300 likes | 397 Views
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning). ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ใน การศึกษาความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ( Problem-based Learning) ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้.
E N D
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning)
ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ในการศึกษาความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
1. Neufeld & Barrow(1974)การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นผลจากการแก้ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่ผู้เรียนทำการสืบค้นเอง 2. Barrows (1982) หมายถึง การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก วิธีการเรียนรู้บนหลักการของการใช้ปัญหาเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่เดิม ให้ผสมผสานกับข้อมูลใหม่ แล้วประมวลเป็นกับความรู้ใหม่
3. Duch, Groh, & Allen (2001) หมายถึง การเรียน การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดีมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถก้าวทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลก วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นทั้งวิธีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนในด้านการพัฒนาหลักสูตร เป็นวิธีการจัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาศัยปัญหาที่เป็นจริงในการปฏิบัติของวิชาชีพ วิธีการเรียนการสอนและวิธีการประเมินผลโดยเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีหลักสำคัญในการจัดให้เกิดการเรียนรู้โดยใช้กลไก3ประการคือ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก • (Problem-based Learning) • การใช้ปัญหามาเป็นอันดับหนึ่ง(Problem Comes First) ผู้เรียนจะได้รับโจทย์ปัญหา(Case/Scenario)จากนั้นจะตั้งคำถามหรือปัญหา (Problems)จากโจทย์ ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนไปสืบค้นข้อมูลความรู้มาเพื่อตอบคำถามหรือเพื่ออธิบายปัญหานั้น ๆ ปัญหาหรือคำถามจากโจทย์คือปรากฏการณ์ใดๆ ที่ผู้เรียนไม่สามารถอธิบายได้ ทั้งนี้จะไม่มีการปูพื้นผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นการสอนโดยการบรรยาย
หรือ วิธีอื่นใดเกี่ยวกับข้อมูลความรู้ที่ต้องการเพื่อนำมาอธิบายปัญหาหรือคำถามในโจทย์ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนี้ ผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องที่กำลังจะศึกษาน้อย หรือไม่มีเลย แต่เมื่อผ่านกระบวนการการเรียนการสอนนี้แล้ว ผู้เรียนจะได้ความรู้เหล่านั้นจากการสืบค้นเอง และ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน โดยมีครูคอยให้การสนับสนุน(Facilitate) การเรียน
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง(Self-directed Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning: SDL)ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนี้ อาศัยกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อเรียนรู้โดยตัวผู้เรียนเอง ซึ่ง ศาสตราจารย์ นพ.ทองจันทร์หงศ์ลดารมณ์ ได้ให้ความหมายว่า “การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง” โดยจะต้องมีเวลาสำหรับให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เวลาดังกล่าวจะต้องปรากฏในตารางสอนอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมายถึงการที่ผู้เรียนมีความสามารถดังนี้ 1. กำหนด ความต้องการในการเรียนรู้ของตนเองว่า ยังขาดความรู้อะไรบ้าง ที่ต้องการในการตอบปัญหาหรือโจทย์ที่กำหนดมาให้ 2. รู้และระบุแหล่งที่จะสืบค้นข้อมูลนั้น ๆ ได้ 3. กำหนดวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองและลงมือศึกษาที่จะศึกษาได้ 4.ประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองได้
วิธีการของการเรียนรู้ด้วยตนเองจะประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้วิธีการของการเรียนรู้ด้วยตนเองจะประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ 2.1 ครูสร้างโจทย์ปัญหาที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ระหว่างการอภิปรายในกระบวนการกลุ่ม 2.2ตั้งประธาน และเลขากลุ่ม โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลืออยู่ประจำกลุ่ม 2.3 ผู้เรียนช่วยกันทำความเข้าใจกับคำศัพท์ของโจทย์ (ClerifyTerm and Concept)
2.4ผู้เรียนช่วยกันระบุปัญหาของสถานการณ์นั้น2.4ผู้เรียนช่วยกันระบุปัญหาของสถานการณ์นั้น (Define the Problem) 2.5ผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา (Analyse the Problem) 2.6ผู้เรียนช่วยกันตั้งสมมุติฐานและจัดลำดับความสำคัญ (Formulate Hypothesis) 2.7ผู้เรียนช่วยกันสร้างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Formulate Learning Objective) 2.8ผู้เรียนต่างคนไปรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม (Collect Additional Information Outside the Group)
2.9ผู้เรียนกลับเข้ากลุ่มเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาใหม่และสรุปหลักการเป็นแนวทางในการนำไปใช้2.9ผู้เรียนกลับเข้ากลุ่มเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาใหม่และสรุปหลักการเป็นแนวทางในการนำไปใช้ 2.10เมื่อเสร็จสิ้นการแก้ปัญหากลุ่มควรมีการประเมินตนเอง รวมทั้งให้เพื่อนๆ ประเมินตนในประเด็นต่อไปนี้ 1.ทักษะการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา 2. ความรู้ที่ได้จากโจทย์ปัญหาที่เรียน 3.ทักษะในการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง 4.ความร่วมมือและสนับสนุนในกระบวนการกลุ่ม
3. การเรียนรู้ในกลุ่มย่อย (Small Group Learning) การเรียนรู้โดยการอภิปรายในกลุ่มย่อย(Small Group Session/Tutorial Session)ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยการอภิปรายถกเถียงในกลุ่มย่อย ซึ่งเป็นโอกาสในการทำให้เกิดการขยายความให้กระจ่างชัด(Elaboration) ในเนื้อหาที่ได้ศึกษา พร้อมได้มีโอกาสเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในกลุ่มและ ได้ฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical Thinking)
เนื่องจากต้องอธิบายค่า ตอบให้กับเพื่อนในกลุ่มอย่างชัดเจนตามความคิดเห็นที่ตนได้เสนอไว้ และเป็นโอกาสที่ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ทั้งในฐานะผู้พูดหรือถ่ายทอดข้อมูล(Transmit Message) และในฐานะผู้ฟัง(Receive Message) ฝึกการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในกลุ่ม เช่น ประธาน เลขา คนเขียนกระดาน และสมาชิกในกลุ่ม มีบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในกลุ่มย่อย โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสในการทำหน้าที่เป็นผู้นำ และผู้ตาม ส่งผลให้สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะที่สำคัญของPBLก็คือลักษณะที่สำคัญของPBLก็คือ - ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning) - การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก - ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก(facilitator) หรือผู้ให้ คำแนะนำ(guide) - ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
- ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ปัญหา1ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง(illed- structure problem) - ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง(self-directed learning) - ประเมินผลจากสถานการณ์จริงโดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ(authentic assessment)
ข้อดีและข้อเสียของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักข้อดีและข้อเสียของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ข้อดี 1. สนับสนุนให้มีการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก(Deep Approach) 2. สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. โจทย์ปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้ จะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียนกับการปฏิบัติงานในอนาคต ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้สามารถจดจำได้ดีขึ้น 4. ทั้งครูและผู้เรียนสนุกกับการเรียน 5. ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเป็นทีม
6. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การหาข้อสรุปเมื่อมีความขัดแย้งเป็นต้น ข้อเสีย 1. ผู้เรียนอาจไม่มั่นใจในความรู้ที่ตนค้นคว้ามา เพราะไม่สามารถกำหนดวัตถุประสงค์อาจมีผลกระทบในทางลบเกี่ยวกับการเรียนได้ 2. ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น ทั้งฝ่ายผู้เรียนและผู้สอน ฝ่ายผู้เรียน
3. การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักนี้ อาจไม่เหมาะกับผู้เรียนที่ไม่ชอบการอภิปรายถกเถียง ชอบฟังมากกว่า 4.จะต้องมีการติดตามและเฝ้าระวังการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และทำการปรับเปลี่ยนแก้ไขตามเห็นสมควร
การสอนโดยใช้รูปแบบProblem-based Learningไม่ใช่การสอนแบบแก้ปัญหา (Problem solving method) มีครูจำนวนไม่น้อยที่นำวิธีสอนแบบแก้ปัญหาไปปะปนกับPBLเช่นสอนเนื้อหาไปบางส่วนก่อนจากนั้นก็ทดลองให้นักเรียนแก้ปัญหาเป็นกลุ่มย่อยแล้วครูก็บอกว่า “ฉันสอนแบบPBLแล้วนะ” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก
เพราะการสอนแบบPBL นั้น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของผู้เรียนโดยตรงต้องมาก่อนโดยปัญหาจะเป็นตัวกระตุ้นหรือนำทางให้ผู้เรียนต้องไปแสวงหาความรู้ความเข้าใจด้วยตนเองเพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปัญหานั้นกระบวนการหาความรู้ด้วยตนเองนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา (Problem solving skill)
แบบฝึกหัด 1.PBL ย่อมาจากคำว่าอะไร (เฉลย) 2.PBL คืออะไร (เฉลย) 3.การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก(PBL) มีกี่กลไก อะไรบ้าง (เฉลย) 4.ข้อดีของPBL คืออะไร (เฉลย) 5.ลักษณะที่สำคัญของPBL มีอะไรบ้าง (เฉลย)
การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดีมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถก้าวทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลก วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเรียนรู้ กลับ
มี 3 กลไก คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning) การเรียนรู้ในกลุ่มย่อย (Small Group Learning) กลับ
1. สนับสนุนให้มีการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก(Deep Approach) 2. สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. โจทย์ปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้ จะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียนกับการปฏิบัติงานในอนาคต ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้สามารถจดจำได้ดีขึ้น 4. ทั้งครูและผู้เรียนสนุกกับการเรียน 5. ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเป็นทีม กลับ
- ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง • - การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก • - ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก(facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ(guide) • ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ • - ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน • ปัญหา1ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง(illed- structure problem) กลับ มีอีก
- ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง(self-directed learning) - ประเมินผลจากสถานการณ์จริงโดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ(authentic assessment) กลับ
นางสาวรัตนา กิ่งสาหัส จัดทำโดย นางสาวจันวิภา รัตนะ นางสาวอรทัย ศรีพิทักษ์ นายรพีภัทร บุญหาร นายรัฐศาสตร์ หาชารี สาขาภาษาอังกฤษ G:3 ปี 1