700 likes | 1.74k Views
บทที่ 3 ระบบสารสนเทศทางการผลิต. ความหมาย,ระบบย่อยสารสนเทศที่ใช้ในฝ่ายผลิต ขอบข่ายของงานด้านการผลิต ความรู้เบื้องต้นด้านการผลิต ระบบการผลิต การจัดการด้านการผลิต กิจกรรมการจัดการด้านการผลิต( การวางแผนเพื่อผลิตสินค้า )
E N D
บทที่ 3 ระบบสารสนเทศทางการผลิต • ความหมาย,ระบบย่อยสารสนเทศที่ใช้ในฝ่ายผลิต • ขอบข่ายของงานด้านการผลิต • ความรู้เบื้องต้นด้านการผลิต • ระบบการผลิต • การจัดการด้านการผลิต • กิจกรรมการจัดการด้านการผลิต(การวางแผนเพื่อผลิตสินค้า) • การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การวางแผนเพื่อผลิตสินค้า, การดำเนินการผลิต, การควบคุมการผลิต • ระบบสารสนเทศเพื่องานการผลิต • ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ • ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการผลิต • ระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการและควบคุมการผลติ • เทคโนโลยีในระบบสารสนเทศเพื่องานการผลิต
ระบบสารสนเทศการผลิต (Manufacturing Information Systems) • ระบบสารสนเทศการผลิตช่วยสนับสนุนงานในด้านการผลิตและการดำเนินงาน รวมไปถึงงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวางแผนและการควบคุมขั้นตอนของการผลิตสินค้าและบริการ ดังนั้นหน้าที่ในการผลิตและการดำเนินงานจึงเกี่ยวข้องกับการจัดการของระบบและกระบวนการผลิต ระบบสารสนเทศใช้เพื่อการจัดการด้านการดำเนินงานและการติดต่อดำเนินงานเพื่อสนับสนุนหน่วยงาน ซึ่งจะต้องมีการวางแผน และควบคุมสินค้าคงคลัง การจัดซื้อ และการไหลเวียนของสินค้าและบริการ
ระบบสารสนเทศการผลิต • เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับ การวางแผน การควบคุม ติดตามการผลิตสินค้า การควบคุมคลังวัตถุดิบ ตารางการผลิต การควบคุมขบวนการผลิต การกำหนดราคา ต้นทุนสินค้า การตรวจสอบคุณภาพสินค้า การจัดส่งและการกระจายสินค้า
ระบบสารสนเทศการผลิต ระบบสารสนเทศที่ใช้ในฝ่ายผลิต เช่น •ระบบบริหารการจัดซื้อ •ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง •ระบบการจัดการผลิต •ระบบตรวจสอบคุณภาพ •ระบบควบคุมการผลิต •ระบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ •ระบบ MRP (Manufacturing Resource Planning)
ระบบสารสนเทศการผลิต • ขบวนการในการผลิตประกอบด้วยงานที่ขึ้น ต่อกันมากมาย โดยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรของ องค์กรมาใช้ร่วมในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตจะช่วยให้การทำงาน มีความยืดหยุ่นและมีการจัดหาทรัพยากรที่ต้องการใช้ได้ทันต่อความต้องการ โดยจุดประสงค์ของขบวนการผลิตก็คือการผลิตได้ตรงตามความพอใจหรือความต้องการ ของลูกค้านั่นเอง ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ภาระของผู้บริหารในการดูแลควบคุมงานจะถูกลดลงไป, งานด้านเอกสารต่างๆ จะถูกปรับให้อยู่ในรูปของขบวนการออนไลน์และการติดต่อสื่อสารข้อมูลจะใช้งานผ่านระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน อีกทั้งในการวางแผนการใช้ทรัพยากรของ องค์กรเพื่อการผลิตจะใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร เพื่อติดต่อกับหน่วยงานธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติงานและงานควบคุมงานต่างๆ ทั้งแบบศูนย์กลางและแบบกระจายได้
ระบบสารสนเทศการผลิต • แสดงภาพรวมของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต • ส่วนที่นำเข้าจะได้จากกการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแปลงวัตถุดิบภายในองค์กร แหล่ง สารสนเทศที่สำคัญอาจมาจากภายนอกองค์กรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากภายใน เช่น • 1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนที่กำหนดทิศทางของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต เช่นเอกสารเกี่ยวกับการวางแผนระยะยาวที่กล่าวถึงเรื่องคุณภาพ, การผลิต, และเป้าหมายและข้อจำกัดในการให้บริการ รวมถึงนโยบายในการเปิดโรงงานใหม่หรือการปิดโรงงานเก่าลงและเรื่องของความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้, ข้อจำกัดของจำนวนพนักงานที่มี, การเปลี่ยนนโยบายการเก็บสินค้าคงคลัง และโปรแกรมการควบคุมคุณภาพใหม่ที่ต้องการใช้ เหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต
ส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตส่วนที่นำเข้าไปยังระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต • 2. ระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ข้อมูลที่ได้จากระบบประมวลผลรายการด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อในการผลิต ได้แก่ การประมวลผลการสั่งซื้อ, ข้อมูลสินค้าคงคลัง, ข้อมูลการรับและการตรวจสอบวัตถุดิบที่เข้ามาในขบวนการผลิต, ข้อมูลบุคลากร, และข้อมูลขบวนการผลิต3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ ข้อมูลขบวนการในการผลิตใหม่ๆ ซึ่งอาจมาจากบริษัท, วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือได้จาก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือข้อมูลเกี่ยวกับสภาพวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้สามารถคาดเดาในเรื่องของแรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลภายนอกอื่นๆ อีก เช่น องค์กรผู้เชี่ยวชาญต่างๆ, สมาคมทางธุรกิจ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ทั้งในด้านขบวนการผลิตและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่น่าสนใจได้
ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต • ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ การตรวจสอบและควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ, สินค้า และบริการต่างๆภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มขบวนการนำวัตถุดิบมาผ่านขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นสินค้าและบริการที่จะส่งไปยังลูกค้า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระบบย่อยและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิต ได้แก่
ระบบย่อย • 1. การออกแบบและการปฏิบัติเชิงวิศวกรรม (Design and Engineering)ได้แก่การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถใช้ระบบการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Design : CAD) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ โดยผู้ใช้สามารถออกแบบและแก้ไข ตัวแบบได้เองบนจอภาพ • 2. การจัดตารางการผลิต (Production Planning)เพื่อจัดการรายละเอียดแผนงานการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานในด้านนี้เข้ามาช่วย ซึ่งในซอฟต์แวร์นี้อาจมีคุณสมบัติในการทำนายและพิจารณาหาความต้องการของสินค้าและบริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ
ระบบย่อย • 3. การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แก่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสั่งซื้อ, การทำนาย, การผลิตเอกสารและรายงานร้านค้า, การพิจารณาหาค่าใช้จ่ายในการผลิต, การวิเคราะห์งบประมาณค่าใช้จ่ายที่วางไว้เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจริง, และการพัฒนาตารางการผลิต, บอกความต้องการทรัพยากรในการผลิตและวางแผนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ต่างๆเหล่านี้จะมีสูตรในการคำนวณเพื่อหาจำนวนวัตถุดิบและช่วงเวลาที่จะต้องสั่งซื้อได้ วิธีการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังปริมาณเท่าใดเรียกว่าวิธีการกาปริมาณหารสั่งซื้อมางเศรษฐกิจ (Economic Order Quantity : EOQ) โดยปริมาณที่หาได้นี้จะต้องทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดด้วย ส่วนการหาว่าต้องสั่งสินค้ามาไว้ในคลังเมื่อใดจะใช้วิธีการหาจุดสั่งซื้อเพิ่ม Reorder Point : ROP) ซึ่งแสดงถึงค่าระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่วิกฤติ
ระบบย่อย • 4. การวางแผนการใช้ทรัพยากรการผลิต(Manufacturing Resource Planning : MRPII) ได้แก่ระบบที่ใช้การวางแผนเครือข่ายเพื่อให้บุคคลต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการและผลผลิตแก่ลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่เสียค่าใช้จ่ายและมีสินค้าหรือวัตถุดิบในคลังสินค้าในปริมาณต่ำ โดยมีการทำนายความต้องการของลูกค้า, การควบคุมสินค้าคงคลัง, การวางแผนการผลิต, การแสดง รายการวัตถุดิบที่ต้องใช้, การวางแผนการสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้องใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ จะถูกส่งไปให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาที่ต้องการ
ระบบย่อย • 5. การควบคุมสินค้าและการผลิตที่ทันเวลา (Just-in-Time Inventory and Manufacturing) การเก็บสินค้าและวัตถุดิบในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์หนึ่งของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการผลิตก็คือ การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด โดยไม่กระทบกับความต้องการในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต วิธีที่นิยมใช้ได้แก่วิธีการควบคุมคลังสินค้าแบบทันเวลา (Just-in-Time : JIT Inventory Approach)ซึ่งสินค้าและวัตถุดิบจะถูกส่งไปให้ในช่วงเวลาก่อนที่จะสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ในการผลิต ทำให้ไม่ต้องเก็บไว้ในคลังสินค้าเป็นช่วงเวลานานๆ
ระบบย่อย • 6. การควบคุมขบวนการผลิต ในการควบคุมการผลิตมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนมากมาย เช่น การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer-Aided Manufacturing : CAM) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการด้านการผลิต เช่น การตรวจสอบและติดตาม ได้แก่การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ การตรวจสอบค่าและข้อกำหนดในการผลิตต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่ใช้ ค่าความดันอากาศฯลฯ หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการกำหนดรหัสสินค้า การจัดลำดับในขบวนการผลิต เป็นต้น
ระบบย่อย • 7. การนำคอมพิวเตอร์เข้าไปช่วยในการผลิต (Computer-Integrated Manufacturing : CIM) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆในขบวนการผลิตเข้าด้วยกันเป็นระบบที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เช่น การประมวลผลการสั่งซื้อ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, การผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ และการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในด้านการทำงานส่วนต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยอาจนำระบบการผลิตแบบคล่องตัว (Flexible Manufacturing System : FMS)เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้สามารถเปลี่ยนการผลิตสินค้าอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ระบบย่อย • 8. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control and Testing) ได้แก่ ขบวนการในการในการควบคุมเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่ผลิตออกมาตรงตามที่ลูกค้า ต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมคุณภาพ ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่รายงาน ค่าใช้จ่ายที่ลดลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยสารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับ อุปกรณ์การผลิตและรายงานควบคุมคุณภาพยังใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น อีกด้วย
Unit 3 BA2604 : Business Information System A. ขอบข่ายงานการผลิต 1. ความรู้เบื้องต้นการผลิต 1.1 ระบบการผลิตประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ ปัจจัยการผลิต (Input)คือ ส่วนของทรัพยากรที่ประกอบไปด้วย เงินทุน แรงงาน เครื่องจักร ที่ดิน วัตถุดิบ และความรู้ความสามารถในด้านการจัดการ การบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process)คือ ประกอบด้วยวิธี ในการผลิตสินค้า วิธีการจัดลำดับการผลิต การวางแผน การจัดสรรกำลังคนเพื่อการผลิต และอื่นๆ ผลผลิต (Output)คือ สินค้าที่ต้องการในปริมาณและคุณภาพที่กำหนดและในเวลาที่ต้องการ ตลอดจนต้นทุนที่กำหนด และปริสิทธิภาพระบบการผลิตที่สูง ส่วนป้อนกลับ (Feedback)คือ ส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบการผลิตบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนนี้จะทำหน้าที่ประเมินผลผลิต เช่น ปริมาณและคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้ นำมาเปรียบเทียบกับแผนที่วางไว้ ผลกระทบจากภายนอกที่เปลี่ยนแปลงโดยคาดหมายไม่ได้ (Random Fluctuation)เช่น สภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อุบัติเหตุและภัยธรรมชาติ การขัดข้องเสียหายของเครื่องจักร เป็นต้น
Unit 3 BA2604 : Business Information System
Unit 3 BA2604 : Business Information System ตัวอย่างของระบบผลผลิตสินค้าทางการเกษตร
Unit 3 BA2604 : Business Information System 1.2 การจัดการด้านการผลิต มี 5 ขั้นตอน การวางแผนเป็นการตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย เช่น กำหนดว่าจะทำอะไร อย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร การจัดองค์กรเป็นการกำหนดโครงสร้างและบทบาทตลอดจนความสัมพันธ์ของหน่วยงาน เช่น การกำหนดผู้รับผิดชอบในงานและตำแห่นงงาน การจัดคนเข้าทำงานเป็นจัดคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในตำแหน่งงาน รวมถึงสวัสดิการ เช่น การวางแผนความต้องการกำลังคน การสั่งการเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวิธีและแนวทางเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมมือ ร่วมใจกันทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรซึ่งได้แก่ การจูงใจและสร้างภาวะความเป็นผู้นำ การติดต่อสื่อสารและการใช้อำนาจตามหน้าที่ เป็นต้น การควบคุมเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม การประเมินและการดำเนินการ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับแผนงานที่วางไว้ กำหนดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำโดยปรับโครงสร้างของหน่วยงานปรับปัจจัยการผลิต หรือปรับแผนงานที่วางไว้แต่เดิม
Unit 3 BA2604 : Business Information System 2. กิจกรรมการจัดการด้านการผลิต
Unit 3 BA2604 : Business Information System • 2. กิจกรรมการจัดการด้านการผลิต(ต่อ) • 1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์คือการวางแผนสินค้าต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาแนวคิดของผลิตภัณฑ์ที่จะนำเสนอออกสู่ตลาด • 2. การวางแผนเพื่อผลิตสินค้า • 2.1 การวางแผนระบบการผลิตและแปลงสภาพ • การวางแผนกำลังการผลิต (Capacity Planning) • การวางแผนเลือกที่ตั้งโรงงาน (Plant Location Planning) • การวางแผนกระบวนการผลิต (Process Planning) • การวางแผนผังโรงงาน (Plant Payout Planning) • การวางแผนจัดองค์กร (Organization Planning) • การวางแผนผลิตภัณฑ์ (Product Planning)
Unit 3 BA2604 : Business Information System • 2.2 การวางแผนการใช้ระบบการผลิตและแปลงสภาพ • การพยากรณ์การผลิต (Product Forecasting) • การวางแผนการผลิตรวม (Aggregate Planning) • การจัดลำดับการผลิต (Job Scheduling) • การวางแผนและจัดลำดับโครงการ (Project Planning and Scheduling) • การวางแผนบุคลากร (Personnel Planning) • 3. การดำเนินการผลิต • 3.1 การสั่งการด้านการผลิต (Operation Directing) • 3.2 การมอบหมายงานด้านการผลิต (Job Assignment) • 3.3 การสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) • 3.4 การกำหนดมาตรฐานการผลิต (Operations Standard) • 3.5 การปรับปรุงการผลิต (Job Improvement)
Unit 3 BA2604 : Business Information System • 4. การควบคุมการผลิต • 4.1 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) • 4.2 การควบคุมปริมาณ (Quantity Control) • 4.3 การควบคุมสินค้าคงเหลือ (Inventory Control) • 4.4 การควบคุมต้นทุน (Cost Control) • 4.5 การวัดงาน (Work Measurement) • 4.6 การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต (Machine Maintenance) • 4.7 การควบคุมสภาพแวดล้อมการผลิต (Environmental Control)
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการผลิต 3. ระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการและควบคุมการผลิต B. ระบบสารสนเทศเพื่องานการผลิต
Unit 3 BA2604 : Business Information System • ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ • สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ • 1. รายละเอียดลักษณะของผลิตภัณฑ์ • 2. ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่กำหนดวิธีการผลิต • 3. วิธการผลิตที่นำไปสู่การกำหนดระบบการผลิต • การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีขั้นตอนสำคัญ 7 ขั้นตอน คือ • 1. การศึกษาความเป็นได้ทางเศรษฐศาสตร์และเทคนิค • 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ • 3. การทดสอบสมรรถนะผลิตภัณฑ์ต้นแบบ • 4. การประเมินความเป็นไปได้ทางการตรวจและทางเศรษฐศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ ต้นแบบ • 5. การออกแบบระบบการผลิต • 6. การประเมินผลทางการตลาด สมรรถนะผลิตภัณฑ์ ทดสอบกระบวนการผลิต • 7. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของกระบวนการผลิต
Unit 3 BA2604 : Business Information System ข้อมูลนำเข้าและสารสนเทศที่ได้จากระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ • ข้อมูลนำเข้า • ความต้องการของลูกค้า • ผลจากการวิจัยและพัฒนา • สภาพการแข่งขันทางการตลาด • เทคโนโลยีการผลิตที่มีในอุตสาหกรรม • ราคาสินค้าของคู่แข่ง • วัตถุดิบที่มีในอุตสาหกรรม • ฯลฯ • สารสนเทศที่ได้ • รูปแบบผลิตภัณฑ์ • ราคาจำหน่าย • ปริมาณการผลิต • กรรมวิธีการผลิต • เครื่องจักรที่เลือกใช้ • วัตถุดิบที่เลือกใช้ • แผนผังกระบวนการผลิต • ฯลฯ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนการผลิต จำแนกได้เป็น แผนระยะยาว ได้แก่ แผนผลิตรวม แผนระยะปานกลาง ได้แก่ แผนความต้องการวัสดุ แผนระยะสั้น ได้แก่ แผนการผลิตในระดับปฏิบัติการ
Unit 3 BA2604 : Business Information System แผนการผลิตระยะยาว • ข้อมูลนำเข้า • แผนธุรกิจ • ค่าพยากรณ์ทางการตลาด • กำลังการผลิตที่มีอยู่ • แผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร • นโยบายการจ้างงาน • นโยบายการจัดเก็บสินค้าคงเหลือ • ฯลฯ • สารสนเทศที่ได้ • แผนการผลิต • แผนกำลังคน • แผนการใช้เครื่องจักร • แผนการจ้างทำภายนอก • แผนเตรียมการด้านวัตถุดิบ และสินค้าคงเหลือ • ประมาณการต้นทุนการผลิต • ฯลฯ
Unit 3 BA2604 : Business Information System แผนการผลิตระยะปานกลาง • สารสนเทศที่ได้ • แผนแม่บทเพื่อการผลิต • แผนความต้องการวัสดุ • แผนความต้องการกำลังผลิต • แผนการทำงานล่วงเวลา • แผนการจ้างทำภายนอก • แผนการจัดเก็บสินค้าคงเหลือ • ประมาณการต้นทุนการผลิต • ฯลฯ • ข้อมูลนำเข้า • คำสั่งซื้อจากลูกค้า • ค่าพยากรณ์การขาย • จำนวนวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ • เงื่อนไขการสั่งซื้อและผลิต • กำลังการผลิตของหน่วยผลิต • ลำดับขั้นตอนการผลิต • ฯลฯ
Unit 3 BA2604 : Business Information System แผนการผลิตระยะสั้น • สารสนเทศที่ได้ • แผนผลิตในระดับปฏิบัติการ • แผนลำดับการผลิต • แผนการมอบหมายงาน • แผนการจัดส่งงานให้ลูกค้า • แผนเร่งรัดงาน • ฯลฯ • ข้อมูลนำเข้า • สมรรถนะของเครื่องจักร • ความพร้อมของเครื่องจักร • ความพร้อมของพนักงาน • จำนวนวันทำงานที่มีอยู่ • ความพร้อมของวัตถุดิบ • ลำดับขั้นตอนการผลิต • กำหนดวันส่งงาน • ฯลฯ
Unit 3 BA2604 : Business Information System 3. ระบบสารสนเทศเพื่อการดำเนินการและควบคุมการผลิต • สารสนเทศที่ได้ • รายงานผลผลิต • รายงานคุณภาพ • รายงานต้นทุนการผลิต • รายงานด้านเวลา • รายงานด้านความปลอดภัย • รายงานด้านการหยุดงานของเครื่องจักร • รายงานเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ • ฯลฯ • ข้อมูลนำเข้า • แผนการมอบหมายงานให้แก่พนักงานและเครื่องจัก • จำนวนผลิตที่ได้จากแต่ละหน่วยผลิต • จำนวนของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต • ชั่วโมงทำงานของเครื่องจักร • จำนวนครั้งและชั่งโมงขัดข้องของเครื่องจักร • ต้นทุนค่าแรงมาตรฐาน • จำนวนสินค้าคงคลังเหลือที่มีอยู่ในคลังและ สายการผลิต • ปริมาณการเบิกจ่ายวัสดุเพื่อการผลิต • จำนวนอุบัติเหตุและความรุนแรง • ฯลฯ
Unit 3 BA2604 : Business Information System C .เทคโนโลยีระบบสารสนเทศของงานการผลิต • 1. เทคโนโลยีการผลิต จำแนกได้เป็น 3 ประเภท • 1. เทคโนโลยีประเภทใช้แรงงาน (Manual Technology) • 2. เทคโนโลยีประเภทใช้เครื่องจักร (Mechanized Technology) • 3. เทคโนโลยีประเภทอัตโนมัติ (Automated Technology) • 3.1 หุ่นยนต์อุตสาหกรรม • 3.2 ระบบอัตโนมัติตายตัว • 3.3 เครื่องจักรเอ็นซี • 3.4 ระบบคอมพิวเตอร์ออกแบบและระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการผลิต • 3.5 ระบบการผลิตยืดหยุ่นหรือระบบเอฟเอ็มเอส • 3.6 ระบบคอมพิวเตอร์รวมการผลิต
Unit 3 BA2604 : Business Information System วิวัฒนาการและองค์ประกอบของเทคโนโลยีการผลิต
Unit 3 BA2604 : Business Information System 2. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ ใช้ช่วยได้ใน 3 ด้านด้วยกัน คือ 1. การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย 2. การทดสอบแบบจะลองโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ 3. การเขียนแบบอัตโนมัติ
Unit 3 BA2604 : Business Information System ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) คือ เป็นสาขาวิทยาการความรู้ ซึ่งพยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการศึกษาเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อช่วยในการแก้ ปัญหา ในการตัดสินใจนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยเหตุผลอันได้จากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบวิธีการของมนุษย์ในการแก้ไขปัญหา สามารถแบ่งได้เป็น 6 ด้าน คือ 1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ 4. การควบคุมหุ่นยนต์ 2. งานพัฒนาซอฟต์แวร์ 5. การเข้าใจในคำพูด 3. การประมวลผลโดยภาษธรรมชาติ 6. ความสามารถในการเห็นของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตแบบบูรณาการ (Computer-integrated Manufacturing : CIM)
เป้าหมายโดยรวมของ CIM และระบบสารสนเทศโรงงาน คือ การสร้างกระบวนการทำงานของโรงงานให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว โดยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ดังนั้น ระบบ CIM จึงสนับสนุนแนวคิดเรื่องระบบการผลิตที่มีความยืดหยุ่น การผลิตที่มีความคล่องตัว และการจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management)
ระบบสารสนเทศช่วยให้บริษัททำงานได้ง่าย เป็นอัตโนมัติ และผสมผสานงานที่ต้องการในการผลิตผลิตภัณฑ์ทุกชนิด เช่น คอมพิวเตอร์ถูกใช้เพื่อช่วยให้วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นโดยใช้ทั้งคอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม (Computer-aided Engineering : CAE) และคอมพิวเตอร์ช่วยงานออกแบบ (Computer-aided Design : CAD) พวกเขายังใช้ช่วยในการวางแผนประเภทของวัตถุดิบที่ต้องการในกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า การวางแผนความต้องการด้านวัตถุดิบ (Material Requirements Planning - MRP) และการผสมผสาน MRP เข้ากับตารางการผลิต (Production Scheduling) และการจัดการด้านคนงาน (Shop Floor Operations) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ การวางแผนทรัพยากรด้านการผลิต (Manufacturing Resource Planning)
คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านการผลิต (Computer-aided Manufacturing-CAM) เป็นระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในขั้นตอนการผลิต ระบบนี้สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยการตรวจตราและควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ช่วยบริหารงานด้านการผลิต (Manufacturing Execution Systems - MES) หรือการควบคุมทางกายภาพโดยตรง ( การควบคุมการดำเนินงาน) เครื่องจักร ( ควบคุมเครื่องจักร) เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพการทำงานเหมือนคน ( หุ่นยนต์)
ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยบริหารงานด้านการผลิต ทำหน้าที่ในการดูแลระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารงานในการผลิต ระบบนี้ทำการตรวจตรา ติดตาม และควบคุม 5 องค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการผลิตอันได้แก่ วัตถุดิบ เครื่องมือ บุคลากร การดำเนินงานตามขั้นตอนที่วางไว้ และ การกำหนดคุณลักษณะให้ตรงกับที่ต้องการ รวมทั้ง อำนวยความสะดวกในการผลิต MES ยังรวมไปถึงตารางการทำงานของคนงานและการควบคุม การควบคุมเครื่องจักร การควบคุมหุ่นยนต์ และ ระบบการควบคุมกระบวนการทำงาน ระบบการผลิตแบบนี้จะทำการตรวจตรา รายงาน และจัดระเบียบให้กับสถานภาพและการดำเนินงานขององค์ประกอบต่างๆในการผลิต เพื่อช่วยให้บริษัทได้รับกระบวนการผลิตที่มีความยืดหยุ่นและคุณภาพสูง
ผลตอบแทนที่ได้รับจากระบบคอมพิวเตอร์ในการผลิตแบบบูรณาการ (Computer-integrated Manufacturing System) สามารถให้ผลตอบแทนในการผลิตของบริษัทดังนี้ • ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการผลิตซึ่งทำให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงตรงกับความเปลี่ยนแปลงทางการตลาดและความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว • นอกจากนี้ CIM ยังได้รับผลที่ดีจากระบบการทำงานที่ความสะดวกและเป็นระบบอัตโนมัติ การวางแผนตารางการผลิตที่ดีกว่า และ เกิดความสมดุลของปริมาณการผลิตกับประสิทธิภาพในการผลิต สิ่งเหล่านี้ได้ปรับปรุงการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตและเพิ่มผลผลิตมากกว่าเดิม และการควบคุมคุณภาพที่ดีกว่ามาจากการตรวจตรา • ผลสะท้อนกลับ และการควบคุมการดำเนินการของโรงงาน เครื่องจักร และหุ่นยนต์ให้เป็นเป็นประโยชน์ • การลดต้นทุนในการผลิตสินค้าคงคลังและความคล่องตัวผ่านการทำงานที่ง่ายขึ้น นโยบายสินค้าคงคลังแบบทันเวลา (Just-in-time) • และการวางแผนที่ดีกว่าและการควบคุมการผลิต และทำให้สินค้าเสร็จตามต้องการ • ความพอใจของลูกค้าได้ถูกปรับปรุงด้วยการผลิตอย่างรวดเร็วตามที่ลูกค้าสั่ง ลดสถานการณ์สินค้าขาดได้อย่างเห็นผล และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงตรงความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
เครือข่ายความร่วมมือในการผลิต (Collaborative Manufacturing Network) • การควบคุมการดำเนินงาน (Process Control) • การควบคุมเครื่องจักรกล (Machine Control) • หุ่นยนต์ (Robotics)
คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรม (Computer-Aided Engineering - CAE) วิศวกรด้านการผลิตใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานด้านวิศวกรรม CAE สร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบ การวิเคราะห์ และการประเมินต้นแบบของการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพวกเขาได้พัฒนาขึ้น โดยการใช้วิธีการด้านคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design - CAD) ช่วยวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงกระบวนการผลิตในโรงงาน และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น CAD Package ช่วยในงานวาดภาพของวิศวกรและช่วยให้เกิดภาพกราฟิก 3 มิติซึ่งสามารถทำให้หมุนไปรอบๆ เพื่อที่จะมองวัตถุได้ทั้ง 3 ด้าน สามารถมองในระยะใกล้ เพื่อมองส่วนประกอบเฉพาะส่วนและสามารถแสดงการเคลื่อนไหวเหมือนกับการทำงานกับของจริง การออกแบบนี้สามารถแปลงไปสู่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของผลงานที่ได้ทำสำเร็จแล้ว