310 likes | 587 Views
การประชุมสัมมนาครู กศน. สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก เรื่องการขับเคลื่อนนโยบาย ประจำปีงบประมาณ 2556. สุรพงษ์ ไชยวงศ์ ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก 8 พฤศจิกายน 2555.
E N D
การประชุมสัมมนาครู กศน. สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก เรื่องการขับเคลื่อนนโยบาย ประจำปีงบประมาณ 2556 สุรพงษ์ ไชยวงศ์ ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก 8 พฤศจิกายน 2555
วิสัยทัศน์ คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพได้ทุกที่ ทุกเวลา และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ การมีอาชีพและการมีความสามารถเชิงการแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน
นโยบายสำนักงาน กศน. ปีงบประมาณ 2556
นโยบายเร่งด่วน1. ยกระดับการศึกษาประชาชนให้จบการศึกษา ม.6 ภายใน 8 เดือนอย่างมีคุณภาพ2. เร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพหลักสูตร OTOP Mini MBAสู่ชุมชน3. เปิดโลก กศน. สู่ กศน.อินเตอร์ เพื่อประชาคมอาเซียน4. เสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชน5. เร่งรัดการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนเพื่อการจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติ6. เร่งพัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติดตามและนิเทศเพื่อการพัฒนางาน กศน. อย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายต่อเนื่อง1. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ1.1 จัดสนับสนุนการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน1.2 การส่งเสริมการรู้หนังสือ1.3 การศึกษาต่อเนื่อง1.4 การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน1.5 การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย1.6 การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้1.7 การศึกษาทางไกล
2. นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย2.1 การส่งเสริมการอ่าน2.2 ห้องสมุดประชาชน2.3 วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา3. นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน3.1 การพัฒนา กศน. ตำบล/แขวง ให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน3.2 ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัดและสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืนในครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกระดับ
3.4 อาสาสมัคร กศน.3.5 การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน4.นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ4.1 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ4.2 โครงการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงชายแดนของ ศฝช.4.3 การส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ5. นโยบายด้านสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา6. นโยบายด้านการบริหารจัดการ6.1 การพัฒนาบุคลากร6.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง6.3 การพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูล6.4 การกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผล
การจัดการหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2551 แนวคิดการจัดการศึกษา - ใช้หลักการเรียนรู้การศึกษาผู้ใหญ่ (ผู้ใหญ่มีลักษณะอย่างไร , เรียนรู้อย่างไร , ) - ผู้ใหญ่มีความรู้ประสบการณ์เป็นทุนการเรียนรู้ - การเรียนรู้ของผู้ใหญ่มีความหมาย,เป้าประสงค์
การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน • สอดคล้องกับสภาพและบริบทของผู้เรียน • ออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน • ใช้วิธีเรียนที่หลากหลาย (เรียนแบบพบกลุ่ม , ตนเอง , โครงงาน , สอนเสริม , พบผู้รู้ , ปฏิบัติจริง , สาธิต , ศึกษาดูงาน , ทางไกล) • ประเมินผลการเรียนตามวิธีการ กศน.
เป้าหมายการประชุมสัมมนาเรื่อง กศ.ขั้นพื้นฐาน 1วางแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ตามหลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 2ครูเป็นผู้จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน 3วางแผนการเรียนรู้ทุกวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียน ในภาคเรียนที่ 2/2555
วัตถุประสงค์การออกแบบการเรียนรู้วัตถุประสงค์การออกแบบการเรียนรู้ • ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน • เน้นการเรียนรู้และวางแผนการจัดภาคเรียนที่ 2/2555 • ออกแบบทั้งรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก • วิชาเลือกภาคเรียนนี้ใช้วิธีประเมินปลายภาคแบบเชิงประจักษ์และประเมินรวบยอด(Compretensive)
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 • 1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชน และสังคม 2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ 4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนายึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
การวัดและประเมินผล 4 ลักษณะได้แก่ 1.การประเมินความรู้ ซึ่งกำหนดให้มีการประเมิน 2 ส่วนได้แก่ การประเมินระหว่างภาค 60 % โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียน และความรู้สะสมจากกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินความรู้ ยอดปลายภาค 40 % ซึ่งทั้งสองส่วนผู้เรียนจะต้องผ่านการประเมินไม่น้อยกว่า 50% จึงจะถือว่าผ่านในแต่ละวิชา
2.การประเนินด้านจริยธรรม คุณธรรมในตัวของผู้เรียน ซึ่งประเมินผู้เรียนสะสมตลอดหลักสูตร ตีค่าการประเมินผ่าน หรือไม่ผ่าน 3.การเข้ารับการทดสอบความรู้มาตรฐานชาติ(National test) ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนจะต้องเข้ารับการทดสอบมาตรฐานชาติ (National test) ภาคเรียนสุดท้ายก่อนครบหลักสูตร 4.ผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 100 หน่วยการเรียนในแต่ละระดับ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นอำนาจ หน้าที่ของสถานศึกษา (ศูนย์ กศน. อำเภอ)
การประเมินตามสภาพจริงการประเมินตามสภาพจริง • การประเมินสภาพจริง เป็นการประเมินจากการวัดโดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงในสถานการณ์จริง • การประเมินสภาพจริงเป็นการประเมินจากการฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติ จะเป็นงานหรือสถานการณ์ที่เป็นจริง (Real Life) หรือใกล้เคียงกับชีวิตจริง
สะสมความรู้(Credit System) การสะสมผลการเรียนเป็นการยอมรับความรู้ประสบการณ์ เมื่อผู้เรียนได้เก็บสะสมผลการเรียนรู้ที่ จำเป็นได้ครบตามหน่วยกิตแล้ว ผู้เรียนก็สามารถจบการศึกษา วัตถุประสงค์ของการสะสมผลการเรียน คือ การให้โอกาสทางการศึกษาหลายๆ ทางเพื่อให้คนได้มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจน มุ่งหาความรู้และฝึกอบรมเพิ่มเติมในระยะยาว
หลักวิธีการจัด • จัดกิจกรรมบนพื้นฐาน ปัญหา ความต้องการของชุมชน • จำแนกกลุ่มผู้เรียน วัยวุฒิ ปัญหา ความต้องการ และสภาพ • มีวิธีเรียนที่หลากหลาย รายคน รายกลุ่ม เรียนจากผู้รู้ เรียนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียนด้วยตนเองจากสื่อ ตามอัธยาศัย • สร้างบรรยากาศในชุมชนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง • มีสื่อ แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ • ผู้เรียน ๆ อย่างมีความสุข พึงพอใจในกิจกรรม • ครูออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ตัวอย่างแบบฟอร์มการจัด กศ.ขั้นพื้นฐาน
สิ่งที่ต้องการให้ครู ศรช.ทุกคนทำ • ออกแบบการจัดการศึกษาทุกวิชาลักษณะการเรียนรู้บูรณาการ ใช้วิธีเรียนที่หลากหลาย • เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ครู ไม่สอนหรือสอนน้อยที่สุด • ใช้วิทยากรภายนอก และกิจกรรมให้มาก • มีแผนการเรียนรู้นักศึกษาที่ชัดเจน • วิชาเลือกไม่มีการสอบปลายภาคแบบปกติ ยกเว้นวิชาเลือกกลุ่มพื้นฐาน • สอบปลายภาควิชาเลือกใช้แบบประเมินเชิงประจักษ์และสอบ Comprehensive และ Take home
การจัดการศึกษาต่อเนื่องการศึกษาเพื่อการมีงานทำศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงการจัดการศึกษาต่อเนื่องการศึกษาเพื่อการมีงานทำศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
การศึกษาเพื่อการมีงานทำการศึกษาเพื่อการมีงานทำ 1.การพัฒนาอาชีพต้นน้ำ (โลกอาชีพ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ตัดสินใจเลือกอาชีพ รู้และเข้าใจบริบทอาชีพที่สนใจ) 2.การพัฒนาอาชีพกลางน้ำ (การเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพที่สนใจ ประกอบอาชีพอยู่ในสิ่งที่ขาด การประกอบการ และวิธีการดำเนินธุรกิจ) 3.การพัฒนาอาชีพปลายน้ำ (การเรียนรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจที่ดำเนินการ Mini MBA เรื่องการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาธุรกิจ การขยายกิจการธุรกิจ เรื่องบรรจุหีบห่อ การทำบัญชี ฯลฯ)
วิธีการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ - เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - รวมกลุ่มวางแผนและดำเนินกิจกรรมกลุ่ม - เรียนจากวิทยากร - ส่งไปเรียนจากแหล่งเรียนรู้อื่นหรือสถานประกอบการ - ฝึกทักษะ(วิชาชีพระยะสั้น,เชิญวิทยากรเฉพาะเรื่อง) - ศึกษาดูงาน แหล่งเรียนรู้อื่น - ปฏิบัติจริง - โครงงาน สาธิต ฯลฯ
วิธีการจัดอาชีพเพื่อการมีงานทำ1. รวมกลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน OTOP2. เปิดกลุ่มอาชีพระยะสั้น3. จัดทำในลักษณะโครงการบูรณาการกิจกรรม - กิจกรรมเวทีชุมชน สัมมนากลุ่ม - การรวมกลุ่มกิจกรรมและวางแผนปฏิบัติกลุ่ม - ฝึกอาชีพระยะสั้น - ศึกษาดูงาน - เชิญผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเป็นครั้ง ๆ - เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
การจัดกิจกรรมทักษะชีวิต เป็นการเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเป็นเรื่องตามความสนใจเช่นเดียวกับลักษณะกลุ่มสนใจการจัดกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเลือกชุมชนเพื่อทำการวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางและกิจกรรมแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง ดำเนินการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมชุมชน/กลุ่มต่อเนื่อง
วิธีการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องวิธีการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง • กิจกรรมการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ หลักสูตรระยะสั้น(การฝึกอบรม) เสนอขออนุมัติ ผอ.อำเภอ • กิจกรรมทักษะชีวิต กลุ่มสนใจ เสนอขออนุมัติ ผอ. อำเภอ • การจัดกิจกรรมในลักษณะโครงการที่นอกเหนือจากการดำเนินการจัดกิจกรรม กศน. (การดำเนินการจัดกิจกรรมลักษณะโครงการ) เสนอขออนุมัติต่อ ผอ.กศน.จังหวัด
เชิญซักถามและเสนอแนะเพื่อความชัดเจนการทำงาน(ผอ.เน้นย้ำการทำงาน โปร่งใส ซื่อสัตย์ ประหยัด และมีประสิทธิภาพของผลงาน)