270 likes | 511 Views
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙. 09/23/98. สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ๑. เหตุผลในการตรา พ.ร.บ. ๒. ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. ๓. ความคุ้มครองที่ พ.ร.บ. ให้แก่เจ้าหน้าที่ ๔. วิธีการเยียวยาความเสียหายของผู้เสียหาย ๕. สิทธิเรียกร้องระหว่างหน่วยงานและเจ้าหน้าที่. ป. พ.พ. มาตรา ๔๒๐.
E N D
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ 09/23/98
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ๑. เหตุผลในการตรา พ.ร.บ. ๒. ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. ๓. ความคุ้มครองที่ พ.ร.บ. ให้แก่เจ้าหน้าที่ ๔. วิธีการเยียวยาความเสียหายของผู้เสียหาย ๕. สิทธิเรียกร้องระหว่างหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
ป.พ.พ.มาตรา ๔๒๐ หลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ) ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
รับผิดทั้งหมด • ไม่เป็นธรรม • ไม่กล้าตัดสินใจหรือสั่งการ • ไม่มีจ่าย • ไม่รับผิดเลย • ใช้อำนาจตามอำเภอใจ • ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ระมัดระวัง • เลย เจ้าหน้าที่ ความเสียหาย รัฐ/หน่วยงานของรัฐ ผู้เสียหาย (ภาระแก่ส่วนรวม)
๑. เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดรับผิดเป็นส่วนตัว หลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๒. หน่วยงานของรัฐร่วมรับผิด แล้วไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้น ๓. เจ้าหน้าที่รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
๑.เหตุผลในการตรา พ.ร.บ. ๑. การใช้หลักเกณฑ์ใน ป.พ.พ. มุ่งได้เงินครบโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมและบั่นทอนขวัญกำลังใจ ๒. เจ้าหน้าที่ที่อาจกระทำโดยไม่ตั้งใจหรือผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ๓. หลักเรื่องลูกหนี้ร่วมทำให้ต้องรับผิดในการ กระทำของเจ้าหน้าที่อื่นด้วย ๔. เจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจเพราะเกรงความรับผิด ๕. มีวิธีการบริหารงานบุคคลและวินัยควบคุมอยู่แล้ว
๒. ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย(พ.ร.บ.) ๑. เวลา : ๑๕ พ.ย. ๒๕๓๙ ในส่วนกฎหมายสารบัญญัติ ในส่วนกฎหมายวิธีสบัญญัติ ๒. หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายเฉพาะ หน่วยงานอื่นตามพระราชกฤษฎีกา ๓. การกระทำของเจ้าหน้าที่ ละเมิดแก่บุคคลภายนอก ละเมิดแก่หน่วยงานของรัฐ
หลักเกณฑ์กฎหมายสารบัญญัติหลักเกณฑ์กฎหมายสารบัญญัติ เช่น ความรับผิดในทางละเมิด, สิทธิไล่เบี้ย ความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ให้ใช้หลักเกณฑ์แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะที่มีการกระทำละเมิดบังคับ
หลักเกณฑ์กฎหมายวิธีสบัญญัติหลักเกณฑ์กฎหมายวิธีสบัญญัติ เช่น ขั้นตอนการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง การพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งการ การรายงานกระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบ การแจ้งผลการพิจารณา ให้ใช้หลักเกณฑ์แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ เนื่องจากหลักเกณฑ์เดิมถูกยกเลิกไปแล้ว
แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด รวบรวมหลักฐานและให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจง ขั้นตอนการดำเนินการให้รับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการเสนอความเห็นไปยังผู้แต่งตั้ง วินิจฉัยว่ามีผู้รับผิดหรือไม่ เท่าใด เเต่ยังไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ ส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบและพิจารณา ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง แจ้งคำสั่งแก่เจ้าหน้าที่พร้อมสิทธิฟ้องคดีและอายุความฟ้องคดี
ความหมายของเจ้าหน้าที่(พ.ร.บ. ละเมิดฯ มาตรา ๔) “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด
๑) ลูกจ้างที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นการปฏิบัติงานประจำและต่อเนื่อง มีการกำหนดอัตราเงินเดือน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การลงโทษทางวินัย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ๒) ลูกจ้างที่ถูกว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็น ครั้งคราวเฉพาะงาน ไม่ว่าจะมีสัญญาจ้างเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม ซึ่งความสัมพันธ์ของบุคคลกับหน่วยงานย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. ลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดย พ.ร.บ. ๑. พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔ ๒. พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. ๒๕๐๑ ๓. พ.ร.บ.การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๒๒ ๔. พ.ร.บ. การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๗
องค์การของรัฐบาลที่จัดตั้งโดย พ.ร.ฎ. ๑. องค์การคลังสินค้า ๒. องค์การสวนยาง ๓. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๔. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
หน่วยงานอื่นตามพระราชกฤษฎีกาหน่วยงานอื่นตามพระราชกฤษฎีกา ๑. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๒. สำนักงาน กกต. ๓. สำนักงานศาลยุติธรรม ๔. โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ๕. สำนักงานปฏิรูปการศึกษา ๖. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ๗. แพทยสภา ๘. องค์การมหาชนและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ๙. หน่วยงานอื่น ๆ ตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด
การปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่จงใจ/ประมาทธรรมดา จงใจ/ประมาทร้ายแรง บางส่วน - ความบกพร่องของหน่วยงาน - ระบบการดำเนินงานส่วนรวม เฉพาะส่วนของตน ความเสียหายจากเจ้าหน้าที่
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ม. ๖ ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหาย อาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
๓. ความคุ้มครองที่ พ.ร.บ. ให้แก่เจ้าหน้าที่พ.ร.บ. ละเมิดฯ มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง
๔. วิธีการเยียวยาความเสียหายของผู้เสียหายพ.ร.บ. ละเมิดฯ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ม. ๘ สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใด ให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี เป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้(วรรคสอง) ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงาน ของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย(วรรคสาม)
ประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทำโดยมิได้เจตนา แต่เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจำต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หมายถึง บุคคลได้กระทำโดยขาดความระมัดระวังที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ร.บ. ละเมิดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง
๕. สิทธิเรียกร้องระหว่างหน่วยงานและเจ้าหน้าที่หน่วยงานเรียกร้องจากเจ้าหน้าที่ ๑. หน่วยงานใช้สิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ภายใน อายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่ชดใช้ค่าสินไหมแก่ ผู้เสียหาย (ม.๙) ๒. หน่วยงานเรียกเจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิด ต่อหน่วยงานให้รับผิด (ม.๑๐) ๒ ปี นับแต่วันที่รู้เรื่องละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ที่ต้องชดใช้ ๑ ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
อายุความ(พ.ร.บ. ละเมิดฯ มาตรา ๑๐ วรรคสอง) สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนและกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
การเรียกให้เจ้าหน้าที่รับผิดทางละเมิด(พ.ร.บ. ละเมิดฯ มาตรา ๑๒) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา ๘ หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๐ ประกอบกับมาตรา ๘ ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด
เงื่อนไขการออกคำสั่งทางปกครอง(มาตรา ๑๒) ๑. เจ้าหน้าที่ทำละเมิดในหน้าที่ ๒. เจ้าหน้าที่ทำละเมิดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง