1 / 55

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตกแก่ผู้ใด ผู้ได้รับความเสียหาย เมื่อทรัพย์สินนั้นเสียหาย

การโอนกรรมสิทธิ์. ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตกแก่ผู้ใด ผู้ได้รับความเสียหาย เมื่อทรัพย์สินนั้นเสียหาย. 177227 Faculty of Law. การโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขายเสร็ดเด็ดขาด. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดในทรัพย์เฉพาะสิ่งในขณะที่สัญญาเกิดขึ้น

kurt
Download Presentation

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตกแก่ผู้ใด ผู้ได้รับความเสียหาย เมื่อทรัพย์สินนั้นเสียหาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การโอนกรรมสิทธิ์ • ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตกแก่ผู้ใด • ผู้ได้รับความเสียหาย เมื่อทรัพย์สินนั้นเสียหาย 177227 Faculty of Law

  2. การโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขายเสร็ดเด็ดขาดการโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขายเสร็ดเด็ดขาด • สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดในทรัพย์เฉพาะสิ่งในขณะที่สัญญาเกิดขึ้น • กรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขาย ตาม ม.458 “กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน” 177227 Faculty of Law

  3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ถ้าไม่ทำตามแบบที่กฎหมาย กำหนดไว้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมไม่ทางที่จะโอนไปยังผู้ซื้อได้เลย เพราะสัญญาตกเป็นโมฆะเสียแล้ว 177227 Faculty of Law

  4. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในทรัพย์เฉพาะสิ่ง แต่จะต้องนับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อทราบราคา ตาม ม.460 ว.2 • กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะได้ นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อที่จะทราบราคาแน่นอน มาตรา 460 ว.2 “ในการซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ถ้าผู้ขายยังจะต้องนับ ชั่ง ตวง วัด หรือทำการอย่างอื่น หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สิน เพื่อให้รู้กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอน ท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าการหรือสิ่งนั้นได้ทำแล้ว” 177227 Faculty of Law

  5. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในทรัพย์ที่ไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่งในขณะทำสัญญาซื้อขายตาม ม.460 ว.1 • กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะได้มีการหมาย นับ ชั่ง ตวง วัด คัดเลือก เพื่อให้ทราบตัวทรัพย์อันเป็นที่แน่นอน มาตรา 460 ว.1 “ในการซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอนนั้น ท่านว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นนอนแล้ว” 177227 Faculty of Law

  6. สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข มีเงื่อนเวลา • สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข เงื่อนเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขาย ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข หรือถึงกำหนดเงื่อนเวลานั้น ตาม ม.459 “ถ้าสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ท่านว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าการจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข หรือถึงกำหนดเงื่อนเวลานั้น” 177227 Faculty of Law

  7. ความวิบัติแห่งตัวทรัพย์กับสิทธิหน้าที่ของผู้ซื้อผู้ขาย • มีปัญหาว่าถ้าทรัพย์สินที่ซื้อขาย ตกเป็นการสูญหาย หรือบุบสลายทั้งหมดหรือแต่บางส่วน จะทำให้ผู้ซื้อผู้ขาย เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้หรือไม่ • ผู้ขายต้องส่งมอบ(หา)ทรัพย์ชิ้นใหม่ ให้แก่ผู้ซื้อหรือไม่ • ผู้ซื้อต้องชำระราคา หรือไม่ 177227 Faculty of Law

  8. ความวิบัติแห่งตัวทรัพย์กับสิทธิหน้าที่ของผู้ซื้อผู้ขาย(ต่อ) • ผู้ขายต้องส่งมอบ(หา)ทรัพย์ชิ้นใหม่ ให้แก่ผู้ซื้อหรือไม่ (ผู้ซื้อจะเรียกร้องให้ส่งมอบทรัพย์ชิ้นใหม่ ได้หรือไม่) • ในเรื่องนี้ มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ทรัพย์สินที่ซื้อขายอันได้สูญหาย หรือบุบสลาย นั้น เป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้แล้วหรือไม่ ตาม ม. 458-460 ที่พิจารณาได้แล้วข้างต้น • ถ้าเป็น ผู้ขายก็เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้ เพราะการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย (ไม่เกี่ยวกับความรับผิด) • ถ้าไม่เป็น ผู้ขายก็ยังไม่หลุดพ้นจากการชำระหนี้ เว้นแต่ จะไม่มีทรัพย์ประเภท ชนิด นั้นๆอีกแล้ว 177227 Faculty of Law

  9. ความวิบัติแห่งตัวทรัพย์กับสิทธิหน้าที่ของผู้ซื้อผู้ขาย(ต่อ) • ผู้ซื้อต้องชำระราคาหรือไม่ • ประเด็นนี้ มีหลักกฎหมายที่ต้องนำมาพิจารณา 2 เรื่อง คือ เรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ และสาเหตุแห่งความวิบัติว่าเป็นของผู้ใด ดังนี้ • ถ้าเหตุแห่งการสูญหาย หรือบุบสลาย เป็นเหตุที่จะโทษผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้ • ให้พิจารณาว่ากรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อ หรือผู้ขาย ตามมาตรา 370-371 (res perit domino) • กรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อ ผู้ซื้อต้องชำระราคา • กรรมสิทธิ์เป็นของผู้ขาย ผู้ขายไม่มีสิทธิได้ราคา 177227 Faculty of Law

  10. ผู้ซื้อต้องชำระราคาหรือไม่ • ถ้าเหตุแห่งการสูญหาย หรือบุบสลาย เป็นเหตุที่จะโทษผู้ซื้อและผู้ขายได้ • ให้พิจารณาว่ากรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อ หรือผู้ขาย ตามมาตรา 370-371 (res perit domino) ประกอบกับความผิดของผู้ซื้อหรือผู้ขาย • กรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อแล้ว แต่การสูญหาย หรือบุบสลาย เป็นเหตุอันโทษผู้ขายได้ ผู้ซื้อไม่ต้องชำระราคา และยังเรียกค่าเสียหายได้ด้วย • กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ขาย แต่การสูญหาย หรือบุบสลาย เป็นเหตุอันโทษผู้ซื้อได้ ผู้ขายมีสิทธิได้ราคา 177227 Faculty of Law

  11. สิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้ซื้อผู้ขาย

  12. สิทธิหน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อผู้ขายสิทธิหน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อผู้ขาย • สิทธิหน้าที่ความรับผิดของผู้ขาย มีอยู่อย่างไร • สิทธิหน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อ มีอยู่อย่างไร 177227 Faculty of Law

  13. สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ • บังคับชำระหนี้เฉพาะเจาะจง ม.213 • บังคับชำระหนี้เฉพาะเจาะจง และเรียกค่าเสียหาย ม.213 ว. 1 และ ว.ท้าย • บอกเลิกสัญญา ม.391 • บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย ม.391 177227 Faculty of Law

  14. สิทธิหน้าที่ความรับผิดของผู้ขายสิทธิหน้าที่ความรับผิดของผู้ขาย • 1. ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ • 2. ผู้ขายต้องรับผิดหากทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่อง • 3. ผู้ขายต้องรับผิดหากผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ • 4. ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิด 177227 Faculty of Law

  15. หน้าที่ความรับผิดของผู้ขายหน้าที่ความรับผิดของผู้ขาย • 1. ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบ ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อ ม.461 • 1.1 วิธีการส่งมอบ จะทำอย่างไรก็ได้ สุดแต่ว่าเป็นผลให้ทรัพย์สินนั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ ม.462 • “อยู่ในเงื้อมมือ” หมายถึง อยู่ในความครอบครองของผู้ซื้อ • การส่งมอบจะเป็นการส่งมอบโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายก็ได้ 177227 Faculty of Law

  16. ฎีกาที่ 2331/2516 ซื้อขายที่ดิน ชำระราคาเรียบร้อย โอนทะเบียนเรียบร้อย แต่ปรากฏว่า ผู้ซื้อเข้าไปในบ้านไม่ได้ เพราะมีคนอยู่ ผู้ขายจึงฟ้องขับไล่ ผู้ถูกฟ้องสู้ว่าผู้ขายไม่ได้เป็นเจ้าของอีกแล้ว ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีอำนาจฟ้อง เพราะผู้ขายยังต้องมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ซื้อ 177227 Faculty of Law

  17. 1.2 สถานทีส่งมอบ ม.324 • ความสำคัญของสถานที่ส่งมอบ • ลูกหนี้ชำระหนี้ถูกต้องหรือไม่ (ม.215) • ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งมอบ จะตกแก่ผู้ใด (ม.463) • ความรับผิดชอบในค่าขนส่ง (ม.464) 177227 Faculty of Law

  18. แยกได้ 2 กรณี • ก. ถ้าสัญญาระบุเอาไว้ว่าได้แก่ สถานที่ใด ก็ได้แก่สถานที่นั้น • ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินไป ยังสถานที่อันสัญญาได้กำหนดไว้ จึงถือว่าได้ชำระหนี้แล้ว • ถ้าภัยพิบัติเกิดก่อนถึงสถานที่ชำระหนี้ ภัยพิบัติตกอยู่แก่ ผู้ขาย 177227 Faculty of Law

  19. ก. ซื้อสาลี่จาก ข. โดยตกลงว่า ข. จะส่งสาลี่ให้แก่ ก. ที่ตลาดเมืองใหม่ หาก ข. ส่งสาลีให้แก่ ก. โดยว่าจ้างผู้รับขน หากรถดังกล่าวประสบอุบัติเหตุ สาลี่ได้รับความเสียหายทั้งหมด เช่นนี้ ก. ไม่มีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ ข. ก. เรียกให้ผู้รับขนรับผิดไม่ได้ ข. ต้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รบขนเอง 177227 Faculty of Law

  20. ถ้าสัญญาไม่ได้กำหนดสถานที่ส่งมอบเอาไว้ ได้แก่ (ม.324) • ในขณะที่สัญญาเกิดขึ้น เป็นการซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง สถานที่ส่งมอบได้แก่ สถานที่ทรัพย์นั้นได้ตั้งอยู่ในขณะที่สัญญาได้เกิดขึ้น • ในขณะที่สัญญาได้เกิดขึ้น เป็นการซื้อขายทรัพย์ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่ง สถานที่ส่งมอบได้แก่ ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้(ผู้ซื้อ) 177227 Faculty of Law

  21. ในกรณีที่สัญญามีการตกลงให้ส่งมอบทรัพย์สินจากที่แห่งหนึ่ง (สถานที่อื่นอันพึงต้องชำระหนี้) ไปยังอีกแห่งหนึ่ง กฎหมายถือว่า ผู้ขายได้ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายเมื่อได้ ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ขนส่ง (ผู้ขายได้ชำระหนี้แล้ว) • ผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบในค่าขนส่ง ม.464 • ภัยพิบัติเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง ภัยพิบัติตกอยู่แก่ ผู้ซื้อ 177227 Faculty of Law

  22. ก. ซื้อสาลี่จาก ข. โดยตกลงว่า ก. จะเป็นผู้มารับสาลี่เอง ภายหลัง ก. ให้ ข. ส่งสาลี่ให้ทางผู้รับขนของ หากรถดังกล่าวประสบอุบัติเหตุ สาลี่ได้รับความเสียหายทั้งหมด เช่นนี้ ก. มีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ ข. อยู่ ก. เรียกให้ผู้รับขนรับผิดได้ ก. ต้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รบขนเอง 177227 Faculty of Law

  23. สังหาริมทรัพย์ ม.465 • 1.3 ปริมาณ หรือจำนวน ทรัพย์สินที่ส่งมอบ 177227 Faculty of Law

  24. อสังหาริมทรัพย์ ม.466 • การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งไม่ให้ความสำคัญกับ เนื้อที่(ปริมาณ)ของทรัพย์สินที่ซื้อขาย จะใช้บทบัญญัติใน ม.466 ไม่ได้ เช่น การซื้อขายที่ดินเหมาทั้งแปลง • ผู้ซื้อต้องชำระราคาสถานเดียว ฎีกาที่ 2233/2533 ซื้อที่ดินทิศตะวันออกทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ ตารางว่าละ 7,500 บาท ไปเดินดูที่และทำแผนที่เรียบร้อย ว่าซื้อส่วนไหน รังวัดปรากฏว่า 5 ไร่กว่า เมื่อฟ้งว่าเจตนาซื้อขายกันทั้งแปลง ผู้จะซื้อไม่รับซื้อไม่ได้ 177227 Faculty of Law

  25. การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งให้ความสำคัญกับ เนื้อที่(ปริมาณ)ของทรัพย์สินที่ซื้อขาย • หลัก ถ้าผู้ขายส่งมอบ มากกว่า หรือน้อยกว่า ร้อยละ 5 ของเนื้อที่ ที่ได้ตกลงไว้ ผู้ซื้อมีสิทธิ • ปัดเสีย หรือ • รับเอาไว้และใช้ราคาตามส่วนก็ได้ 177227 Faculty of Law

  26. ข้อยกเว้น ถ้าผู้ขายส่งมอบ ไม่เกินกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อที่ที่ได้ตกลงกันไว้ ผู้ซื้อ • ต้องรับเอาไว้ และใช้ราคาตามส่วน สถานเดียว • ยกเว้นแต่เมื่อขาดตกบกพร่อง หรือล้ำจำนวนถึงขนาด ซึ่งหากผู้ซื้อทราบก่อนแล้ว จะไม่เข้าทำสัญญานั้น เช่นนี้ ผู้ซื้อบอกปัดได้ 177227 Faculty of Law

  27. สิทธิของผู้ซื้อเมื่อผู้ขายส่งมอบจำนวนไม่เป็นไปตามที่ตกลง(เพิ่มจาก ม.465) • 1. เรียกค่าเสียหาย ในกรณีที่ได้รับความเสียหาย มีอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่ส่งมอบ (ม.467) • 2. เรียกให้ชำระหนี้เฉพาะเจาะจง (ส่งมอบตามสัญญา) (มีอายุความ 10 ปี ตาม ม.193/30) • 3. เรียกราคาที่ได้ชำระคืน ตามส่วน (มีอายุความ 10 ปี ตาม ม.193/30) 177227 Faculty of Law

  28. 1.4 กำหนดเวลาในการส่งมอบ • ม.203 ม.204 ม.369 ม.468 • 1.5 วัตถุที่ส่งมอบ • ต้องเป็นไปตาม ชนิด ปริมาณ ประเภท ที่ตกลงไว้ในสัญญา ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ ผู้ขายพึงส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง 177227 Faculty of Law

  29. 2. ผู้ขายต้องรับผิดหากทรัพย์ซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่อง (ม.472-473) • ทรัพย์ที่ส่งมอบถูกต้องแล้ว แต่มีความชำรุดบกพร่อง • ความชำรุดบกพร่องอันผู้ขายต้องรับผิด ต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่เกิดก่อน หรือขณะทำสัญญาซื้อขาย 177227 Faculty of Law

  30. ผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องในกรณีดังต่อไปนี้ผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องในกรณีดังต่อไปนี้ • 1. การชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมราคา • 2. การชำรุดบกพร่องเป็นเหตุเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ • 3. การชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมประโยชน์มุ่งหมายโดยสัญญา 177227 Faculty of Law

  31. ผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในกรณีดังต่อไปนี้ (ม.473) • 1.ผู้ซื้อได้รู้ หรือควรจะได้รู้เช่นนั้น ว่าทรัพย์สินมีความชำรุดบกพร่อง (ผู้ซื้อต้องระวัง) 177227 Faculty of Law

  32. 2. ความชำรุดบกพร่องเห็นเป็นประจักษ์ในเวลาที่ส่งมอบ แต่ผู้ซื้อรับเอาไว้โดยมิได้อิดเอื้อน (หลักกฎหมายปิดปาก) • 3. เป็นการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด 177227 Faculty of Law

  33. สิทธิของผู้ซื้อเมื่อทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่องสิทธิของผู้ซื้อเมื่อทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่อง • 1. ยึดหน่วงราคาทั้งหมด หรือแต่บางส่วน • 2. บอก(ปัด)เลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหาย • 3. บังคับชำระหนี้เฉพาะเจาะจง และเรียกค่าเสียหาย • - แก้ไขความชำรุดบกพร่อง • 4. เรียกค่าเสียหาย 177227 Faculty of Law

  34. อายุความในการเรียกให้ผู้ขายรับผิดในเรื่องชำรุดบกพร่อง ม.474 • อายุความในการฟ้องให้ผู้ขายรับผิดเนื่องจากความชำรุดบกพร่อง มีอายุความ 1 ปี นับแต่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง 177227 Faculty of Law

  35. สิทธิของผู้ขายที่จะ ปฎิเสธไม่ส่งมอบทรัพย์ให้แก่ ผู้ซื้อ (ไม่ถือว่าผู้ขายผิดหน้าที่เรื่องส่งมอบ) • 1. ถ้าสัญญาซื้อขายไม่มีเงื่อนเวลาให้ใช้ราคา ผู้ขายมีสิทธิยึดหน่วยทรัพย์สินไว้จนกว่าผู้ซื้อจะใช้ราคา (ม.369 ,ม.468) 177227 Faculty of Law

  36. 2. มีพฤติการณ์เกิดขึ้นกันผู้ซื้อ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 469 • 2.1 ผู้ซื้อตกเป็นคนล้มละลายก่อนส่งมอบ • 2.2 ผู้ซื้อตกเป็นคนล้มละลายในขณะทำสัญญาซื้อขาย โดยผู้ขายไม่รู้ • 2.3 ผู้ซื้อทำให้หลักทรัพย์(มัดจำ หรือหลักประกันอื่นๆ) เสื่อมเสีย หรือน้อยลง 177227 Faculty of Law

  37. 3. ผู้ขายมีหน้าที่ประกันสิทธิในความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินซึ่งขาย • สัญญาซื้อขายมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ(โอนความเป็นเจ้าของ) ดังนั้นผู้ขายจึงมีหน้าที่ที่จะให้ผู้ซื้อได้ไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ซื้อขาย โดยบริบูรณ์ • ถ้าผู้ซื้อได้สิทธิในทรัพย์สิน ไปโดยไม่บริบูรณ์ ผู้ขายต้องรับผิดต่อผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า “การรอนสิทธิ” 177227 Faculty of Law

  38. การรอนสิทธิแบ่งเป็น 2 ประเภท • 1. การรอนสิทธิทั้งหมด ม.475 • 2. การรอนสิทธิบางส่วน ม.479 177227 Faculty of Law

  39. การรอนสิทธิทั้งหมด ม.475 • หลักเกณฑ์ • 1. มีบุคคลภายนอกรบกวนสิทธิของผู้ซื้อ • 2. เพราะบุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินในขณะทำสัญญาซื้อขาย หรือ เพราะความผิดของผู้ขาย(บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินภายหลังการซื้อขาย) 177227 Faculty of Law

  40. ก. ยืมกล้องถ่ายรูปของ ข. ไปถ่ายรูปงานพืชสวนโลก ต่อมา ก. นำกล้องถ่ายรูปไปขายให้แก่ ค. เช่นนี้ ข. จึงเรียกกล้องถ่ายรูปคืนจาก ค. ดังนี้ถือว่า ค. ถูก ข. รอนสิทธิ เพราะ ข. มีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ซื้อขาย 177227 Faculty of Law

  41. ก. ขายกล้องถ่ายรูปของตนให้ ค. ระหว่างที่ยังไม่ทันได้ส่งมอบ ก. นำกล้องดังกล่าวขายให้แก่ ข. อีก เนื่องจากได้ราคาสูงกว่า ดังนี้ ถือว่า ค. ถูก ข. รอนสิทธิ เพราะความผิดของ ก. 177227 Faculty of Law

  42. การรอนสิทธิบางส่วน ม.479 • หลักเกณฑ์ • 1. ทรัพย์สินตกอยู่ในบังคับสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน • 2. เป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้น • -เสื่อมราคา • -เสื่อมประโยชน์ • -เสื่อมความเหมาะสมแก่การใช้ 177227 Faculty of Law

  43. ก. ขายที่ดินซึ่งตนมีชื่อในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวให้แก่ ค. ซึ่งในความเป็นจริง ข. เป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยกึ่งหนึ่ง เช่นนี้ ค. ย่อมได้สิทธิในที่ดินเท่าที่ ก. มีสิทธิ (ค.ถูกรอนสิทธิบางส่วน) 177227 Faculty of Law

  44. ก. ขายที่ดินซึ่งตนให้แก่ ค. ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าว ข. ได้ทำสัญญาเช่าอยู่ก่อนซึ่งยังไม่ครบกำหนด เช่นนี้ ค. ต้องถูกผูกพันให้ ข. เช่าต่อไปจนครบสัญญา ดังนี้ ถือว่า ค. ถูกรอนสิทธิบางส่วน 177227 Faculty of Law

  45. ผู้ขายไม่ต้องรับผิด ในกรณีที่ผู้ซื้อถูกรอนสิทธิในกรณีดังต่อไปนี้ • 1. การรอนสิทธิเกิดขึ้นภายหลังจากการซื้อขาย ตัวอย่าง ภายหลังที่ ก. ได้ขายที่ดินให้แก่ ข. ได้ 1 ปี รัฐบาลได้ประกาศเวนคืนที่ดินที่ ข. ซื้อเพื่อสร้างถนน เช่นนี้ ถือว่า ข. ถูกรอนสิทธิแต่ ก. ไม่ต้องรับผิดต่อ ข. เพราะ การรอนสิทธิเกิดขึ้นภายหลังเมื่อสัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว 177227 Faculty of Law

  46. 2. การรอนสิทธิจากภาระจำยอมซึ่งเกิดโดยผลของกฎหมาย ม.480 ตัวอย่าง ค. ได้ครอบครองที่ดินของ ก. จนได้กรรมสิทธิ์ต่อมา ก. ขายที่ดินให้ดังกล่าวให้แก่ ข. ซึ่งขณะทำสัญญา ข. มิได้รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เช่นนี้ ถ้าต่อมา ข. แพ้คดีต่อ ค. ย่อมถือว่า ข. ถูกรอนสิทธิ แต่ ก. ไม่ต้องรับผิดต่อ ข. 177227 Faculty of Law

  47. 3. การรอนสิทธิเกิดจากความผิดของผู้ซื้อเอง ตาม ม.482 มาตรา 482 ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิเมื่อกรณีเป็นดั่งกล่าว ต่อไปนี้ คือ (1) ถ้าไม่มีการฟ้องคดี และผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของผู้ซื้อได้สูญ ไปโดยความผิดของผู้ซื้อเอง หรือ (2) ถ้าผู้ซื้อไม่ได้เรียกผู้ขายเข้ามาในคดี และผู้ขายพิสูจน์ได้ว่า ถ้าได้เรียกเข้ามา คดีฝ่ายผู้ซื้อจะชนะ หรือ (3) ถ้าผู้ขายได้เข้ามาในคดี แต่ศาลได้ยกคำเรียกร้องของผู้ซื้อเสีย เพราะความผิดของผู้ซื้อเอง 177227 Faculty of Law

  48. ตัวอย่าง ค. ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของ ก. แต่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ต่อมา ก. ขายที่ดินให้ดังกล่าวให้แก่ ข. ต่อมา ค. ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ เช่นนี้ ย่อมถือว่า ข. ถูกรอนสิทธิ แต่ ก. ไม่ต้องรับผิดต่อ ข. เพราะเป็นความผิดของ ข. เองที่ไม่รีบฟ้อง ค. ในระหว่างที่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ 177227 Faculty of Law

  49. อายุความ ในการฟ้องให้ผู้ขายรับผิดเพราะการรอนสิทธิ ม.481 มาตรา 481“ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือถ้าผู้ซื้อ ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคล ภายนอกเรียกร้องไซร้ ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการ รอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันคำพิพากษาในคดีเดิม ถึงที่สุด หรือนับแต่วันประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ยอมตาม บุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น” 177227 Faculty of Law

  50. 1. ถ้าผู้ขายไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีที่ผู้ซื้อกับบุคคลภายนอกพิพาทกัน อายุความมีกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่คดีระหว่างผู้ซื้อกับบุคคลภายนอกถึงที่สุด • 2. ถ้าผู้ซื้อ ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก อายุความมีกำหนด 3 เดือน นับแต่วันประนีประนอมยอมความ ตาม บุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น • 3. ถ้าผู้ซื้อยอมตามที่บุคคล ภายนอกเรียกร้อง อายุความมีกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้อง 177227 Faculty of Law

More Related