810 likes | 1.51k Views
ตั๋วสัญญาใช้เงิน. หนังสือตราสาร. ข. ก. ออกตั๋ว. ผู้รับเงิน. ตั๋วสัญญาใช้เงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่ ข. เมื่อสิ้นกำหนดเวลา 60 วันนับแต่เห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท ( หนึ่งหมื่นบาทถ้วน )
E N D
ตั๋วสัญญาใช้เงิน หนังสือตราสาร ข ก ออกตั๋ว ผู้รับเงิน
ตั๋วสัญญาใช้เงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่ ข. เมื่อสิ้นกำหนดเวลา 60 วันนับแต่เห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้ออกตั๋ว ห้ามเปลี่ยนมือ
มาตรา ๙๘๕ บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด ๒ ว่าด้วยตั๋วแลกเงินดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องตั๋วสัญญา ใช้เงินเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา ๙๑๑, ๙๑๓, ๙๑๖, ๙๑๗, ๙๑๙, ๙๒๐, ๙๒๒ ถึง ๙๒๖, ๙๓๘ ถึง ๙๔๗, ๙๔๙, ๙๕๐, ๙๕๔ ถึง ๙๕๙, ๙๖๗ ถึง ๙๗๑ ถ้าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบทบัญญัติต่อไปนี้มาใช้บังคับด้วย คือบทมาตรา ๙๖๐ ถึง ๙๖๔, ๙๗๓, ๙๗๔ • มาตรา ๙๘๖ “ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน”
มาตรา ๙๗๓ เมื่อกำหนดเวลาจำกัดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ได้ล่วงพ้นไปแล้ว คือ (๑) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือในระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งภายหลังได้เห็น (๒) กำหนดเวลาสำหรับทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงิน (๓) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วเพื่อให้ใช้เงิน ในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน” ท่านว่าผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่เหล่าผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้รับรอง
มาตรา ๙๘๒ “อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับเงิน”
มาตรา ๙๘๓ ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต้องมีรายการดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (๑) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน (๒) คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน (๓) วันถึงกำหนดใช้เงิน (๔) สถานที่ใช้เงิน (๕) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน (๖) วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (๗) ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว
มาตรา ๙๘๔ ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่านระบุบังคับไว้ในมาตราก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน เว้นแต่ในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่า พึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้ออกตราสารนั้นเป็นสถานที่ใช้เงิน ถ้าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ระบุสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่า ตั๋วนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋ว ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้
มาตรา ๙๘๖ ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน • ตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้นต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋ว จดรับรู้ภายในจำกัดเวลาดั่งกำหนดไว้ในมาตรา ๙๒๘ กำหนดเวลานี้ให้นับแต่วันจดรับรู้ซึ่งลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว ถ้าผู้ออกตั๋วบอกปัดไม่ยอมจดรับรู้และลงวันไซร้ การที่เขาบอกปัดเช่นนี้ท่านว่าต้องทำให้เป็นหลักฐานขึ้นด้วยคำคัดค้าน และวันคัดค้านนั้นให้ถือเป็นวันเริ่มต้นในการนับกำหนดเวลาแต่ได้เห็น
ตั๋วสัญญาใช้เงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่ ข. เมื่อสิ้นกำหนดเวลา 60 วันนับแต่เห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย ห้ามเปลี่ยนมือ
ยื่นตั๋วให้ผู้ออกตั๋วยื่นตั๋วให้ผู้ออกตั๋ว จดรับรู้ ออกตั๋ว 6 เดือน ตั๋วที่มีวันถึงกำหนดใช้เงินตาม ม.913(4) ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน 60 วัน ทำคำคัดค้าน เพื่อนับวันถึงกำหนดใช้เงิน จด ไม่จด
มาตรา ๙๘๖ “ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้นต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ภายในจำกัดเวลาดั่งกำหนดไว้ในมาตรา ๙๒๘ กำหนดเวลานี้ให้นับแต่วันจดรับรู้ซึ่งลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว ถ้าผู้ออกตั๋วบอกปัดไม่ยอมจดรับรู้และลงวันไซร้ การที่เขาบอกปัดเช่นนี้ท่านว่าต้องทำให้เป็นหลักฐานขึ้นด้วยคำคัดค้าน และวันคัดค้านนั้นให้ถือเป็นวันเริ่มต้นในการนับกำหนดเวลาแต่ได้เห็น”
เช็ค สัญญาบัญชีเงินฝาก กระแสรายวัน ธนาคาร ข. ก ธนาคาร ข. สมุดเช็ค ก ค. เช็คเป็นเครื่องมือในการ เบิก/ถอนเงิน
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ธนาคาร ข. เงินสด ก ค. ลักษณะของเช็ค 1. เช็คไม่มีขีดคร่อม -เช็คที่ไม่ปรากฏเส้นขนานคู่ขีดขวางด้านหน้าของเช็ค -ธนาคารผู้จ่ายจะใช้เงิน เป็นเงินสดให้แก่ผู้ทรงเช็ค
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ธนาคาร ข. (กรุงเทพ) เรียกเก็บ ธนาคาร A. ก ค. ยื่นให้เก็บเงิน ค. อยู่เชียงใหม่ มีบัญชีเงินฝากกับ ธนาคาร A.
จ่าย ธนาคาร ข. เข้าบัญชี ยื่น เบิกเงินสด ก ค. 2. เช็คมีขีดคร่อม -เช็คปรากฏเส้นขนานคู่ขีดขวางด้านหน้าของเช็ค -ธนาคารผู้จ่ายจะใช้เงิน ให้แก่ธนาคารเท่านั้น (จ่ายเข้าบัญชี)
ประเภทของเช็คขีดคร่อมประเภทของเช็คขีดคร่อม 2.1 เช็คขีดคร่อมทั่วไป -เช็คปรากฏเส้นขนานคู่ขีดขวางด้านหน้าของเช็ค โดยระหว่างเส้น ไม่ปรากฏชื่อของธนาคารหนึ่งธนาคารใด -ธนาคารผู้จ่ายจะใช้เงิน ให้แก่ธนาคารเท่านั้น (จ่ายเข้าบัญชี) แต่จะเป็นธนาคารใดก็ได้
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ธนาคาร กสิกร จ่าย เข้าบัญชี ธนาคารกสิกร ยื่น เบิกเงินสด ก ค. ค. มีบัญชีเงินฝากของธนาคารกสิกร
จ่ายเข้าบัญชี ธนาคาร กสิกร ยื่นให้ใช้เงิน ธนาคารออมสิน ยื่น ยื่นให้เก็บเงิน ก ค. เบิกเงินสด ค. ไม่มีบัญชีเงินฝากของธนาคารกสิกร แต่มีบัญชีเงินฝากกับ ธนาคารออมสิน
2.2 เช็คขีดคร่อมเฉพาะ -เช็คปรากฏเส้นขนานคู่ขีดขวางด้านหน้าของเช็ค และระหว่างเส้นนั้นปรากฏชื่อของธนาคารหนึ่งธนาคารใด -ธนาคารผู้จ่ายจะใช้เงิน ให้แก่ธนาคารเท่านั้น (จ่ายเข้าบัญชี) และจะต้องเป็นธนาคารที่อยู่ระหว่างเส้นนั้นเท่านั้น
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ธนาคารกรุงไทย วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
จ่ายเข้าบัญชี ธนาคาร กสิกร ธนาคารกรุงไทย ยื่นให้ใช้เงิน ธนาคารออมสิน ยื่น ยื่นให้เก็บเงิน ก ค. เบิกเงินสด ค. มีแต่บัญชีเงินฝากกับ ธนาคารออมสิน ดังนั้น ค. ต้องเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร กรุงไทย ก่อน แล้วจึงยื่นเช็ค
มาตรา ๙๙๕ (๑) เช็คไม่มีขีดคร่อม ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนใดคนหนึ่งจะขีดคร่อมเสียก็ได้ และจะทำเป็นขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้ • (๒) เช็คขีดคร่อมทั่วไป ผู้ทรงจะทำให้เป็นขีดคร่อมเฉพาะเสียก็ได้ • (๓) เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะก็ดี ผู้ทรงจะเติมคำลงว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ก็ได้ • (๔) เช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารใด ธนาคารนั้นจะซ้ำขีดคร่อมเฉพาะให้ไปแก่ธนาคารอื่นเพื่อเรียกเก็บเงินก็ได้ • (๕) เช็คไม่มีขีดคร่อมก็ดี เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ส่งไปยังธนาคารใดเพื่อให้เรียกเก็บเงิน ธนาคารนั้นจะลงขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ตนเองก็ได้
เช็คมีข้อความห้ามเปลี่ยนมือเช็คมีข้อความห้ามเปลี่ยนมือ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด A/C PAYEE ONLY วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
มาตรา ๙๘๙ บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด ๒ อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา ๙๑๐, ๙๑๔ ถึง ๙๒๓, ๙๒๕, ๙๒๖, ๙๓๘ ถึง ๙๔๐, ๙๔๕, ๙๔๖, ๙๕๙, ๙๖๗, ๙๗๑ ถ้าเป็นเช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศ ท่านให้นำบทบัญญัติดังต่อไปนี้มาใช้บังคับด้วย คือบทมาตรา ๙๒๔, ๙๖๐ ถึง ๙๖๔, ๙๗๓ ถึง ๙๗๗, ๙๘๐
เช็คขีดคร่อมมีข้อความห้ามเปลี่ยนมือเช็คขีดคร่อมมีข้อความห้ามเปลี่ยนมือ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด A/C PAYEE ONLY วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
มาตรา ๙๙๙ “บุคคลใดได้เช็คขีดคร่อมของเขามาซึ่งมีคำว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ท่านว่าบุคคลนั้นไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่า และไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา”
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ห้ามเปลี่ยนมือ วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
ผลของเช็คซึ่งมีข้อความห้ามเปลี่ยนมือผลของเช็คซึ่งมีข้อความห้ามเปลี่ยนมือ -การโอนต้องทำตามวิธีการโอนสามัญ ม.989, 917 ว.2 ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ระบุ ถ้าผู้สลักหลังเป็นผู้ระบุ โอนตามวิธีการโอนตั๋วปกติ -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ม.999 -ธนาคารต้องจ่ายเข้าบัญชีเท่านั้น เพราะมีเส้นขีดคร่อม
เช็คที่ธนาคารรับรอง (Certified Cheque) ม.993 เมื่อใดในเช็คมีข้อความว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้เงินได้” หรือคำ อื่นใดที่แสดงผลอย่างเดียวกัน” พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของพนักงาน ธนาคารผู้มีอำนาจ ท่านถือว่า ธนาคารผูกพันเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะต้อง ใช้เงินให้แก่ ผู้ทรงเช็คนั้น
มาตรา ๙๘๗ อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคน หนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน • มาตรา ๙๘๘ อันเช็คนั้น ต้องมีรายการดั่งกล่าวต่อไปนี้ คือ (๑) คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค (๒) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน (๓) ชื่อ หรือยี่ห้อและสำนักงานของธนาคาร (๔) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ (๕) สถานที่ใช้เงิน (๖) วันและสถานที่ออกเช็ค (๗) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ใช้เงินได้ ลงชื่อ ธนาคาร วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
มาตรา ๙๙๓ ถ้าธนาคารเขียนข้อความลงลายมือชื่อบนเช็ค เช่นคำว่า “ใช้ได้” หรือ“ใช้เงินได้” หรือคำใด ๆ อันแสดงผลอย่างเดียวกัน ท่านว่าธนาคารต้องผูกพันในฐานเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในอันจะต้องใช้เงินแก่ผู้ทรงตามเช็คนั้น ถ้าผู้ทรงเช็คเป็นผู้จัดการให้ธนาคารลงข้อความรับรองดั่งว่านั้น ท่านว่าผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังทั้งปวงเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คนั้น ถ้าธนาคารลงข้อความรับรองดั่งนั้นโดยคำขอร้องของผู้สั่งจ่าย ท่านว่าผู้สั่งจ่ายและปวงผู้สลักหลังก็หาหลุดพ้นไปไม่
ผลการที่ธนาคารรับรองเช็ค ต่อผู้สลักหลังผู้สั่งจ่าย ก. ถ้าการรับรองเช็คเกิดจาก การจัดการของผู้ทรง จะมีผลทำให้ ผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังทั้งปวงหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะมีผลเท่ากับว่า คำรับรองของผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่าย ได้รับความเชื่อถือแล้ว (ม.914) เสมือนหนึ่งว่า ธนาคารยอมรับที่จะใช้ เงินตามเช็คแล้ว
ข. ถ้าการรับรองเกิดจาก การจัดการของผู้สั่งจ่าย ไม่มีผลทำให้ ผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังทั้งปวงหลุดพ้นจากความรับผิด
หน้าที่ของผู้ทรงเช็ค ม.990 1. เช็คใช้เงินเมืองเดียวกัน ผู้ทรงต้องยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันออกเช็ค 2. เช็คใช้เงินต่างเมือง ผู้ทรงต้องยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค
ผลของการไม่ยื่นเช็คภายในกำหนดผลของการไม่ยื่นเช็คภายในกำหนด -ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ ผู้สลักหลังทั้งปวงทันที -ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ ผู้สั่งจ่าย เท่าที่จะเกิดความเสียหาย อย่างหนึ่งอย่างใด เพราะการที่ผู้ทรงละเลยไม่ยื่นเช็คภายในกำหนดนั้น
การที่ผู้ทรงไม่ยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินไม่ทำให้ เงินในบัญชี ของผู้สั่งจ่ายลดน้อยลง ดังนั้นโดยทั่วไป ผู้สั่งจ่ายไม่หลุดพ้นจากความ รับผิด แต่หาก ธนาคารซึ่งผู้สั่งจ่ายมีบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เกิดล้มละลาย ย่อมมีผลทำให้ผู้สั่งจ่ายได้รับความเสียหาย
1 เดือน หรือ 3 เดือน ออกเช็ค ธนาคารล้มละลาย
ข้อสังเกต ม.990 กำหนดให้ผู้ทรงเสียสิทธิไล่เบี้ยต่อ ผู้สลักหลังทั้งปวง กับผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ดังนั้น ผู้ทรงจึงไม่เสียสิทธิไล่เบี้ยต่อ ผู้อาวัล และธนาคาร ผู้รับรองเช็ค
อำนาจหน้าที่ของธนาคารในการใช้เงินตามเช็ค ม.991,992 ธนาคารผู้จ่าย มีหน้าที่ใช้เงินตามเช็ค อันผู้เคยค้า(ผู้สั่งจ่าย) ออกเบิกเงินแก่ตน หน้าที่ของธนาคารเกิดขึ้นจาก ข้อตกลงในสัญญาบัญชี เงินฝากกระแสรายวัน(สัญญาฝากทรัพย์) ถ้าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็ค โดยไม่มีข้ออ้างตามกฎหมาย ที่จะทำเช่นนั้นได้ ธนาคารมีความรับผิดต่อผู้สั่งจ่าย ตามสัญญา บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน(ผิดสัญญา)
อำนาจของธนาคารในการใช้เงินเกิดจาก คำสั่งในเช็ค (ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่าย) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ 12345678 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย
สัญญาบัญชีเงินฝาก กระแสรายวัน ก ธนาคาร ข. เช็ค = คำสั่งให้จ่ายเงิน อำนาจหน้าที่จ่าย