190 likes | 448 Views
แบ่งตามลักษณะของส่วนที่ใช้บรรจุแถบบันทึกเสียง. แบบม้วนเปิด หรือ โอเพ่นรีล (Open Reel Tape Player /Recorder) มีขนาดโต เทอะทะ น้ำหนักมาก ใช้เฉพาะภายในอาคารสถานที่.
E N D
แบ่งตามลักษณะของส่วนที่ใช้บรรจุแถบบันทึกเสียง • แบบม้วนเปิดหรือโอเพ่นรีล (Open Reel Tape Player /Recorder) มีขนาดโต เทอะทะ น้ำหนักมาก ใช้เฉพาะภายในอาคารสถานที่ • แบบคาร์ตริดจ์ (Cartridge Tape Player/Recorder) เป็นเครื่องเล่น-บันทึกเสียงที่ใช้ม้วนเทปบันทึกเสียงชนิดกล่อง (Cartridge) ลักษณะรูปร่างเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา มีกลไกไม่สลับซับซ้อนมากนัก และมักใช้ในรถยนต์
แบบตลับขนาดธรรมดา(Cassette Tape Player/Recorder) เป็นเครื่องเล่น–บันทึกเสียงที่นิยมใช้กันทั่วไป ใช้กับแถบบันทึกเสียงชนิดตลับคาสเส็ต ซึ่งหาง่าย ราคาปานกลางและใช้ง่าย สะดวก • แบบตลับขนาดเล็ก (Mini Cassette or Micro Cassette Player /Recorder) เป็นเครื่องที่คล้ายกับแบบตลับขนาดธรรมดา แตกต่างกันที่ตลับเทปจะมีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักเบา ขนาดเล็กเท่ากับซองบุหรี่ สามารถพกใส่กระเป๋าได้สะดวก มีทั้งแบบที่มีลำโพงในตัวและไม่มีลำโพงต้องใช้ร่วมกับหูฟัง (Earphone)
ส่วนประกอบภายในของเครื่องเล่น-บันทึกเสียงส่วนประกอบภายในของเครื่องเล่น-บันทึกเสียง • หัวแม่เหล็ก (Magnetic Head) มีลักษณะเป็นขดลวดไฟฟ้าพันอยู่รอบแกนเหล็กรูปเกือกม้าที่มีความไวต่อสนามแม่เหล็กสูง และทนทานต่อการเสียดสีของเนื้อเทปได้ดี ตรงจุดที่หัวแม่เหล็กสัมผัสกับเนื้อเทปจะมีช่องว่างเรียกว่า แก็ป (Gap)เพื่อให้มีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้น และทำให้การบันทึกหรือการอ่านสัญญาณมีความคมชัดเจน
หัวบันทึก(Recording Head)ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง จากเครื่องขยายเสียง แล้วนำมาเปลี่ยนให้เป็นคลื่นแม่เหล็กความถี่เสียง (Audio Frequency Magnetic Wave) บันทึกลงบนเนื้อเทป • หัวฟัง(Playback Head)ทำหน้าที่อ่านหรือรับคลื่นแม่เหล็กความถี่เสียงที่ถูกบันทึกไว้ในเนื้อเทป แล้วเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียง ส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง • หัวลบ(Eraser Head)ทำหน้าที่ลบสัญญาณหรือคลื่นแม่เหล็กบนเส้นเทปที่เคยถูกบันทึกมาแล้ว หรือทำหน้าที่ลบสัญญาณก่อนที่หัวบันทึกจะบันทึกสัญญาณ ดังนั้นตำแหน่งของหัวลบจะวางอยู่ด้านหน้าก่อนที่เส้นเทปจะถูกบันทึกเสมอ
มอเตอร์ มอเตอร์ ฟลายวีล ระบบกลไกขับเคลื่อนเส้นเทป (Mechanism) • มอเตอร์ (Motor)เป็นต้นกำเนิดของพลังงานกลและถ่ายทอดกำลังไปสู่ระบบกลไกอื่น ๆ ให้สามารถทำงานได้ • สายพาน และลูกยาง เป็นตัวส่งแรงหมุนจากมอเตอร์ไปยังกลไกต่างๆ
ชุดกลไกขับเคลื่อนเส้นเทปมีส่วนประกอบที่ร่วมกันทำงาน 4 ส่วน คือ • แกนบังคับเส้นเทป (Guide) ทำหน้าที่บังคับให้เส้นเทปจากล้อจ่ายให้เดินตรงทางหรือทำให้เส้นเทปตึงสม่ำเสมอ • แกนดึงเส้นเทป (Capstan)เป็นแท่งโลหะกลมยาวทำงานร่วมกับล้อยาง ด้านล่างต่อกับมอเตอร์หรือต่อกับล้อที่เรียกว่าฟลายวีลหรือมู่เล่ ทำหน้าที่ดึงเส้นเทปให้ผ่านหัวแม่เหล็กอย่างต่อเนื่องและมีความเร็วคงที่สม่ำเสมอ
ล้อยาง มอเตอร์ มอเตอร์ ล้อฟลายวีล • ล้อยางกดเทป (Pressure Roller)มีลักษณะเป็นล้อยางกลม หน้ากว้างเท่ากับความกว้างของเส้นเทป ทำหน้าที่กดเส้นเทปให้แนบสนิทกับแกนดึงเส้นเทปเพื่อดึงให้เส้นเทปผ่านหัวแม่เหล็ก • มู่เล่หรือล้อฟลายวีล (Fly Wheel)มีลักษณะเป็นล้อโลหะกลมขนาดใหญ่ เพื่อให้มีน้ำหนักและแรงเฉื่อยในการหน่วงให้แกนดึงเส้นเทปหมุนด้วยความเร็วคงที่
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Circuit) • วงจรขยายการบันทึก (Recording Amplifier)ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ได้รับมาจากไมโครโฟนให้มีกำลังแรงขึ้น แล้วจึงส่งต่อไปยังหัวบันทึก เพื่อบันทึกลงบนแถบบันทึกเสียง • วงจรขยายการเล่นกลับ(Reproduction Amplifier or Playing Amplifier)ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ได้มาจากหัวฟัง (Playback Head)ให้มีกำลังแรงขึ้น แล้วจึงส่งต่อให้ลำโพงเปลี่ยนเป็นคลื่นเสียง • วงจรลบสัญญาณแม่เหล็ก(Bias Oscillator)เป็นวงจรที่ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับความถี่สูงประมาณ 30 – 200 KHz เพื่อลบล้างสัญญาณแม่เหล็กที่บันทึกไว้บนเส้นเทปให้หมดไป • วงจรระบบดอลบี้(Dolby System) ใช้กำจัดสัญญาณรบกวน (hiss noise) และช่วยในการปรับปรุงค่า S/N ratio เพื่อให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นด้วย
ส่วนประกอบภายนอกของเครื่องเล่น-บันทึกเสียงส่วนประกอบภายนอกของเครื่องเล่น-บันทึกเสียง • ช่องบรรจุตลับเทป • ON/OFF หรือ AC POWER เป็นสวิตช์ใช้เปิด-ปิดการทำงานของเครื่องเล่น-บันทึกเสียง • EJECT ปุ่มสำหรับเปิดฝาช่องบรรจุม้วนเทป • STOP เป็นปุ่มสำหรับหยุดการเดินของเส้นเทป ทั้งในการบันทึกและเล่นกลับ • PLAY หรือ FORWARD ปุ่มสำหรับการเปิดเทปฟังหรือเล่นกลับด้วยความเร็วปกติ • FAST FORWARD หรือ FAST WIND หรือ CUE หรือ F/F สำหรับเดินหน้าเส้นเทปด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ
REWIND หรือ REVIEW ปุ่มสำหรับถอยหลังเส้นเทปด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ • RECORDเป็นปุ่มสำหรับบันทึกสัญญาณต่าง ๆ เมื่อต้องการบันทึกไว้ บางเครื่องต้องกดปุ่มนี้พร้อม ๆ กับปุ่ม PLAY จึงจะบันทึกได้ บางเครื่องกดเฉพาะปุ่ม RECORD นี้เพียงปุ่มเดียวก็บันทึกได้ เรียกว่า One Touch Record • PAUSE เป็นปุ่ม สำหรับหยุดการเดินของเส้นเทปบันทึกเสียงชั่วขณะ
COUNTER RESET ใช้ปรับตั้งตัวเลขนับระยะของเส้นเทป • TAPE SELECTOR ใช้เลือกชนิดของแถบบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่อง เช่น Normal , Cro2 , Metal หรือ STD , Chrome , FeCr • RECORDING LEVEL ใช้ปรับแต่งระดับสัญญาณที่บันทึกลงในแถบบันทึกเสียง • OUTPUT LEVEL ใช้ปรับระดับสัญญาณที่ออกจากเครื่อง
MICROPHONE LEVEL สำหรับปรับระดับของสัญญาณจากไมโครโฟนที่จะนำมาบันทึกลงในแถบบันทึกเสียง • DOLBY (ON/OFF) ปุ่มสำหรับเลือกใช้วงจรลดเสียงรบกวน • MICROPHONE INPUT (MIC) เป็นช่องสำหรับเสียบแจ็คไมโครโฟน • EARPHONE (EAR) หรือ HEADPHONE เป็นช่องสำหรับเสียบแจ็คหูฟัง
LEVEL METER หรือ VU Meter เป็นหน้าปัทม์สำหรับบอกระดับความแรงของสัญญาณจากแหล่งกำเนิดเสียง • HEADPHONE LEVEL ใช้ปรับระดับสัญญาณที่ต่อเข้ามายังหูฟัง • TAPE SPEED SELECTOR ใช้เลือกความเร็วในการบันทึกหรือเปิดฟังโดยเฉพาะเครื่องแบบ Open Reel
VOLUME CONTROL (VOL) ปุ่มสำหรับควบคุมความดังของเสียง • BALANCE CONTROL (BAL) ปุ่มปรับความสมดุลของเสียงทางซีกซ้ายและซีกขวากรณีเครื่องเล่น-บันทึกเสียงเป็นระบบสเตอรีโอ
ช่องต่อสัญญาณด้านหลังช่องต่อสัญญาณด้านหลัง • AUXILIARY (AUX)เป็นช่องสำหรับต่อสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงอื่น ๆ • LINE INเป็นปุ่มหรือจุดสำหรับต่อสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงอื่น ๆ เหมือนกับ AUX นั่นเอง • LINE OUT เป็นปุ่มหรือจุดสำหรับต่อสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากเครื่องเล่น-บันทึกเสียงไปยังเครื่องขยายเสียงหรือไปยังเครื่องบันทึกเสียงอื่นๆ • สายไฟ ACใช้ต่อกับแหล่งจ่ายไฟ
2 Play+Record Line in Line out 1 Play+Record Line in Line out play Master การสำเนาเทปบันทึกเสียง (Tape Duplication) • การสำเนาโดยใช้เครื่องเล่น-บันทึกเสียง 2 เครื่อง • ใช้ไมโครโฟน • ต่อพ่วงด้วยสาย RCA • การสำเนาโดยใช้เครื่องสำเนาเทปโดยเฉพาะ (Copy Tape) สามารถสำเนาได้ครั้งละจำนวนมากในเวลาเพียงสั้น ๆ บางเครื่องสำเนาได้ครั้งละ 1 สำเนา (1 : 1) บางเครื่องได้ 3 สำเนา (1 : 3) และบางเครื่องได้ 5 สำเนา (1 : 5) ส่วนเวลาที่ใช้ในแต่ละครั้งอาจจะใช้เวลาเพียง 1 –2 นาทีต่อครั้ง พร้อมทั้งถอยกลับ(REWIND)เองโดยอัตโนมัติ
การบำรุงรักษาเครื่องเล่น-บันทึกเสียง การบำรุงรักษาเครื่องเล่น-บันทึกเสียง • ศึกษาคู่มือการใช้งานจะทำให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีอายุการใช้งานได้นาน • เมื่อหัวแม่เหล็กสกปรก ทำให้เสียงเพี้ยนหรือแผ่วเบาลง ควรใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำยาเช็ดหัวแม่เหล็กในทิศทางตั้งฉากกับเส้นเทป หรือใช้น้ำยาชนิดสเปรย์ฉีด หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ทำความสะอาด หรืออาจใช้ตลับเทปสำหรับล้างหัวแม่เหล็กโดยเฉพาะ(Head Cleaning Tape)ทำความสะอาด
เครื่องที่ใช้งานนาน ๆ จะเกิดอำนาจแม่เหล็กตกค้างที่หัวแม่เหล็ก ทำให้มีเสียงรบกวนในการบันทึก ควรใช้หัวทำลายอำนาจแม่เหล็ก(Head Demagnetizer) เพื่อให้อำนาจแม่เหล็กที่ตกค้างหมดไป • หยอดน้ำมันหล่อลื่นในส่วนกลไกต่าง ๆ ตามที่คู่มือระบุ