290 likes | 498 Views
เนื่องจากในภาวะดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำให้เกิดเงื่อนไขของ MRS J FC = Pc = MRS J FC P F ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (competitive equilibrium) สร้างประสิทธิภาพในการจัดสรร (แลกเปลี่ยน) สินค้า.
E N D
เนื่องจากในภาวะดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำให้เกิดเงื่อนไขของ MRSJFC = Pc = MRSJFC PF ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (competitive equilibrium) สร้างประสิทธิภาพในการจัดสรร (แลกเปลี่ยน) สินค้า
ประสิทธิภาพในการผลิต(Efficiency in production)
การวิเคราะห์คล้ายกับกรณี Exchange โดยใช้ Edgeworth Box แต่เปลี่ยน - คนเป็นสินค้า - สินค้าเป็นปัจจัยการผลิต - IC เป็น isoquant
หลักเกณฑ์ที่ว่าการผลิตใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ (technically efficient) มีหลักการว่า “ปริมาณของสินค้าชนิดหนึ่งที่ผลิตได้ไม่อาจเพิ่มขึ้นโดยปราศจากการลดลงของปริมาณของสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ผลิตได้”
ดังนั้น ณ.กระบวนการผลิตใดก็ตามที่การจัดสรร(ใช้)ปัจจัยการผลิตนำไปสู่ปริมาณของสินค้าอย่างน้อยหนึ่งชนิดมากขึ้น โดยไม่ไปลดสินค้าอื่นๆแล้ว ก็จะถือว่าการผลิตตรงนั้นยังไร้ประสิทธิภาพ จุดที่มีประสิทธิภาพคือจุดสัมผัสระหว่าง isoquant ของสินค้า 2 ชนิด
เส้น Production Contract Curve เป็นเส้นต่อจุดสัมผัสทุกจุดบน Edgeworth Box แสดงถึงคู่ (combination) ของปัจจัยการผลิตต่างๆที่มีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
การสัมผัสของ isoquants ของสินค้า 2 ประเภททำให้รู้ว่า Marginal Rate of Technical Substitution ของทั้งสองเท่ากัน MRTSFLK = MRTSCLK จากความรู้เดิม MRTSLK = w/r และ w/r = MPL/ MPK ดังนั้น MRTSFLK = MRTSCLK = w/r = MPL/ MPK
เนื่องจากในภาวะดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ทำให้เกิดเงื่อนไข MRTSFLK = MRTSCLK = w/r ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า ดุลยภาพของตลาดแข่งขันสมบูรณ์(competitive equilibrium) สร้างประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า
แม้ว่าเส้น Production Contract Curve จะบอกว่าจุดของการผลิตที่มีประสิทธิภาพอยู่ตรงไหน แต่ไม่สามารถบอกว่าจุดใดจะดีที่สุด จุดที่สังคมเลือกขึ้นยู่กับความพึงพอใจ (preferences) ของผู้บริโภค
เมื่อนำ Production Contract Curve มา plot กราฟใน 2 มิติ จะได้ Production Possibilities Frontier (PPC) PPC เป็นเส้นแสดงความเป็นไปได้ในการผลิตสินค้า 2 ชนิด จากปัจจัยการผลิต 2 ชนิดที่คงที่ โดยให้เทคโนโลยีไม่เปลี่ยนแปลง
Marginal rate of transformation (MRT) เป็นการวัดว่าหากเราต้องการสินค้าชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วย จะต้องไปลดสินค้าชนิดอื่นลงกี่หน่วย MRT ในแต่ละจุดบนเส้น PPC มีค่าต่างกัน สะท้อนถึงการทดแทนของสินค้า 2 ชนิดต่างกันไป
การเปลี่ยนแปลงบนเส้น PPC สะท้อนถึงต้นทุนของการผลิตสินค้า 2 ชนิด เมื่อผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นก็จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยเปรียบเทียบกับต้นทุนของสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ลดลงไป ดังนั้น MRT = MCF MCC
ประสิทธิภาพทั้งในการแลกเปลี่ยนและการผลิต(output efficiency) หมายถึง ประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในที่นี้ หมายถึง ผู้ผลิตและผู้บริโภค
สินค้าที่ระบบเศรษฐกิจผลิตออกมาต้องสอดคล้องกับ 2 สิ่ง คือ 1. ผลิตด้วยต้นทุนต่ำสุด 2. เป็นสินค้าที่ผลิตออกมาได้ตรงตามที่ผู้คนยินดีที่จะจ่ายให้คุ้มกับต้นทุนการผลิต ดังนั้น MRTFC = MRSFC
กลไกตลาดของสินค้าที่มีการแข่งขันสมบูรณ์กลไกตลาดของสินค้าที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ จะทำหน้าที่ให้เกิดประสิทธิได้ ดังนี้คือ 1. ด้านผู้ซื้อ : MRSFC= PF / PC 2. ด้านผู้ผลิต : PF= MCF และ PC = MCC 3. ด้านปัจจัยการผลิต : MRT = MCF MCC ดังนั้น MRSFC= PF = MCF = MRT PC MCC
หาก MRSFCไม่เท่ากับMRT แล้ว กลไกราคาก็จะปรับตัวให้เกิด PF / PC ใหม่ที่ทำให้ MRSFC = MRT
ประสิทธิภาพ (efficiency) และ ความเสมอภาค(equity)
Utility Possibilities Frontier (UPF) เป็นการนำเอาเส้น contract curve มา plot ใน 2 มิติของคน 2 คน ในการแลกเปลี่ยนสินค้า 2 ชนิด จุดประสงค์ของ UPF คือการแสดงให้เห็นว่าทุกๆจุดบนเส้นนี้มีการจัดสรรที่มีประสิทธิภาพ
จุดใดๆภายใต้เส้นนี้ มีโอกาสที่จะมาอยู่บนเส้นได้ ซึ่งทำให้สวัสดิการของคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนดีขึ้น แต่ก็จะมีจุดที่เหนือเส้น UPF ซึ่งเป็นไม่ได้ เพราะสินค้าขนาดนั้นเกินกว่าที่มีอยู่
การจัดสรรที่ทำให้จุดใต้เส้น UPF มาอยู่บนเส้น อาจเป็นการจัดสรรที่เป็นธรรม (more equitable) มากขึ้นก็ได้ แต่ก็อยู่ในขอบเขตที่จำกัด โดยส่วนใหญ่ การจัดสรรที่มีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องเป็นธรรมด้วย
Social Welfare Function (SWF) เป็นวิธีการกำหนดน้ำหนัก (weights) ที่ถ่วงอรรถประโยชน์ของแต่ละคนในการตัดสินว่าอะไรเป็นที่พึงปรารถนาของสังคม ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเสมอภาคหรือเป็นธรรมขึ้นมาในสังคม สังคมจะไม่ใช้อรรถประโยชน์ที่บุคคลได้รับโดยตรง (อย่างที่ปรากฏใน UPF ) มาคำนวณหาความพึงพอใจรวม แต่ปรับด้วยน้ำหนักที่ถ่วง
เพื่อให้เกิดความเสมอภาค รัฐบาลอาจเข้าแทรกแซงโดยการใช้ภาษีมาทำการจัดสรรรายได้ใหม่ (redistribution of income) หรือ อุดหนุนสินค้าบริการที่จำเป็นแก่คนที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากความเสมอภาคไม่มีนิยามที่ยอมรับ เพราะขึ้นอยู่กับค่าแห่งดุลยพินิจ (value judgement) จึงเป็นการยากที่ทำให้สอดคล้องกับความมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น สังคมส่วนใหญ่จึงต้องเลือกที่จะ trade off ระหว่างสองสิ่งนี้