1 / 209

บทที่ 3

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 962 453 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง. บทที่ 3. การกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติ. อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ ลักษณะธรรมชาติของทฤษฎีคลาสสิคและเคนส์ การกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติของคลาสสิค

Download Presentation

บทที่ 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 962 453 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง บทที่ 3 การกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติ อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. หัวข้อ • ลักษณะธรรมชาติของทฤษฎีคลาสสิคและเคนส์ • การกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติของคลาสสิค • การกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติของเคนส์ • เปรียบเทียบทฤษฎีคลาสสิคและเคนส์ • ดุลยภาพของตลาดผลผลิต ตลาดเงิน และตลาดระหว่างประเทศ • การเปลี่ยนแปลงในดุลยภาพทั่วไป • การกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติเชิงตัวแบบ(Model) • การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพเชิงตัวแบบ(Model)

  3. ลักษณะธรรมชาติของทฤษฎีคลาสสิคและเคนส์ลักษณะธรรมชาติของทฤษฎีคลาสสิคและเคนส์

  4. ลักษณะธรรมชาติของทฤษฎีคลาสสิคลักษณะธรรมชาติของทฤษฎีคลาสสิค • มีความเชื่อในกลไกการทำงานของกลไกราคาหรือกลไกตลาด ว่าสามารถก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับตัวเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจไว้ได้ • ระบบเศรษฐกิจจะไม่ปรากฏสภาพการว่างงานและจะไม่เกิดการขาดแคลนด้านอุปสงค์ หากเกิดขึ้นจะเป็นเพียงชั่วคราว แล้วระบบจะปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพที่ระดับการจ้างงานเต็มที่เสมอ • ถ้าระดับราคา ค่าจ้าง และอัตราดอกเบี้ย มีความยืดหยุ่นแล้ว ระบบเศรษฐกิจจะไม่ปรากฏอุปทานส่วนเกินของสินค้าและบริการ และจะไม่ปรากฏอุปทานของแรงงานส่วนเกินด้วย ระบบเศรษฐกิจจึงมีดุลยภาพของรายได้ที่ระดับการจ้างงานเต็มที่เสมอ

  5. กฎของเซย์ (Say’s Law) กล่าวว่า อุปทานสร้างอุปสงค์ (Supply creates its own demand) กล่าวคือ ที่ระดับการผลิตหนึ่งใดนั้น ค่าใช้จ่ายที่ใช้ออกไปในการผลิตระดับนั้นจะก่อให้เกิดรายได้เป็นจำนวนเท่ากับค่าใช้จ่าย ซึ่งรายได้จำนวนนี้เพียงพอที่จะนำมาซื้อผลผลิตระดับนั้นได้ทั้งหมด ถ้าการผลิตลดลง รายได้จะลดลงเป็นสัดส่วนต่อผลผลิตที่ลดลง ซึ่งทำให้อุปสงค์ต่อผลผลิตลดลง ในทางกลับกัน ถ้ามีการใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น รายได้จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ต่อผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย • ระบบเศรษฐกิจอาจเกิดวัฏจักรธุรกิจ(Business cycle) แต่จะคงสภาพไม่นาน เนื่องจาก ระดับราคา ค่าจ้าง และอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวทำให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจได้ • รัฐบาลไม่ควรเข้าไปแทรกแซงการทำงานของกลไกตลาดหรือการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

  6. ลักษณะธรรมชาติของทฤษฎีเคนส์ลักษณะธรรมชาติของทฤษฎีเคนส์ • John Theory Maynard Keynes ตีพิมพ์ผลงาน The General ปี 1936 อธิบายเพื่อแก้ปัญหาช่วงที่เกิด The Great Depression ที่เกิดสภาพการว่างงาน ระดับราคา ค่าจ้าง และอัตราดอกเบี้ยตกต่ำ และไม่มีแนวโน้มว่าจะกระเตื้องขึ้น • ระดับการมีงานทำเต็มที่อาจจะอยู่สูงกว่าหรือต่ำกว่าระดับรายได้ดุลยภาพ ถ้าระดับรายได้ดุลยภาพอยู่ต่ำกว่าระดับการมีงานทำเต็มที่ก็จะก่อให้เกิดภาวะเงินฝืด แต่ถ้าหากระดับรายได้ดุลยภาพอยู่สูงกว่าระดับการมีงานทำเต็มที่ก็จะก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ • เคนส์ เสนอว่า ในภาสะเศรษฐกิจตกต่ำ ให้รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล โดยการเพิ่มการใช้จ่ายมากขึ้น และ/หรือการลดการจัดเก็บภาษีลง

  7. คำถามท้ายหัวข้อ • กฎของเซย์ (Say’s Law) กล่าวว่าอย่างไร นำมาใช้วิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันได้อย่างไร • ตามแนวคิดของคลาสสิค เหตุใดระบบเศรษฐกิจจึงอยู่ในภาวะสมดุลตลอดเวลา? และหากเกิดกรณีรัฐบาลใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร? ในในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่จะสอดคล้องกับแนวคิดของคลาสสิค? • การเกิดการตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่(Great Depression) ส่งผลต่อแนวคิดของสำนักคลาสสิคอย่างไร?

  8. คำถามท้ายหัวข้อ(ต่อ) • ตามแนวคิดของเคนส์ มีเหตุผลใดที่รัฐจำเป็นจะต้องเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ? • ในภาวะที่ระดับผลผลิตดุลยภาพอยู่ต่ำกว่าระดับผลผลิตที่มีการจ้างงานเต็มที่ และกรณีที่ระดับผลผลิตดุลยภาพอยู่สูงกว่าระดับการจ้างงานเต็มที่ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจแตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร

  9. การกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติของคลาสสิคการกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติของคลาสสิค

  10. การกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติของคลาสสิคการกำหนดขึ้นเป็นรายได้ประชาชาติของคลาสสิค • ตลาดผลผลิต -การออม -การลงทุน • ตลาดแรงงาน -อุปสงค์ต่อแรงงาน -อุปทานของแรงงาน • ตลาดเงิน -ทฤษฎีปริมาณเงิน (Quantity theory of money)

  11. ตลาดผลผลิต

  12. ตลาดผลผลิต • การออม (Savings : S) เงินออมจะถูกนำไปลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด ถือเป็นอุปทานของเงินทุนหรือเงินให้กู้(Supply of investable funds orSupply of loanable funds) S = การออม (Savings)R = อัตราดอกเบี้ยเงิน (Interest rate)Y = รายได้ (Income) การออมมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยและรายได้ในทิศทาง เดียวกัน การออมเป็นส่วนของรายได้ที่เหลือจากการออม ส่วนอัตราดอกเบี้ย เป็นผลตอบแทนจากการออม(การออมมีความยืดหยุ่นต่ำต่ออัตราดอกเบี้ย)

  13. การออมมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ย และรายได้ในทิศทางเดียวกัน • เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น สะท้อนว่าผลตอบแทนจากการออมเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นแรงจูงใจให้บุคคลหรือครัวเรือนทำการออมเพิ่มขึ้น • การออมมีความยืดหยุ่นต่ออัตราดอกเบี้ย • การออมขึ้นอยู่กับรายได้ ในทิศทางเดียวกัน แต่มีความสำคัญค่อนข้างต่ำ (highly inelastic : รายได้เปลี่ยนแปลงไป แต่การออมเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย) • ความสำคัญของการออมต่อรายได้จะมีน้อยกว่าการออมต่ออัตราดอกเบี้ย (หรืออัตราดอกเบี้ยจะกำหนดการออมมากกว่ารายได้นั่นเอง)

  14. (Supply of investable funds or Supply of loanable funds) S1(Y1) S2(Y2) S3(Y3) อัตราดอกเบี้ย(R) Y1 <Y2 < Y3 R1 S1 <S2 < S3 R0 การออม(S) 0 S0 S1 S2 S3 ความสัมพันธ์ขอวงการออมต่ออัตราดอกเบี้ยเมื่อกำหนดให้รายได้คงที่

  15. การลงทุน (Investment : I) การลงทุนเป็นอุปสงค์ต่อเงินทุนหรือเงินให้กู้(Demand of investable funds orDemand of loanable funds) I = การลงทุน (Investment)R = อัตราดอกเบี้ยเงิน (Interest rate) การลงทุนมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนจะเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น การลงทุนจะลดลง

  16. อัตราดอกเบี้ย(R) อุปสงค์ต่อเงินทุน(Demand for Investable Funds) I 0 การลงทุน(I) ความสัมพันธ์ของการลงทุนต่ออัตราดอกเบี้ย

  17. ดุลยภาพของตลาดผลผลิต • เงื่อนไขด้านรายได้ ด้านอุปสงค์ Y = C + S (การบริโภค บวก การออม) ด้านอุปทาน Y = C + I (การบริโภค บวก การลงทุน) จะได้ S = I นั่นเอง • ระดับดุลยภาพของตลาดผลผลิตอยู่ที่ ระดับการออม (S) เท่ากับ การลงทุน (I) หรือ อุปทานขงเงินทุน (Supply of Loanable : S) เท่ากับ อุปสงค์ต่อเงินทุน (Demand for Loanable Funds : I)

  18. อัตราดอกเบี้ย(R) อุปทานของเงินทุน (Supply of investable funds) S R1 I 0 การลงทุน(I) S1 = I1 อุปสงค์ต่อเงินทุน(Demand for Investable Funds) ดุลยภาพตลาดผลผลิต

  19. อัตราดอกเบี้ย lS=Supply of Loanable Fund lD=Demand for Loanable Fund r s = Saving = Supply of Loanable lS=s i = Investment = Private Demand for Loanable E2 r2 E1 g = Government Demand for Loanable A r1 l2D= i1 + g2 l1D= i1 + g1 0 i , s , g s1=i1+g1 s2=i1+g2

  20. ตลาดแรงงาน

  21. อุปทานมวลรวมของคลาสสิกอุปทานมวลรวมของคลาสสิก

  22. คลาสสิก สมมุติให้ ตลาดแรงงานเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ • อุปสงค์ต่อแรงงาน (Demand for Labor : ND) ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มของแรงงาน (Marginal Product of Labor : MPL) ในทิศทางตรงกันข้ามกัน ถ้ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มจะลดลง ในขณะที่เมื่อมีการจ้างงานลดลง ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มจะเพิ่มขึ้น • ผู้ผลิตหวังกำไรสูงสุด จะใช้ปัจจัยแรงงานในการผลิต ณ ระดับ ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่ม เท่ากับ ค่าจ้างที่แท้จริง( ) • อุปทานของแรงงาน (Supply of labor : NS) ขึ้นอยู่กับค่าจ้างแท้จริง (Real wage : w = = ค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน หารด้วย ระดับราคา ) • การเปลี่ยนแปลงของค่าจ้างที่เป็นตัวเงินจะไม่มีผลต่อตลาดแรงงาน ทั้งนี้เนื่องจาก ระดับราคา จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางและสัดส่วนเดียวกับ ค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน ทำให้ค่าจ้างแท้จริงไม่เปลี่ยนแปลง

  23. การผลิต y C y3 B y=f(N) y2 ผลผลิตหรือรายได้ประชาชาติแท้จริง(y) ขึ้นอยู่กับ แรงงานที่ใช้ในการผลิต (N) โดยกำหนดให้ปัจจัยทุน (K) ที่ดิน(L) และ เทคโนโลยี(T) คงที่ A y1 0 N N0 N1 N2 APL,MPL A/ B/ APL C/ 0 N N2 N0 N1 MPL

  24. การจ้างงาน อุปสงค์ต่องาน (ND) MPL x P = W A w2 B w1 C MPL ผลิตภาพแรงงานหน่วยสุดท้าย w0 MPL P ราคาสินค้า W ค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน w ค่าจ้างที่แท้จริง N 0 N การจ้างงาน N0 N1 N2

  25. อุปสงค์ต่องาน (ND) ND=f(w)- A w2 B w1 C w0 ND N 0 N0 N1 N2

  26. อุปทานแรงงาน(NS) NS รายได้(บาท) อัตราค่าจ้าง C 7x24=168 7 T2/ B 5x24=120 5 T1/ T2 70 A 2x24=48 T0/ U3 2 T1 40 U2 T0 N U1 H=24 14 16 0 0 8 10 พักผ่อน ทำงาน

  27. อุปทานแรงงาน(NS) NS C w2 B w1 NS=f(w)+ A w0 N 0 N0 N1 N2

  28. w ND NS E w0 0 N N0 ดุลยภาพในตลาดแรงงาน ดุลยภาพในตลาดแรงงาน เกิดขึ้น ณ ระดับค่าจ้างที่ทำให้อุปสงค์ต่อแรงงาน เท่ากับ อุปทานของแรงงาน และระดับการจ้างงานดังกล่าวจะเป็นระดับการจ้างงานเต็มที่ (Equilibrium in market labor full employment) การจ้างงานกับอัตราค่าจ้างแท้จริง(w)

  29. การจ้างงานและผลผลิตดุลยภาพการจ้างงานและผลผลิตดุลยภาพ N y=f(N) N w NS ND NS E N0 N0 w0 ND 0 N N0 yf y w0 y=f(N) y0 E/ 0 N N0

  30. W N3S(3P1 ) N2S(2P1 ) N1S(P1 ) 3W1 E2 2W1 E1 W1 E0 N3D: MPL x 3P1 N2D: MPL x 2P1 N1D: MPL x P1 0 N N0 N1 N2 การจ้างงานกับอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน(W) P เพิ่มขึ้น แรงงานเรียกร้อง W เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกันทำให้ค่าจ้างแท้จริง w คงที่ การจ้างงาน N จึงคงที่

  31. w= ND NS E 0 N N0

  32. ฟังก์ชันอุปทานรวมของคลาสสิกฟังก์ชันอุปทานรวมของคลาสสิก P AS 3P1 E3 2P1 E2 E1 P1 0 y y1

  33. ดุลยภาพในตลาดผลผลิตของคลาสสิกดุลยภาพในตลาดผลผลิตของคลาสสิก P AS 3P1 E3 2P1 E2 Yd(M3)=AD3(M3) E1 P1 Yd(M2)=AD2(M2) Yd(M1)=AD1(M1) 0 y y1

  34. ตลาดการเงิน

  35. ทฤษฎีอุปสงค์ต่อเงินของสำนักคลาสสิก

  36. 1. ทฤษฎีปริมาณเงินอย่างหยาบ (The Crude Quantity Theory of Money) หรือทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบอย่างง่าย (A Simple Version of the Quantity Theory of Money) - David Hume , Adam Smith , David Ricardo เป็นต้น - ข้อสมมติว่า คนมิได้มีความต้องการเงินเพื่อตัวของมันเองหรือเพื่อสะสมมูลค่า แต่ต้องการเงินเพราะเงินมีอำนาจซื้อ ดังนั้น การเพิ่มปริมาณเงินจะทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้น และมีอุปสงค์ต่อสินค้าเพิ่มขึ้น - เน้นบทบาทของเงินในฐานะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน - “ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและระดับราคาเป็นความสัมพันธ์กันโดยตรงและเป็นสัดส่วนกัน” >>> ถ้าปริมาณเงินเพิ่มขึ้นเท่าตัวย่อมทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้นเท่าตัว >>> ในทางตรงกันข้ามถ้าปริมาณเงินลดลงเท่าตัว ระดับราคาจะลดลงเท่าตัวด้วย

  37. เมื่อ M = ปริมาณเงินที่หมุนเวียนทั้งหมด (Money Supply) P = ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป (General Price Level) k = ค่าคงที่

  38. 2. ทฤษฎีปริมาณเงิน : สมการแลกเปลี่ยน (The Quantity Theory : The Equation of Exchange) • MV = PT • M = ปริมาณเงิน (Money Supply) เน้นที่การแลกเปลี่ยนจึงเป็นเงินเงินในรูปตัวกลางในการแลกเปลี่ยน >>> Currency (ธนบัตร+เหรียญกษาปณ์) + Demand Deposit (เงินฝากกระแสรายวัน) • V = อัตราการหมุนเวียนของเงิน (Velocity of Circulation of Money) คือ การหมุนเวียนเปลี่ยนมือไปของเงินจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งในแต่ละปี ถ้าเศรษฐกิจรุ่งเรืองอัตราการหมุนเวียนจะมากกว่าในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ในระยะเวลาอันสั้นอัตราการหมุนเวียนของเงินถือได้ว่าคงที่ • T = ปริมาณการค้า (Volume of Transactions) หรือปริมาณสินค้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายตัว เช่น ทรัพยากรในทางเศรษฐกิจ ในระยะสั้นเชื่อว่าคงที่

  39. P = ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป (General Price Level) - ทั้ง 2 ด้านคือสิ่งเดียวกัน คือ มูลค่าของเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้สินค้า (MV) เท่ากับ มูลค่าของสินค้าทั้งหมดที่ใช้แลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน (PT) - สมการแลกเปลี่ยนไม่ใช่ทฤษฎี แต่เป็นความจริง กล่าวคือ ปริมาณเงิน (M) คูณกับ อัตราการหมุนเวียน (V) จะเท่ากับ ปริมาณสินค้าและบริการ (T) คูณกับ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ย (P) ระดับราคาขึ้นอยู่กับปริมาณเงิน หรือ ปริมาณเงินเป็นตัวกำหนดระดับราคา การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินทำให้ระดับราคาเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนเดียวกัน

  40. 3. ทฤษฎีปริมาณเงิน : รูปแบบการซื้อขายแลกเปลี่ยน (The Quantity Theory : The Transaction Approach) - Irving Fisher - สมการ เมื่อ M = ปริมาณเงินที่หมุนเวียนทั้งหมด (Money Supply) คือ ธนบัตร+เหรียญกษาปณ์(Currency) M/ = ปริมาณเงินฝากที่จ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเงินฝากกระแสรายวัน (Demand Deposit ) V = อัตราการหมุนเวียนของเงินธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ V/ = อัตราการหมุนเวียนของเงินฝากกระแสรายวัน P = ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ย T = ปริมาณธุรกรรมทั้งสิ้นหรือปริมาณสินค้าและบริการทั้งสิ้น

  41. M + M/= ปริมาณเงิน V + V/= อัตราการหมุนเวียนของเงิน - M และ M/ >> M มีอิทธิพลโดยตรงต่อ P และมีอิทธิพลเหนือ M/ >> ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจปกติในระยะสั้น M เปลี่ยนไปทำให้ M/ เปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันและเป็นสัดส่วนกัน >> M และ M/ เป็นอิสระจาก V และ V/ - V ในระยะยาวถูกกำหนดโดยอุปนิสัย การใช้จ่ายเงินของบุคคล ระบบการจ่ายเงินของสังคม ความหนาแน่นของประชากร ความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสาและการคมนาคม เป็นต้น ภายใต้ภาวะปกติค่า V และ V/ จะมีลักษณะคงที่ และเป็นอิสระจากปัจจัยอื่น

  42. - P เป็นตัวแปรที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยอื่นในสมการแลกเปลี่ยน กล่าวคือ P ถูกกำหนดโดย M , V และ T แต่ P จะไม่มีผลกระทบต่อตัวแปร M , V และ T - T ถูกกำหนดโดยจำนวนประชากร ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาการแห่งความรู้และวิทยาการ ซึ่งเปลี่ยนแปลงช้ามาก ในระยะสั้น T จึงคงที่ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment)

  43. 4. ทฤษฎีปริมาณเงิน : วิเคราะห์จากรายได้ (The Quantity Theory : Income Approach) - วิเคราะห์ปัจจัย T ให้แคบลง โดยพิจารณาเฉพาะการซื้อขายที่ก่อให้เกิดรายได้ และให้ T แทนด้วย Y ซึ่งเป็นรายการซื้อขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย จึงเป็นการป้องกันการนับซ้ำ - สมการ MVy = Pyy ; แทน Ty ด้วย y เมื่อ M = ปริมาณเงิน Vy= จำนวนรอบของการหมุนเวียนของเงินแต่ละหน่วยที่ถูกใช้ไปในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในงวดเวลาที่พิจารณา Py= ดัชนีราคาสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในรอบระยะเวลาที่พิจารณา

  44. y = ปริมาณสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในรอบระยะเวลาที่พิจารณา หรือผลิตภัณฑ์ประชาชาติแท้จริง (Real GNP) - Vyมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแต่เป็นไปอย่างเชื่องช้า ในระยะสั้นจึงถือว่าคงที่ Vyเป็นอิสระไม่ขึ้นกับ M - y อยู่ในระดับการจ้างงานเต็มที่ >> y จึงคงที่ - จาก MVy = Pyy ทำให้ Pyแปรผันโดยตรงกับ M ในสัดส่วนเดียวกัน

  45. 5. ทฤษฎีปริมาณเงิน : รูปแบบการถือเงินสด (The Quantity Theory : Cash-Balance Approach) - สำนักเคมบริดจ์ (The Cambridge School) - อาศัยการวิเคราะห์สมการแลกเปลี่ยน เช่นเดียวกับ Fisher แตกต่างจาก Fisher ตรงที่ Fisher เน้นเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แต่ Cambridge เน้นเงินเป็นอำนาจซื้อชั่วคราวหรือเครื่องรักษามูลค่า - ให้ k = อัตราส่วนความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายในระหว่างปี - สมการ ให้

  46. ทฤษฎีปริมาณเงินในรูปความต้องการถือเงินทฤษฎีปริมาณเงินในรูปความต้องการถือเงิน Alfred Marshall และ A.C. Pigou ได้เสนอแนวคิดที่เรียกว่า ทฤษฎีปริมาณเงินของเคมบริดจ์ (The Cambridge Quantity Theory of Money) หรือทฤษฎีปริมาณเงินในรูปความต้องการถือเงิน(Cash Balance Quantity Theory of Money)MD = kPy เมื่อ MDคือ ปริมาณเงินที่ประชาชานต้องการถือ k คือ สัดส่วนของรายได้ประชาชาติที่ประชาชนต้องการถือไว้ (หรือสัดส่วนการถือเงินต่อรายได้)P คือ ระดับราคาy คือ ปริมาณผลผลิต โดยที่ k และ y คงที่

  47. และถ้าให้ T แทนด้วย y จะได้ เมื่อ M , P , T , y มีคำจำกัดความเช่นก่อนหน้า - จัดอยู่ในรูปความต้องการถือเงินได้ MD = kPy เมื่อ MD คือ ปริมาณเงินที่ประชาชานต้องการถือ k คือ สัดส่วนของรายได้ประชาชาติที่ประชาชนต้องการถือไว้ (หรือสัดส่วนการถือเงินต่อรายได้)P คือ ระดับราคาy คือ ปริมาณผลผลิต โดยที่ k และ y คงที่

  48. ดังนั้น ;หรือ ระดับราคาขึ้นอยู่กับปริมาณเงิน หรือ ปริมาณเงินเป็นตัวกำหนดระดับราคา การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินทำให้ระดับราคาเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนเดียวกัน เช่น เมื่อปริมาณเพิ่มขึ้น 2 เท่า จะทำให้ ปริมาณมีมากกว่าความต้องการถือเงิน ประชาชนก็จะจับจ่ายใช้สอย ในขณะที่ปริมาณผลผลิตมีคงที่ที่ระดับการจ้างงานเต็มที่ ทำให้ระดับราคาสินค้าจะต้องเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่าจากระดับราคาสินค้าเดิมด้วย

  49. สำนักคลาสสิก เห็นว่า คนจะถือเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายเท่านั้น เพราะฉะนั้น เงินทุกบากทุกสตางค์จะถูกนำออกมาใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ไม่มีใครถือเงินสดไว้เลย (Idle cash holding) โดยนัยนี้ เงินจึงเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเท่านั้น (Medium of exchange) • การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน นำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงของการใช้เงิน ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับราคา(สินค้าในสัดส่วนเดียวกัน)

  50. P B C P2=4 A AD2(M2 =2,000) P1=2 AD1(M1 =1,000) 0 y y2=2,000 y1=1,000 ปริมาณเงินและอุปสงค์รวม

More Related