370 likes | 591 Views
วงจรชีวิตของนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สำนักทะเบียนและประมวลผล. วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต. ปรัชญาทางการศึกษา
E N D
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักทะเบียนและประมวลผล
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต ปรัชญาทางการศึกษา นักศึกษาใหม่ที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องเข้าใจ ปรัชญาทางการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มุ่งสอนให้นักศึกษารู้รอบในทุกศาสตร์ และรู้ลึกในศาสตร์ที่สนใจ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต ทำอย่างไร จึงจะเรียนให้ประสบความสำเร็จตามปรัชญา ? 1. มีสถานภาพความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. ศึกษาให้จบตามแผนการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3. เข้าเรียนและสอบผ่านทุกวิชาตามหลักสูตร 4. ไม่สูญเสียสถานภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต การมีสถานภาพความเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1. ต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา 1.1 โดยกรอกประวัติและข้อมูลส่วนตัวทาง www.reg.tu.ac.th 1.2 ต้องแสดงตนขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาตามวัน เวลา ที่กำหนด และยื่นเอกสารดังนี้ 1) ใบรับรองจบการศึกษาตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ฉบับ 2) บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ 3) ใบรับรองแพทย์ตัวจริง 4) ใบขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 1.3 ในวันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่ นักศึกษาจะได้รับบัตรนักศึกษา/ รับซองรหัส ATM (DVB)/สมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย/รหัสหมุนโมเดรม(รหัสที่ได้จากสปข.เพื่อใช้เป็นรหัสผ่านในการใช้บริการอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย)
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 2. ต้องทำบัตรประจำตัวนักศึกษา กรอก/ส่งแบบฟอร์มทำบัตรนักศึกษาทางไปรษณีย์ (สำหรับนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยคัดเลือกเอง) และกรอก/ส่งแบบฟอร์มทำบัตรนักศึกษาในวันสอบสัมภาษณ์(สำหรับนักศึกษา Admissions) บัตรประจำตัวนักศึกษาสำคัญอย่างไร 1) บัตรประจำตัวนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) ใช้ในการจดทะเบียนเรียนผ่านระบบบริการทางการศึกษา 3) ใช้เป็นบัตรผ่านเข้าห้องสมุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 4) เป็นบัตรเดบิตใช้ชำระค่าสินค้าและบริการกับร้านค้าที่มีเครื่องหมายวีซ่า (VISA) 5) ใช้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ กับธนาคาร
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต รหัส ATM (DVB) 4 หลัก มีความสำคัญอย่างไร ? รหัส ATM (DVB) 4หลัก มีความสำคัญมากสำหรับนักศึกษาแต่ละคน ดังนั้นต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับ เพราะเป็นรหัสที่ใช้ในการถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม และใช้เป็นรหัสร่วมกับเลขบนบัตร 16 หลัก เพื่อชำระเงินค่าจดทะเบียนในระบบบริการทางการศึกษา
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต หากมีปัญหาเรื่องบัตรในการจดทะเบียนให้ปฏิบัติดังนี้ 1) กรณีบัตรชำรุดสามารถจดทะเบียนได้ตามปกติ 2) กรณีลืมรหัสATM (DVB) 4 หลัก /บัตรนักศึกษาหายต้องติดต่อสำนักทะเบียนเพื่อทำบัตรใหม่ โดยแนบหลักฐานดังนี้ กรณีลืมรหัส 4 หลัก - สำเนาบัตรนักศึกษาพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ - สำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ - รูปถ่ายสีสวมเครื่องแบบนักศึกษา ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป ติดบนแบบฟอร์มทำบัตรนักศึกษา
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต กรณีบัตรนักศึกษาหาย - สำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ - ใบแจ้งความ 1 ฉบับ - รูปถ่ายสีสวมเครื่องแบบนักศึกษา ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป ติดบนแบบฟอร์มทำบัตรนักศึกษา - รูปถ่ายสีสวมเครื่องแบบนักศึกษา ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป ใช้ทำบัตรนักศึกษาชั่วคราว
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 3) กรณีกดรหัสผิด 3 ครั้ง ติดต่อธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย มธ.ศูนย์รังสิต ด้วยตนเอง เพื่อขอถอนอายัด โทร. 02-564-3377 4) นักศึกษาทุกคนควรมีเงินคงเหลือในบัญชีอย่างน้อย 150.-บาท เพื่อชำระค่าธรรมเนียมการใช้บัตรรายปี
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 3. ต้องจดทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1. นักศึกษาทุกคนต้องมาปฐมนิเทศคณะ เพื่อให้ทราบเกี่ยวกับหลักสูตร การเรียนการสอน และเรื่องที่ควรทราบเพื่อให้นักศึกษาสามารถศึกษาจนครบหลักสูตรตามโครงสร้างที่กำหนดไว้และพบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรับผล PT ซึ่งผล PT ได้แก่ วิชา EL070 หรือ EL171 หรือ EL172 แล้วแต่กรณีวิชาTH161 วิชา TU110 TU120 TU130 TU151 หรือ TU152 หรือ TU153แล้วแต่กรณี ซึ่งวิชาดังกล่าวเป็นวิชาโควตาสำหรับนักศึกษาปี 1 ดังนั้นในการจดทะเบียนให้นักศึกษาดึงรายวิชาที่เป็นโควตาเท่านั้น
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 2. ศึกษารายละเอียดวิชาเรียนในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552) ที่แต่ละคณะกำหนดเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจดทะเบียนเรียนวิชาพื้นฐาน 30 หน่วยกิต 3. ตรวจสอบ รหัสวิชา ชื่อวิชา Section/group ค่าอุปกรณ์ วัน เวลาเรียน วันสอบกลางภาค วันสอบไล่ จากตารางสอน-ตารางสอบ ที่ประกาศใน www.reg.tu.ac.thหัวข้อนักศึกษาปัจจุบัน 4. เขียนวิชาที่ต้องจดทะเบียนฯ ลงในแบบฟอร์มวางแผนจดทะเบียนฯ ก่อนการจดทะเบียนฯ ในระบบบริการทางการศึกษา ซึ่งสามารถพิมพ์แบบฟอร์มได้จาก www.reg.tu.ac.thหัวข้อเรื่องน่ารู้
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 5. คำนวณเงินค่าธรรมเนียม โดยศึกษาอัตราค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ ที่ www.reg.tu.ac.thหัวข้ออื่น ๆ 6. ศึกษาวิธีการจดทะเบียนรายวิชา ได้จากคู่มือการจดทะเบียนรายวิชาและชำระเงินด้วยระบบจดทะเบียนออนไลน์ ที่แจกให้นักศึกษาปีหนึ่งหรืออ่านได้จากใน www.reg.tu.ac.thหัวข้อเรื่องน่ารู้ 7. ก่อนการจดทะเบียนต้องนำเงินเข้าบัญชีให้พอเพียงสำหรับชำระเงินค่าจดทะเบียน 8. วันแรกเปิดระบบจดทะเบียนเวลา09.00น.และปิดระบบในวันสุดท้ายเวลา 22.30 น. หากนักศึกษาจดทะเบียนแล้วพบปัญหาขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนและประมวลผลภายในวันที่กำหนดให้ จดทะเบียนตามรหัสนักศึกษาและไม่แนะนำให้ทำรายการจดทะเบียนฯในวันสุดท้ายใกล้ปิดระบบ เพราะจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 9. ทำรายการจดทะเบียนฯ ตามที่วางแผนไว้ให้ถูกต้องสมบูรณ์ทุกขั้นตอน เมื่อยืนยันการทำรายการเพื่อชำระเงิน การจดทะเบียน จะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อระบบตัดเงินผ่านบัญชีเรียบร้อยแล้ว 10. เมื่อจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว โปรดตรวจผลการจดทะเบียนฯในระบบบริการทางการทางศึกษาและและตรวจยอดเงินคงเหลือในบัญชีทุกครั้ง
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต การจดทะเบียนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาค 2 และชั้นปีต่อๆ ไป ต้องปฏิบัติ ดังนี้ 1) ติดตามประกาศตารางสอน-ตารางสอบและเปลี่ยนแปลงตารางสอน-ตารางสอบ รวมทั้งวิชาที่เป็นโควตาที่ประกาศทาง www.reg.tu.ac.thหัวข้อนักศึกษาปัจจุบัน 2)กรณีจะจดทะเบียนเรียนวิชาโควตาต้องยื่นขอโควตาวิชาที่คณะ ตามวัน-เวลาที่ประกาศไว้ในปฏิทิน (กิจกรรม) ชั้นปริญญาตรี ทาง www.reg.tu.ac.thหัวข้อนักศึกษาปัจจุบัน
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 3) ตรวจสอบผลการขอโควตาวิชาที่คณะเจ้าของวิชา 4)ตรวจสอบผลการบันทึกโควตาวิชาของสำนักทะเบียนฯ ทาง www.reg.tu.ac.thที่Main Menu คลิกเข้าสู่ระบบและคลิกผลการขอโควตาเพื่อตรวจสอบ หากไม่ตรงกับผลโควตาที่คณะประกาศให้ติดต่อและแจ้งแก้ไข (ถ้ามี) ที่ฝ่ายทะเบียนศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ 0-2986-9086 ต่อ 130-134 5) จดทะเบียนภาค 2 ในวิชาศึกษาทั่วไปส่วนที่ 1 สำหรับนักศึกษาปี 1กำหนดให้ไว้เป็นโควตา ดังนั้นในการจดทะเบียนให้นักศึกษาดึงรายวิชาที่เป็นโควตาเท่านั้น 6) จดทะเบียนภาค 2 ในวิชาศึกษาทั่วไปส่วนที่ 2 ให้ครบตามที่คณะกำหนด
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 7) เขียนวิชาที่ต้องการจดทะเบียน ลงแบบฟอร์มวางแผนการจดทะเบียนฯ 8) คำนวณเงินค่าธรรมเนียมและนำเงินเข้าบัญชีก่อนการจดทะเบียน 9) จดทะเบียนให้จบถึงขั้นตอนการชำระเงินตามคู่มือการจดทะเบียนรายวิชาและชำระเงินด้วยระบบจดทะเบียนออนไลน์ 10) ตรวจสอบผลจดทะเบียน และยอดเงินคงเหลือในบัญชีว่ามีการตัดเงินค่าจดทะเบียน
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต การศึกษาให้จบตามแผนการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1. ต้องวางแผนการศึกษา 1.1 ศึกษาข้อบังคับ มธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ.2540 และหลักสูตร จากคู่มือการศึกษาชั้นปริญญาตรี (แผ่น CD คู่มือการศึกษา) 1.2 สำหรับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ ขอให้ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับของคณะด้วย 1.3 ศึกษาตารางสอน-ตารางสอบ เปลี่ยนแปลงตารางสอน และการขอโควตาจาก ปฏิทินการศึกษา ประกาศที่ www.reg.tu.ac.thหัวข้อนักศึกษาปัจจุบัน
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 2. ต้องจดทะเบียนศึกษารายวิชา 2.1 ศึกษาวิธีการจดทะเบียนฯ ตามคู่มือการจดทะเบียนรายวิชาและชำระเงินด้วยระบบจดทะเบียนออนไลน์ 2.2 จดทะเบียนศึกษารายวิชาผ่านระบบบริการทางการศึกษาตามวันเวลาที่กำหนดในปฏิทินกิจกรรมนักศึกษา(ตามข้อบังคับมธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540 ข้อ10.1-10.7) 2.3 จดทะเบียนเพิ่มถอนรายวิชาผ่านระบบบริการทางการศึกษาตามวันที่กำหนดในปฏิทินกิจกรรมนักศึกษา
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 2.4 หากต้องการเพิก-ถอนรายวิชา (drop w) ต้องทำรายการผ่านระบบบริการทางการศึกษาตามวันที่กำหนดในปฏิทินกิจกรรมนักศึกษา วิชาที่เพิก-ถอนจะปรากฏ W ในใบรายงานผลการศึกษา (ใบเกรด)
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 3. หากไม่จดทะเบียนศึกษารายวิชาในภาคการศึกษาและ ไม่ลาพักการศึกษาจะเป็นอย่างไร? 3.1 นักศึกษาที่ไม่จดทะเบียนตามวันเวลาที่กำหนด และไม่ลาพักการศึกษาจะถูกถอนชื่อออกจากมหาวิทยาลัย เนื่องจากไม่มาจดทะเบียน(ตามข้อบังคับมธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540 ข้อ10.8) * ดังนั้นหากนักศึกษาไม่จดทะเบียนและมีความประสงค์จะลาพักการศึกษา(ตามข้อบังคับมธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540ข้อ16.1-16.2) ต้องเขียนคำร้องลาพักการศึกษาที่คณะที่นักศึกษาสังกัด
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 3.2 นักศึกษาชั้นปีที่1จะลาพักการศึกษา 2 ภาคแรกไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควรและได้รับอนุมัติจากอธิการบดีเป็นกรณีพิเศษ (ข้อ16.1) 3.3 ยื่นแบบฟอร์มลาพักที่คณะภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันเปิดภาค
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต การเข้าเรียนและสอบให้ผ่านทุกวิชาตามหลักสูตร ต้องปฏิบัติดังนี้ 1. ต้องเข้าเรียน นักศึกษาต้องเข้าเรียนไม่ต่ำกว่า 70 % ของเวลาเรียนในชั้นเรียน หรือได้ทำงานในรายวิชานั้นจนเป็นที่เพียงพอตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด (ตามข้อบังคับ มธ.ว่าด้วย การศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540 ข้อ6.5)
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 2. ต้องเข้าสอบ (ตามข้อบังคับ มธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540 ข้อ 12.1) นักศึกษาที่จดทะเบียนเรียนต้องมีการวัดผลการศึกษาสำหรับรายวิชาที่นักศึกษา จดทะเบียนในภาคการศึกษานั้น
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 3. ต้องตรวจสอบผลการศึกษาของตนเอง ผ่านระบบบริการทางการศึกษาว่าวิชานั้น ๆ นักศึกษาได้เกรดอย่างไรเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการศึกษาในภาคถัดไป (สำนักทะเบียนและประมวลผลจะประกาศผลการศึกษาแต่ละวิชาประมาณ 5 วันทำการหลังจากคณะเจ้าของวิชาส่งคะแนนมาสำนักทะเบียนและประมวลผล) นักศึกษาดูรายวิชาที่ส่งคะแนนมาสำนักทะเบียนและประมวลผลได้ที่ www.reg.tu.ac.thหัวข้อนักศึกษาปัจจุบันคลิก วิชาที่ส่งผลการศึกษา กรณีต้องการดูผลการศึกษาเป็นรายบุคคล คลิก ผลการศึกษาจะเข้าสู่ระบบเพื่อป้อนรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านของนักศึกษา
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 4. ต้องแจ้งจบ ถ้าเรียนครบตามหลักสูตรในภาคการศึกษาใด ต้องแจ้งจบภายใน 14 วันนับตั้งแต่วันเปิดภาคนั้น (ตามข้อบังคับ มธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540 ข้อ 22.1 - 22.3) โดยนักศึกษาต้องแจ้งจบผ่านระบบบริการทางการศึกษาตามวันที่กำหนดในปฏิทินกิจกรรมนักศึกษาที่ www.reg.tu.ac.thหัวข้อนักศึกษาปัจจุบัน คลิก การขอแจ้งจบการศึกษา
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต การสูญเสียสถานภาพนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีสาเหตุดังนี้ 1. ผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทางวิชาการ ทำให้หมดสภาพทางวิชาการ (ตามข้อบังคับ มธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้น ปริญญาตรี 2540 ข้อ 14.1-14.6) โดยนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งหากสองภาคแรกได้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.50 จะถูกถอนชื่อคะแนนต่ำ สำหรับนักศึกษาชั้นปีสูงเป็นต้นไป จะมีการเตือนมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2 โดยจะขึ้น Warning 1 Warning 2 Probation และ Dismissed (ถูกถอนชื่อคะแนนต่ำ)
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 2. ศึกษาครบ 7 ปีแล้วยังไม่จบหลักสูตรหมดอายุความการเป็นนักศึกษา ทำให้ถูกถอนชื่อเนื่องจากหมดอายุความ (ตามข้อบังคับ มธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540 ข้อ 6.6) 3. ไม่จดทะเบียนศึกษารายวิชาและไม่ได้ทำเรื่องลาพักการศึกษาจะถูกถอนชื่อเนื่องจากไม่จดทะเบียน (ตามข้อบังคับ มธ. ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540 ข้อ10.8 )
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต การป้องกันการสูญเสียสถานภาพนักศึกษา 1. จากผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เช่นนักศึกษาชั้นปีที่ 1ภาคแรก ต่ำกว่า 1.50 (warning)หรือสิ้น 2 ภาคแรก ต่ำกว่า 2.00 (warning1) นักศึกษาต้องค้นหาสาเหตุและปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่คณะ หรือผู้ปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาก่อนที่อาจจะถูกถอนชื่อคะแนนต่ำ
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต 2. กรณีที่นักศึกษาถูกถอนชื่อไม่มาจดทะเบียนตามข้อบังคับ มธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540 ข้อ 10.8 นักศึกษาสามารถขอคืนสภาพเป็นนักศึกษาได้ภายใน 2 ปีนับแต่ถูกถอนชื่อ (ตามข้อบังคับ มธ.ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2540 ข้อ 10.9) โดยเขียนคำร้องขอคืนสภาพที่คณะที่นักศึกษาสังกัด
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต : อาคารสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลอง หนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121 โทร. 02-564-4440-79 ต่อ 1141-1144 และ 1451-1456 โทร. 02-986-9086 โทรสาร 02-564-4549
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต ท่าพระจันทร์ : ตึกอเนกประสงค์ 1 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 02-613-3717-8 โทรสาร 02-226-6470
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.reg.tu.ac.th E-mail : reg@tu.ac.th
วงจรชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดย สำนักทะเบียนและประมวลผล ศูนย์รังสิต ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาใหม่