640 likes | 847 Views
การวิเคราะห์ แนวคิด หลักการ การกำหนดนโยบาย และการวางแผนการศึกษา ดร.จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี โรงเรียนบริหารธุรกิจคิงส์ตัน พัทยา อาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 53. แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับนโยบาย. 1 . ความหมายของนโยบาย ( What is policy ?)
E N D
การวิเคราะห์แนวคิด หลักการ การกำหนดนโยบาย และการวางแผนการศึกษาดร.จักรพงศ์ สุวรรณรัศมีโรงเรียนบริหารธุรกิจคิงส์ตัน พัทยาอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 53
แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับนโยบายแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับนโยบาย • 1. ความหมายของนโยบาย (What is policy?) นโยบายคือ สิ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวดำเนินการในอนาคต ซึ่งใช้เป็นกรอบในการตัดสินใจ จัดทำแผน จัดทำโครงการ และกำหนดวิธีดำเนินการ นโยบายจะสะท้อนให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ และทิศทางที่ผู้บริหาร และบุคลากรในองค์การใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเมื่อจำเป็น อาจกล่าวได้ว่า นโยบายคือข้อความที่กำหนดไว้กว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจดำเนินงานในหน่วยงานซึ่งมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1) เป็นข้อความที่กำหนดไว้กว้างๆเป็นนัยโดยทั่วไป ซึ่งอาจกำหนดเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนก็ได้ • 2) เป็นทิศทางและกรอบแนวคิดให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการในองค์การ ใช้เป็นจุดหมายหรือเป้าหมายในการดำเนินงานของหน่วยงาน และเป็นแนวในการตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้อง • 3) เป็นกรอบแนวคิดที่ใช้เป็นแนวในการกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อการบรรลุจุดมุ่งหมาย หรือความต้องการที่กำหนดไว้เป็นสำคัญ แต่มิใช่วิธีดำเนินการ
2. ความสำคัญของนโยบาย 1) เป็นเครื่องมือสำคัญในการตอบสนองความต้องการและค่านิยมขององค์การหรือบุคคล 2) เป็นสิ่งบอกทิศทางในการพัฒนาประเทศทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 3) นำพาองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.องค์ประกอบของนโยบาย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ • 1) ความต้องการจำเป็นของนโยบาย (Policy Demand) คือความต้องการจากสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ หรือเกิดจากความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะกำหนดเป็นนโยบายให้ละเว้นการกระทำเกี่ยวกับปัญหาที่เห็นว่าสำคัญ • 2) การตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบาย (Policy Decisions) เป็นผลต่อเนื่องจากความต้องการ ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ พิจารณาทางเลือก และตัดสินใจกำหนด
3) คำแถลงของนโยบาย (Policy Statement) คือข้อความระบุเนื้อหาสาระของนโยบายที่กำหนดขึ้น ประกอบด้วยส่วนที่เป็นวัตถุประสงค์ และมาตรการในการดำเนินงาน 4) ผลผลิตของนโยบาย (Policy Output) คือผลการปฏิบัติที่ปรากฏเป็นรูปธรรม ของการแถลงนโยบาย เป็นผลจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ 5) ผลลัพธ์ของนโยบาย (Policy Outcome) คือผลที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายจนถึงผลสุดท้าย และเป็นส่วนที่ต้องได้รับการติดตามประเมินผลต่อไป
กล่าวโดยสรุป คือส่วนที่เป็นความต้องการจำเป็นของนโยบาย ส่วนที่เป็นข้อความนโยบาย (คำแถลงนโยบาย อันเป็นส่วนที่เป็นผลจากการประมวลข้อมูล การวิเคราะห์ และการตัดสินใจ) และส่วนที่เป็นการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ (ผลผลิตจากการปฏิบัติและผลลัพธ์ที่เป็นผลต่อเนื่องจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ)
4. การวิเคราะห์นโยบาย เป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดนโยบาย และการกำหนดนโยบาย เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการนโยบาย หลักพื้นฐานของการวิเคราะห์ คือ - ต้องรู้จักข้อมูล - ต้องรู้จักมุมมองของปัญหา – ต้องมีทักษะต่างๆ ในการวิเคราะห์ กระบวนการนโยบาย ประกอบด้วย 1) การกำหนดนโยบาย วิเคราะห์นโยบายเพื่อ 2) การปฏิบัติ กำหนดทางเลือก 3) การประเมินผล ตัดสินใจเลือกนโยบาย ประกาศใช้ การกำหนด นโยบาย ปฏิบัติ ประเมินผล
การกำหนดนโยบาย ประกอบด้วย การวิเคราะห์นโยบาย เพื่อกำหนดทางเลือกนโยบาย ตัดสินใจลือกนโยบาย และประกาศใช้นโยบาย วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์นโยบาย เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะตัดสินใจเลือก กำหนดนโยบาย ประกาศใช้ และนำไปปฏิบัติต่อไป การกำหนดทางเลือกนโยบาย ต้องคำนึงถึง - ความเป็นไปได้ที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติให้มากที่สุด - ประหยัดงบประมาณ - ปัญหาได้รับการแก้ไข - นโยบายที่ดี
5. รูปแบบการวิเคราะห์นโยบาย รูปแบบที่ 1 เน้นประสิทธิภาพ และคำนวณเป็นตัวเงินได้ (Formal benefit – cost analysis) เป็นการวิเคราะห์ผลตอบแทน ผลประโยชน์ กับค่าใช้จ่าย โดยดูจากประสิทธิภาพ ถ้าผลรวมของประสิทธิภาพสูง ถือเป็นนโยบายที่ดี (เอาผลตอบแทนหารด้วยค่าใช้จ่าย) นโยบายใดให้ผลตอบแทนสูงสุดให้ใช้นโยบายนั้น รูปแบบที่ 2 เน้นประสิทธิภาพ แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นเงินได้ (Qualitative benefit- cost analysis) ได้แก่ หน่วยวัดตามธรรมชาติที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ เช่นการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม การทำให้จริยธรรมดีขึ้น
รูปแบบที่ 3เน้นประสิทธิภาพ (ค่าใช้จ่าย) และประสิทธิผล Cost – efficiency analysis)โดยทำค่าใช้จ่ายให้คงที่ และการทำประสิทธิผลให้คงที่ กำหนดเป้าหมายที่ต้องการ แล้วหาทางเลือกแต่ละทางเลือกที่ดีที่สุด รูปแบบที 4เป้าหมายประสิทธิภาพ กับเป้าหมายอื่น (modified benefit – cost analysis) เป็นเป้าหมายด้านความเป็นธรรม โดยใช้วิธีการให้น้ำหนัก เลือกรูปแบบให้ประโยชน์ และความเป็นธรรมสูง
รูปแบบที่ 5 มีเป้าหมายหลายเป้าหมาย หรือ 3 เป้าหมายขึ้นไป ซึ่งทำเป็นเชิงปริมาณ ไม่ได้ ไม่สามารถคำนวณได้ มีขั้นตอนการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) ต้องกำหนดว่านโยบายแต่ละนโยบายต้องการบรรลุเป้าหมายอะไร 2) การกำหนดเกณฑ์ วัดแต่ละเป้าหมาย 3) กำหนดเป้าหมาย และเกณฑ์วัด และพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ 4) การให้คะแนนตามเกณฑ์แต่ละทางเลือก ว่าแต่ละเกณฑ์มีทางเลือกไหนดีที่สุด 5) รวมคะแนนของทุกทางเลือก ใช้วิธีให้น้ำหนักตามลำดับความสำคัญ
สรุป นโยบาย มีความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย และเป็นเครื่องมือสนองความต้องการ และค่านิยม นโยบายที่ดีต้องนำไปสู่การปฏิบัติ องค์ประกอบนโยบาย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นความต้องการจำเป็นของนโยบาย ส่วนที่เป็นข้อความนโยบาย และส่วนที่เป็นการนำนโยบายไปใช้สู่การปฏิบัติ กระบวนการนโยบาย ประกอบด้วย การกำหนดนโยบาย การปฏิบัติ การประเมินผล การวิเคราะห์นโยบาย 5 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 เน้นประสิทธิภาพ และคำนวณเป็นตัวเงิน รูปแบบที่ 2 เน้นเฉพาะประสิทธิภาพ แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณ รูปแบบที่ 3 เน้นประสิทธิภาพ (ค่าใช้จ่าย) และประสิทธิผล รูปแบบที่ 4 เป้าหมายประสิทธิภาพกับเป้าหมายอื่น รูปแบบ 5 มีเป้าหมายหลายเป้าหมาย หรือ 3 เป้าหมายขึ้นไป
นโยบายรัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา - ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ปรับโครงสร้าง และการบริหารจัดการ ระดมทรัพยากร พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต การกระจายอำนาจ มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้ - ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา - พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา จัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ส่งเสริมการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้ยากไร้ - ยกระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ - ปรับปรุงระบบกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา - ส่งเสริม การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ - เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษา และเรียนรู้ ยึดเกณฑ์ของ สมศ. ในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
นโยบายของ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) - ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 - โครงการเรียนฟรี 15ปี อย่างมีคุณภาพ เน้นการมีส่วนร่วม - จัดตั้งโรงเรียนดีประจำตำบล - พัฒนาการศึกษา 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ - สร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก คือ กศน. ตำบล - จัดทำโครงการ Teacher Channel - สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561) 17
วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และกระแสเรียกร้องการ สร้างคนที่มี “ความรู้” คู่ “คุณธรรม” ประเทศไทยเคยมีความพยายามที่จะปฏิรูป การศึกษาหลายครั้ง แต่ความสำเร็จมีน้อย วิกฤตของประเทศและความพยายามในการปฏิรูปการศึกษา ก่อนปี 2542 18
จุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการศึกษาไทยในยุค 40’s กระแสการปฏิรูปการศึกษาของนานาชาติ ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและผลกระทบต่อ การศึกษา รายงานการศึกษานานาชาติและการศึกษาไทยในเวทีโลก ( เช่น TIMSS, โอลิมปิกวิชาการ) การศึกษาไทยมีปัญหาคุณภาพตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึง ปริญญาเอก 19
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 • มิติใหม่ของการศึกษาไทย : การศึกษาเป็นสิทธิของ ผู้เรียน • มีสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการศึกษาของชาติ • นำไปสู่การจัดทำ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ” และ “การปฏิรูปการศึกษา” 20
การปฏิรูปการศึกษา มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว 21
การขยายโอกาสทางการศึกษา12 ปี และ 15 ปี การจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ การศึกษาทางเลือก การจัดการศึกษาโดยครอบครัว โดย สถานประกอบการ โดยสถาบันศาสนา ฯลฯ การเพิ่มงบประมาณเพื่อการศึกษา การมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ความสำเร็จมาก 22
ความสำเร็จปานกลาง • การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ • การใช้แหล่งการเรียนรู้ ครูภูมิปัญญาไทย 23
การผลิตและพัฒนาครู ผู้บริหาร วิทยฐานะครูและผู้บริหาร กับ ผลการเรียน ของผู้เรียนไม่สัมพันธ์กัน สื่อและเทคโนโลยี • ความล้มเหลว 24
การปฏิรูปโครงสร้าง • เรื่องที่ล้มเหลว แตกแยก และเสียเวลา 25
ผู้เรียนขาดโอกาสรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉลี่ยได้เพียง 8.7 ปี ผลการประเมินภายนอกปัจจุบัน (ปี 2548-2551) ของ สมศ.พบว่า • ตัวชี้วัดบางรายการ 26
ระดับปฐมวัย (จำนวน 20,184 แห่ง) มีร้อยละ 80.4 ได้มาตรฐาน และร้อยละ 19.6 ต้องได้รับการ พัฒนา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (จำนวน 22,425 แห่ง) มีร้อยละ 79.7 ได้มาตรฐาน และร้อยละ 20.3 ต้อง ได้รับการพัฒนา 27
ระดับอาชีวศึกษา (จำนวน 549 แห่ง) มีร้อยละ 89.6 ได้มาตรฐาน และร้อยละ 10.4 ต้องได้รับ การพัฒนา ระดับอุดมศึกษา (จำนวน 154 แห่ง) มีร้อยละ 94.8 ได้มาตรฐาน และร้อยละ 5.2 ต้องได้รับการ พัฒนา 28
สัมฤทธิผลในวิชาหลัก (สังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์) เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 • ตัวชี้วัดบางรายการ(ต่อ) 29
ผลการจัดสอบ O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2548-2551 30
อุปสรรคของการปฏิรูปที่ผ่านมา • การเมืองที่เปลี่ยนแปลงบ่อย • ไม่ได้ให้ความรู้กับฝ่ายการเมือง • ทำปฏิรูปหลายเรื่องเกินไป จึงมีพลังไม่พอ • ขาดเจ้าภาพและผู้นำที่เข้มแข็ง • ไม่มีคนทำ มีแต่คนพูด 31
นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน พัฒนาครู อาจารย์ บุคลากรทางการ ศึกษา ให้โอกาสศึกษาฟรี 15 ปี 32
นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน (ต่อ) ยกระดับมาตรฐานอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ปรับปรุงระบบการกู้ยืมเพื่อการศึกษา ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การศึกษา เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและเรียนรู้อย่าง มีบูรณาการ 33
แนวความคิดหลักจากนายกรัฐมนตรี จากการประชุมระดมสมองของ สมศ. 14 พ.ค. 2552 หลักการที่สำคัญในการปฏิรูปฯ การสร้างคุณภาพและเนื้อหาในการศึกษา การสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษา การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม 34
ประเด็นที่ได้มาจากภาพรวมการระดมความคิดทั่วประเทศประเด็นที่ได้มาจากภาพรวมการระดมความคิดทั่วประเทศ ไม่ควรปฏิรูปแบบ “ดาวกระจาย” แต่ควรเน้นประเด็นหลัก เช่น การจัดระบบการบริหารจัดการ การจัดระบบการเงิน การเน้นคุณธรรมและความซื่อสัตย์ การสร้างจิตสาธารณะ การจัดการความรู้ขององค์กร 35
ประเด็นที่ได้มาจากภาพรวมการระดมความคิดทั่วประเทศประเด็นที่ได้มาจากภาพรวมการระดมความคิดทั่วประเทศ สร้างพลังในการปฏิรูปจากภายนอกระบบ การศึกษาด้วย ไม่เพียงจากภายในเท่านั้น 36
ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออะไร?ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออะไร? เพื่อได้การศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางในการเรียนรู้ ตลอดชีวิต เพื่อสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยการ เรียนรู้ 37
ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออะไร?ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออะไร? วิสัยทัศน์:“คนไทยได้เรียนรู้ ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” 38
สรุป จุดเน้นของการปฏิรูป 3 เรื่อง พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ โอกาสทางการศึกษา เปิดโอกาสให้ คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของ สังคม 39
คุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้คุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ คุณภาพคนไทยยุคใหม่ คุณภาพครูยุคใหม่ คุณภาพแหล่งเรียนรู้/สถานศึกษา ยุคใหม่ คุณภาพการบริหารจัดการใหม่ 40
โอกาสทางการศึกษา เปิดโอกาสให้ คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 41
การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของ สังคม (ครอบครัว ศาสนา องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง) 42
กลไกขับเคลื่อนการปฏิรูป กลไกขับเคลื่อนการปฏิรูป ตั้งคณะกรรมการนโยบายการปฏิรูป การศึกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็น ประธาน (อยู่ระหว่างพิจารณาแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป การศึกษา โดยมี รมว.ศธ.เป็นประธาน 43
มีกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูป (ต่อ) จัดตั้งกลไกอื่นๆ ตามความจำเป็น เช่น สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาETV คณะกรรมการคุรุศึกษาแห่งชาติสถาบัน คุณวุฒิวิชาชีพ เป็นต้น 44
แนวคิด และหลักการเกี่ยวกับการวางแผนการศึกษา • ความหมายของการวางแผน การวางแผนคือ สิ่งที่แสดงความตั้งใจล่วงหน้าที่จะดำเนินการภายในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้ โดยมีการพิจารณาล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการเลือกวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ วิธีการปฏิบัติ การวางแผนการศึกษา หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์การดำเนินงานที่ผ่านมา การตัดสินใจอย่างมีเหตุผลที่จะเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่จะพัฒนาการศึกษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น สำหรับระยะเวลาหนึ่งๆ ในอนาคต ภายใต้ทรัพยากรที่มี และที่จะใช้
“การวางแผนการศึกษา จะช่วยระบุถึงกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด วิธีดำเนินงาน สถานที่ ผู้รับผิดชอบ และทรัพยากรที่จะใช้”
2. องค์ประกอบของการวางแผน มีองค์ประกอบร่วม 4 ประการ คือ 1. เป็นกระบวนการ (Process) 2. เป็นการเลือกกำหนดวิธีดำเนินการ (Alternative the Action) 3. เป็นการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (Action to Objection) 4. เป็นการคาดการณ์ถึงความสำเร็จในอนาคต (Future Forecasting)
3. ประเภทของแผน แบ่งตามความรับผิดชอบ 3 ประเภท -แผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งต้องการข้อมูลที่สรุปรวมทั้งระบบ และมีการตัดสินใจที่ไม่จำเป็นต้องมีโครงการประกอบ -แผนทั่วไป (General Planning) ผู้บริหารระดับกลางจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งต้องการข้อมูลที่ประมวลมาพอสมควร และมีการตัดสินใจ ทั้งที่มีโครงการ และไม่มีโครงการ -แผนปฏิบัติการ (Operational Planning) ผู้ปฏิบัติจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งต้องการข้อมูลละเอียด และมีการตัดสินใจตามโครงการที่กำหนด
แบ่งตามระยะเวลา 3 ประเภท 1. แผนระยะสั้น (Short-Range Plan) ระยะเวลา 1-2 ปี 2. แผนระยะปานกลาง (Medium-Range Plan) ระยะเวลา 5-7 ปี 3. แผนระยะยาว (Long-Range Plan) ระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป ปัจจุบัน เป็นแผนลักษณะหมุนเวียน โดยทำแผน 5 ปี และใช้หลักการหมุนเวียน คือขยายเวลาของแผนออกไป 1 ปี ในแต่ละครั้ง และทบทวนเป้าหมายจากผลที่นำแผนไปใช้บังคับ ถ้าแผน 5 ปีจะจัดหมุนเวียน ดังนี้ 2535-2539, 2540-2544, 2545-2549, 2550-2554
แผนตามระดับองค์กร แบ่งเป็นชั้น เป็นระดับขององค์กร เช่น องค์กรระดับชาติ แบ่งเป็น แผนระดับชาติ (กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน) แผนระดับจังหวัด แผนระดับอำเภอ และแผนระดับกลุ่มโรงเรียน