) • สูงขึ้นไปจากระดับเมโซสเฟียร์ 80 - 600 กม. • อุณหภูมิของบรรยากาศจะร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วตามความสูง • มีผลต่อการสะท้อนคลื่นวิทยุ AM บนโลก “คลื่นฟ้า”