560 likes | 1.42k Views
เอกสารประกอบการประชุมชี้แจง เรื่อง เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ ( Career Path ) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สำนักบริหารงานกลาง กลุ่มงานบริหารงานบุคคล วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖. ที่มาของการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ ( Career Path ) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
E N D
เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงเอกสารประกอบการประชุมชี้แจง เรื่อง เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักบริหารงานกลาง กลุ่มงานบริหารงานบุคคล วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖
ที่มาของการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา • เกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) หมวด ๕ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล • ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ สังกัดรัฐสภา ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๖๐) ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล กลยุทธ์ที่ ๕ (แผนงาน ๕.๑) • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ กำหนดให้ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ความหมายของเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) • “การวางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path Profile) คือ การวางแผนความก้าวหน้าทางสายอาชีพของข้าราชการ ตามความสามารถและคุณลักษณะ (Competency) ที่จำเป็นใน แต่ละตำแหน่งงาน รวมทั้งการสร้างเสริมคุณลักษณะ (Competency) ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ในสายอาชีพนั้นๆ ตลอดจนการเตรียมพร้อมในการเลื่อนตำแหน่ง หรือโยกย้ายไปสู่ตำแหน่งอื่น” • เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) คือ เส้นทางความก้าวหน้าในการทำงาน ซึ่งบุคลากรจะสามารถก้าวหน้าได้ ภายในองค์กร เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพจะแสดงให้เห็นถึงแนวทางการเลื่อนตำแหน่ง จากระดับล่างสุดไปจนถึงสูงสุด
“การจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ของพนักงาน แสดงถึงการเติบโตในสายอาชีพของพนักงาน เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในองค์กร มีส่วนช่วยในการสร้างขวัญกำลังใจและรักษาคนเก่งคนดีไว้ในองค์กร รวมทั้งเป็นการปูทางสู่การสร้างพนักงานที่มีคุณค่าให้แก่องค์กรในระยะยาว โดยการจัดทำเส้นทางก้าวหน้าในสายอาชีพนี้เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดความก้าวหน้าในการงาน ทำให้พนักงานทำงานอย่างมีเป้าหมายและกำหนดหนทางไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมาย”
ประโยชน์ของการจัดทำ Career Path • เพื่อให้ข้าราชการได้รับทราบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของตน ซึ่งจะทำให้ข้าราชการมีโอกาสมองเห็นความก้าวหน้าในตำแหน่งที่ตนครองอยู่ ตั้งแต่ตำแหน่งเริ่มต้นจนถึงตำแหน่งสูงสุด ที่จะสามารถก้าวหน้าไปได้ • เพื่อสร้างหรือเพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการสร้าง ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน ให้ข้าราชการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีให้แก่องค์กร • เพื่อเป็นแรงผลักดันและกระตุ้นให้ข้าราชการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะก้าวไป ซึ่งเป็นการสร้างความก้าวหน้าให้กับอาชีพของตน
เพื่อให้ข้าราชการทราบถึงคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการก้าวสู่ตำแหน่ง ซึ่งจะช่วยให้ข้าราชการสามารถเตรียมความพร้อมของตนเองล่วงหน้า ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง • เพื่อใช้เป็นแนวทางในด้านการบริหารงานบุคคล เช่น การคัดเลือกบุคลากร การเลื่อนและแต่งตั้งบุคลากร การวางแผนฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร การกำหนด หลักสูตรฝึกอบรม เป็นต้น
๑. การศึกษาโครงสร้างองค์กร/ตำแหน่งงาน เป็นการศึกษาลักษณะทั่วไป ขององค์กร เช่น โครงสร้างขององค์กร ตำแหน่งงานและระดับตำแหน่งงานในปัจจุบันขององค์กร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) และจัดกลุ่มงาน (Job Family) ให้เหมาะสม ๒. การวิเคราะห์งานเป็นการศึกษาขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของแต่ละตำแหน่งงาน/สายงาน รวมทั้งคุณสมบัติที่จำเป็นของงานใน ตำแหน่งงาน/สายงานต่างๆ ขั้นตอนการจัดทำ Career Path
๓. การจัดกลุ่มงาน เป็นการจัดแบ่งกลุ่มงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณสมบัติของตำแหน่งงานใกล้เคียงกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยวิเคราะห์จากคำบรรยายลักษณะงานของตำแหน่งงาน ๔. การจัดทำ CareerModelการจัดทำเกณฑ์หรือมาตรฐานสำหรับ แต่ละตำแหน่งงานตาม CareerModel ที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็น แนวทางในการพิจารณาเลื่อนระดับตำแหน่งงาน และการย้ายประเภทงาน
เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของข้าราชการรัฐสภาสามัญ จะอิงจากคุณสมบัติและประสบการณ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ที่ ก.ร. กำหนด
องค์ประกอบของ Career Path (๑.) เส้นทางสั่งสมประสบการณ์และผลงาน (Career Chart) คือ ภาพที่แสดงให้เห็นถึงเส้นทางสั่งสมประสบการณ์และผลงาน ที่เป็นตำแหน่งในเส้นทางก้าวหน้า (Ladder Position) จากอาวุโส น้อยไปมากจนถึงตำแหน่งเป้าหมาย (Critical Position) (๒.) Job Profile Template คือ เอกสารที่แสดงรายละเอียดของ ตำแหน่งงานต่างๆ ที่ปรากฏในเส้นทางสั่งสมประสบการณ์และผลงาน ซึ่งประกอบด้วย - Job Profile ของตำแหน่งเป้าหมาย (Critical Position) - Job Profile ของตำแหน่งในเส้นทางความก้าวหน้า (Ladder Position)
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path)สำหรับ
หลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการเข้าสู่ตำแหน่ง และการพัฒนา
ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ สำหรับตำแหน่งในเส้นทางความก้าวหน้า (Ladder Position) : ๑(ตามหนังสือคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา ที่ ๔๔/๒๕๕๕ (ว ๑๗) ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕)
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path)สำหรับ
ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ สำหรับตำแหน่งในเส้นทางความก้าวหน้า (Ladder Position) : ๑(ตามหนังสือคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา ที่ ๔๔/๒๕๕๕ (ว ๑๗) ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕)