1 / 11

สรุปสถานการณ์การระบาด ศัตรูมะพร้าว

สรุปสถานการณ์การระบาด ศัตรูมะพร้าว. วันที่ 18 – 24 สิงหาคม 2554. รายงานสถานการณ์การระบาดศัตรูมะพร้าว. ในพื้นที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ระยอง ราชบุรี นนทบุรี สมุทรสาคร เพชรบุรี กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สตูล และนราธิวาส รวมพื้นที่ระบาด 88,859 ไร่ เกษตรกร 8,146 ราย.

lani-lawson
Download Presentation

สรุปสถานการณ์การระบาด ศัตรูมะพร้าว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปสถานการณ์การระบาดศัตรูมะพร้าวสรุปสถานการณ์การระบาดศัตรูมะพร้าว วันที่ 18 – 24 สิงหาคม 2554

  2. รายงานสถานการณ์การระบาดศัตรูมะพร้าว ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ระยอง ราชบุรี นนทบุรี สมุทรสาคร เพชรบุรี กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สตูล และนราธิวาส รวมพื้นที่ระบาด 88,859 ไร่ เกษตรกร 8,146 ราย แมลงดำหนาม หนอนหัวดำ ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร เพชรบุรี ราชบุรี พัทลุง ตราด นนทบุรี สมุทรสาครสมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ระยอง สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ปทุมธานี สตูล และกรุงเทพมหานคร รวมพื้นที่ระบาด 172,196.75 ไร่เกษตรกร 27,738 ราย ด้วงแรด ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตราดและกรุงเทพมหานคร พื้นที่ระบาด 3,021 ไร่ เกษตรกร 952 ราย รวมพื้นที่ระบาดศัตรูมะพร้าว 264,076.75ไร่

  3. ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด การปฏิบัติการควบคุมยังไม่ครอบคลุมพื้นที่การระบาดทั้งหมด ทำให้แมลงศัตรูมะพร้าวที่ยังคงเหลืออยู่เพิ่มปริมาณและเข้าทำลายรอบพื้นที่การระบาดและกลับมาทำลายซ้ำในพื้นที่ระบาดเดิม เกษตรกรขาดการดูแลรักษาสวนมะพร้าวทำให้ต้นมะพร้าวอ่อนแอต่อการทำลายของแมลงศัตรูมะพร้าว การแพร่กระจายของหนอนหัวดำไปกับผลมะพร้าว ต้นพันธุ์มะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์ม

  4. การคาดการณ์ (วันที่ 18 - 24 สิงหาคม 2554) หนอนหัวดำ บางพื้นที่มีแนวโน้มการระบาดลดลง เนื่องจากเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการควบคุมศัตรูมะพร้าวและนำไปดำเนินการควบคุมหนอนหัวดำในพื้นที่ที่มีการระบาดประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่ซึ่งไม่เหมาะกับการแพร่พันธุ์ แต่ในภาพรวมยังมีการระบาดเพิ่มขึ้นอยู่ แมลงดำหนาม บางพื้นที่มีแนวโน้มไม่ระบาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้ปล่อยแตนเบียน Asecodes hispinarumอย่างต่อเนื่องและประกอบกับมีฝนตก ความชื้นสัมพัทธ์สูงซึ่งไม่เหมาะกับการแพร่พันธุ์ บางพื้นที่มีการระบาดเพิ่มขึ้นเนื่องจากปล่อยแตนเบียน Asecodes hispinarumยังไม่คลอบคลุมพื้นที่

  5. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการปล่อยแตนเบียน Asecodeshispinarum รวมทั้งหมด 604,690 มัมมี่ จาก - งบพัฒนาจังหวัด 140,000 มัมมี่ - งบองค์การบริหารส่วนตำบล 40,335 มัมมี่ - งบปกติของกรมส่งเสริมการเกษตร 424,355 มัมมี่ ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการปล่อยแตนเบียน Asecodeshispinarumจำนวน 1,390 มัมมี่ ในอำเภอเกาะพะงัน จำนวน 1,390 มัมมี่ การดำเนินงานที่ผ่านมา หนอนหัวดำมะพร้าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการทดสอบการใช้แตนเบียนไข่ Trichogramma sp. และ แตนเบียนหนอน Bracon hebetor กรมส่งเสริมการเกษตรมีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง แมลงดำหนามมะพร้าว

  6. แผนการควบคุมศัตรูมะพร้าวแผนการควบคุมศัตรูมะพร้าว จำแนกพื้นที่ระบาด โดยการให้มีการตรวจสอบพื้นที่การระบาดของหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าว 1. พื้นที่ที่มีการระบาด หมายถึง พื้นที่ที่มีต้นมะพร้าวมีลักษณะการเข้าทำลาย ใบเริ่มเปลี่ยนสีและแห้งกรอบ หรือถูกทำลาย จนใบเป็นสีน้ำตาล ตั้งแต่ ๑ ทางใบขึ้นไป จำนวนต้นมะพร้าวที่ถูกทำลาย ๒๕ ต้น นับเป็น ๑ ไร่ 2. พื้นที่เฝ้าระวัง หมายถึง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของศัตรูมะพร้าวซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดต่อกับพื้นที่ที่มีการระบาดศัตรูมะพร้าว 3. พื้นที่ที่ไม่มีการระบาด หมายถึง พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่ไม่พบการทำลายของศัตรูมะพร้าว แต่ยังมีความจำเป็นต้องมีการถ่ายทอดความรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในพื้นที่ ต่อ ขณะนี้ได้จัดทำโครงการควบคุมหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าวและมาตรการ ประกอบด้วย

  7. แผนการควบคุมศัตรูมะพร้าวแผนการควบคุมศัตรูมะพร้าว กำหนดมาตรการควบคุมหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าวตามลักษณะของพื้นที่ 1. มาตรการกำจัดศัตรูมะพร้าวในพื้นที่ที่มีการระบาด เพื่อตัดวงจรการระบาด 2. มาตรการควบคุมศัตรูมะพร้าวในพื้นที่เฝ้าระวัง เพื่อไม่ให้ศัตรูมะพร้าวระบาดทำความเสียหายในพื้นที่ 3. มาตรการถ่ายทอดความรู้ทั้งพื้นที่ที่มีการระบาด พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด กิจกรรม กำจัดหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าว ตัดทางใบที่ถูกหนอนหัวดำทำลายมาเผาเพื่อตัดวงจรการระบาด พ่นด้วยเชื้อ Bacillus thruringiensis (Bt) ผลิตและปล่อยแตนเบียนไข่ Trichogramma spp. ผลิตและปล่อยแตนเบียนหนอน Bracon hebetor รณรงค์ตัดวงจรชีวิตแมลงศัตรูมะพร้าวในพื้นที่

  8. กิจกรรม จัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จัดทำแปลงต้นแบบ พัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกระดับ สัมมนาภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ สร้างระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ติดตามประเมินผล

  9. ทำหน้าที่ 1. วิเคราะห์สถานการณ์และความรุนแรงของการระบาดศัตรูมะพร้าวร่วมกับจังหวัดและจัดทำ แผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหา 2. ปฏิบัติการตามแผนในประเด็นเร่งด่วน ต่อไปนี้ 2.1 กำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวตามวิธีที่เหมาะสมกับสถานการณ์และความรุนแรงของการระบาด 2.2 ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ และความตระหนักถึงผลกระทบจากศัตรูมะพร้าว 2.3 บริการความรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และคำแนะนำด้านการควบคุมศัตรูธรรมชาติ 3. ประสาน ติดตาม รายงานสถานการณ์การระบาดและผลการปฏิบัติงานเฉพาะกิจอย่างต่อเนื่อง 4. ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร สนง.กษอ. เมืองประจวบคีรีขันธ์ สนง.กษจ. ประจวบคีรีขันธ์ สนง.กษอ. กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สสข. 2 จังหวัดราชบุรี สนง.กษอ. ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ศบพ. สุพรรณบุรี สนง.กษอ. ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ สมาคมชาวสวนมะพร้าวฯ สหกรณ์ชาวสวนมะพร้าวทับสะแก อปท. แต่งตั้งคณะทำงานปฏิบัติงานพิเศษเพื่อควบคุมและจัดการแมลงศัตรูมะพร้าว

  10. คำแนะนำทางวิชาการ หนอนหัวดำมะพร้าว ตัดทางใบมาเผาเพื่อกำจัดไข่ หนอน และดักแด้ หลังตัดทางใบ ให้พ่น Bt เพื่อกำจัดหนอน ใช้แตนเบียนไข่ Trichogramma sp. ปล่อยเพื่อควบคุมระยะไข่ ใช้แตนเบียนหนอน Bracon hebetorปล่อยเพื่อควบคุมระยะหนอน แมลงดำหนามมะพร้าว ใช้แตนเบียนหนอน Asecodes hispinarum ใช้แตนเบียนดักแด้ Tetrastichus brontispae ปล่อยแมลงหางหนีบควบคุมระยะไข่ และหนอน

  11. กราฟแสดงสถานการณ์การระบาดหนอนหัวดำและแมลงดำหนามมะพร้าว ปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ภาพรวมทั้งประเทศ

More Related