1 / 37

ตัวชี้วัด อธิบายประวัติศาสดาของศาสนาอื่น ๆ โดยสังเขป (ส 1.1 ม.4-6/17)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 17 ประวัติศาสดาของศาสนาอื่นๆ. ตัวชี้วัด อธิบายประวัติศาสดาของศาสนาอื่น ๆ โดยสังเขป (ส 1.1 ม.4-6/17). กาย. ใจ. สติ สมาธิ. พร้อม. จำนวนผู้นับถือศาสนาและลัทธิต่างๆ ศาสนาคริสต์ : 2.1 พันล้านคน ศาสนาอิสลาม : 1.5 พันล้านคน

Download Presentation

ตัวชี้วัด อธิบายประวัติศาสดาของศาสนาอื่น ๆ โดยสังเขป (ส 1.1 ม.4-6/17)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 17 ประวัติศาสดาของศาสนาอื่นๆ ตัวชี้วัด อธิบายประวัติศาสดาของศาสนาอื่น ๆ โดยสังเขป (ส 1.1 ม.4-6/17)

  2. กาย ใจ สติ สมาธิ พร้อม

  3. จำนวนผู้นับถือศาสนาและลัทธิต่างๆ ศาสนาคริสต์: 2.1 พันล้านคน ศาสนาอิสลาม: 1.5 พันล้านคน ไม่นับถือศาสนา/เชื่อในวิทยาศาสตร์แบบตายแล้วสูญ/อศาสนา: 1.1 พันล้านคน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู: 900 ล้านคน ศาสนาพุทธนิกายมหายานของจีน/ลัทธิขงจื๊อ/ลัทธิเต๋า/นับถือบรรพบุรุษ/พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม: 394 ล้านคน ศาสนาพุทธ: 376 ล้านคน ศาสนานับถือผีของเผ่าตน: 300 ล้านคน ศาสนาโยรูบา: 100 ล้านคน ศาสนาซิกข์: 23 ล้านคน

  4. ลัทธิจูเช (นับถือคิมอิลซุง): 19 ล้านคน นับถือผี: 15 ล้านคน ศาสนายิว: 14 ล้านคน ศาสนาบาไฮ: 7 ล้านคน อนุตตรธรรม 5 ล้านคน ศาสนาเชน: 4.2 ล้านคน ศาสนาชินโต: 4 ล้านคน ลัทธิโจได: 4 ล้านคน ศาสนาโซโรอัสเตอร์: 2.6 ล้านคน ลัทธิเทนริเกียว: 2 ล้านคน ลัทธิเพแกนใหม่: 1 ล้านคน ลัทธิเอกนิยม: 8 แสนคน ขบวนการราสตาฟาเรียน: 6 แสน

  5. จำนวนผู้นับถือศาสนาต่างๆ ทั่วโลก Christianity: 2.1 billionIslam: 1.5 billionSecular/Nonreligious/Agnostic/Atheist: 1.1 billionHinduism: 900 millionChinese traditional religion: 394 millionBuddhism: 376 millionprimal-indigenous: 300 millionAfrican Traditional & Diasporic: 100 millionSikhism: 23 millionJuche: 19 million

  6. แผนผังการเรียนรู้ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ประวัติศาสดา ของศาสนาอื่นๆ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์

  7. ศาสนาคริสต์ พระเยซู หรือ พระ จีซัส ไครสต์ (JESUS CHRIST) ศาสดาของศาสนาคริสต์

  8. ทรงประสูติเมื่อใดไม่ปรากฏแตะในศาสนจักรบันทึกไว้ 25 ธันวาคม พ.ศ.543(นับเป็นคริสตศักราชที่ 1) แห่งศาสนาคริสต์ที่เมืองนาซาเรธ อยู่ทางเหนือของประเทศอิสราเอล ประวัติ พระศาสดา บิดา ชื่อ โจเซฟ มารดา ชื่อ มาเรีย ชาวคริสต์เชื่อว่า พระองค์คือ พระผู้ช่วยให้อยู่รอด เพราะพระองค์คือ พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าหรือพระเมสสิยาห์ ช่างสังเกต ช่างคิด ทรงศึกษาใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา พระองค์เป็นผู้เฉลียวฉลาด รอบรู้ทุกด้าน เป็นผู้รู้ในกฎหมาย คัมภีร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาต่าง ๆ

  9. ทรงมีอัครสาวก 12 คน ทรงดำเนินตามหลักคำสอนของโมเสสที่ชาวยิวเห็นว่าหลายเรื่องที่ผิดไปจากคำสอนเดิม หลักคำสอนของพระองค์คือ เป็นคนดี มีเมตตา มีความรักต่อกัน

  10. ชาวยิวไม่พอใจกับคำสอนชาวยิวไม่พอใจกับคำสอน ผิดไปจากคำสอนเดิมของศาสนายิว เพราะเห็นว่า พระเยซู : คำสอนและชาวยิว เช่น การทำตนไม่เหมาะสม การตำหนิผู้นำศาสนายิว หน้าซื่อใจคด รวมทั้ง การประกาศจะนำผู้นับถือไปยังอาณาจักรสวรรค์ ทั้งหมดล้วนสร้างความไม่พอใจให้กับชาวยิวทั้งสิ้น

  11. ทรงใช้เวลา 3 ปี ในการสั่งสอนและช่วยเหลือผู้ที่ศรัทธาต่อพระองค์ ประหารชีวิต พระองค์ถูกจับโดยทหารโรมัน และพิพากษาโทษโดยคณะกรรมการศาสนาของนักพรตชาวยิว พระเยซู : การสิ้นชีพ ด้วยการเอาตะปูตรึงที่แขนและขาทั้งสองข้างกับไม้กางเขน และสิ้นพระชนม์เมื่ออายุ 32 ปี ตรงกับ พ.ศ. 575

  12. การทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูบนไม้กางเขน เรียกกันว่า “การถูกตรึงกางเขน” พระเยซูยอมตายเพราะบาปของมวลมนุษย์ หรือที่รู้จักกันในนาม “การไถ่กู้”

  13. ปัจฉิมพจน์ (คำพูดสุดท้าย) ก่อนสิ้นพระชนม์ คือ “ขอทรงยกโทษให้เขาเพราะเขาได้ทำไปในสิ่งที่เขาไม่รู้” พระเยซู : หลังสิ้นพระชนม์ มีคริสตนิกชนนับถืออย่างแพร่หลาย มากเป็นอันดับ 1 ในโลก ปัจจุบันผู้นับถือรวม 3 นิกายโรมัน คาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ประมาณ 2.1 พันล้านคน คำสอนที่เป็นหัวใจของศาสนาคริสต์ เช่น " สอนให้มนุษย์มีความรัก และไม่เบียดเบียนกัน "

  14. หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาคริสต์     1. เรื่องความรัก ศาสนาคริสต์ สอนให้รักพระเจ้า รักครอบครัว รักเพื่อนมนุษย์ทั้งมวล เห็นใจผู้ที่มีทุกข์และอภัยแม้แต่ผู้ที่วางตัวเป็นศัตรู     2. หลักตรีเอภานุภาพ เป็นการสอนให้ยึดมั่นเคารพบูชาในองค์ 3 คือ พระบิดา หมายถึง พระยะโฮวา คือผู้สร้างโลกมนุษย์และสรรพสิ่ง พระบุตร คือพระเยซูและพระจิต คือรวมบิดาและพระบุตร อันเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏในจิตวิญญาณของมนุษย์ เพื่อเกื้อกูลให้มนุษย์เป็นคนดี     3. บาปกำหนด ( Original Sin) เมื่อพระเจ้าสร้างโลกได้สร้างชายหญิง คือ อาดัมและอีฟให้อยู่กินกันอย่างมีความสุข ต่อมาทั้งคู่ได้ทำผิดโดยแอบไปกินผลไม้ต้องห้าม พระเจ้าจึงลงโทษโดยให้ทั้งคู่ทำมาหากินลำบาก แล้วให้ความผิดนั้นตกทอดมาถึงมนุษย์ทุกคน บาปนี้จึงเรียกว่า บาปกำหนด    

  15. 4. บัญญัติ 10 ประการ เป็นหลักศาสนาที่อยู่ในคัมภีร์เดิม ถือเป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้นับถือศาสนาคริสต์มีดังนี้คือ       4.1 เคารพพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว       4.2 ห้ามนับถือรูปบูชาใด ๆ        4.3 อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่เคารพ       4.4 จงถือวันพระเจ้าเป็นวันสำคัญ       4.5 เคารพบิดามารดา       4.6 ห้ามฆ่ามนุษย์       4.7 ห้ามผิดประเวณี       4.8 ห้ามลักทรัพย์       4.9 ห้ามคิดมิชอบ       4.10 อย่าโลภในสิ่งของผู้อื่น 

  16. ศาสนาอิสลาม ท่านนบีมูฮัมหมัดเป็นศาสดา

  17. เกิดที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย บิดาชื่อ อับดุลลอฮ์ มารดาชื่อ อามีนะห์ ประวัติศาสดา อายุ 40 ปี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนบีและรอซูล จากอัลเลาะห์ เพื่อ รับข้อบัญญัติจากองค์อัลเลาะห์ และ นำคำสอนของบัญญัติต่าง ๆ มาเผยแผ่ ทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนได้ 23 ปี เสียชีวิตเมื่ออายุ 63 ปีที่ นครมาดีนะห์

  18. มีการต่อต้านและถูกทำร้ายร่างกายจากผู้ที่ไม่ศรัทธา เช่น ชาวกุเรช ใช้เวลาเผยแผ่คำสอนที่นครเมกกะเป็นเวลา 13 ปีและได้รับการต่อต้านมาโดยตลอด ท่านนบีมูฮัมหมัด : การเผยแผ่คำสอน ภายหลังอพยพผู้ศรัทธามาที่นครมะดีนะห์10 ปี และคาบสมุทรอาหรับ รวมระยะเวลาการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม เป็นเวลา 23 ปี

  19. หลักศรัทธา 6 ประการหลักศรัทธา 6 ประการ    1.ศรัทธาในพระอัลเลาะห์องค์เดียว     2. ศรัทธาในศาสดาองค์ก่อน ๆ และมีศรัทธาเชื่อมั่นว่าพระมะหะมัดเป็นศาสดาองค์สุดท้าย     3. ศรัทธาในคัมภีร์กุรอาน    4. ศรัทธาในบรรดาศาสนาทูต     5. ศรัทธาในวันพิพากษาโลก ซึ่งเป็นวันที่มนุษย์ทุกคนจะพบกับการเปลี่ยนแปลงแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่     6. ศรัทธาในกฎสภาวการณ์ของพระเจ้า คือการเชื่อว่าสภาวะของโลกและชีวิตเป็นไปตามอำนาจของพระอัลเลาะห์ ที่ตั้งขึ้น หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม

  20. หลักปฏิบัติ 5 ประการ เพื่อให้ความสุขความสันติแก่ตนเองและสังคม    1.การปฏิญาณตน ว่าจะศรัทธาเชื่อมั่นในพระอัลเลาะห์ องค์เดียวต้องปฏิญาณออกมาจากจิตใจด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง แล้วทำอย่างสม่ำเสมอ    2. การละหมาด คือ การแสดงความเคารพต่อพระเจ้า วันละ5 ครั้ง คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน โดยหันหน้าไปทางนครเมกกะฮ์    3. ต้องถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน เรียกว่าเดือนรอมฏอน ด้วยการงดเว้นจากการรับประทานอาหาร การดื่ม การร่วมประเวณี การทำความชั่วทั้งปวง ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก    4. การบริจาคซากาตคือการที่ชาวมุสลิมจะต้องบริจาคทรัพย์สิน 2.5เปอร์เซ็นของรายได้ต่อปีเพื่อไว้ช่วยเหลือผู้ยากจน     5. การประกอบพิธีฮัจญ์คือการไปแสวงบุญที่วิหารกะบะห์ นครเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย ด้วยในคัมภีร์กรุอาน

  21. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่มีศาสดา แต่เชื่อและนับถือ ธรรมชาติ เช่น พระอาทิตย์ ลม ฟ้า อากาศ พัฒนามาทำการเคารพและเทพีต่าง ๆ เช่น พระอินทร์ พระวิษณุ พระพิฆเนศ รูปเคารพของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

  22. ฤาษีวยาสะ พราหมณ์ =อารยัน ฤาษีวาลมีกิ ผู้ติดต่อพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ฤาษีโคตมะ ฤาษีกณาทะ ฤาษี ผู้เขียนตำรา ผู้ก่อตั้งลัทธิ =คำสอน ฤาษีกปิละ ฤาษีปตัญชลี รวมประมาณ 19 ท่าน ฯลฯ และ ศรีรามกฤษณะ

  23. หลักอาศรม 4อาศรม 4 หมายถึง ขั้นตอนของชีวิตหรือแนวทางปฏิบัติตามวัยเพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แบ่งเป็น 4 ระยะคือ1.พรหมจารี เป็นระยะของวัยศึกษาเล่าเรียน เริ่มตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ถึง 25 ปี โดยเด็กชายทุกคน ในตระกูลพราหมณ์จะได้รับการคล้องด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า สายธุรำ จากผู้ประพฤติพรหมจรรย์จึงจะถือว่าเป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์          2. คฤหัสถ์ เป็นระยะของวัยครองเรือน อยู่ในช่วงอายุ 25 ปีถึง 50 ปี คือ เมื่อจบการศึกษาแล้วก็มีครอบครัวประกอบอาชีพและปฏิบัติพิธีกรรมตามหน้าที่ของตน           3. วานปรัสถ์เป็นระยะออกบวช เพื่อแสวงหาความสงบหรือความหลุดพ้นหากไม่ละทิ้งชีวิตครองเรือนก็ต้องบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น           4. สันยาสี เป็นระยะสุดท้ายของชีวิต จะออกบวชจาริกแสวงบุญบำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนาเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ไม่มีการเกิดอีกคือ โมกษะ

  24. หลักปุรษารถะการดำเนินชีวิตที่ดีเพื่อให้พบความหลุดพ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตโดยจะต้องมีหลักฝึก 4 ประการ      1. อรรถคือ การแสวงหาทรัพย์ การสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้มั่นคง           2. กามคือ การแสวงหาความสุขทางโลกตามหลักธรรมชาติของผู้ครองเรือน        3. ธรรม คือ การถึงพร้อมด้วยคุณธรรม หลักธรรม หรืออยู่ในระเบียบความประพฤติของคนในสังคม  4.โมกษะคือ ความหลุดพ้นจากความทุกข์ เป็นอิสรดภาพทางวิญญาณที่จะก่อให้เกิดความสุขอันเป็นนิรันดร์

  25. หลักปรมาตมันและโมกษะ     ปรมาตมัน คือ ลักษณะของการเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุดผู้ใดประพฤติดีก็จะไปเกิดในวรรณะที่ดี ผู้ใดประพฤติชั่วก็จะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน        โมกษะ คือ การหลุดพ้นจากการเวียรว่ายตายเกิด ปราศจากกรรมผูกพันหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงไม่มีการเกิดอีกตลอดไป

  26. ศาสนาซิกข์ ท่านคุรุนานักเทพ เป็นศาสดาองค์ที่ 1

  27. รู้ไว้ใช่ว่า ประวัติศาสนา ศาสนาสิกข์ (คำว่า สิกข์ มาจากภาษาบาลี สิกขา แปลว่า การศึกษา การฝึกหัด) เป็นศาสนาที่ตั้งขึ้นใหม่ (อันเนื่องมาจากศาสนาอิสลาม ในยุคของราชวงศ์โมกุลเข้าครองชมพูทวีป ทำลายล้างประชาชนชาว ชมพูทวีปที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามเสียหมด หากผู้ใดหันมานับถืออิสลาม ก็ยกเว้น ไม่ฆ่า  จนทำให้พุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย อันเนื่องมาจาก ศาสนาพุทธ ไม่ถืออาวุธเข้าห้ำหั่นเหมือนศาสนาอื่น ๆ  แต่มีศาสนาหนึ่ง คือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ยกอาวุธขึ้นสู้กับศาสนาอิสลามจนถึงทุกวันนี้ อันเป็นเหตุให้ชมพูทวีปแบ่งแยกออกเป็นหลายประเทศ เช่น  อัฟกานิสถาน  ปากีสถาน  เนปาล  บังคลาเทศ ฯลฯ) ซึ่งเป็นศาสนาของชาวอินเดีย ที่เห็นร่วมกันว่า ควรจะมีการทำให้ชาวอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดู และศาสนาอิสลาม มีความสมัครสมาน และสามัคคีกัน โดยกำหนดให้มี พระเจ้าองค์เดียว  ไม่มีพระเป็นเจ้าของมุสลิมองค์หนึ่ง ของฮินดูองค์หนึ่ง หรือของคริสต์องค์หนึ่ง (พึงสังเกตว่า ไม่มีศาสนาพุทธ เนื่องจากสูญสิ้นไปจากอินเดียแล้ว อันเนื่องมาจากเหตุดังกล่าว) แต่มนุษยชาติ มีพระเจ้าเพียงองค์เดียวแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย เป็นศูนย์ชาวซิกข์ทั่วโลก

  28. ศาสดาของศาสนาสิกข์ หรือเรียกว่า "คุรุ" มีทั้งหมด  11  องค์  องค์แรก และมีความสำคัญที่สุด ชื่อ คุรุนานัก  ซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวปี พ.ศ. 2012 - 2082 เกิดในวรรณะกษัตริย์ แต่มีฐานะยากจน  เกิดที่แคว้นปัญจาบ  บิดาชื่อ กาลุ  มารดาชื่อ  ตฤปตา  ประวัติศาสดา สมรสกับนางสุลักขณี มีบุตร 2 คน คือ ศรีจันทร์ กับ ลักษมิ

  29. ท่านมีความรู้แตกฉานในเรื่องคัมภีร์พระเวทเมื่ออายุตั้งแต่ 7 ขวบ อายุ 8 ขวบ เริ่มศึกษาความเป็นมาของศาสนาเพื่อนบ้าน และอายุ 9 ขวบ สั่งสอนหลักของศาสนาได้ ได้ฝึกสมาธิอยู่ในป่า จนสามารถได้รับปรากฏการณ์ทางจิต และได้เห็นพระเป็นเจ้า จึงกลับมาบ้านแจกทานแก่คนยากจน ให้ยาและรักษา พยาบาลคนเจ็บป่วย  ท่านได้เดินทางไปเผยแผ่คำสอนยังเมืองต่าง ๆ  จนมีลูกศิษย์ มากมาย ทั้งที่เป็นฮินดูและมุสลิม

  30. หลักคำสอนสำคัญของศาสนาซิกข์     หลักคำสอนของศาสนาซิกข์ จะสอนให้รู้จักพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ การที่คนเราจะพบความสุขที่แท้จริงได้ มีอยู่ ๕ ประการ คือ     ๑. กรรม  คือ การกระทำ     ๒. ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง     ๓. มหาปีติ คือ ความอิ่มใจ ทำให้อิ่บเอิบอยู่ในทางธรรม     ๔. พละ คือ กำลังจิต ทำให้แน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัว     ๕. สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า

  31. ศาสนาซิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยให้ปฏิบัติ ดังนี้     ๑. วินัยทางกาย ได้แก่ การให้บริการคนอื่นทางกายและทางวาจา เป็นการให้ทาน     ๒. วินัยทางศีลธรรม ได้แก่ การหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรม     ๓. วินัยทางจิตใจ ได้แก่ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว มีจิตใจอยู่กับพระเจ้า      นอกจากนี้หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาซิกข์ คือ การสอนให้นับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียว สอนให้คนมีความเสมอภาคกัน และมีเสรีภาพ เช่น การยกฐานะผู้หญิงให้เท่าเทียมกับผู้ชาย ให้ผู้หญิงมีสิทธิในการศึกษา ร่วมสวดมนต์หรือเป็นผู้นำในการสวดมนต์ได้เช่นเดียวกับผู้ชาย เป็นต้น

  32. ผู้ที่นับถือศาสนาสิกข์  ในระยะแรกต้องประกอบพิธี "ปาหุล" ก่อน แล้วจะได้นามพิเศษต่อท้ายชื่อว่า "สิงห์" หรือ "ซิงห์" และจะได้รับ 5 สิ่ง ที่เรียกว่า "กกะ" คือ เกศ  คือ  การไว้ผมยาว โดยไม่ต้องตัดเลย กังฆา  คือ  หวีขนาดเล็ก กฉา  คือ  กางเกงขาสั้น กรา  คือ  กำไลมือทำด้วยเหล็ก กฤปาน  คือ  ดาบ

  33. สัญลักษณ์ : คันด้าเป็นเครื่องหมายเกียรติยศ ของชาวซิกข์ สัญลักษณ์นี้ ประกอบด้วยกีรปานสองด้าม (ดาบของชาวซิกข์) คันด้าหนึ่งอัน (ดาบลักษณะสองคม) และวงจักรหรือห่วงกลมภายใน  หนึ่งอัน ความหมาย : ดาบทั้งสองด้าม แสดงถึงความมีอำนาจ อธิปไตย ทั้งทางโลก และทางธรรมอย่างสมบูรณ์ วงจักรแสดงถึงความเป็นอมตะ หนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าผู้ทรงสร้าง และให้กำเนิดทุกสรรพสิ่ง ดาบสองคม แสดงถึงความเป็นผู้ริเริ่ม ฉะนั้นอำนาจอธิปไตย ความเป็นอมตะ (ของพระผู้เป็นเจ้า) และความเป็นผู้ริเริ่ม บุกเบิก คือ หลักการและสัญลักษณ์พื้นฐาน ที่สำคัญของความเป็นชนชาติซิกข์

  34. หนูยิ้มสวยมั้ยคะ…ง้าบหนูยิ้มสวยมั้ยคะ…ง้าบ เหว๋อ…..หลอน

More Related