690 likes | 921 Views
การจัดคลินิกบริการ 1 .กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 2 .กลุ่มประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง. เอมอร ราษฎร์จำเริญสุข กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. การจัดคลินิกบริการในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์. 1 . จุดให้บริการวัคซีน
E N D
การจัดคลินิกบริการ 1.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์2.กลุ่มประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เอมอร ราษฎร์จำเริญสุขกลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
การจัดคลินิกบริการในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์การจัดคลินิกบริการในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 1. จุดให้บริการวัคซีน รพ. ขนาดเล็ก ควรมีจุดฉีดวัคซีนแห่งเดียว รพ. ขนาดใหญ่ ถ้าจำเป็นต้องกระจายวัคซีนให้แต่ละ ward ไปฉีดวัคซีนกันเอง ควรกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ และถ้ายังมีวัคซีนคงเหลือให้นำกลับไปเก็บไว้ที่ฝ่ายเภสัชกรรม
การจัดคลินิกบริการในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์การจัดคลินิกบริการในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 2. การเลือกวันที่ฉีดวัคซีน ผู้ที่ทำงานเช้าตลอด จันทร์-ศุกร์ ฉีดวัคซีนวันศุกร์ตอนบ่าย ผู้ที่ทำงานเวร 8 เช้า-บ่าย-ดึก ฉีดวัคซีนวันที่ลงเวร off
การจัดคลินิกบริการในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์การจัดคลินิกบริการในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 3. การติดตาม AEFI หลังได้รับวัคซีน ควรแจกแบบประเมิน AEFI ด้วยตนเอง (self report)ให้แก่บุคลากรในโรงพยาบาลที่ได้ฉีดวัคซีนทุกราย (อาจใช้รูปแบบของสำนักระบาดวิทยา ปี 2551) ให้ตรวจสอบตัวเอง ว่ามีอาการอะไรบ้างหลังฉีดวัคซีนนาน 1 เดือน และส่งกลับงานระบาดวิทยา/IC เพื่อสรุปและประเมินผลข้อมูลไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป
การจัดคลินิกบริการ และการจัดทำทะเบียนผู้รับบริการในกลุ่มประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
ก่อนการจัดเตรียมคลินิกบริการ จะต้องทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้เสร็จก่อน คือ 1. การเรียงลำดับผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามความสำคัญของโรค 1. ปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2. หอบหืด 3. หัวใจ 4. หลอดเลือดสมอง 5. ไตวาย 6.ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังได้รับเคมีบำบัด 7. เบาหวาน
2. จัดทำแผนปฏิบัติงาน กำหนดการนัดกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการจำแนกเป็นรายวัน/รายพื้นที่ ในพื้นที่ที่มีการเคลื่อนย้ายของ ปชก. สูง รพ. ควรแจ้ง สสอ. ตรวจสอบ (ผ่านทาง สอ./อสม.) สำรวจว่าปัจจุบันผู้ป่วยยังอาศัยอยู่ในพื้นที่จริงหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจรอบที่ 1 (รายละเอียดใน “การสำรวจและนัดหมายกลุ่มเป้าหมาย”) จัดทำ “กำหนดการนัดกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการจำแนกเป็นรายวัน/รายพื้นที่” เพื่อลดอัตราการสูญเสียของวัคซีน (เนื่องจากวัคซีนมีขนาดบรรจุ 1 โด๊ส/ขวด และ 4 โด๊ส/ขวด จำเป็นต้องนัดหมายให้ครบจำนวน)
โรงพยาบาล /สสอ. ประสาน สอ./ศูนย์บริการสาธารณสุข แจ้งรายชื่อและที่อยู่ของเป้าหมาย กำหนดนัดหมายให้ทราบถึง วัน/เดือน/ปี เวลา และสถานที่มารับวัคซีน แจ้งผู้ป่วยหรือญาติให้ทราบว่าได้รับการคัดเลือกให้มารับวัคซีน พร้อมทั้งอธิบายประโยชน์ที่จะได้รับ(แจกแผ่นพับ) สอบถามว่ายินดีเข้าร่วมโครงการฯ หรือไม่ ???แล้วแจกบัตรนัด กำหนดการให้บริการ 1 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2552 (รวมการติดตาม/เก็บตกผู้ที่ไม่ได้มารับวัคซีนตามนัด)
แผ่นพับ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ที่มีโรครื้อรัง
บัตรนัด ด้านหน้า ด้านหลัง
การประสานเครือข่ายในชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้นำในชุมชน อำนวยความสะดวกจัดพาหนะในการรับ-ส่ง กลุ่มเป้าหมายไปรับบริการที่โรงพยาบาล (ในกลุ่มผู้ป่วยที่สูงอายุอาจมีปัญหาการเดินทาง) การติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับวัคซีนตามนัดหมาย
3.เตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้มีจำนวนเพียงพอในการให้บริการ3.เตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้มีจำนวนเพียงพอในการให้บริการ องค์การเภสัชกรรม กระจายวัคซีนผ่านระบบ VMI ไปยังโรงพยาบาลโดยตรง กำหนดให้เภสัชกร เป็นผู้ดูแลการเก็บรักษาและเบิกจ่าย วัคซีนเช่นเดียวกับในปีที่ผ่านมา (รายละเอียดใน “การบันทึกข้อมูลคงคลังและกำกับติดตามการบริหารวัคซีนด้วยระบบ VMI”)
4. การประสานและทำความเข้าใจ โครงการให้วัคซีนป้องกันโรค ไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พ.ศ. 2552 ให้แก่บุคลากรใน รพ. บุคลากรในโรงพยาบาลกลุ่มแพทย์/พยาบาล ให้ตระหนักถึงความสำคัญ เสริมสร้างความเข้าใจเห็นประโยชน์ที่ได้รับ ถ้ากลุ่มเป้าหมายที่สำรวจไว้ล่วงหน้าไม่มารับวัคซีนตามนัด แล้วบุคลากรเหล่านี้ให้ความร่วมมือในการคัดเลือกผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ ให้มารับวัคซีนเพิ่มเติม โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีคลินิกพิเศษ เช่น คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หอบหืด และโรคหัวใจ ถ้าขาดการประสานทำความเข้าใจระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในโรงพยาบาล อาจทำให้กลุ่มเป้าหมายขาดโอกาสการรับวัคซีน
5. การเตรียมความรู้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ เนื่องจากมีผู้มารับบริการเป็นจำนวนมากในโรงพยาบาลขนาดใหญ่อาจต้องระดมพยาบาลจากหน่วยต่างๆ ซึ่งพยาบาลบางคนอาจไม่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาก่อน จึงต้องมีการทบทวนในเรื่องของ เทคนิคการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในเด็กและผู้ใหญ่
การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(intramuscular route) • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้ฉีดลึกลงถึงชั้นกล้ามเนื้อ • ตั้งเข็มทำมุมฉากกับผิวหนัง • ขนาดและความยาวของเข็มที่ใช้ขึ้นกับขนาดตัว ผู้รับบริการ
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนขนาด 0.5 มล. ประกอบด้วยไวรัสชนิดเชื้อตาย* ซึ่งประกอบด้วย แอนติเจนที่คล้ายคลึงกับแอนติเจนของไวรัสต่อไปนี้ A/Brisbane/59/2007 (H1N1) - like strain IVR-148 derived from A/Brisbane/59/200715 ไมโครกรัมของฮีแมกกลูตินิน A/Brisbane/10/2007 (H3N2) – like strain NYMC X – 175C derived from A/Uruguay/716/2007 15 ไมโครกรัมของฮีแมกกลูตินิน B/Florida/4/2006 – like strain B/Florida/4/2006 15 ไมโครกรัมของฮีแมกกลูตินิน * แพร่พันธุ์ใน (fertilized) ไข่ไก่ จากไก่ที่สุขภาพสมบูรณ์
การบรรจุ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นน้ำยาแขวนตะกอนสำหรับฉีด บรรจุวัคซีนในขวดแก้วใส ขวดละ 0.5 ml (1 โด๊ส) จำนวน 5 ขวด ในกล่องกระดาษ พร้อมใบแทรก บรรจุวัคซีนในขวดแก้วใส ขวดละ 2.0 ml (4 โด๊ส) จำนวน 10 ขวดในกล่องกระดาษ พร้อมใบแทรก หลังการเขย่า วัคซีนจะมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวขุ่นเล็กน้อย
เก็บรักษาวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างไรเก็บรักษาวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างไร เก็บวัคซีนให้พ้นมือและสายตาเด็ก ห้ามใช้วัคซีนเกินวันหมดอายุที่แจ้งไว้บนฉลาก หรือกล่องบรรจุ เก็บวัคซีนที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 C (ในตู้เย็น) ห้ามแช่แข็งนะจ๊ะ จะบอกให้
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ ควรมีการเตรียมพร้อมการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมในกรณีการแพ้แบบรุนแรงและฉับพลัน (anaphylactic reaction) หลังการฉีดวัคซีน เมื่อนำวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ออกจากตู้เย็น ควรปล่อยให้วัคซีนมีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้องก่อนนำไปฉีด
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ เขย่าวัคซีนก่อนใช้ ไม่ควรใช้วัคซีน หากพบสิ่งแปลกปลอมปะปนอยู่ในวัคซีน ห้ามผสมกับวัคซีนอื่นในไซรินจ์เดียวกัน ไม่ฉีดวัคซีนเข้าเส้นเลือดโดยตรง
หลังการฉีดวัคซีนแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และสามารถป้องกันได้ภายใน 2 – 3 สัปดาห์หลังการฉีด วัคซีนจะสามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ถ้าโรคดังกล่าวเกิดจากเชื้อทั้ง 3 สายพันธุ์ที่มีในวัคซีน หรือสายพันธุ์อื่นที่มีความใกล้เคียงกันเท่านั้น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จะไม่สามารถป้องกันโรคได้ หากท่านหรือบุตรหลานได้รับการติดเชื้อมาก่อนการฉีดวัคซีน หรือติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่น
ขนาดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ขนาดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ ผู้ใหญ่ และเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ฉีดวัคซีน 1 โด๊ส ขนาด 0.5 มล. เด็กอายุตั้งแต่ 6 - 35 เดือน ฉีดวัคซีน 1 โด๊ส ขนาด 0.25 มล. สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน แนะนำให้ฉีดอีก 1 เข็ม หลังจากเข็มแรกอย่างน้อย 4 สัปดาห์
6. การเตรียมความรู้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ การเตรียมความรู้/เครื่องมือในการกู้ชีพให้พร้อมใช้งาน เนื่องจากการเฝ้าระวังอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนในปี 2551 มีรายงาน anaphylactic shock 1 ราย จากวัคซีนที่ฉีดไปประมาณ 5 แสนโด๊ส ดังนั้นในช่วงรอสังเกตอาการหลังได้รับวัคซีน 30 นาที ถ้าผู้ให้บริการมีความเข้าใจและสามารถวินิจฉัยอาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) ได้เร็วเมื่อเริ่มมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือน จะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้
คำจำกัดความ อาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis)* เป็นปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ภายหลังการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ที่เคยได้รับการกระตุ้นมาก่อน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในเวลารวดเร็ว (5-30 นาที) ทำให้มีความผิดปกติอย่างน้อยใน 2 ระบบ คือ ผิวหนัง ระบบการหายใจ และระบบการไหลเวียน
Management of Anaphylaxis • การรักษาต้องถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ต้องตระหนักว่าผู้รับบริการมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูง จะต้องมี emergency kit รวมทั้ง adrenaline (Epinephrine) พร้อมที่จะให้การรักษาทันทีและส่งต่อไป รพ. • ขั้นตอนในการดูแลรักษา1. ถ้าไม่รู้สึกตัว ให้นอนราบ clear airway2. ตรวจการหายใจ ความดันโลหิต ชีพจร ถ้าจำเป็นให้ทำ CPR • 3. ให้ adrenaline 1:1000 ขนาด 0.01 มล./กก.เข้า deep IM • คนละข้างกับแขน/ขาที่ฉีด
Management of Anaphylaxis • ถ้าไม่ทราบน้ำหนัก ประมาณขนาดยาตามอายุดังนี้ • < 2 ปี 0.0625 มล. (1/16 ของ มล.) • 2 - 5 ปี 0.125 มล. (1/8 ของ มล.) • 6 -11 ปี 0.25 มล. (1/4 ของ มล.) • > 11 ปี 0. 5 มล. (1/2 ของ มล.)
5. ฉีด adrenaline เพิ่มในขนาดครึ่งหนึ่งของที่ฉีด IM เข้ารอบๆ บริเวณทีฉีดวัคซีน (เพื่อสกัดกั้น หรือ delay การดูดซึม) • 6. เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวหลังให้ adrenaline ให้นอนหัวต่ำกว่าเท้าและทำให้ร่างกายอบอุ่น • 7. ให้ O2 by face mask • 8. ถ้าให้ adrenalineไปแล้ว 10-20 นาที อาการยังไม่ดีขึ้น ให้ฉีดซ้ำขนาดเดิมได้อีก แต่ต้องไม่เกิน 3 ครั้ง • ห้ามให้วัคซีนที่ทำให้เกิด Anaphylaxis อีก และบันทึกไว้ที่บัตรผู้ป่วยและอธิบายผู้ปกครองให้ทราบ
Injection Reaction ผู้ได้รับวัคซีนอาจมีปฏิกิริยาต่อการฉีดยา กลัวเข็ม กลัวเจ็บ มีความวิตกกังวลต่างๆ ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนประกอบของวัคซีน ปฏิกิริยาที่พบได้มีดังนี้ Fainting เป็นลม (vasovagal syndrome) พบบ่อยที่สุดต้องแยกจาก anaphylaxis และ HHE ส่วนใหญ่จะพบในเด็กโต > 5 ปี และผู้ใหญ่ ต้องระวังเรื่องอันตรายจากการล้ม Hyperventilation เนื่องจากความวิตกกังวล อาจนำ ไปสู่อาการ/อาการแสดงต่างๆ เช่น รู้สึกตัวเบาๆ มึน งง รู้สึกคัน รอบๆ ปากและปลายมือ
Injection Reaction Breath-holding มีการกลั้นหายใจ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่รู้สึกตัว หรือมีอาการเกร็ง / กระตุก ระยะสั้นๆ ได้ Mass hysteria อาจเกิดได้ในการให้วัคซีนแบบรณรงค์ ถ้ามีการเห็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับคนที่ได้รับวัคซีนก่อน เช่น เป็นลม ชัก
ความแตกต่างระหว่าง anaphylaxis และ faint
ความแตกต่างระหว่าง anaphylaxis และ faint
การจัดคลินิกบริการ ในปีนี้มีจำนวนวัคซีนที่เพิ่มขึ้น 15 เท่าของปีที่ผ่านมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในคลินิกบริการ และสามารถรองรับผู้มารับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ในขั้นตอนที่สำคัญคือ การจัดทำแผนปฏิบัติงาน วางแผน และกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
หมายเหตุ1.ชื่อผู้รับผิดชอบจัดคลินิคบริการ..........................................................โทรศัพท์................................... หมายเหตุ1.ชื่อผู้รับผิดชอบจัดคลินิคบริการ..........................................................โทรศัพท์................................... • 2.ชื่อผู้รับผิดชอบประสานงานนัดหมายในชุมชน........................................................โทรศัพท์................................... • 3.ชื่อผู้รับผิดชอบรายงาน/บันทึกผลการให้บริการ...............................................................โทรศัพท์........................... • 4.ชื่อผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูลวัคซีน..............................................................................โทรศัพท์...................................
โรงพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการให้บริการโรงพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการให้บริการ โรงพยาบาลอาจประสานกับหน่วยงานอื่นที่สามารถดำเนินการเสริมได้ เช่น ในที่ตั้งของ PCU/สอ. ณ วันที่มีแพทย์จากโรงพยาบาลออกไปตรวจพร้อมรถพยาบาลฉุกเฉิน (Emergency Medial Service : EMS) จัดเตรียมสถานที่ให้บริการ/ สถานที่รอสังเกตอาการหลัง ได้รับวัคซีน 30 นาที โดยคำนึงถึง ควรมีพื้นที่ใช้งานให้เหมาะสมกับจำนวนผู้มารับวัคซีนในแต่ละวัน ควรแยกจากจุดผู้ป่วยที่มารับบริการปกติ (OPD)
การเบิกจ่ายวัคซีน หน่วยบริการเบิกวัคซีนจากกลุ่มงานเภสัชกรรมวันต่อวัน ให้บริการทันทีหลังเบิกจ่าย ห้ามเบิกวัคซีนไปเก็บไว้นอกคลังยาเพื่อรอให้บริการในภายหลัง ทั้งนี้การประเมินในปีที่ผ่านมาพบว่าการดำเนินการในลักษณะนี้อาจก่อให้เกิดการสูญเสียวัคซีนจากการเก็บรักษาวัคซีนไม่ถูกต้องได้
การให้บริการ ก่อนให้บริการผู้ป่วยทุกราย ขอให้เจ้าหน้าที่แจ้งอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนที่อาจเกิดขึ้น ตามข้อความดังนี้ “วัคซีนนี้เมื่อฉีดแล้วอาจมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดได้ 2-3 วัน อาการแพ้รุนแรงมีได้แต่พบน้อยมาก” ให้ผู้มารับบริการหรือญาติทราบก่อนทุกครั้ง ให้ลงรายชื่อรับทราบไว้ในทะเบียนบริการ “แบบสำรวจและรายงานการให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี 2552”
ในกรณีกลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในกรณีกลุ่มเป้าหมายที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หรือ มีโรคประจำตัวกำเริบที่ยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ หรือ มีโรคติดเชื้อเฉียบพลัน ควรเลื่อนการให้วัคซีนไปก่อน ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
ในวันที่ให้บริการฉีดวัคซีน บันทึกข้อมูลของผู้รับวัคซีนใน “แบบรายงานการให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี 2552” ที่สำรวจไว้ เมื่อให้บริการเสร็จสิ้นในแต่ละวัน ให้ตรวจสอบว่ามีผู้ที่ไม่มารับวัคซีนตามนัดหรือไม่ (เพื่อแจ้งให้พื้นที่ติดตามและนัดหมายใหม่) ใน “แบบรายงานการให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี 2552” ต้องบันทึกรหัสขวดที่ ........ Lot no………… เพื่อใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบเมื่อเกิดเหตุการณ์อาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน
ในวันที่ให้บริการฉีดวัคซีน แบบรายงานการให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ต้องส่งขึ้นมาที่ส่วนกลาง ให้เก็บไว้ที่สถานบริการ เก็บขวดวัคซีนที่ใช้แล้วอย่างน้อย 7 วัน หรืออาจน้อยกว่า 7 วัน หากพื้นที่ในตู้เย็นไม่เพียงพอ (อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส และต้องป้องกันไม่นำมาใช้ในวันรุ่งขึ้น)
แบบรายงานการให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี 2552(เก็บไว้ที่โรงพยาบาล) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง บุคลากรกลุ่มเสี่ยง บุคคลนอกกลุ่มเป้าหมาย โรงพยาบาล........................... อำเภอ........................ จังหวัด .................................... สถานที่ฉีดวัคซีน .......................................................