350 likes | 649 Views
การเรียบเรียงรายงานจากบัตรบันทึก. โดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก. น.306. การเรียบเรียงเนื้อหา. ต้องใช้ข้อมูลจากบัตรบันทึกที่ไปค้นคว้ามา จัดระบบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ให้ได้เนื้อหาสาระที่เป็นระเบียบและสมบูรณ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บัตรบันทึกมีความสำคัญมาก
E N D
การเรียบเรียงรายงานจากบัตรบันทึกการเรียบเรียงรายงานจากบัตรบันทึก โดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
น.306 การเรียบเรียงเนื้อหา • ต้องใช้ข้อมูลจากบัตรบันทึกที่ไปค้นคว้ามา • จัดระบบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ให้ได้เนื้อหาสาระที่เป็นระเบียบและสมบูรณ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน • บัตรบันทึกมีความสำคัญมาก • ต้องทำให้ถูกแบบแผนตั้งแต่แรก เพื่อจะได้นำไปใช้อ้างอิงทั้งข้อมูลสารสนเทศและแหล่งที่มาในเวลาเรียบเรียง 2จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
หลักการเรียบเรียง 1. ทำทีละหัวข้อเรื่อง 2. รวบรวมบัตรบันทึกแต่ละหัวข้อเรื่องให้ครบถ้วน และเรียงลำดับตามโครงเรื่อง บัตรบันทึก ลักษณะของปลาสวยงาม 1 2 3 ชื่อรายงาน: การเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้า โครงเรื่อง 1) ลักษณะของปลาสวยงาม 2) พันธ์ปลาสวยงามบางชนิด 3) การเพาะและปรับปรุงพันธ์ปลาสวยงาม 4) วิธีเลี้ยงปลาสวยงาม 5) แหล่งค้าขายปลาสวยงาม 6) ปัญหาและแนวทางแก้ไข สำเนาเอกสารต้นฉบับ 3จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
บัตรบันทึกการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้าบัตรบันทึกการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้า ลักษณะของปลาสวยงาม ลักษณะของปลาสวยงาม ลักษณะของปลาสวยงาม พันธ์ปลาสวยงามบางชนิด พันธ์ปลาสวยงามบางชนิด พันธ์ปลาสวยงามบางชนิด การเพาะและปรับปรุงพันธุ์ การเพาะและปรับปรุงพันธุ์ การเพาะและปรับปรุงพันธุ์ วิธีเลี้ยงปลาสวยงาม วิธีเลี้ยงปลาสวยงาม วิธีปลาสวยงาม แหล่งค้าขายปลาสวยงาม แหล่งค้าขายปลาสวยงาม แหล่งค้าขายปลาสวยงาม ปัญหาและแนวทางแก้ไข ปัญหาและแนวทางแก้ไข ปัญหาและแนวทางแก้ไข 4จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
หลักการเรียบเรียง 3. อ่านบัตรบันทึกของหัวข้อเรื่องที่จะเรียบเรียงทุกบัตร เพื่อประมวลแนวคิด ขอบเขต และสารัตถะของเรื่อง 4. วิเคราะห์ข้อมูลจากบัตรบันทึก เพื่อกำหนดวิธีการและแนวทางเรียบเรียงที่เหมาะสม 5. ร่างเนื้อหาคร่าวๆ ตามวิธีการและแนวทางที่วางไว้ 6. เรียบเรียงเนื้อหาโดยลำดับข้อมูลและสารัตถะจากบัตรบันทึก ลงในที่ที่เหมาะที่ควรเพื่อให้ได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ ถูกต้อง และชัดเจน 7. ทบทวน ตรวจทาน และแก้ไขทั้งภาษาและสารัตถะให้เรียบร้อย 5จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วิธีเรียบเรียง • วิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหา (วิเคราะห์) • เรียบเรียงด้วยวิธีกำหนดแนวทางใหม่ (สังเคราะห์) 6จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหาวิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหา ใช้ในกรณีที่เนื้อหามีข้อมูลที่สอดคล้องในแนวทางเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ 1) วิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละบัตรในหัวข้อเรื่องนั้นๆ โดยจำแนกข้อมูลลงตารางเปรียบเทียบ เพื่อหาข้อมูลร่วมและข้อมูลต่าง 7จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหาวิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหา 2) รวมข้อมูลร่วมเข้าด้วยกัน ข้อมูลต่างคงไว้เหมือนเดิม 1+0+3 ปลามังกร 2+0+6 ปลาทอง 3+0+0 ปลาเสือตอ 4+3+0 ปลาตะพัด 0+1+2 ปลาการ์ตูน 0+2+4 ปลากัด 0+0+1 ปลาหมอสี 0+0+5 ปลาคาร์ฟ 8จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหาวิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหา 3) จัดลำดับหัวข้อของข้อมูลทั้งหมดให้เหมาะสม และอาจเพิ่มเติมข้อมูลที่เห็นสมควรเพื่อความสมบูรณ์ของเรื่อง 4) เรียบเรียงเนื้อหาตามหัวข้อที่จัดไว้ พร้อมด้วยสารัตถะขยายความของหัวข้อนั้นๆ โดยครบถ้วนสมบูรณ์ เพิ่มเติมข้อมูล ความคิดเห็น แง่คิด หรือข้อสังเกตที่เหมาะสมของผู้เรียบเรียงเอง 5) มีเกริ่นนำที่เหมาะสมเพื่อนำเข้าสู่หัวข้อเรื่อง 9จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้าวัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า เลิศศิลป์ วิไลศิลป์. (2527). การโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช. หน้า 9 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า คือ 1. เพื่อแนะนำสินค้าและบริการให้แพร่หลาย 2. เพื่อก่อให้เกิดความต้องการหรือความนิยมใช้สินค้าและบริการนั้น 3. เพื่อแสวงหาและรักษาไว้ซึ่งลูกค้าเพื่อเพิ่มปริมาณการจำหน่าย น.307 10จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้าวัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า ประสาน ปุตรเศรณี. (2527). หลักการโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร. หน้า 21 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า มีดังนี้ 1. เพื่อก่อให้เกิดการซื้อขายสินค้า เป็นการเสนอขายโดยใช้ข้อมูลของสินค้าเป็นสิ่งจูงใจ 2. เพื่อสร้างลูกค้าใหม่ การโฆษณาเป็นการจูงใจผู้บริโภคให้ใช้สินค้าเพิ่มขึ้น 3. เพื่อสร้างความภักดีในสินค้า ให้ผู้บริโภคยอมรับความสำคัญและคุณภาพที่เหนือกว่าสินค้ายี่ห้ออื่น 4. เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้สินค้า การโฆษณาเป็นการบอกกล่าวให้ผู้บริโภคทราบถึงคุณภาพและประโยชน์ใช้สอย 5. เพื่อเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะขายสินค้านั้นๆ 11จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
น.308 บัตรบันทึกข้อมูลที่ 2 บัตรบันทึกข้อมูลที่ 1 รวมข้อมูลร่วมเข้าเป็นอันเดียวกัน (1+1) เพื่อให้มีการซื้อขายเกิดขึ้นจากการแนะนำเผยแพร่สินค้า (2+3) เพื่อให้สินค้ายืนยงอยู่ในความต้องการและความนิยมของผู้บริโภค (3+2) เพื่อสร้างลูกค้าใหม่และครองลูกค้าเดิมไว้ (0+4) เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้สินค้า (0+5) เพื่อจูงใจผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมาย 12จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
น.309 เกริ่นนำ การโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า การโฆษณาสินค้ามีวัตถุประสงค์สำคัญซึ่งประมวลได้ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อให้เกิดการซื้อขายสินค้า เนื่องจากการโฆษณาเป็นการแนะนำสินค้าและบริการซึ่งถือว่าเป็นสินค้าชนิดหนึ่งให้ผู้บริโภคได้รู้จักและทราบข้อมูลโดยแพร่หลาย เมื่อผู้บริโภคเห็นประโยชน์และคุณค่าของสินค้านั้นและต้องการใช้ การซื้อขายสินค้าก็จะเกิดขึ้น 2. เพื่อสร้างลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเดิมไว้ สินค้าที่มีการโฆษณาไปอย่างแพร่หลายและต่อเนื่องจะคุ้นหูคุ้นตาผู้บริโภคและติดอยู่ในความทรงจำเมื่อต้องการใช้สินค้าชนิดนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคจะนึกถึงเป็นอันดับแรกก็คือ ชื่อและภาพของสินค้าที่ตนคุ้นเคย ลูกค้าใหม่ก็จะเพิ่มขึ้นและลูกค้าเดิมก็ยังคงเดิมไม่ตีจาก 13จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
เรียบเรียงด้วยวิธีกำหนดแนวทางใหม่เรียบเรียงด้วยวิธีกำหนดแนวทางใหม่ ใช้ในกรณีที่เนื้อหามีข้อมูลมากหลากหลายและกระจัดกระจาย ไม่ค่อยสอดคล้องในแนวทางเดียวกัน 1) วิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละบัตรในหัวข้อเรื่องนั้นๆ โดยจำแนกข้อมูลลงตารางเปรียบเทียบเพื่อหาแนวร่วม 2) จัดข้อมูลที่มีแนวร่วมรวมกันเป็นกลุ่มๆ และตั้งหัวข้อที่เหมาะสมให้ครอบคลุมข้อมูลของแต่ละกลุ่มเหล่านั้น ใช้ข้อมูลในกลุ่มเป็นเนื้อหาของหัวข้อที่ตั้ง เรียกว่า วิธีสังเคราะห์ 3) จัดลำดับหัวข้อและข้อมูลให้เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเรียบเรียงต่อไป ข้อมูลใดซ้ำซ้อนให้รวมกันเป็นอันเดียว 4) เรียบเรียงเนื้อหา 14จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้าวัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า เลิศศิลป์ วิไลศิลป์. (2527). การโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช. หน้า 9 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า คือ 1. เพื่อแนะนำสินค้าและบริการให้แพร่หลาย 2. เพื่อก่อให้เกิดความต้องการหรือความนิยมใช้สินค้าและบริการนั้น 3. เพื่อแสวงหาและรักษาไว้ซึ่งลูกค้าเพื่อเพิ่มปริมาณการจำหน่าย น.311 15จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้าวัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า ประสาน ปุตรเศรณี. (2527). หลักการโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร. หน้า 21 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า มีดังนี้ 1. เพื่อก่อให้เกิดการซื้อขายสินค้า เป็นการเสนอขายโดยใช้ข้อมูลของสินค้าเป็นสิ่งจูงใจ 2. เพื่อสร้างลูกค้าใหม่ การโฆษณาเป็นการจูงใจผู้บริโภคให้ใช้สินค้าเพิ่มขึ้น 3. เพื่อสร้างความภักดีในสินค้า ให้ผู้บริโภคยอมรับความสำคัญและคุณภาพที่เหนือกว่าสินค้ายี่ห้ออื่น 4. เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้สินค้า การโฆษณาเป็นการบอกกล่าวให้ผู้บริโภคทราบถึงคุณภาพและประโยชน์ใช้สอย 5. เพื่อเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะขายสินค้านั้นๆ 16จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้าวัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า ฟื้น เพชรรักษ์. (2525). การโฆษณา. สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี. หน้า 21 คอลเลย์ (Russel H.Colley) จำแนกวัตถุประสงค์ของการโฆษณาไว้ 10 ประการ คือ 1. เพื่อสร้างภาพพจน์เกี่ยวกับตราหรือยี่ห้อ 2. เพื่อให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ จำหน่ายแล้ว 3. เพื่อให้ข่าวสารเกี่ยวกับลักษณะและประโยชน์ที่ดีเลิศของผลิตภัณฑ์ 4. เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง 5. เพื่อแก้ความเข้าใจผิด 6. เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับหีบห่อของผลิตภัณฑ์ 7. เพื่อสร้างทัศนคติและภาพพจน์ที่ดีต่อผู้ผลิต 8. เพื่อปูทางให้แก่พนักงานขาย 9. เพื่อเสนอแนะข้อดีเด่นของสินค้าแก่ผู้บริโภค 10. เพื่อสร้างชื่อเสียงแก่ผลิตภัณฑ์ใหม่ 17จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
ขั้นตอนการเรียบเรียง หัวข้อเรื่อง : วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า 1) วิเคราะห์เนื้อหาของบัตรบันทึกลงตารางเปรียบเทียบเพื่อจัดกลุ่ม ข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วจัดได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1.1) กลุ่มผลิตภัณฑ์ - ผภ 1.2) กลุ่มผู้บริโภค - ผบ. 1.3) กลุ่มการจำหน่าย - กจ. 1.4) กลุ่มผู้ผลิต - ผผ. 18จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
19จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
20จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
21จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
22จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
23จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
การโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้าซึ่งนักธุรกิจใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบกิจการนั้น มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความก้าวหน้ามั่นคงของธุรกิจ ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณามีอยู่ 4 ประการ คือ 1. ผลิตภัณฑ์ การโฆษณามีเป้าหมายที่จะเผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จักโดยแพร่หลาย และให้เครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ตลอดจนลักษณะของหีบห่อเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาจนจำได้ ผู้ออกแบบโฆษณาจึงต้องรักษารูปแบบและ สีสันให้คงเอกลักษณ์เดิมไว้โดยตลอด เป้าหมายอีกประการหนึ่งในด้านผลิตภัณฑ์ก็คือ ต้องการสร้างความเชื่อถือต่อสินค้าให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค เป้าหมายนี้จะใช้คุณภาพที่ดีเด่นของสินค้าเป็นตัวการในการประชาสัมพันธ์ เช่น ประโยชน์ใช้สอย ความสะดวก ความแข็งแรงทนทานและประสิทธิภาพ เป็นต้น และหากการโฆษณาไม่เกินความจริงสินค้านั้นก็จะได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้บริโภค 2. ผู้บริโภค การโฆษณามีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนลูกค้า ทั้งผู้ที่ยังไม่เคยใช้สินค้า และผู้ที่เคยใช้แล้วเลิกไป รวมทั้งดึงดูดลูกค้าที่กำลังใช้ ให้คงใช้อยู่ต่อไป เป้าหมายด้านนี้จะประสบผลสำเร็จได้ การโฆษณาจะต้องใช้กลยุทธให้ผู้บริโภคเห็นประโยชน์ที่จะได้รับทั้งในเรื่องความสะดวกสบายและความประหยัดอย่างคุ้มค่า จนเกิดความต้องการอยากจะใช้สินค้านั้น หากมีการตอกย้ำให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของสินค้า อีกทางหนึ่ง การใช้สินค้าก็จะเกิดขึ้น หากคุณภาพของสินค้าสมจริงดังคำโฆษณา ลูกค้าก็จะให้ความเชื่อถือและเพิ่มจำนวนขึ้น 24จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
การโฆษณาสินค้า ความหมายของการโฆษณาสินค้า ความหมายของการโฆษณาสินค้านั้น ฟื้น เพชรรักษ์ (2525:5) ได้อ้างคำ นิยามจากสารานุกรมอเมริกานาและสมาคมการตลาดอเมริกันมีความว่า "หมายถึงการส่งเสริมการผลิต บริการหรือความคิด เพื่อผลตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง . . .” และ ประสาน ปุตรเศรณี (2527:7) ได้อธิบายความหมายไว้ดังนี้ การโฆษณา คือ การติดต่อสื่อสารหรือการให้ข่าวสาร ตลอดจนข้อมูลโดยผ่านสื่อมวลชนประเภทต่างๆ จากผู้ผลิตสินค้านั้นไปยังกลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้ ก็เพื่อจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมาย อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ก่อให้เกิดการรู้จักสินค้าที่โฆษณา ก่อให้เกิดความประทับใจอยากลองสินค้านั้นหรือเพื่อให้ได้รับรู้สินค้านั้น คำนิยามทั้งสองที่ยกมานี้มีหลักการที่สอดคล้องกัน คือ การเผยแพร่สินค้าโดยถือผลกำไรเป็นเป้าหมาย จะยิ่งหย่อนกว่ากันก็เฉพาะในรายละเอียดซึ่งพอจะประมวลเป็นคำจำกัดความได้ดังนี้ การโฆษณาสินค้าหมายถึง กิจกรรมที่ผู้ผลิตสินค้าดำเนินการเพื่อส่งเสริมสินค้าของตน ซึ่งอาจมีทั้งในรูปของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความคิด ให้แพร่หลายเป็นที่รู้จักและนิยมใช้โดยการประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ข้อมูลของสินค้าทางสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้นเพื่อให้ผลของการจำหน่ายและผลกำไรเพิ่มขึ้น 25จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
การเขียนเกริ่นนำ นำผู้อ่านเข้าสู่เรื่อง ต้องการความกะทัดรัดและเข้าสู่เรื่องโดยเร็ว ข้อความเพียงประโยคเดียวก็เป็นเกริ่นนำได้ 26จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
จุดเริ่มต้น • แง่มุมที่น่าสนใจของหัวข้อเรื่องนั้น • ปัญหาของหัวข้อเรื่องนั้น • เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้น • ใช้หัวข้อเรื่องนั้นเป็นตัวเกริ่นนำ 27จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
ลักษณะของจุดเริ่มต้น 1) เป็นเรื่องใกล้ตัว หรือกำลังเป็นที่สนใจ 2) เป็นเรื่องที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว 3) เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนวกวน 28จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
การโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า การโฆษณาสินค้ามีวัตถุประสงค์ซึ่งประมวลได้ดังนี้ การโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้าซึ่งนักธุรกิจใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบกิจการนั้นมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความก้าวหน้ามั่นคงของธุรกิจซึ่งมีสารัตถะสำคัญ 4 ประการ คือ 29จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
อุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุ การศึกษาเรื่องสาเหตุของอุบัติเหตุ จะช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงสาเหตุของอุบัติเหตุ เพื่อหาทางขจัดสาเหตุเหล่านี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมอุบัติเหตุมิให้เกิดขึ้นนั่นเอง ได้มีนักการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านได้สรุปสาเหตุของอุบัติเหตุไว้หลายประการ อุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุ ในปัจจุบันภัยที่ทำให้มนุษย์สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินหรือพิการเป็นจำนวนปีละมากๆ ก็คืออุบัติเหตุ เพื่อเป็นการป้องกันความหายนะซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ จึงควรศึกษาเรื่องของอุบัติเหตุว่ามีสาเหตุจากอะไร 30จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
การออกกำลังกาย • หลักการออกกำลังกาย • การออกกำลังกายที่ถูกต้อง ต้องปฏิบัติตามหลักดังต่อไปนี้ • การออกกำลังกาย • หลักการออกกำลังกาย • การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย หากปฏิบัติไม่ถูกต้องแทนที่จะเป็นประโยชน์กลับจะเป็นโทษ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ต้องการบริหารร่างกายต้องทราบหลักการปฏิบัติที่ถูกวิธี ดังจะได้กล่าวต่อไปโดยลำดับ 31จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
วิธีเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาสวยงามได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงภายในครอบครัว ตามร้านอาหาร โรงแรม สถานที่ราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ เนื่องจากตู้ปลาสวยงามจะสร้างความสวยงาม ความเพลิดเพลินให้แก่ผู้พบเห็น การเลี้ยงปลาสวยงามมีวิธีการดังนี้ หลักทั่วไปในการเลี้ยงปลาสวยงามก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ 32จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
การเพาะพันธุ์ปลาสวยงามการเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม การเพาะพันธุ์ปลาสวยงามที่ง่ายและประหยัด คือ การใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยการปล่อยให้พ่อแม่ปลารัดกันเองในบ่อผสมพันธุ์ ซึ่งมีขั้นตอนการเพาะพันธุ์ ดังนี้ 33จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก