320 likes | 549 Views
ภิกษุในปัจจุบัน. สมาชิก. นายรังสิ มันต์ ชวลิต สมบัติ เลขที่9 นายธวัชชัย สว่างจิต เลขที่16 น.ส.ช รันดา คง ขำ เลขที่17 น.ส.ชิดชนก สรรพศรี เลขที่18 น.ส. ณัฐ ธิดา ลอยประเสริฐ เลขที่30 น.ส.สิริการณ์ ฝูงใหญ่ เลขที่34
E N D
สมาชิก นายรังสิมันต์ ชวลิตสมบัติเลขที่9 นายธวัชชัย สว่างจิต เลขที่16 น.ส.ชรันดา คงขำ เลขที่17 น.ส.ชิดชนก สรรพศรี เลขที่18 น.ส.ณัฐธิดา ลอยประเสริฐ เลขที่30 น.ส.สิริการณ์ ฝูงใหญ่ เลขที่34 น.ส.จุฑามณี เทพชู เลขที่35
พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัยท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เกิดวันพฤหัสบดี วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน
การแสวงหาธรรม และปฏิปทา เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วย การงานทางบ้าน ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ อำลาบิดามารดาบวช ได้รับอุปสมบทกรรม เป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌายะ ขนานนาม มคธ ให้ว่า ภูริทตโตเสร็จ อุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ณ วัดเลียบ
ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ ในบั้นปลายชีวิตนั้นท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองผือ ตำบลนาใจ อำเภอเมืองพรรณนานิคม ๕ พรรษา คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง -เป็นผู้มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน -มีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการปฏิบัติพระธรรมวินัย
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี )
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี ) สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี ป.ธ.9) นามเดิมชื่อ เฮง หรือ กิมเฮง แซ่ฉั่ว เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2424 ณ บ้านท่าแร่ ต. สระแกกรัง อ.น้ำซึม จ.อุทัยธานี บิดาเป็นชาวจีน ชื่อ นายตั้วเก๊า มารดาชื่อ นางทับทิม เมื่ออายุได้ 8 ปี ป้าชื่อ นางเกศร์ ได้พาไปฝากเรียนหนังสือไทยอยู่ในสำนักอาจารย์ชัง วัดขวิด เมืองอุทัยธานี ต่อมาอายุได้ 11 ปี ยายและป้าได้พาไปฝากอยู่ในสำนักของพระปลัดใจ วัดทุ่งแก้ว
ได้ศึกษาภาษาบาลี เริ่มอ่านเขียนอักษรละเรียนสนธิ จากนั้นได้เข้าไปเรียนหนังสือเพิ่มเติมที่กรุงเทพฯ เช่น เรียนขอม แล้วท่องสูตรมูลกัจจายน์นลูกคิด เรียนเลข อายุ12 ปี บรรพชาเป็นสามเณรและได้สึกจากสามเณรถึง 2 ครั้ง เมื่ออายุย่างเข้า 13 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้นอายุย่างเข้า 17 ปี จึงลงมาอยู่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ
สมเด็จพระวันรัต เป็นนักการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ประจำของท่านคือ นายกมหาธาตุวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนการศึกษาให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น สมเด็จฯได้ขวนขวายจัดตั้งมูลนิธิบำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมของมหาธาตุ วิทยาลัยขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2468 เรียกชื่อตามตราสารตั้งมูลนิธิว่า “มูลนิธิโรงเรียนบาลีมหาธาตุวิทยาลัย”
คุณธรรมที่ถือเป็นแบบอย่างคุณธรรมที่ถือเป็นแบบอย่าง 1. เป็นผู้เคารพต่อพระรัตนตรัย 2. เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที 3. การบำเพ็ญสารานียธรรม ท่านจะแบ่งปันลาภที่ได้รับมาให้กับพระสงฆ์หรือสามเณรอย่างเป็น4. เป็นนักการปกครองที่ดี • ผลงาน1. เป็นพระภิกษุองค์แรกและองค์เดียวในจังหวัดอุทัยธานี ที่ได้รับสมณศักดิ์สูงสุดในทางศาสนาของประเทศไทย2. มีศีลาจารวัตร เป็นที่น่าเลื่อมใสของชาวอุทัยธานีและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ3. เป็นสังฆนายกภาคีสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน4. เป็นกรรมการที่ปรึกษาการสังคายนา5. ชาวอุทัยธานีนำสมณศักดิ์สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) มาขนานนามสะพานข้ามแม่น้ำตรงบ้านท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ปากทางเข้าเมืองอุทัยธานี
พระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาศภิกขุ)พระธรรมโกศาจารย์(พุทธทาศภิกขุ)
นามเดิม “เงื้อม” เป็นบุตรของ นายเซี้ยง นางเคลื่อน พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ณ หมู่บ้านกลาง ตำบลพุมเรียง (ที่ตั้งเดิมของจังหวัดไชยา ก่อนเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี)ปี พ.ศ. 2460 เด็กชายเงื้อม ได้กลับมาอยู่บ้าน เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดโพธารามจนถึงชั้นมัธยมปี พ.ศ. 2465 ออกจากการเรียนมาช่วยดำเนินการค้ากับมารดาเนื่องจากบิดาถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบันปี พ.ศ. 2469 บวชก่อนเข้าพรรษา เมื่อ 29 กรกฎาคม ได้ฉายา “อินฺทปญฺโญ”ปี พ.ศ. 2471 สอบได้นักธรรมเอก
ปี พ.ศ. 2472 เป็นครูสอนนักธรรม ที่โรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยาปี พ.ศ. 2473 เรียนบาลีที่วัดปทุมคง กรุงเทพฯ เขียนบทความชิ้นแรก ชื่อ “ประโยชน์แห่งทาน” พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระอุปัชฌาย์ และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยคปี พ.ศ. 2476 ออกหนังสือพิมพ์พุทธศาสนารายตรีมาส (3 เดือน)ปี พ.ศ. 2486 ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกพลาราม บริเวณธารน้ำไหล เขาพุทธทอง (สวนโมกขพลารามในปัจจุบัน)ปี พ.ศ. 2536 มรณภาพ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม เวลา 11.20 นาฬิกา
ท่านพุทธทาสภิกขุ ศึกษาหลักธรรม จากพระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน ทั้งด้านพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก • ท่านบวชแล้วศึกษาค้นคว้าธรรมะ มองดูเหตุการณ์ต่าง ๆ ท่านจึงใช้การเทศน์การสอน การสอนของท่านไม่ได้สอนเพื่อให้คนเข้าใจศาสนา สอนไปตามเรื่องตามราว แต่สอนให้คนเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
ท่านพุทธทาสภิกขุได้ตั้งปณิธานไว้ 3 ประการคือประการที่ 1 ให้ทุกคนที่นับถือศาสนาของตนได้เข้าถึงธรรมะของศาสนาที่ตนนับถือประการที่ 2 ต้องการทำความเข้าใจระหว่างศาสนา เพื่อไม่ให้เกิดการแตกแยกแตกร้าวประการที่ 3 มีความต้องการที่จะพรากจิตของชาวโลกให้ห่างจากวัตถุนิยม • สวนโมกขพลาราม ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสวนโมกขพลาราม แปลว่า สวนเป็นกำลังแห่งความหลุดพ้น เป็นสวนที่ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อปฏิบัติธรรมะให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป
คุณธรรมที่เป็นแบบอย่างคุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง 1. ท่านทรงเป็นแบบอย่างของพระภิกษุและชาวพุทธทุกคนในการศึกษาค้นคว้าหลักธรรมะให้เข้าใจอย่าง 2. ท่านทรงแต่งตำราทางพระพุทธศาสนาไว้มากมาย สามารถนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่ท่านเขียนไว้ไปประพฤติปฏิบัติได้3. ท่านมีปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะให้มวลมนุษย์ได้เข้าใจหลักธรรมะที่ตนนับถือ4. ท่านเป็นแบบอย่างของชาวพุทธในการเผยแผ่ธรรมะที่ถูกต้องให้แก่ชาวโลก
พระพรหมมังคลาจารย์(ปัญญานันทภิกขุ)พระพรหมมังคลาจารย์(ปัญญานันทภิกขุ)
พระพรหมมังคลาจารย์(ปัญญานันทภิกขุ)พระพรหมมังคลาจารย์(ปัญญานันทภิกขุ) • มีนามเดิมว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ • ณ ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง มีชื่อเล่นว่า ขาว บิดา-มารดาชื่อ นายวัน และนางคล้าย เสน่ห์เจริญ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๕ คน
วัยเด็ก เข้าศึกษาชั้น ป.๑ อายุ ๘ ขวบ ที่โรงเรียนประจำอำเภอเมือง จ.พัทลุง เรียนจบชั้น ป.๓ แล้วย้ายไปศึกษาต่อชั้นมัธยมที่ เนื่องจากโรงเรียนอยู่ไกลบ้าน จึงอาศัยวัดยางซึ่งอยู่ใกล้โรงเรียนเป็นที่พักจนจบ ม.๓ ขณะเรียน ม.๔ ต่อได้ครึ่งปี บิดาป่วยจึงต้องลาออกมาช่วยเหลือครอบครัว • ขณะอายุ ๑๖ ปี ได้ติดตาม “หลวงลุง” พระอาจารย์พุ่ม ธมฺมทินฺโน ไปยังรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย แล้วต่อมากลับมาทำงานเหมืองแร่และสวนยาง • อายุ ๑๘ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดอุปนันทาราม จังหวัดระนอง
อายุ ๒๐ ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดนางลาด จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ มี พระครูจรูญกรณีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ • เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๒ เริ่มเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยการปาฐกถา เทศน์ทุกวันอาทิตย์และวันพระ ออกเทศน์ตามหมู่บ้านต่างๆ โดยรถยนต์ติดเครื่องขยายเสียง และเขียนเรื่องลงหนังสือพิมพ์ชาวเหนือ จนมีชื่อเสียงขึ้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ ในนาม ภิกขุปัญญานันทะ พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่”พระพรหมมังคลาจารย์”
คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง 1. มีความขยันและรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2. รักการศึกษา ใฝ่การเรียนรู้ 3. เป็นพระนักคิดนักพัฒนา เพื่อแก้ไขความคิดและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของชาวพุทธบางคน
พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
พระโพธิญาณเถร นามเดิม ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ณ บ้านจิกก่อ อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี บิดาชื่อ นายมา มารดาชื่อ นางพิม ช่วงโชติมีพี่ ๑๐ คน หลวงพ่อได้เข้าศึกษา ที่ ร.ร. บ้านก่อ ต. ธาตุ อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี เรียนจบ ชั้น ป. ๑ จึงได้ออก เนื่องจากมีความสนใจ ทางศาสนา ในขณะนั้นมีอายุ ๑๓ ปี เมื่อบิดาได้นำไปฝากกับท่านเจ้าอาวาส จึงอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔
เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว เป็นเวลา ๓ พรรษา เนื่องจากมีความจำเป็นจึงได้ลาสิกขาออกไปทำงานช่วยบิดามารดา เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้ฝากตัวที่วัดก่อในที่ใกล้บ้าน แล้วได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี เมื่อพระชา สุภทฺโท สอบนักธรรมตรีได้แล้ว พระชา สุภทฺโท มุ่งเรียนปริยัติธรรมให้สูงสุด จึงทุ่มเทให้การศึกษาทั้งนักธรรมและบาลี และผ่านสำนักต่างๆ มากมายจนในที่สุดก็สอบนักธรรมได้ครบตามหลักสูตร คือ สอบนักธรรมชั้นโท นักธรรมชั้นเอก
เสร็จภารกิจการศึกษา โยมบิดาเสียชีวิต จึงหันมาสู่การปฏิบัติธรรม โดยออกธุดงค์และศึกษาหาแนวทางปฏิบัติในสำนัก • หลวงปู่ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรม และเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์ อเนกอนันต์แก่พระศาสนา • สมณศักดิ์ -พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ "พระโพธิญาณเถร" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 -ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517
คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างคุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง • มีจิตใจฝักใฝ่ธรรมะ มีนิสัยซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา • รักความยุติธรรม ไม่นิยมความรุนแรง • มีความสนใจใฝ่รู้และชอบสนทนาธรรมกับผู้ที่มีความรู้ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น • มีความขยันหมั่นเพียรและอดทนในการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะในเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน • มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา และทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จนพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) • พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ณ ตลาดศรีประจันต์อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี ที่วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ และอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์(นาคหลวง) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๔ ก.ค. ๒๕๐๔ สำเร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก ป.ธ.๙ (ขณะเป็นสามเณร) และพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) • ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม
สมณศักดิ์ • พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทรมหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
ผลงาน • ผลงานอันเลื่องชื่อคือหนังสือ"พุทธธรรม" และงานนิพนธ์อีกไม่ต่ำกว่า ๓๕๐ เล่ม • พ.ศ. ๒๕๓๗ องค์การยูเนสโกได้น้อมถวายรางวัล การศึกษาเพื่อสันติภาพ แก่พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ซึ่งท่านเป็นคนไทยคนแรกและคนเอเชียคนที่ ๑๔ ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติยิ่งนี้ • คุณธรรม -เป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา -เป็นแบบอย่างของพระภิกษุ -แต่งตำราพุทธศาสนา
เป็นผู้มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการปฏิบัติพระธรรมวินัย เป็นผู้เคารพต่อพระรัตนตรัย. เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที. การบำเพ็ญสารานียธรรม เป็นนักการปกครองที่ดี ท่านทรงเป็นแบบอย่างของพระภิกษุและชาวพุทธทุกคน ท่านเป็นแบบอย่างของชาวพุทธในการเผยแผ่ธรรมะ มีความขยันและรับผิดชอบต่อหน้าที่ รักการศึกษา ใฝ่การเรียนรู้ เป็นพระนักคิดนักพัฒนา มีจิตใจฝักใฝ่ธรรมะ มีนิสัยซื่อสัตย์ รักความยุติธรรม ไม่นิยมความรุนแรงมีความสนใจใฝ่รู้ เป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เป็นแบบอย่างของพระภิกษุ ผลงานคือหนังสือ "พุทธธรรม"