350 likes | 520 Views
โครงการ. ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรด้านการประมง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ โดย สำนักงานประมง จังหวัดกระบี่. ความเป็นมาของโครงการ.
E N D
โครงการ ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรด้านการประมง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ โดย สำนักงานประมง จังหวัดกระบี่
ความเป็นมาของโครงการ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดเหตุธรณีพิบัติหรือ สึนามิ (Tsunami) ใน 5 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภออ่าวลึก อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวประมงอย่างมหาศาล กรมประมงได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวประมง กลุ่มเรือท่องเที่ยว และกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มกิจการแพปลา และกลุ่มเครื่องมือประมง รวมชาวประมง 6,693 ราย ใช้งบประมาณ 125,974,108 บาท เป็นการช่วยเหลือชดเชยสิ่งที่สูญเสียในการประกอบอาชีพประมงเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือในขั้นแรกนั้น พบว่าชาวประมงยังไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนเหมือนเดิมได้ เพระธรณีพิบัติได้ทำลายโครงสร้างพื้นฐานต่างๆไปอย่างราบคาบ ไม่เหลืออะไรไว้นอกจากสิ่งปรักหักพัง กรมประมงจะเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพด้านการประมงไหม่ เพื่อให้ชาวประมงสามารถกลับมายืนด้วยลำแข้งของตัวเองได้เหมือนเดิม แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือชาวประมงเป็นรายบุคคลได้ ด้วยงบประมาณอันจำกัดจึงจำเป็นต้องแบ่งการช่วยเหลือเป็นกลุ่มๆ โดยมีการช่วยเหลือเป็นลักษณะหมุนเวียนเงินทุนชาวประมงที่ได้รับการช่วยเหลือ ต้องส่งคืนเงินสามารถนำกลับไปขยายกลุ่มเพื่อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อระยะเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ชาวประมงจะได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึงทุกราย
วัตถุประสงค์ • เพื่อฟื้นฟูการใช้เครื่องมือประมงที่ถูกต้องตามกฎหมายให้กับชาวประมง จำนวน 19 กลุ่ม รวมชาวประมง 475 ราย • สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน (Infrastructure) ให้เป็นสมบัติของกลุ่มชาวประมง ประกอบด้วยโรงซ่อมเครื่องมือประมง รวม 1 แห่งรวมชาวประมง 50 ราย • ฟื้นฟูและส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 1 กลุ่ม รวมแม่บ้าน 50 ราย • อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านการใช้เครื่องมือประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำให้แก่ชาวประมง • ฟื้นฟูและส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรฐาน GAP ให้กับชาวประมงจำนวน 41 กลุ่ม รวมชาวประมง 2,050 ราย
เป้าหมายดำเนินการ จำนวนเกษตรกรผู้ประสบภัยธรณีพิบัติในเขต 5 อำเภอ ได้แก่ • อำเภอเมืองกระบี่ • อำเภอเหนือคลอง • อำเภออ่าวลึก • อำเภอคลองท่อม • และอำเภอเกาะลันตา
วิธีการดำเนินการ • รวมกลุ่มเกษตกรที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน • จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน จัดตั้งกลุ่มของชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิในจังหวัดกระบี่ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม โดยตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเงินทุนหมุนเวียนเมื่อกิจกรรมสำเร็จจะต้องใช้คืนกองทุนเพื่อหมุนเวียนใช้ในรอบต่อไป สำหรับชาวประมงรายต่อไป รวมทั้งมีการฝึกอบรมสมาชิกภายในกลุ่ม • สำนักงานประมงจังหวัด จัดสรรงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เข้าบัญชีเงินฝากกลุ่มเพื่อดำเนินการจัดหาปัจจัยการผลิต ตามกรอบหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 126 ลงวันที่ 7 กันยายน 2548 • กลุ่มเกษตรกรดำเนินการจัดซื้อวัสดุตามแนวทางระเบียบของราชการ โดยกำหนดรูปของปัจจัยการผลิตตามความต้องการของสมาชิก
ขั้นตอนการดำเนินการ การคัดเลือกพื้นที่ / เงื่อนไข • เป็นหมู่บ้านชาวประมงขนาดเล็กที่ประสบภัยพิบัติสึนามิและมีสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพเพาะลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีจำนวนครัวเรือนไม่น้อยกว่า 20 ครัวเรือน • องค์กรราษฎรในหมู่บ้าน มีการรวมกลุ่ม มีความพร้อมและยอมรับที่จะเข้ารวมกิจกรรม • ในหมู่บ้านมีการติดต่อคมนาคมได้สะดวก
การจัดเตรียมองค์กร • การชี้แจงโครงการหน่วยงานฯ ผู้ดำเนินการเข้าชี้แจงโครงการฯให้แก่ราษฏรในพื้นที่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการฯ • การคัดเลือกสมาชิกหน่วยงานฯ ผู้ดำเนินการร่วมกับคณะกรรมหมู่บ้านจะทำการคัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ ตามจำนวนที่ระบุไว้ในแต่ละกิจกรรม
คุณสมบัติของสมาชิก • เป็นครัวเรือนชาวประมงผู้ประสบภัยสึนามิ • เป็นเกษตรกรด้านการประมงที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ • เป็นผู้มีรายได้น้อย • เป็นผู้มีความประพฤติดี • เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
การจัดตั้งคณะกรรมการ กิจกรรมของแต่กลุ่ม คัดเลือกคณะกรรมการกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 7 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน รองประธาน 1 คน กรรมการ 3 คนเหรัญญิก 1 คน กรรมการและเลขานุการ 1 คน หน้าที่รับผิดชอบ • ร่วมปฏิบัติงานวางแผน ปรึกษาหารือประสานงานกับคณะทำงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแลสมาชิก • กำหนการบริหารสภาพพื้นที่ทำการเพาะเลี้ยง และจัดสรรรายได้ • กระตุ้นให้มีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ร้านค้า ,กลุ่ม,กลุ่มกองทุน • สรุปผลการดำเนินงาน สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
ประเภทความช่วยเหลือ • กลุ่มที่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานเพื่อฟื้นฟูการทำการประมง • กลุ่มฟื้นฟูอาชีพประมง • กลุ่มฟื้นฟูอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • กลุ่มฟื้นฟูกลุ่มแม่บ้านการแปรรูปสัตว์น้ำ
สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน • โรงซ่อมเครื่องมือประมง 1 โรงเรือนมีสมาชิก 50 คน ดูแลเครื่องมือและช่วยเหลือชาวประมงให้มาซ่อมเครื่องยนต์และเครื่องมือการประมงในโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐลงทุนให้ มีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการให้บริการชาวประมงรายอื่นๆ ที่ต้องซ่อมแซมอุปกรณ์การทำอาชีพประมงภายในชุมชน และมีการอบรมเครื่องมือการประมง • สร้างโรงเรือนแปรรูปสัตว์น้ำ 1 โรงเรือนทำการแปรรูปสัตว์น้ำภายในกลุ่ม จำนวนสมาชิก 50 คน โดยจัดตั้งเป็นกองทุนหมุนเวียนสำหรับการแปรรูปสัตว์น้ำ หมุนเวียนให้สมาชิกรายอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์โรงแปรรูปสัตว์น้ำ และมีการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปสัตว์น้ำให้กับสมาชิกกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำ
ประเภทการสนับสนุน 1. กลุ่มเลี้ยงหอยแครง 2. กลุ่มเลี้ยงหอยแมลงภู่ 3. กลุ่มเลี้ยงปลา 4. กลุ่มเลี้ยงปูดำ 5. กลุ่มเลี้ยงปูม้า 6. กลุ่มสนับสนุนการประมง 7. กลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำ 8. กลุ่มโรงซ่อมเครื่องมือประมง
ในส่วนของจังหวัดกระบี่ ได้มีเกษตรกรได้เข้าร่วมโครงการจำนวน 61 กลุ่ม จำนวนเกษตรกร 2,605 คน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabi
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabiดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabi
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabiดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.fisheries.go.th/fpo-krabi
การจัดการ ฐานข้อมูล สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ ได้จัดทำโปรแกรมสำหรับการจัดเก็บข้อมูลของเกษตรกร โดยเขียนโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลเพื่อโครงการนี้โดยเฉพาะ ชื่อโปรแกรมซีแคร์ (SEA CARE) เพื่อให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการบันทึกข้อมูล ได้จัดพิมพ์คู่มือเกษตรกรขึ้น แบ่งเอกสารเป็น 3 สำเนา - สำเนาแรก สำนักงานประมงเก็บมาเพื่อบันทึกไว้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ - สำเนาที่สอง ส่งไปยังกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - สำเนาที่สาม เก็บเป็นต้นขั้วไว้ที่เกษตรกรเอง เพื่อจะได้เช็คสถิติ
แบบฟอร์มที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลการเพาะลี้ยงสัตว์น้ำแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลการเพาะลี้ยงสัตว์น้ำ
โปรแกรมSea Care • แบ่งการทำงานเป็นหมวดหมู่ ชัดเจน • มีรหัสป้องกันการเข้าสู่โปรแกรม
ลักษณะของโปรแกรมSea Care - การป้อนข้อมูลมีการป้องการความผิดพลาดในการใช้งาน สร้างความมั่นใจ ว่าข้อมูลที่ได้รับจะถูกต้อง, แน่นอน
สามารถพิมพ์รายงานออกมาได้อย่างสวยงามสามารถพิมพ์รายงานออกมาได้อย่างสวยงาม
เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์www.fisheries.go.th/fpo-krabiเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์www.fisheries.go.th/fpo-krabi
เนื้อหาส่วนหนึ่งในเว็บไซต์รายละเอียดและข้อมูลการเลี้ยงหอยแมลงภู่เนื้อหาส่วนหนึ่งในเว็บไซต์รายละเอียดและข้อมูลการเลี้ยงหอยแมลงภู่
เนื้อหาส่วนหนึ่งในเว็บไซต์ รายชื่อสมาชิกกลุ่มต่างๆ
การนำเสนอผ่านเว็บไซต์การนำเสนอผ่านเว็บไซต์ • ประวัติความเป็นมาของโครงการ • เป้าหมายและวัตถุประสงค์ • ข้อมูลดำเนินการ • ข้อมูลสมาชิก • ผลสรุปของการเจริญเติบโตสัตว์น้ำและความคืบหน้า ของโครงการที่อัพเดทวันต่อวัน
ภาพกิจกรรมจัดประชุมสัมนาและฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับด้านการประมงภาพกิจกรรมจัดประชุมสัมนาและฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับด้านการประมง
การจัดเตรียมพันธ์สัตว์น้ำเพื่อมอบให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงการจัดเตรียมพันธ์สัตว์น้ำเพื่อมอบให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยง
ระยะเวลาดำเนินการ เมษายน 2549 – กันยายน 254 หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ กลุ่มเกษตรกรแต่ละกิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ • เพิ่มผลการผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง • เพิ่มรายได้ให้ชาวประมงขนาดเล็ก • กระตุ้นให้ชาวประมงเกิดการรวมกลุ่ม • ส่งเสริมและเผยแพร่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
รายละเอียดโครงการ • ผู้เขียนโครงการนายสาโรช เรืองโฉม เจ้าพนักงานประมง 5 • ผู้เสนอโครงการนายโอภาส นวลวิไลลักษณ์ ประมงจังหวัดกระบี่ • ผู้เห็นชอบโครงการนายชาย พานิชพรพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ • ผู้อนุมัติโครงการนายสนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
- จบการนำเสนอ - ติดตามและดูรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ www.fisheries.go.th/fpo-krabi/index.htm