320 likes | 433 Views
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ นายแพทย์ 9 วช (ด้านสาธารณสุข) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวคิดสันติวิธี : หลักในการจัดการความขัดแย้งมุ่งสู่ความ สมานฉันท์. ความสมานฉันท์. Patient Safety. แก้ปัญหา.
E N D
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ นายแพทย์ 9 วช (ด้านสาธารณสุข) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
แนวคิดสันติวิธี : หลักในการจัดการความขัดแย้งมุ่งสู่ความสมานฉันท์ ความสมานฉันท์ Patient Safety แก้ปัญหา “ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์” เรื่องยุติ Alternative Dispute Resolution (ADR) No fault Compensation (NFC) ความสัมพันธ์กลับคืน
1 กลไกแก้ปัญหาเชิงระบบ กลไกเชิงสร้างเสริม ๔ กลไก เพื่อแก้ปัญหา เชิงระบบ ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ป่วยกับแพทย์ 2 4 กลไกเชิงป้องกัน กลไกสนับสนุน 3 กลไกบริหารจัดการปัญหา
กลไกเพื่อแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์เชิงระบบกลไกเพื่อแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์เชิงระบบ
กลไกพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขกลไกพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข • การจัดระบบบริการ • การจัดการกำลังคนฯ • กลไกคุณภาพมาตรฐานบริการ • พัฒนาคุณภาพบริการ • พัฒนาจริยธรรม • กลไกพัฒนาวิชาชีพ • พัฒนาทางวิชาการ • พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม • พัฒนาแนวคิดและทักษะความสัมพันธ์เชิงมนุษย์ • กลไกสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ • ผู้ป่วยและญาติ และสาธารณะ 1. กรอบพัฒนา กลไกเชิงสร้างเสริม • กลไกความสัมพันธ์ระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชน • กลไกบริหารความเสี่ยง • ระดับโรงพยาบาล • ระดับพื้นที่ (จังหวัด/เขต) • กลไกเฝ้าระวังปัญหา • รับรู้เรื่องราว • รับร้องทุกข์ร้องเรียน 2. กรอบการพัฒนา กลไกเชิงป้องกัน
กลไกไกล่เกลี่ย • ระดับโรงพยาบาล • ระดับพื้นที่ /ส่วนกลาง • กลไกเยียวยา • กองทุนตาม พรบ. เฉพาะ • กองทุนตาม พรบ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ • การเยียวยาในรูปแบบอื่น ๆ 3. กรอบการพัฒนา กลไกบริหารจัดการปัญหา • กลไกการจัดการความรู้ • ติดตามสถานการณ์ • ขยายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบวก • พัฒนาและปรับนโยบายให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม • กลไกช่วยเหลือประชาชน • การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร • การให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ • กลไกช่วยเหลือบุคลากร • การให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ • การคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ • กลไกเคลื่อนขบวนการบริการสาธารณสุขด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ (Humanized Health Care) • ระดับโรงพยาบาล/พื้นที่ • ระดับประเทศ 4. กรอบการพัฒนา กลไกสนับสนุน
ปัญหาในปัจจุบัน : ผลกระทบของการร้องเรียน • ดำเนินคดี • จริยธรรม/วินัย • ร้องผ่านสื่อ การฟ้องร้องแพทย์/สถานพยาบาลมีเพิ่มขึ้น • ยุ่งยาก/ล่าช้า • เสียค่าใช้จ่ายสูง • ไม่ปลอดภัย ผู้ป่วย ระบบ บริการ บุคลากร • เผชิญหน้า • เสื่อมเสียชื่อ/สุขภาพ • สัมพันธภาพลดลง • ปกปิดความผิดพลาด • Defensive Medicine • ส่งต่อไม่เหมาะสม • ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
สรุปจำนวนคดีฟ้องแพทย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 – พฤษภาคม 2551) (เฉพาะโจทย์ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานปลัดฯ) * รวมคดีแพ่งที่ยังอยู่ในชั้นศาล 52 คดี * ทุนทรัพย์ที่ฟ้องประมาณ 426 ล้านบาทเศษ * กระทรวงสาธารณสุขชำระตามคำพิพากษาแล้วประมาณ 7.4 ล้านบาท ที่มา : กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สรุปจำนวนคดีฟ้องแพทย์ (ต่อ) • ผู้ถูกฟ้องคดีคดีแพ่ง • แพทย์ 55 ราย • พยาบาล 11 ราย • ผู้ถูกฟ้องคดีอาญา (เฉพาะที่ฟ้องศาล) • แพทย์ 5 ราย • พยาบาล 2 ราย ที่มา : กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สรุปผลการสำรวจข้อมูลการฟ้องคดีเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณสุขของผู้ประกอบวิชาชีพสรุปผลการสำรวจข้อมูลการฟ้องคดีเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณสุขของผู้ประกอบวิชาชีพ สถิติการฟ้องคดีแพ่ง (กรณีฟ้องผู้ประกอบวิชาชีพ) ข้อมูล ณ มิถุนายน 2551 ที่มา : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
สรุปผลการสำรวจ (ต่อ) สถิติการฟ้องคดีอาญา (กรณีฟ้องผู้ประกอบวิชาชีพ) ข้อมูล ณ มิถุนายน 2551 ที่มา : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
สรุปผลการสำรวจ (ต่อ) สถิติการฟ้องคดีแพ่ง (กรณีฟ้องสถานพยาบาล/หน่วยงาน) ข้อมูล ณ มิถุนายน 2551 ที่มา : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
สรุปผลการสำรวจ (ต่อ) สถิติการฟ้องคดีอาญา (กรณีฟ้องสถานพยาบาล/หน่วยงาน) ข้อมูล ณ มิถุนายน 2551 ที่มา : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
สรุปสถิติการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 แห่ง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 80 (2) รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และ พัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ อันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชนรวมทั้งจัด และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ.... โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมาย
ทางเลือกใหม่.... การชดเชยความเสียหาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด นิวซีแลนด์ เริ่มปี ค.ศ.1972 สวีเดน เริ่มแบบสมัครใจในปี ค.ศ.1975 และบังคับทั้งหมดในปี ค.ศ.1997 ฟินแลนด์ เริ่มปี ค.ศ.1987 นอรเวย์ เริ่มแบบสมัครใจในปี ค.ศ.1988 และออกเป็นกฎหมายในปี ค.ศ.2003 เดนมาร์ก เริ่มปี ค.ศ.1992 ไอซแลนด์ เริ่มปี ค.ศ.2001 อังกฤษ อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การออกเป็นกฎหมาย
หลักการ.... 1. ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ได้รับการชดเชยในเวลาอันรวดเร็ว เหมาะสม และ เป็นธรรมโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด 2. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย 3. คุ้มครองผู้ให้บริการสาธารณสุขจากการถูกฟ้องคดีอาญา อันเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพ 4. สร้างโอกาสให้มีการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มความ ปลอดภัยแก่ผู้ป่วย
คำนิยาม... บริการสาธารณสุข หมายความถึง * บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งได้แก่ การประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ ( 6 สภาวิชาชีพ) หรือ * การประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และ * รวมถึงการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กองทุนคุ้มครองผู้เสียหายกองทุนคุ้มครองผู้เสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุข - เงินอุดหนุนจากงบประมาณ - เงินที่สถานพยาบาล จ่ายสมทบ - เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ. นี้ - เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค - ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิด จากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน การคุ้มครองผู้เสียหาย ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุน โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด (มาตรา 5) ยกเว้น (มาตรา 6) • ความเสียหายจากการดำเนินไปตามพยาธิสภาพของโรค • ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการตาม • มาตรฐานสภาวิชาชีพ • ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขแล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ กรณีสถานพยาบาลที่มีหน้าที่ส่งเงิน เข้ากองทุน ไม่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่ส่งเงินครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ให้เสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงิน ที่ไม่ส่ง(ตามมาตรา 37)
ประเภทเงินชดเชย (ตามมาตรา 7) • ให้เป็นไปตามรายละเอียดที่คณะกรรมการประกาศ กำหนด โดยคำนึงถึงหลักการเกี่ยวกับการชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์เช่น ค่ารักษาพยาบาล , ค่าชดเชยที่ต้องขาด ประโยชน์ทำมาหาได้ , ค่าชดเชยกรณีถึงแก่ความตาย , ค่าชดเชยเพื่อความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงิน (ตาม ม 443 -446 แห่งประมวล กม.แพ่งและพาณิชย์)
คณะกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข * คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอรับเงินชดเชย * คณะอนุกรรมการประเมินค่าชดเชยความเสียหาย คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ร่างใหม่คณะกรรมการไกล่เกลี่ย : - เป็นมาตรการเสริมโดยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย - ควรมีการไกล่เกลี่ยหลังจากพิจารณาเงินชดเชยไปแล้ว - อาจไกล่เกลี่ยให้มีการชดเชยที่นอกเหนือจากกองทุน - ตกลงกันได้ ให้ทำสัญญาประนีประนอม เพื่อให้ยุติคดีแพ่ง
“สำนักงานคุ้มครองผู้เสียหาย“สำนักงานคุ้มครองผู้เสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุข” สำนักงาน เป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของรัฐมนตรี หน้าที่: รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และคณะอนุกรรมการ
การยื่นคำร้อง การพิจารณาคำร้อง และการอุทธรณ์ • ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย • แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับความเสียหาย • - อายุความทางแพ่งสะดุดหยุดลง ผู้เสียหายยื่นคำร้อง สำนักงาน คุ้มครองผู้เสียหายฯ คณะอนุกรรมการพิจารณา คำร้องขอรับเงินชดเชย ภายใน 30 วัน เข้าหลักเกณฑ์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ภายใน 7 วัน อนุกรรมการประเมินค่าชดเชยความเสียหาย (60 วัน + 30 วัน + 30 วัน = 120 วัน) ไม่เห็นด้วย ยื่นอุทธรณ์ต่อสำนักงานฯ (30 วัน) ภายใน 7 วัน เห็นด้วย คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ (30 วัน + 30 วัน = 60 วัน) รับเงินชดเชย - ผู้เสียหายสละสิทธิในการ ฟ้องร้องคดี ตาม ม.43 คำวินิจฉัยเป็นที่สุด ไม่รับเงินชดเชย/ไม่ได้เงินชดเชย - ผู้เสียหายนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ร่างเดิม มาตรา 43ในกรณีผู้เสียหายหรือทายาทตกลงยินยอมรับเงินชดเชยตาม พ.ร.บ.นี้แล้ว ให้ผู้เสียหาย ทำหนังสือแสดงเจตนาสละสิทธิในการฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่ง แต่ถ้าผู้เสียหายเลือกฟ้องคดี ย่อมหมดสิทธิรับเงินชดเชยตาม พ.ร.บ.นี้
ร่างในชั้นกฤษฎีกา มาตรา ๔๓ ในกรณีผู้เสียหายหรือทายาทตกลงยินยอมรับเงินชดเชยตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ผู้เสียหายทำหนังสือแสดงเจตนาสละสิทธิในการฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่ง การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓/๑ ในกรณีที่ผู้เสียหายหรือทายาทไม่ตกลงยินยอมรับเงินชดเชยตามพระราชบัญญัตินี้ หากได้มีการฟ้องคดีต่อศาลและศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายหรือทายาท ให้ถือว่าเงินชดเชยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทน
มาตรา ๔๓/๒ ในกรณีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายโดยไม่ได้ขอรับเงินชดเชยตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลแจ้งให้ (หน่วยงานธุรการของกองทุน)ดำเนินการพิจารณากำหนดจำนวนเงินชดเชย ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยอาจกำหนดระยะเวลาในการพิจารณากำหนดจำนวนเงินชดเชยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนที่ศาลจะได้มี คำพิพากษาหรือคำสั่ง และในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งยกฟ้อง ให้ผู้เสียหายหรือทายาทยังคงมีสิทธิที่จะรับเงินชดเชยดังกล่าว
ร่างเดิม มาตรา 44ผู้ให้บริการสาธารณสุขย่อมได้รับการคุ้มครองจากการถูกฟ้องคดีอาญาอันเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดโดยเจตนา ร่างในชั้นกฤษฎีกา มาตรา ๔๔ ในกรณีที่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา ๔๐/๑ แล้ว ไม่ให้ถือว่าการแสดงเจตนาของคู่สัญญาในการทำสัญญาเป็นการยอมรับข้อเท็จจริง ในการกระทำความผิดทางอาญา
มาตรา ๔๔/๑ ในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาล ให้ศาลนำข้อเท็จจริงต่างๆ ของจำเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดี การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี การรู้สำนึก ในความผิดและการชดใช้เยียวยาความเสียหายความยินยอมของผู้เสียหาย ตลอดจนเหตุผลอื่นอันสมควร มาพิจารณาประกอบด้วย ในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้
มาตรา 45เมื่อคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอรับเงินชดเชย วินิจฉัยจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว ให้สถานพยาบาลรายงาน แนวทางการป้องกันความเสี่ยงที่สถานพยาบาลได้ปรับปรุงแก้ไข แล้วส่งให้สำนักงานภายในหกเดือน มาตรา 47สถานพยาบาลใดที่มีการพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายที่ดี คณะกรรมการอาจสั่งให้ลดอัตราการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ตาม ม. 34 ได้ การพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย
บทเฉพาะกาล มาตรา 49 ให้โอนภารกิจเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ไปเป็นของสำนักงาน และกองทุน แล้วแต่กรณี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ
การดำเนินการ.... 1. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เพื่อจัดเตรียมรายละเอียดร่าง พรบ. ได้แก่ • หลักเกณฑ์การจ่ายเงินชดเชย, การคำนวณ • เงินชดเชย, การหักเงินสมทบเข้ากองทุน • การจัดตั้งสำนักงาน • Advocacy 2. ร่าง พรบ.ฉบับนี้อยู่ในระหว่างการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)