800 likes | 939 Views
ICT in KM. Knowledge Management Program. CAMT. CMU. 07:. Software For Enterprise. Achara Khamaksorn : July 2011 Knowledge Management Program, College of Arts, Media and Technology, Chiangmai University. Knowledge Management Activities. The main activities of knowledge management:
E N D
ICT in KM Knowledge Management Program CAMT.CMU 07: Software For Enterprise Achara Khamaksorn : July 2011 Knowledge Management Program, College of Arts, Media and Technology, Chiangmai University
Knowledge Management Activities The main activities of knowledge management: Knowledge Creation Knowledge Representation Knowledge Storage and Retrieval Knowledge Transfer PREVIOUS
Internet, Intranet and Extranet อินเทอร์เนต (Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย เป็นระบบเครือข่าย (Network) ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลากหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน เครือข่าย หมายรวมถึง การมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อ เข้าด้วยกันทางสายเคเบิล หรือสายโทรศัพท์ นอกจากนี้ยังต้องมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์และมีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้ แต่ละเครือข่ายจะต้องมีเครื่องแม่ข่าย(Server) หรือ โฮสต์ (Host) คือคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารกับผู้ใช้บริการ PREVIOUS
Internet, Intranet and Extranet อินทราเนต (Intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการใช้งานอินทราเน็ต จะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้ Web Browser ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล์ ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ PREVIOUS
Internet, Intranet and Extranet เอ็กซ์ทราเนต (Extranet) คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่ายหรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ต หลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป PREVIOUS
CoP: CommunityofPractice: CoP
? What is Communication Tools PREVIOUS
? What is Collaboration Tools PREVIOUS
? What is Groupware? PREVIOUS
? What is Social Network PREVIOUS
? What is Storage Tools PREVIOUS
? What is Search Engine PREVIOUS
ความสำคัญของสำนักงาน PREVIOUS
ลักษณะของสำนักงานอัตโนมัติลักษณะของสำนักงานอัตโนมัติ PREVIOUS
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ระบบสารสนเทศของระบบสำนักงานอัตโนมัติ PREVIOUS
การจัดทำต้นฉบับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์การจัดทำต้นฉบับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ PREVIOUS
E.Document “ คือ ระบบจัดเก็บและจัดการเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรองรับเอกสารปริมาณมาก โดยช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงานระบบถูกออกแบบมา ให้ใกล้เคียงกับการจัดการเอกสารแบบเดิม ผู้ใช้งานจึงเรียนรู้ และคุ้นเคยได้ง่าย การจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารที่เกิดจากการ scan และไฟล์ข้อมูลทุกประเภท) ทำให้สามารถจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และจัดเรียกใช้ หรือค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ได้อย่างฉับไว และช่วยป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นกับเอกสารในระหว่างการใช้งาน และยังช่วยให้การค้นหาข้อมูล สะดวก รวดเร็ว แม้ขณะที่อยู่กลุ่มสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้ รวมถึงความสามารถด้านการอนุญาตสิทธิ์การใช้เอกสารเป็นครั้งคราว และกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ของการอนุญาต สำหรับการใช้เอกสารร่วมกันในโครงการหนึ่งๆได้ ความสามารถด้านความปลอดภัยในการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลสามารถจัดกลุ่ม ของผู้ใช้งาน เพื่อกำหนดสิทธิ์ในการใช้งานได้อย่างละเอียด เช่น สิทธิ์ในการเรียกดูแก้ไข ดึงข้อมูล ลบ ส่งข้อมูลไปยังระบบอื่นๆ เป็นต้น ทำให้เอกสารมีความปลอดภัยสูง สามารถกำหนดค่าความสำคัญ ของเอกสาร เพื่อเปรียบเทียบกับค่าระดับของผู้เรียกดูเอกสาร เป็นการรักษาความปลอดภัยของเอกสารอีกขั้นหนึ่ง มีรายงานประวัติการใช้งาน ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีผู้ใช้งานใดเข้าไปกระทำการใดกับเอกสารที่มีอยู่ในระบบ มีระบบจัดการ กำหนดรุ่น (Versioning) ของเอกสาร เพื่อใช้ตรวจสอบประวัติการแก้ไขเอกสารย้อนหลังได้ การจัดทำต้นฉบับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ” PREVIOUS
E-Learning VS KM PREVIOUS 06:ระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
E-Learning E-Learning หมายถึง กระบวนการและการใช้ประโยชน์จากการเรียน การสอนผ่านเว็บ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ห้องเรียนเสมือน และการเรียนด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งระบบ Internet, Intranet, Network , Audio, Visual, Video , Television, Satellite, CD ROM ฯลฯ E-Learning หมายถึง การเรียนรู้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือการใช้ ความสามารถของระบบ อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ E-Learning หมายถึง การบูรณาการทางการศึกษาที่ไม่ยึดติดกับเวลา และความก้าวหน้าในการเรียนรู้ PREVIOUS 06:ระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
E-Learning องค์ประกอบของ PREVIOUS 06:ระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
E-Learning คุณลักษณะของ E-Learning • Distance Education • Anytime Anywhere Anyplace • Collaborative Learning • Non Linearity • Dynamic updating • Easy Accessibility E-Learning E-Learning PREVIOUS 06:ระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
E-Learning ประโยชน์ของ E-Learning • สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา • สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง • กำหนดความต้องการในการเรียนรู้ได้ • ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน/ผู้สอนได้ • ประหยัดงบประมาณ ราคาถูกและใช้งานได้ง่าย • ใช้เป็นสื่อหลัก/สื่อเสริมก็ได้ E-Learning E-Learning PREVIOUS 06:ระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
ความแตกต่างระหว่าง Lmsvscms PREVIOUS 06:ระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาขั้นตอนการสร้างและพัฒนา E-Learning PREVIOUS 06:ระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
http://moodle.org/ Moodle PREVIOUS
http://www.claroline.net/ Claroline PREVIOUS
ATutor http://www.atutor.ca/ PREVIOUS
07: Software For Enterprise ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร Achara Khamaksorn : July 2011 Knowledge Management Program, College of Arts, Media and Technology, Chiangmai University
ประเภทของซอฟท์แวร์สำหรับองค์กรประเภทของซอฟท์แวร์สำหรับองค์กร • Content Management System • เป็นซอฟท์แวร์สำหรับใช้ในการสร้าง จัดการ และนำเสนอเนื้อหาหรือข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ (ผ่านเว็บไซต์) ระบบสามารถจัดเก็บ ควบคุม และนำเสนอข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าว คู่มือปฏิบัติงาน ไปจนถึงแผ่นพับทางการตลาด ซึ่งข้อมูลอาจอยู่ในรูปไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์วีดีโอ ฯลฯ การปรับเนื้อหาเหล่านี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม • Document Management System • เป็นซอฟท์แวร์สำหรับติดตามและจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ใช้สามารถเลือกที่จัดเก็บ ค้นหาและดึงเอกสารที่ต้องการ เลือกว่าเอกสารนั้นควรจะถูกเก็บไว้นานเท่าใด กระจายเอกสารสู่กลุ่มผู้ใช้ ออกแบบการส่งต่อเอกสารระหว่างแผนก ไปจนถึงการจัดการเวอร์ชั่นของเอกสาร 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
ประเภทของซอฟท์แวร์สำหรับองค์กรประเภทของซอฟท์แวร์สำหรับองค์กร • Workflow Software • เป็นซอฟท์แวร์สำหรับใช้อธิบายขั้นตอนการประมวลข้อมูลหรือเอกสารที่ซับซ้อน โดยมีรูปแบบการนำเสนอเป็นแบบกราฟฟิก • Workflow จะแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยระบุถึงการไหลของข้อมูลและบทบาทของผู้เกี่ยวข้องในงานแต่ละขั้นตอน • Communication/Coordination Software • เป็นซอฟท์แวร์สำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานทั้งในหน่วยงานเดียวกันและต่างหน่วยงาน ประกอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายรวมถึง ปฏิทิน e-mail Text Chat และ Video Conference 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
ประเภทของซอฟท์แวร์สำหรับองค์กรประเภทของซอฟท์แวร์สำหรับองค์กร • Project Management Software • เป็นซอฟท์แวร์สำหรับการวางแผนการดำเนินงานรวมถึงตารางเวลา แผนการใช้งบประมาณ การจัดการทรัพยากรประเภทต่างๆในการบริหารโครงการ ซึ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานในโครงการขนาดใหญ่ • Office Solution • เป็นซอฟท์แวร์สำหรับใช้ปฏิบัติงานทั่วไป รวมถึงโปรแกรมสำหรับสร้างเอกสาร สร้าง Spread Sheet หรือสร้างไฟล์ Presentation เป็นต้น 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
? What is C M S Content Management System?
Content Management System (CMS) CMS • ความหมายของ Content Management System (CMS) แปลเป็นไทยว่า ระบบจัดการเนื้อหา เป็นระบบจัดการบริหารข้อมูลเว็บไซต์ คือเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารข้อมูลภายในเว็บไซต์ซึ่งสามารถสนับสนุนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆภายในเว็บไซต์ โดยทำการควบคุมเนื้อหา รูปแบบ และกระบวนการนำเสนอเนื้อหา • เริ่มต้นจาก อินเทอร์เน็ตได้ถือกำเนิดขึ้นมา โลกของเราก็เปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ทำได้ด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น และการพัฒนาของภาษาหรือซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตก็เติบโตขึ้นมามากเช่นกัน • ถ้าจะกล่าวถึงเมื่ออดีต ภาษา HTML คงเป็นภาษาที่ยอดนิยมในการที่จะทำการสร้างเว็บเพจหรือเว็บไซต์ขึ้นมา แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษาในการทำเว็บไซต์ขึ้นมาอีกมากมาย และภาษาที่นิยมมากตัวหนึ่งจนมาถึงปัจจุบันก็คือภาษา PHP เนื่องจากสามารถโหลดมาใช้งานได้ง่ายและมีตัวอย่างให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งสิ่งนี้เองก็เป็นต้นกำเนิดของการทำเว็บไซต์แนวใหม่ที่เรียกว่า CMS 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS • CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยที่ตัว CMS เองมีโปรแกรมประยุกต์ พร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ ระบบจัดการบทความและข่าวสาร (News and Article) , ระบบจัดการบทวิจารณ์ (Review) , ระบบจัดการสมาชิก(Member) ระบบสืบค้นข้อมูล (Search) , ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด(Download) , ระบบจัดการป้ายโฆษณา(Banner) , ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติความนิยมในเว็บไซต์ (Analysis, Tracking and Statistics) เป็นต้น และผู้ใช้งานสามารถเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ(Module) อาทิ Forum, Chatroom, Form mail เข้าไปได้ในภายหลังจากการติดตั้ง 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS • ปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง CMS มีหลายตัวด้วยกันอาทิเช่น PostNuke, PHP-Nuke, MyPHPNuke, Mambo, eNvolution, MD-Pro, XOOPs, OpenCMS, Plone, JBoss, Drupal, Joomla เป็นต้น • ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์(Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และงบประมาณ ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL) 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS • ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel (เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การจัดการระบบผ่านเว็บ (Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า (Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Information), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ • ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มาประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น • การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า • การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ ขององค์กร • การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้เกิดความสามัคคีทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ • การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง • การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา • การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS ทำงานอย่างไร • ลักษณะการทำงานของ Content Management System (CMS) เป็นระบบจัดการที่แบ่งแยกการทำงานระหว่างเนื้อหา (Content) ออกจาก การออกแบบ (Design) โดยการออกแบบเว็บเพจ จะถูกจัดเก็บไว้ใน Templates หรือ Themes ในขณะที่เนื้อหาจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการใช้งานก็จะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยเนื้อหาอาจจะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนประกอบ เช่น Sidebar หรือ Blocks, Navigation bar หรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้น 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS ส่วนประกอบของ • 1) Templates หรือ Theme เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนหน้าตา หรือเสื้อผ้า ที่ถือเป็นสีสรรของเว็บไซต์(Look & feel) ที่มีรูปแบบที่กลมกลืนกันตลอดทั้งไซต์ • 2) ภาษาสคริปต์ หรือ ภาษา HTML ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ • 3) ฐานข้อมูล เพื่อไว้เก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของเว็บไซต์ 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS ทำไมถึงต้องใช้ • ข้อดีของ CMS มีทั้งต่อผู้ดูแลเว็บไซต์(Webmasters) และผู้ใช้งานเว็บไซต์(Users) • 1) ความสามารถในการใช้ Template และส่วนประกอบของการออกแบบ ที่ครอบคลุมการออกแบบตลอดทั้งไซต์ • 2) ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถใช้งาน Template โดยนำมาประกอบกับเอกสารหรือเนื้อหา ทำให้ช่วยลดภาระเรื่องการเขียนโค้ดให้น้อยลง • 3) ผู้ใช้งานเว็บไซต์ให้ความสนใจเฉพาะเนื้อหามากกว่าการออกแบบ และในการที่จะเปลี่ยนหน้าตาของเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ก็แค่ไปแก้ไขที่ template ไม่ใช่ที่แต่ละหน้าของเว็บเพจ • 4) CMS จะช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ในการสร้างและบำรุงรักษาเว็บไซต์ นอกจากนั้นยังช่วยจัดระดับการใช้งานสำหรับแต่ละส่วนงานของเว็บไซต์ โดยไม่ต้องเข้ามาเซ็ตการใช้งานของระบบที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง เพราะสามารถทำได้โดยผ่านเว็บบราวเซอร์ 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS ทำไมถึงต้องใช้ • นอกจากนั้น ถ้ามี Search engine, Calendar, Web mail และส่วนอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มเติมสู่ CMS หรือแม้กระทั่งไปหา Plug-in หรือ Add-ons เข้ามาเสริมการทำงานได้ ส่วนนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาได้ 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS การพิจารณาเลือกใช้ • 1) ความยากง่ายในการใช้งาน • 2) ความยืดหยุ่นในการพัฒนา • 3) ความสามารถในการทำงาน • 4) อื่นๆ ได้แก่ เทคโนโลยี ระบบปฏิบัติการ และราคา • เนื่องจาก CMS นี้เป็นระบบ ดังนั้นจึงถูกสร้างขึ้นมาโดยภาษาใดๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น PHP, ASP, Java, Python ฯลฯ การสร้าง CMS นั้นก็มีจุดประสงค์ ทั้งที่สร้างขึ้นมาใช้งานเอง และสร้างขึ้นมาแล้วทำการเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ใช้งานด้วย ฉะนั้น CMS แบบหลังนี้จะมีลักษณะเป็น Open Source และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และจะเป็นภาษา PHP เนื่องจากเป็นภาษาที่ฟรีนั่นเอง 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS ประเภทของ Web log E-Commerce E-Learning Forum Groupware Image Galleries Wiki 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS เริ่มที่ตัวไหนและจะเลือกอะไรดี Web log E-Commerce E-Learning Forum Groupware Image Galleries Wiki 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS เริ่มที่ตัวไหนและจะเลือกอะไรดี • จากที่ทราบแล้วว่า CMS (Content Management System) คือระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานให้สะดวก รวดเร็ว และทำงานได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่ โดย CMS ส่วนมากแล้วจะกระทำในลักษณะของ Web Base คือทำงานผ่านเว็บออนไลน์ ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมก็จะกระทำการจัดการต่างๆ ผ่านทางเมนูที่ทาง CMS มีมาให้ก็ทำให้สามารถทำงานได้ทุกๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS เริ่มที่ตัวไหนและจะเลือกอะไรดี • จากข้อมูลก็จะทำให้เห็นว่า CMS นั้นมีอยู่หลายตัว หลายประเภทมาก แล้วจะใช้งานตัวไหนดี บอกได้เลยว่าไม่มี CMS ตัวไหนตรงตามความต้องการ 100% มักจะขาดโน่นนิด นี่หน่อย แต่ก็ใช้การปรับแต่งและประยุกต์เอามากกว่า ซึ่งสิ่งที่ไม่พอใจกันมากที่สุดของ CMS ก็คือ เรื่องของธีม (Theme) หรือหน้าตาของเว็บไซต์นั่นเอง ส่วนฟังก์ชันหรือโมดูลอื่นๆ ก็พอรับกันได้ • สิ่งแรกที่ต้องการใช้งานสำหรับ CMS ก็คือ ต้องทดสอบโดยการทำเว็บ Server ไว้ที่เครื่องตนเองแล้วลองเล่นดูอย่างน้อยสักตัวหรือสองตัวก็พอ โดยหาข้อมูลว่าตัวไหนที่มีความน่าสนใจ ซึ่งในบ้านเราแล้วตัวที่น่าสนใจก็มี PHP-Nuke, Mambo, PHP-Fusion และน้องใหม่ Joomla ที่มาแรง ดังนั้นในองค์กรต่างๆ หรือกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการมีเว็บไซต์หรือสื่อข้อมูลออนไลน์ CMS ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำสามารถตอบสนองความต้องการได้ ไม่ต้องการผู้ดูแลมาก • ตัว CMS ที่ชื่อว่า Membo และ Joomla ที่เป็นที่นิยมใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS ลำดับการดำเนินงาน • เมื่อเราเลือกตัว CMS ได้แล้วก็ต้องมาดูว่าระบบการจัดการเนื้อหาเป็นอย่างไร? ซึ่งระบบการจัดการเนื้อหามักมีระบบการจัดการลำดับการดำเนินงานของเนื้อหาที่เรียกว่า Workflow ซึ่งลำดับการดำเนินงานนั้นโดยมากจะประกอบไปด้วย • ขั้นตอนการนำเนื้อหาเข้าระบบ (Ingestion หรือ Creation) เป็นการตระเตรียมสร้างเนื้อหาซึ่งจะต้องมีการวางแผนก่อนว่าเว็บที่เราจะทำนั้นจะเป็นเว็บไซต์หรือเนื้อหาเป็นอย่างไร เกี่ยวกับอะไร เน้นไปทางด้านไหน กลุ่มคนแบบไหนที่ต้องเข้ามาใช้งานเว็บ ซึ่งเมื่อได้เนื้อหาหรือเป้าหมายของเว็บแล้วก็ทำการรวบรวมเนื้อหาจัดทำเข้าระบบ • ขั้นตอนการตรวจสอบเนื้อหา (Staging หรือ Approval) เป็นส่วนของการตรวจสอบเนื้อหาว่าถูกต้องหรือไม่ ตรงตามความต้องการหรือไม่ จัดหมวดหมู่เป็นอย่างไร คำผิดมีหรือไม่ รวมไปถึงการทดสอบการใช้งานระบบด้วยว่าพร้อมมากน้อยเพียงใด ซึ่งก็จะต้องจำลองพฤติกรรมของผู้ใช้งานด้วยว่าจะออกมาในแนวทางไหนเพื่อที่จะได้เตรียมรับมือการใช้งานได้ถูก 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS ลำดับการดำเนินงาน • ขั้นตอนการนำเนื้อหาไปเผยแพร่ (Delivery หรือ Publishing) เป็นขั้นตอนสุดท้ายและยากลำบากมากที่สุดในการทำเว็บ เนื่องจากต้องทำให้คนรู้จักเว็บเรา แต่ถึงกระนั้นก็ตามจะต้องมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์หรือ Domain ก่อนพร้อมทั้งหาพื้นที่ใช้งานหรือโฮส (Hosting) โดยส่วนมากแล้วบริษัทที่รับทำจะทำควบคู่กันไปเลย ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ใช้งานก็ต้องศึกษารายละเอียดให้รอบครอบว่ารายละเอียดของการใช้งานเป็นอย่างไร มีข้อกำหนดอะไรบ้าง เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลในการจัดทำ เนื่องจากถ้าไม่ใช้ Host ของตนเองก็ต้องไปเช่าพื้นที่ที่มีบริการอย่างมากมายทั้งในไทยและต่างประเทศ 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)
Content Management System (CMS) CMS วงจรชีวิตของเนื้อหา • วงจรชีวิตของเนื้อหาภายในระบบการจัดการเนื้อหา ประกอบด้วย • การจัดโครงสร้างหรือการจัดหมวดหมู่ (Organization) เป็นการจัดประเภทให้แก่เนื้อหาสาระว่าเป็นประเภทใด ควรมีโครงสร้างแบบใด เป็นการกำหนด Scheme ให้แก่เนื้อหาว่าต้องมีองค์ประกอบเช่นใดบ้าง • ลำดับขั้นดำเนินงาน (Workflow) เป็นกฎเกณฑ์หรือนโยบาย การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบต่อเนื้อหาสาระ ของเจ้าของหรือผู้เขียน ของผู้เผยแพร่และของผู้ร่วมมือ เป็นลำดับขั้นตอนของการผ่านร่างของเนื้อหา ก่อนที่จะออกเผยแพร่สู่สาธารณะ • การสร้างสรรค์ (Creation) เป็นการนำเข้าข้อมูล การเขียน จับภาพ อัดเสียง รวบรวม เปลี่ยนแปลง แก้ไข เนื้อหาสาระที่อยู่ภายในระบบให้ตรงตามความต้องการ • การจัดเก็บ (Repository) หมายถึง การจัดเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ การจัดเก็บลงฐานข้อมูล การบันทึกลงสื่อ เพื่อให้คงอยู่ไว้ซึ่งข้อมูลภายในระบบ 07:ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร(Software for Enterprise)