701 likes | 1.72k Views
เทคนิคการประเมินประสิทธิภาพขององค์กร. Balanced Scorecard (BSC). ศึกษาศาสตร์ การบริหารการศึกษา กลุ่มที่ 8 มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขา วิทย บริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดศรีสะ เกษ. ความหมายของ Balanced Scorecard (BSC).
E N D
เทคนิคการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรเทคนิคการประเมินประสิทธิภาพขององค์กร Balanced Scorecard (BSC) ศึกษาศาสตร์ การบริหารการศึกษา กลุ่มที่ 8 มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดศรีสะเกษ
ความหมายของ Balanced Scorecard (BSC) Balanced Scorecard (BSC) Kaplan และ Norton ได้ให้นิยามล่าสุดของ Balanced Scorecard ไว้ว่า “เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) โดยอาศัย การวัดหรือประเมิน (Measurement) ที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร (Alignment and focused) ”
ความหมายของ Balanced Scorecard (BSC) • บัณฑูร ล่ำซำ ให้ความหมายไว้ว่า “Balance scorecard คือเครื่องมือการบริหารจัดการในเชิงสมดุล” • สุวัฒน์ศิรินิรันดร์ กล่าวว่า “Balance scorecard เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการในการแปลงวิสัยทัศน์ แผนกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่การปฏิบัติ เป็นเครื่องมือในการปรับปรุง พัฒนากลไกภายในองค์กร
สรุปความหมายของ Balanced Scorecard (BSC) • คือระบบหรือกระบวนการในการบริหารงานชนิดหนึ่งที่อาศัยการกำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI) เป็นกลไกลสำคัญ เพื่อเป็นตัวชี้วัดถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงาน BSC เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการแปลงวิสัยทัศน์ แผนกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่การปฏิบัติ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ
ความเป็นมา Balanced Scorecard (BSC) • แนวคิดแบบ Balanced Scorecard เกิดจาก Professor Robert Kaplan อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Harvard และ Dr. David Norton ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ Robert David
โดยทั้งสองได้ศึกษาและสำรวจถึงสาเหตุของการที่ตลาดหุ้นของอเมริกาประสบปัญหาในปี 1987 และพบว่าองค์กรส่วนใหญ่ในอเมริกานิยมใช้แต่ตัวชี้วัดด้านการเงินเป็นหลัก ทั้งสองจึงได้เสนอแนวคิดในเรื่องของการประเมินผลองค์กร โดยพิจารณาตัวชี้วัดในสี่มุมมอง (Perspectives) แทนการพิจารณาเฉพาะ มุมมองด้านการเงินเพียงอย่างเดียว
มุมมองทั้ง 4 ด้านของ Balanced Scorecard ด้านการเงิน (Financial Perspective) ลูกค้า/ผู้รับบริการ(Customer Perspective) Balanced Scorecard ด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต (Learning and Growth Perspective) ด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective)
มุมมองทุกด้านจะมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรเป็นศูนย์กลางในแต่ละด้านประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1. วัตถุประสงค์ (Objective) คือสิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการที่จะบรรลุในแต่ละด้าน 2. ตัวชี้วัด (Measures หรือ Key Performance Indicators) คือ ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ในแต่ละด้าน และตัวชี้วัดเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละด้านหรือไม่
3. เป้าหมาย (Target) คือ เป้าหมายหรือตัวเลขที่องค์กรต้องการจะบรรลุในตัวชี้วัดแต่ละประการ 4. แผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรม (Initiatives) ที่องค์กรจะจัดทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น โดยในขั้นนี้ยังไม่ใช่แผนปฏิบัติการที่จะทำ แต่เป็นเพียงแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เบื้องต้นที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับBalanced Scorecard 1. Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) และเป็นเครื่องมือในการวัด และประเมินผลองค์กร โดยอาศัยการวัดหรือประเมิน (Measurement) ที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้อง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร (Alignment and focused)
2. Balanced Scorecard ในฐานะเครื่องมือที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่ การปฏิบัติ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าจุดอ่อนที่สำคัญของผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่การวางแผน หรือการจัดทำกลยุทธ์ แต่อยู่ที่ความสามารถในการนำกลยุทธ์ที่ได้กำหนดขึ้นไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. Balanced Scorecard ในฐานะเครื่องมือในการประเมินผลองค์กร การประเมินผลองค์กรไม่สามารถใช้แต่ตัวชี้วัดทางการเงินได้เพียงอย่างเดียว ผู้บริหารต้องพิจารณามุมมองอื่น ๆ
หลักการเกี่ยวกับ BSC หน้าที่ทางการบริหารของผู้บริหารองค์กรต้องประกอบด้วยหลักการ ดังนี้ 1. การวางแผน (Planning) 2. การจัดองค์กร (Organizing) 3. การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) 4. การสั่งการ (Directing) 5. การควบคุม (Controlling)
การบริหารเชิงกลยุทธ์โดยใช้ BSC มีกลยุทธ์หลักที่สำคัญ 5 ประการ 1. Mobilize ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องเป็นผู้นำในการจุดชนวนความคิด เคลื่อนพลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2. Translate มีการถ่ายทอดแปลความหมาย ผ่านเครื่องมือสำคัญที่เรียกว่า แผนที่กลยุทธ์ เพื่อให้การบริหารจัดการในองค์กรมีการเชื่อมโยงกันได้
3. Alignment ทำให้หน่วยงานมีการผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียวหรือความรู้สึกความรักต่อองค์กร 4. Motivate มีแรงกระตุ้น ดลใจ ให้ทุกคนทำตามเป้าหมายขององค์กร
5. Govern ดูแลให้ทุกอย่างที่ทำมาแล้วมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนในการจัดทำ Balanced Scorecard 1. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SwotAnalysis) ขององค์กรเพื่อให้ทราบถึงสถานะ พื้นฐานขององค์กร 2. การพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร ผู้บริหารจะมีวิสัยทัศน์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้บริหาร
3. การกำหนดมุมมอง (Perspective) ด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินกิจการมุมมองของแต่ละกิจการ จะแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของการดำเนินกิจการ 4. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) และ วัตถุประสงค์ (Objective) ในมุมมองด้านต่าง ๆ โดยเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ในลักษณะของเหตุและผล เพื่อสร้างเป็นแผนที่ทาง กลยุทธ์ (Strategy Map) 6. การกำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPIs) และเป้าหมาย (Target) สำหรับแต่ละมุมมองพร้อมทั้งเรียงลำดับความสำคัญ 7. การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
แนวทางการนำ Balanced Scorecard มาใช้ให้เกิดผลสำเร็จ • ผู้บริหารระดับสูงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการนำ BSC มาใช้ให้เกิดผลสำเร็จ ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและมีทัศนคติทีดี • การบริหารการเปลี่ยนแปลง การนำ BSC มาใช้เกิดผลจะต้องนำแนวคิดในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเข้ามาใช้ร่วมด้วย • การนำ BSC มาใช้ต้องเน้นที่ความเร็ว เรียบง่าย ต่อเนื่อง • การผูกผลของ BSC กับสิ่งที่จูงใจบุคลากร • BSC ถือเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์
ประโยชน์ที่ได้จากการนำ Balanced Scorecard ไปใช้ 1.ช่วยให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น 2.ทำให้ทั้งองค์กรมุ่งเน้น และ ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร โดยต้องให้เจ้าหน้าที่ทั้งองค์กรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
3.ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวัฒนธรรมขององค์กรโดยอาศัยการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ 4. ทำให้พนักงานเกิดการรับรู้และเข้าใจว่างานแต่ละอย่างมีที่มาที่ไปอีกทั้งผลของงาน
BSC กับระบบราชการ ตัวแบบประยุกต์ของ BSC ที่ปรับใช้กับส่วนราชการไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แบ่งมุมมอง (Perspective) ด้านการจัดการศึกษา ออกเป็น 4 มุมมอง คือ 1. มุมมองด้านนักเรียน ( Student ) โดยเน้นที่โอกาสการได้รับบริการการศึกษาจบหลักสูตร คุณภาพตามหลักสูตร การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 2. มุมมองด้านกระบวนการภายใน ( Internal Process ) โดยเน้นด้านรูปแบบการจัดการศึกษา เครือข่ายที่เข้าร่วม การพัฒนาหลักสูตร การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
3. มุมมองด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโต ( Learning and Growth ) โดยเน้นความสามารถของบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพ ระบบ ICT เพื่อการบริหาร วัฒนธรรม ค่านิยม 4. มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร ( Budget and Resource ) โดยเน้นด้านความเพียงพอของทรัพยากรและเหมาะสม การบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ
การใช้แนวคิด BSC ในการประเมินองค์กรสถานศึกษา • มุมมองด้านนักเรียน (Student) โดยเน้นที่โอกาสการได้รับการบริการการศึกษาจบหลักสูตร • มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process) โดยเน้นด้านรูปแบบการจัดการศึกษา • มุมมองด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโต (Learning and Growth) โดยเน้นความสามารถของบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพ • มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร (Budget and Resource) โดยเน้นด้านความพอเพียงของทรัพยากรและเหมาะสม