320 likes | 1.36k Views
CHAPTER 7-1. สินค้าคงคลังและการจัดการคุณภาพ (Inventory and Quality Management). Powerpoint Templates. ต้นทุนของสินค้าคงคลัง (Inventory Cost). 1. ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control System). 2. การกำหนดจุดสั่งซื้อเพิ่มเติม (Reorder Point). 3. การคำนวณหาจำนวนสั่งซื้อที่ประหยัด
E N D
CHAPTER 7-1 สินค้าคงคลังและการจัดการคุณภาพ(Inventory and Quality Management) Powerpoint Templates
ต้นทุนของสินค้าคงคลังต้นทุนของสินค้าคงคลัง (Inventory Cost) 1 ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control System) 2 การกำหนดจุดสั่งซื้อเพิ่มเติม (Reorder Point) 3 การคำนวณหาจำนวนสั่งซื้อที่ประหยัด Economic Order Quantity 4 Contents 1 1 7
การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) วัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ 1. สามารถบริการลูกค้าในปริมาณที่เพียงพอและทันต่อความต้องการ เพื่อสร้างยอดขายและรักษาระดับส่วนแบ่งตลาดไว้ 2. สามารถลดระดับการลงทุนในสินค้าคงคลังให้ต่ำสุด เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง
จุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลังจุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลัง ตามหลักการการจัดซื้อที่ดีที่สุด (Best Buy) เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลัง • คุณสมบัติที่ตรงตามความต้องการ • ปริมาณเพียงพอ • ราคาเหมาะสม • ทันเวลาที่ต้องการ • นำส่งยังสถานที่ที่ถูกต้อง • โดยซื้อจากผู้ขายที่ไว้วางใจได้
ประโยชน์ของสินค้าคงคลังประโยชน์ของสินค้าคงคลัง • ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่ประมาณการไว้ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งในและนอกฤดูกาลโดยธุรกิจต้องเก็บสินค้าคงคลังไว้ในคลังสินค้า • รักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับการจ้างแรงงาน • ทำให้ธุรกิจได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อจำนวนมากต่อครั้ง ป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคาและผลกระทบจากเงินเฟ้อเมื่อสินค้าในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น • ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักเนื่องจากของขาดมือ
ต้นทุนของสินค้าคงคลัง(Inventory Cost) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost) ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน (Shot –age Cost Or Stock Out Cost) 4. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องจักรใหม่
ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังInventory Control System มี 2 วิธี คือ • ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Inventory System , Perpetual Inventory System) 2. ระบบสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System)
การกำหนดจุดสั่งซื้อเพิ่มเติม (Reorder Point) วิธีการหนึ่งในการควบคุมการลงทุนสินค้าคงเหลือ คือ การกำหนดระดับของสินค้าที่จะต้องสั่งซื้อเพิ่มเติม เรียกว่า จุดสั่งซื้อเพิ่มเติม (Reorder Points)การกำหนดจุดสั่งซื้อเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ 1. ระยะเวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อ (Order Lead time) 2. อัตราการขายสินค้า(Usage Rate) 3. ระดับสินค้าคงเหลือที่ปลอดภัย (Safety Stock)
การคำนวณหาจุดสั่งซื้อเพิ่มเติมการคำนวณหาจุดสั่งซื้อเพิ่มเติม • จุดสั่งซื้อเพิ่มเติม = อัตราการขาย x ระยะเวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อ กรณีมีการกำหนดระดับสินค้าคงเหลือที่ปลอดภัย (Safety stock) จุดสั่งซื้อเพิ่มเติม =(อัตราการขาย x ระยะเวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อ) + ระดับสินค้าคงเหลือที่ปลอดภัย Ex 1ร้านค้า A สามารถจำหน่ายรองเท้าได้วันละ 10 คู่ และโดยเฉลี่ยใช้เวลา 8 วันในการสั่งซื้อ คำนวณจุดสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อเพิ่มเติม = 8*10 = 80 คู่
การคำนวณหาจุดสั่งซื้อเพิ่มเติม (ต่อ) Ex 2 ร้านค้า A สามารถจำหน่ายรองเท้าได้วันละ 10 คู่ และโดยเฉลี่ยใช้เวลา 8 วันในการสั่งซื้อ และถ้ามีการกำหนด Safety Stock ร้านค้าต้องการให้มีสินค้าคงเหลือที่ปลอดภัย ประมาณ 30%ของจุดสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมคำนวณจุดสั่งซื้อเพิ่มเติม จุดสั่งสินค้าเพิ่ม = 80+.3(80) = 80+24 = 104 หน่วย
ตัวแบบพัสดุคงเหลือ (Inventory Control) • ปัญหาในการตัดสินใจในเรื่องการควบคุมสินค้าคงเหลือมีอยู่ 2 ประการ คือ • 1. จำนวนที่จะสั่งซื้อหรือผลิตในแต่ละครั้งว่า ควรมีปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสม • 2. เวลาที่เหมาะสมในการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต หรือจะสั่งสินค้าจำนวนนี้เมื่อไร
ปัญหาในการตัดสินใจในเรื่องการควบคุมสินค้าคงเหลือปัญหาในการตัดสินใจในเรื่องการควบคุมสินค้าคงเหลือ จากปัญหา ผู้บริหารจะพิจารณาต้นทุน 4 ชนิด คือ • 1. ต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า (Ordering costs) เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้สินค้ามาเก็บไว้ โดยจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการสั่งสินค้า • 2. ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงเหลือ (Carrying costs) คือค่าใช้จ่ายที่เกิด • จากการเก็บรักษาสินค้าคงเหลือให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี
ปัญหาในการตัดสินใจในเรื่องการควบคุมสินค้าคงเหลือปัญหาในการตัดสินใจในเรื่องการควบคุมสินค้าคงเหลือ • 3. ต้นทุนการขาดแคลน (Shortage costs) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดขาดแคลน สินค้าคงเหลือ เช่น ขาดโอกาสทำกำไร เพราะไม่มีสินค้าจำหน่ายหรือการเสียค่าปรับ เนื่องจากไม่มีสินค้าส่งให้ลูกค้า • 4. ต้นทุนของสินค้าคงเหลือ (Item cost) คือ ราคามูลค่าของสินค้าคงเหลือต่อหน่วยต้นทุนรวม (Total cost) = ต้นทุนสินค้าคงเหลือ + ต้นทุนการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต + ต้นทุนการเก็บรักษา + ต้นทุนความขาดแคลน
ประเภทของตัวแบบพัสดุคงเหลือประเภทของตัวแบบพัสดุคงเหลือ • ในการศึกษาตัวแบบการสั่งซื้อที่ประหยัด จำเป็นต้องทราบถึงลักษณะของการสั่งและได้รับสินค้ารวมทั้งส่วนลดที่ได้รับกรณีสั่งครั้งละมาก ๆ ในที่นี้จะขอกล่าวอยู่ 3 รูปแบบ คือ • 1. ตัวแบบสินค้าคงเหลือเมื่อสั่งสินค้า/วัตถุดิบแล้วได้ทันที • 2. ตัวแบบสินค้าคงเหลือเมื่อสั่งสินค้าแล้วสินค้าทยอยมา • 3. การหาคำสั่งซื้อที่ประหยัดต้นทุนรวมต่ำที่สุด (Economic Order Quantity : EOQ)
ตัวแบบสินค้าคงเหลือเมื่อสั่งสินค้า/วัตถุดิบแล้วได้ทันทีตัวแบบสินค้าคงเหลือเมื่อสั่งสินค้า/วัตถุดิบแล้วได้ทันที
ระบบการสั่งซื้อที่ประหยัดระบบการสั่งซื้อที่ประหยัด • ระบบการสั่งซื้อที่ประหยัด • ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด(Economic Order Quality) หรือ EOQ จะเหมาะสำหรับการประยุกต์กับสินค้าคงคลังที่สั่งซื้อเป็นครั้ง ๆโดยไม่ได้ดำเนินงานหรือจัดส่งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจะพิจารณาการเปรียบเทียบต้นทุนการสั่งซื้อ และต้นทุนการเก็บรักษา
ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือ • โดยมีสมมติฐานที่กำหนดเป็นขอบเขตไว้ว่า • ทราบปริมาณอุปสงค์อย่างชัดเจนและอุปสงค์คงที่ • ได้รับสินค้าที่สั่งซื้อพร้อมกันทั้งหมด • รอบเวลาในการสั่งซื้อ ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่สั่งซื้อจนได้รับสินค้าคงที่ • ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าและต้นทุนการสั่งซื้อสินค้าคงที่ • ราคาที่สั่งซื้อคงที่ • ไม่มีสภาวะของขาดมือ
EOQ Model Annual Cost Total Cost Curve Holding Cost Order (Setup) Cost Order Quantity Optimal Order Quantity (Q*)
ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือ • EOQ : ขนาดการสั่งซื้อต่อครั้งที่ประหยัด (Q*) • D : อุปสงค์หรือความต้องการสินค้าต่อปี (หน่วย) • P : ต้นทุนการสั่งซื้อ (บาท) • C : ต้นทุนการเก็บรักาต่อหน่วยต่อปี (บาท) อาจใช้ H แทนค่าเป็น % V : ราคาสินค้าเฉลี่ยต่อหน่วย • EOQ = 2PD √ cv
โจทย์ • บริษัทแห่งหนึ่งต้องการซื้อสินค้า A ปีละ 4800 ชิ้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเท่ากับ 40 บาท/ครั้ง ราคาสินค้าต่อหน่วยเท่ากับ 100 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าเท่ากับ 25% ต่อปี คำนวณ EOQ • EOQ = 2(40)(4800) = • EOQ = 124 หน่วย √ √384000 (25%)(100) 25
Assignment 7-1 จากโจทย์ จงหาขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด • บริษัทแห่งหนึ่งต้องใช้อะไหล่เครื่องยนต์รถยนต์นั่งส่วนบุคคลชนิด C ปีละ 56,000 ชิ้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเท่ากับ 150 บาท/ครั้ง ราคาสินค้าต่อหน่วยเท่ากับ 1,450 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการเก้บรักษาสินค้าเท่ากับ 15% ต่อปี • บริษัทหรรษา จำกัด ต้องการปูนซีเมนต์สำหรับจำหน่ายปีละ 110,000 ถุง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเท่ากับ 1140 บาท/ครั้ง ราคาสินค้าต่อหน่วยเท่ากับ 70 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าเท่ากับ 10% ต่อปี • บริษัท สยาม จำกัดต้องการสินค้าชนิด B เดือนละ 5,100 ชิ้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเท่ากับ 150 บาท / ครั้ง ราคาสินค้าต่อหน่วยเท่ากับ 1,450 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าเท่ากับ 10% ต่อปี
4. ตัวแทนจำหน่ายยางรถยนต์ ประมาณการว่าปีหน้ามีความต้องการยางเรเดียลจำนวน 9,600 เส้น มูลค่าของยางที่สั่งมาจำหน่วยคิดเป็นเส้นละ 1,000 บาท ต้นทุนการเก็บรักษาคิดเป็น 16% ของต้นทุนสินค้าคงเหลือ และค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อแต่ละครั้งเท่ากับ 750 บาท ตัวแทนจำหน่ายแห่งนี้เปิดจำหน่าย 288 วันให้นักศึกษาคำนวณหาค่า • ก. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) • ข. จำนวนครั้งในการสั่งซื้อ/ปี • ค. ช่วงเวลาห่างของการสั่งซื้อเป็นเท่าใด • ง. ต้นทุนรวมในการสั่งซื้อที่ประหยัดทั้งปี