410 likes | 614 Views
งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หอสมุด มศว องครักษ์. การแบ่งส่วนงานของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ประกอบด้วยห้องสมุดในสังกัด 3 แห่ง ได้แก่ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. หอสมุด มศว องครักษ์. ห้องสมุดคณะแพทย์ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ.
E N D
งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศหอสมุด มศว องครักษ์
การแบ่งส่วนงานของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกอบด้วยห้องสมุดในสังกัด 3 แห่ง ได้แก่ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หอสมุด มศว องครักษ์ • ห้องสมุดคณะแพทย์ • ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ
การแบ่งกลุ่มตามภาระงานของหอสมุด มศว องครักษ์
ขอบเขตภาระงานของงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศขอบเขตภาระงานของงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ • จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำนักงานทุกประเภท • จัดซื้อจัดหาและขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท • ตรวจสอบรายการซ้ำสิ่งพิมพ์จากฐานข้อมูลห้องสมุดองครักษ์ เพื่อป้องกันการซื้อซ้ำซ้อน • สืบค้นข้อมูลบรรณานุกรมจากฐานข้อมูลทาง Internet และผ่านทาง Z39.5 • สร้างฐานข้อมูลหนังสือใหม่ (Create On-Order book) • คัดลอกและเพิ่มจำนวนเล่มหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Copy Bib) • แก้ไขและเพิ่มจำนวนเล่มหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Edit Bib) • เพิ่มจำนวนเล่ม (Item) ของหนังสือตามชื่อเรื่อง • ลงทะเบียน-ประทับตราหนังสือซื้อ-เตรียมตัวเล่มก่อนออกให้บริการ • เก็บรวบรวมสถิติการจัดซื้อจัดหา • เบิก-จ่ายเงินค่าหนังสือ และเบิกจ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน • ตอบขอบคุณหนังสือบริจาค
นโยบายและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกนโยบายและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก 1. สาขาวิชา-- หอสมุดจะพิจารณาจัดซื้อทรัพยากรในสาขาวิชาที่เปิด การเรียนการสอนก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์เปิดการเรียนการสอนตามคณะวิชาดังนี้ 1.1) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ปริญญาตรีและปริญญาโททั้งภาคปกติและภาคสมทบ) 1.2) คณะเภสัชศาสตร์ (ปริญญาตรีภาคปกติ) 1.3) คณะพลศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโทภาคปกติ) 1.4) คณะพยาบาลศาสตร์ (ปริญญาตรีและปริญญาโทภาคปกติ) 1.5) คณะสหเวชศาสตร์ (ปริญญาตรีภาคปกติ)
นโยบายและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (ต่อ) 1.6) นิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา 1.7) นิสิตชั้นปีที่ 1 ที่เรียนที่ศูนย์มศวองครักษ์ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์คณะพลศึกษาคณะทันตแพทย์คณะแพทยศาสตร์วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม คณะศิลปกรรมศาสตร์ 1.8) สาขาวิชาศึกษาทั่วไป เช่น ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ปรัชญา ฯลฯ
นโยบายและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (ต่อ) 2. ประเภทของสิ่งพิมพ์ที่จัดซื้อ 2.1) ตำราวิชาการ (Textbook) / CD-ROM ในสาขาวิชาที่เปิดสอน หรือที่เกี่ยวข้อง 2.2) หนังสืออ้างอิงทุกสาขาวิชาที่พิจารณาว่ามีประโยชน์ต่อผู้ใช้เช่น พจนานุกรมสารานุกรมแผนที่หนังสือรายปีอภิธานศัพท์ 2.3) สารคดีเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก 2.4) หนังสือขายดีติดอันดับยอดนิยม (Best Seller) ซึ่งพิจารณาแล้วว่าเหมาะสมกับผู้ใช้ 2.5) หนังสือได้รับรางวัลซึ่งพิจารณาแล้วว่าเหมาะสมกับผู้ใช้เช่น ส่งเสริมความรู้สติปัญญาและพัฒนาทางอารมณ์และจิตใจ 2.6) หนังสือที่คาดคะเนว่าจะมีผู้ใช้ในอนาคต หรือสาขาวิชาที่คณะต่างๆ แจ้งว่าจะมีการเปิดสอนเพิ่มเติม
นโยบายและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (ต่อ) 3. ประเภทของสิ่งพิมพ์ที่ไม่จัดซื้อ 3.1) หนังสือที่มีเนื้อหาต้องห้ามทางการเมืองและศาสนารวมทั้งที่ยังเป็นคดีสอบสวนอยู่ซึ่งยังไม่สามารถสรุปผลได้ เช่นเกี่ยวกับธรรมกายยันตระ 3.2) หนังสือที่มีภาพพิมพ์หรือภาพวาดไม่เหมาะสม โป๊เปลือยหรือมีข้อความไม่เหมาะสมขัดต่อศีลธรรม
นโยบายและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (ต่อ) 4. จำนวนสิ่งพิมพ์ที่ทำการจัดซื้อ
นโยบายและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (ต่อ) 5. ร้านค้า/สำนักพิมพ์-- โดยส่วนใหญ่จะลดราคาให้ห้องสมุดในอัตรา 10-25% ทั้งหนังสือภาษาไทยและภาษาต่างประเทศซึ่งหอสมุดมักติดต่อกับร้านค้าและสำนักพิมพ์ ดังต่อไปนี้ 5.1 ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์รวมหนังสือที่ค่อนข้างครบถ้วน ทั้งหนังสือทั่วไปที่จัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ต่างๆ ตำราที่จัดพิมพ์โดยสถาบันการศึกษา หรือสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยนอกจากนั้นราคาหนังสือภาษาอังกฤษก็ค่อนข้างถูกกว่าร้านอื่นๆ 5.2 บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด จำหน่ายหนังสือภาษาไทยทั่วไป และตำราของบางสถาบัน มีจุดเด่นพิเศษที่คอลเลคชั่นหนังสือคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ หนังสือที่จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยบริษัทซีเอ็ดฯจะจำหน่ายให้ห้องสมุดในราคาพิเศษคือลดให้ 20% ส่วนหนังสืออื่นๆลดให้ 10 % และถ้าซื้อเงินสดจะลดให้ถึง 25%
นโยบายและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (ต่อ) 5.3 ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดจำหนายหนังสือตำราภาษาไทยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นหนังสือของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเน้นทางด้านเกษตรศาสตร์ สัตวศาสตร์จำนวนหนังสือมีไม่มากและบริการไม่รวดเร็วเท่าศูนย์หนังสือจุฬาฯ 5.4 ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดจำหน่ายหนังสือตำราทั่วไปเช่นกัน และปัจจุบันเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายตำราแปลของสำนักพิมพ์ต่างประเทศ เช่น McGraw-Hill, Pearson หนังสือที่มีมากคือสาขารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ 5.5 บริษัทคิโนะคูนิยะบุ๊คสโตร์ (ประเทศไทย) จำกัดจำหน่ายหนังสือภาษาอังกฤษในราคาไม่แพงและให้ส่วนลด 10% มีบริการสั่งซื้อจากต่างประเทศซึ่งรวดเร็วและราคาไม่แพง
นโยบายและเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (ต่อ) 5.6 ห้างหุ้นส่วนจำกัดพี.บี.ฟอร์บุ๊คส์ (ปทุมธานี) จำกัดจำหน่ายหนังสือภาษาต่างประเทศทุกสาขาวิชาโดยเฉพาะสาขาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีตัวเล่มหนังสือในสต็อกจำนวนมาก แต่บางรายการราคาค่อนข้างสูงต้องต่อรองราคาบริการรวดเร็วทันใจ 5.7 บริษัทบุ๊คโปรโมชั่น จำกัด จำหน่ายหนังสือตำราภาษาต่างประเทศ และเป็นตัวแทนจำหน่ายฐานข้อมูลออนไลน์ มีสินค้าให้เลือกมากและมีหลากหลายสาขาวิชา แต่มีราคาแพง ต้องต่อรองราคา 5.8 บริษัทเอเชียบุ๊คส์จำกัดทางร้านจะส่งBook Catalog และเอกสารประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งช่วงวันเวลาลดราคาพิเศษ โดยสาขาวิชาเด่นเป็นพิเศษคือ การจัดตกแต่งอาคารสำนักงานสวนหย่อมเฟอร์นิเจอร์ / ด้านศิลปะ / คอมพิวเตอร์กราฟิกต่างๆ
วิธีการจัดซื้อ 1. ร้านค้าเสนอขายโดยการนำตัวเล่มหนังสือ/วัสดุมาเสนอคัดเลือกที่ห้องสมุด โดยบรรณารักษ์เป็นผู้คัดเลือก 2. ร้านค้าเสนอขายโดยการนำตัวเล่มหนังสือ/วัสดุมาเสนอคัดเลือกที่ภาควิชาหรือคณะต่างๆโดยอาจารย์เป็นผู้คัดเลือก 3. บรรณารักษ์หรือคณาจารย์ไปเลือกหนังสือที่ร้านค้าแล้วให้ร้านค้านำตัวเล่มหนังสือวัสดุมาเสนอคัดเลือกที่ห้องสมุด 4. อาจารย์นิสิตและผู้ใช้ทั่วไปเสนอรายการหนังสือ/วัสดุเพื่อสั่งซื้อ โดยผ่านทางหน้า Homepage ของหอสมุดคือ http://oklib.swu.ac.th 5. บรรณารักษ์พิจารณาคัดเลือกจากรายการหนังสือ/วัสดุ (Book Catalog) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) วารสารนิตยสาร หนังสือพิมพ์และอินเตอร์เน็ต 6. บรรณารักษ์ไปซื้อหนังสือจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ซึ่งจะจัดประมาณเดือนมีนาคมและตุลาคมของทุกปี
ทำเครื่องหมายวงกลมที่หมายเลขรายการสั่งซื้อทำเครื่องหมายวงกลมที่หมายเลขรายการสั่งซื้อ ในใบเสนอคัดเลือกกรณีที่ต้องการสั่งเพิ่มจำนวนเล่ม มากกว่า 1 เล่มให้บวกเพิ่มจำนวนที่หมายเลขรายการนั้น ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อ กรณีที่ร้านค้าเสนอขายโดยการนำตัวเล่มหนังสือ/วัสดุมาเสนอคัดเลือก ตรวจรับ/นับตัวเล่มให้ครบจำนวนตามใบเสนอคัดเลือก นำหนังสือเข้าตู้รางเลือนพร้อมนำป้ายชื่อร้านมาติดและเขียนวันที่ที่ร้านค้านำหนังสือมาเสนอคัดเลือก ตรวจสอบกับฐานข้อมูลของหอสมุด เพื่อป้องกันการซื้อซ้ำ ไม่มีบรรณารักษ์ ประจำสาขาวิชาพิจารณาคัดเลือกซื้อ มีบรรณารักษ์ ประจำสาขาวิชาพิจารณา ซื้อเพิ่ม Item มีต่างปีพิมพ์บรรณารักษ์ ประจำสาขาวิชาพิจารณาซื้อเพิ่ม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สืบค้น/download จากฐานข้อมูลอื่นๆ Add tag 500 “On order/ชื่อร้านค้า” สืบค้น/download จากฐานข้อมูลอื่นๆ Add tag 500 “On order/ชื่อร้านค้า” สืบค้น/download จากฐานข้อมูลอื่นๆAdd tag 500 “On order/ชื่อร้านค้า” Copy BibAdd tag 500 “On order/ชื่อร้านค้า” เก็บหนังสือเข้าตู้ให้ถูกร้านค้า พิมพ์ใบสั่งซื้อเฉพาะ รายการที่คัดเลือกส่งFax หรือ E-mail ส่งร้านค้า แจ้งร้านค้าทำใบส่งของพร้อมใบ เสนอราคา ตรวจรับหนังสือกับใบส่งของเฉพาะรายการที่สั่งซื้อ ลงทะเบียน/ประทับตรา มีแผ่นCD-ROM ให้ทำสำเนาและใส่ซองติดไปกับตัวเล่ม ตรวจนับรายการที่ต้องการส่งคืนแล้วมัดให้เรียบร้อย เขียนชื่อร้านเลขที่ใบเสนอคัดเลือกและจำนวนเล่มที่คืน ส่งทำฐานข้อมูล แนบใบเสนอคัดเลือกและ ใบสั่งซื้อที่เตรียมส่งคืน เพื่อใช้ตรวจสอบเมื่อร้านค้ามารับคืน
เซ็นชื่อผู้รับของ ที่ใบเสนอคัดเลือก สามารถลงวันที่ได้ ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อ • เมื่อร้านค้านำหนังสือมาเสนอ ให้ดำเนินการตรวจนับตัวเล่มและลงชื่อ • ในใบคัดเลือก ตรวจรับ/นับตัวเล่ม ให้ครบจำนวน ตามใบเสนอคัดเลือก พร้อมเซ็นชื่อผู้รับของ
ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อ (ต่อ) 2. นำหนังสือเก็บเข้าตู้รางเลื่อนพร้อมนำป้ายชื่อร้านมาติดและเขียนวันที่ที่ร้านค้านำหนังสือมาเสนอคัดเลือก 3. ตรวจสอบรายการกับฐานข้อมูลของหอสมุด (Searching StaffPAC) เพื่อป้องกันการซื้อซ้ำ และแยกประเภทของหนังสือเพื่อพิจารณาสั่งซื้อในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อ (ต่อ) • มีในฐานข้อมูล ปีพิมพ์เดียวกัน ให้พิจารณาว่าจะซื้อเพิ่มหรือไม่ โดยดูจากจำนวนระบับที่มีเทียบกับจำนวนการยืม
ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อ (ต่อ) • มีในฐานข้อมูล ชื่อเรื่องเดียวกันแต่ต่างปีพิมพ์ หากเป็นตำรามักจะสั่งซื้อ หรือเขียนไว้ในหน้าคำนำว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเนื้อหา ก็จะสั่งซื้อเช่นกัน และอาจจะซื้อมากกว่า 1 ระบับ หากดูในสถิติการยืมปีพิมพ์เก่าว่ามีการยืมมาก
ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อ (ต่อ) • ไม่มีในฐานข้อมูล พิจารณาจากเนื้อหาและสาขาวิชา ตามนโยบายที่ว่าซื้อหนังสือในสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอน แต่หากไม่ตรงกับสาขาที่เปิดสอน ให้พิจารณาว่าเป็นหนังสือที่มีประโยชน์ มีเนื้อหาเหมาะสมหรือไม่ - ซื้อมากกว่า 1 ระบับ หากหนังสือในสาขาวิชาหรือชื่อเรื่องนั้น มีการใช้งานมาก - ซื้อเพียง 1 ระบับ ถ้าเป็นหนังสือทั่วๆ ไป นวนิยาย บันเทิงคดี - ซื้อเพียง 1 ระบับ ถ้าเป็นหนังสือสอนการใช้งานโปรแกรม คอมพิวเตอร์ต่างๆ เว้นแต่เป็นโปรแกรมที่ใช้เพื่อการเรียนการสอน เช่น AutoCAD • กรณีที่เป็นห้องสมุดที่มีหลายวิทยาเขต ต้องพิจารณานโยบายของผู้บริหารว่า หากวิทยาเขตหนึ่งมีหนังสือชื่อเรื่องนั้นแล้ว วิทยาเขตอื่นสามารถซื้อเพิ่มได้หรือไม่
ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อ (ต่อ) 4. หลังจากคัดเลือกแล้ว ให้ทำใบสั่งซื้อแจ้งไปที่ร้านค้า หากชื่อเรื่องใดต้องการซื้อมากกว่า 1 ระบับต้องบวกเพิ่มจำนวนลงไปด้วย ส่งแฟกซ์หรืออีเมล์ไปให้กับผู้ติดต่อ และรอให้ร้านค้าทำเอกสารใบเสนอราคา และใบส่งของ (Invoice) มาให้ • หากตัวเล่มชำรุด หรือต้องมีซีดีประกอบ แต่ยังไม่มีมาในตัวเล่ม ต้องแจ้งให้ร้านค้าทราบ เพื่อนำตัวเล่มมาเปลี่ยนหรือนำซีดีมาเพิ่มให้ ในวันที่มาส่งใบส่งของ • ตามระเบียบพัสดุ การซื้อสินค้าที่มีราคาเกินกว่า 5,000 บาท ต้องมีใบเสนอราคา • การซื้อสินค้าแต่ละครั้ง สามารถซื้อได้ไม่เกิน 100,000 บาท หากเกินกว่านี้ จะต้องมีการสอบราคา แต่หากเป็นการซื้อจากร้านหนังสือ สามารถขอให้ร้านค้าทำใบส่งของแยกเป็น 2 ใบ โดยให้ราคาในแต่ละใบไม่เกิน 100,000 บาท • หนังสือที่สั่งซื้อแล้วสามารถนำไปสร้างฐานข้อมูลได้ทันที • หนังสือที่ไม่สั่งซื้อให้มัดรวมไว้รอให้ทางร้านมารับคืน โดยเขียนชื่อร้าน จำนวนเล่มที่คืน แนบใบคัดเลือกเพื่อใช้ตรวจสอบเมื่อร้านค้ามารับคืน
การสร้างฐานข้อมูลหนังสือ On-Order 5. เมื่อดำเนินการสั่งซื้อแล้ว ต้องทำการสร้างฐานข้อมูลเบื้องต้น เพื่อป้องกันการซื้อ ซ้ำซ้อน ในกรณีที่มีร้านค้าหลายร้านเสนอหนังสือเข้ามาพร้อมกัน
ขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อ ตรวจดูว่ามีการลงวันที่หรือไม่ (ต้องไม่ลงวันที่) ตรวจดูว่ามีการลงวันที่หรือไม่ (ต้องไม่ลงวันที่) เซ็นชื่อผู้รับของ ข้อห้าม ไม่ต้องลงวันที่ ตรวจสอบดูว่ามีลายเซ็นผู้เสนอราคาและพนักงานขายครบถ้วน • เมื่อได้รับใบเสนอราคาและใบส่งของ ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ก่อนทำการลงทะเบียน (ตรวจสอบชื่อหนังสือ จำนวน ราคา)
ขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อ 2. ลงทะเบียนในสมุดทะเบียน เพื่อการตรวจสอบ โดยนำสำเนาใบส่งของปะลงไปที่สมุด ทะเบียน และประทับตราด้านหลังใบส่งของตัวจริงที่ใช้ทำเบิก 3. ติดบาร์โค้ดที่ปกด้านล่างของปกหลังด้านใน ห่างจากขอบล่างไม่ต่ำกว่าครึ่งนิ้ว และให้ อยู่ตรงกลางหลีกเลี่ยงการปิดทับรูปภาพหรือตัวหนังสือ ถ้ามีข้อความที่เป็นวิชาการ ไม่สามารถที่ติดบาร์โค้ดได้ให้นำกระดาษ A4 สีขาวมาทำเป็นใบรองปกและติดบาร์โค้ดที่ ใบรองปก เลขบาร์โค้ดที่ติดนั้นต้องเรียงตามลำดับจากเลขน้อยไปหามากตามลำดับ รายการในใบส่งของ แล้วเขียนเลขบาร์โค้ดที่ด้านหลังของใบส่งของ
ขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อ 4. ติดบัตรกำหนดส่งที่ใบรองปกด้านตรงข้ามกับปกหลังด้านใน โดยหลีกเลี่ยงรูปภาพหรือตัวหนังสือ • สำหรับแผ่นซีดีที่ติดมากับหนังสือ ให้ติดซองและใส่แผ่นซีดีฉบับสำเนาไปกับตัวเล่ม (ยกเว้นแผ่นซีดีรอมที่ไม่สามารถทำสำเนาได้ ให้ใช้แผ่นซีดีรอมที่เป็นมาสเตอร์ไปกับตัวเล่มได้เลย) 5. ประทับตราห้องสมุดที่ด้านบนของปกหน้าด้านใน ปกหลังด้านใน และที่สันหนังสือทั้ง 3 ด้าน ประทับตราหอสมุดตัวนูนที่หน้าปกในบริเวณกลางหน้า ประทับตราวันเดือนปีที่ลงทะเบียน บริเวณด้านซ้ายมือของหน้าปกใน
ขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อ • สำหรับหน้าลับเฉพาะ (หน้า 21) ให้ประทับตรา หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ 107 ถนนรังสิต-นครนายก อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120 เล่มที่............................หน้าที่...................... • เล่มที่ หมายถึง เลขที่ของสมุดบัญชีพัสดุ • หน้าที่ หมายถึง เลขที่หน้าที่ติดใบส่งของของสมุดบัญชีพัสดุ
ขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือซื้อ 6. เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว จะส่งให้ฝ่ายฐานข้อมูลเพื่อเพิ่มข้อมูลทางบรรณานุกรมให้ ครบถ้วน และเพิ่ม item ของหนังสือ ซึ่งจะต้องนำข้อมูลของการลงทะเบียนใส่ลงใน item ด้วย เพื่อใช้ในการดึงข้อมูลมาทำสถิติ
การดำเนินงานเกี่ยวกับหนังสือบริจาค (DonationBook)
ประเภทวัสดุที่รับบริจาคประเภทวัสดุที่รับบริจาค ห้องสมุดรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้แก่ หนังสือ วารสาร จุลสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่น หนังสือส่วนตัว หนังสืองานศพ สิ่งพิมพ์ของหน่วยงาน/สถาบัน หนังสือประเภทวิจารณ์ เป็นต้น เกณฑ์การคัดเลือกหนังสือที่เป็นฉบับซ้ำกับที่ห้องสมุดมีอยู่แล้ว คำนึงถึงสถิติในการยืมออกและสถิติจากการใช้ภายใน(In house use) ว่าเป็นหนังสือที่ตรงกับหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนและห้องสมุดมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ จึงจะนำมาเพิ่ม item เกณฑ์ด้านลักษณะทางกายภาพของตัวเล่ม ۞ หนังสือควรจะสะอาด และไม่มีรอยเปื้อนมาก ۞ หนังสือควรจะไม่มีรอยขีดเส้นใต้ หรือการกระทำอย่างอื่นที่ทำให้เสียหาย ยกเว้นรอยดินสอที่สามารถลบได้ ۞ หนังสือควรต้องมีปกเรียบร้อย ไม่ควรติดแถบเทปหรือติดแม็กซ์เข้าด้วยกัน ۞ กระดาษไม่ควรจะไม่เหลืองกรอบ ชื้น หรือขึ้นรา
ขั้นตอนการดำเนินงาน นับจำนวนได้รับบริจาค ลงจำนวนหนังสือที่ได้รับบริจาค ตอบขอบคุณ /เช็คซ้ำ ไม่มี มี เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ดูจำนวนการ CKO / จำนวน Copy เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย Download สร้างฐานข้อมูล มีต่างปีพิมพ์ เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ปีพิมพ์ต้องใหม่กว่า Search ฐานข้อมูลต่าง ๆ ไม่มี ส่ง original Catalog เพิ่ม item ที่ item noteใส่“บริจาค” Copy Bib เพิ่ม item ที่ item noteใส่“บริจาค” เพิ่ม item ที่ item noteใส่“บริจาค” ส่งตรวจ
การจำหน่ายหนังสือออก(Weeding)การจำหน่ายหนังสือออก(Weeding)
ความหมายของการจำหน่ายหนังสือออกความหมายของการจำหน่ายหนังสือออก การจำหน่ายหนังสือออก หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีระบบแบบแผน โดยอาศัยหลักเกณฑ์การประเมินคุณค่าหนังสือมาประกอบการพิจารณา เพื่อตัดสินใจในการนำหนังสือที่ไม่มีการใช้ มีการใช้งานน้อย ชำรุด หรือล้าสมัยออกจากชั้นที่จัดเก็บ หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์เป็นวัสดุย่อส่วนหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือบริจาค ขาย โอนให้ห้องสมุดอื่น ทำลาย
ความสำคัญและประโยชน์ของการจำหน่ายหนังสือออกความสำคัญและประโยชน์ของการจำหน่ายหนังสือออก • แก้ปัญหาด้านพื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือ • คงไว้เฉพาะหนังสือที่ทันสมัย มีคุณค่า มีการใช้งาน และเป็นประโยชน์ • เกิดการจัดหาหนังสือมาทดแทนเล่มที่ชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ • ผู้ใช้เกิดความสะดวกในการค้นหาหนังสือที่ต้องการ • เจ้าหน้าที่ประหยัดเวลาในการดูแลชั้นหนังสือ • เป็นแนวทางสำหรับบรรณารักษ์ในการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด
หลักเกณฑ์การพิจารณาการจำหน่ายหนังสือออกหลักเกณฑ์การพิจารณาการจำหน่ายหนังสือออก 1. พิจารณาจากสภาพของหนังสือ 2. พิจารณาจากจำนวนฉบับ 3. พิจารณาจากเนื้อหา 4. พิจารณาจากปีพิมพ์ 5. พิจารณาจากการใช้งาน
ขั้นตอนการดำเนินงานการจำหน่ายหนังสือออกขั้นตอนการดำเนินงานการจำหน่ายหนังสือออก 1. กำหนดนโยบายการจำหน่ายหนังสือออกเป็นลายลักษณ์อักษร 2. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำโครงการและแผนการดำเนินงาน • กลุ่มบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น บรรณารักษ์งานจัดหา งานบริการ • พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกทรัพยากรที่จะจำหน่ายออก • พิจารณากำหนดประเภททรัพยากรที่จะจำหน่ายออก • พิจารณากำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและผู้รับผิดชอบ 3. ดำเนินการคัดแยกหนังสือที่จะคัดออก ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาหนังสือที่จะจำหน่ายออก 4. นำหนังสือที่คัดแยกแล้วมาตรวจสอบสถิติการยืมอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการยืมออกหรือการใช้งานภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
ขั้นตอนการดำเนินงานการจำหน่ายหนังสือออก (ต่อ) 5. จัดทำรายชื่อหนังสือที่จะจำหน่ายออก 6. นำรายชื่อหนังสือส่งให้งานพัสดุดำเนินการจำหน่ายออกตามระเบียบพัสดุ 7. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงรายการหนังสือที่จะจำหน่ายออก 8. คณะกรรมการดำเนินการตรวจสอบและรายงานผลการสอบ 9. เมื่ออธิการบดีเห็นชอบตามที่คณะกรรมการรายงาน งานพัสดุจะทำบันทึกข้อความถึงอธิการบดี เพื่อขออนุมัติจำหน่ายพัสดุ 10. นำรายชื่อที่จำหน่ายออกแล้วมาปรับปรุงในฐานข้อมูลห้องสมุดและสหบรรณานุกรม