230 likes | 447 Views
ข้อบังคับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของบุคลากร มหาวิทยาลัย พ.ศ.2552. ประกอบด้วย. 1. อำนาจการออกข้อบังคับ 2. คำนิยาม 3. หมวด แบ่งเป็น 6 หมวด - หมวด 1 คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ - หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ
E N D
ข้อบังคับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของบุคลากร มหาวิทยาลัย พ.ศ.2552
ประกอบด้วย • 1. อำนาจการออกข้อบังคับ • 2. คำนิยาม • 3. หมวด แบ่งเป็น 6 หมวด - หมวด 1 คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ - หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ - หมวด 3 หลักเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ - หมวด 4 การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ - หมวด 5 การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ - หมวด 6 ความผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ • 4. บทเฉพาะกาล
อำนาจการออกข้อบังคับ คำนิยาม • ประกอบด้วย “มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช “สภามหาวิทยาลัย” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช • อำนาจการออกข้อบังคับ อาศัยอำนาจในมาตรา 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2549
“บุคลากร” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ครองตำแหน่งทางวิชาการในสังกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเต็มเวลาตามสัญญาจ้าง ซึ่งจัดทำขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย “ตำแหน่งทางวิชาการ” หมายความว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ “ก.พ.ว.” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ “หน่วยงาน” หมายความว่า สาขาวิชา สำนัก หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีภารกิจในด้านการสอนและวิจัย
“ประกาศ ก.พ.อ.” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2549 “เอกสารการสอน” หมายความว่า เอกสารการสอนชุดวิชา และ/หรือประมวลสาระชุดวิชาของมหาวิทยาลัย “เอกสารการสอนชุดวิชา” หมายความว่า ชุดวิชาที่ประกอบด้วยแผนกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหา คู่มือการศึกษาและแนวการประเมินผล โดยแต่ละชุดวิชาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 15 หน่วยๆ ละ 3-5 ตอน ความยาวประมาณหน่วยละ 40-90 หน้า มีค่าเท่ากับ 6 หน่วยกิต สำหรับปริญญาตรี “ประมวลสาระชุดวิชา” หมายความว่า ชุดวิชาที่ประกอบด้วยแผนกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหา แนวการศึกษาและแนวการประเมินผล โดยแต่ละชุดวิชาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 15 หน่วยๆ ละ 3-5 ตอน ความยาวประมาณหน่วยละ 30-60 หน้า มีค่าเท่ากับ 5 - 6 หน่วยกิต สำหรับปริญญาโท
“คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิตามบัญชีรายชื่อที่ ก.พ.อ.กำหนดไว้ในแต่ละสาขาวิชา หรือตามที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. “คณะกรรมการประจำหน่วยงาน” หมายความว่า คณะกรรมการประจำสาขาวิชา/สำนัก หรือคณะกรรมการประจำหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีภารกิจในด้านการสอนและวิจัย “คณะอนุกรรมการประเมินผลการสอนทางไกล” หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่ ก.พ.ว.แต่งตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัย
หมวด 1 คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.ว.) • ประกอบด้วย 1. องค์ประกอบของคณะกรรมการ มีดังนี้ 1.1 ประธานกรรมการ 1 คน ซึ่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย 1.2 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 9 คน 1.3 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นเลขานุการ 1.4 ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ 2. วาระการดำรงตำแหน่ง 2.1 ให้ประธานมีวาระเท่ากับวาระของสภามหาวิทยาลัย หากยังไม่แต่งตั้ง ใหม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางๆ ก่อน 2.2 กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ก่อนวาระจะสิ้นสุดลง ไม่น้อยกว่า 60 วัน ให้คณะกรรมการประจำหน่วยงานเสนอรายชื่อตามบัญชี ผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ.อ. จำนวน 1-3 ชื่อ ต่อสภามหาวิทยาลัย
หมวด 1 คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.ว.) 2.3 หากประธาน + กรรมการพ้นวาระด้วยเหตุอื่น + และสภายังมิได้ แต่งตั้งประธาน/กรรมการ ให้ถือว่า ก.พ.ว.ประกอบด้วยประธาน กรรมการหรือกรรมการเท่าที่มีอยู่ 3. การประชุมและการลงมติ 3.1 การประชุมต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการ 3.2 การลงมติถือเสียงข้างมาก เว้นแต่มีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับกำหนดไว้ เป็นอย่างอื่น 3.3 กรรมการ 1 คน มี 1 เสียง กรณีเสียงไม่เท่ากันให้ประธานออกเสียง ชี้ขาด 4. อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ว.
4. อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ว . 1. พิจารณาเสนอข้อวินิจฉัยเพื่อแต่งตั้งบุคลากรให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ต่อสภามหาวิทยาลัย 2. พิจารณาเสนอข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ ทางวิชาการและการถอดถอนบุคลากรออกจากตำแหน่งทางวิชาการต่อ สภามหาวิทยาลัย 3. พิจารณาเสนอข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับการทบทวนตามข้อบังคับนี้ต่อ สภามหาวิทยาลัย 4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการนับเวลาดำรงตำแหน่งและ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งการประเมินผลการสอน และการประเมินผลงานทาง วิชาการ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์อื่น ๆ อันจำเป็นเพื่อการดำเนินการให้เป็นไป ตามข้อบังคับนี้ โดยจัดทำเป็นประกาศ ก.พ.ว.
หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ • จำแนกออกเป็น 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 อาจารย์ประจำสาขาวิชา ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ หรือ เอกสารการสอนของ มสธ.ไม่น้อยกว่า 3 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีคุณภาพดี และทันสมัย และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ หรือเอกสารการสอนของ มสธ. ไม่น้อยกว่า 5 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว
หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 1 อาจารย์ประจำสาขาวิชา (ต่อ) ตำแหน่งศาสตราจารย์เสนอได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งทุกผลงานต้องมีคุณภาพดีมาก และทันสมัย วิธีที่ 2 ผลงานวิจัย หรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือ ผลงานแต่ง ตำรา หรือ หนังสือ ซึ่งทุกผลงานต้องมีคุณภาพดีเด่น และทันสมัย
หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 2 อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ หรือเอกสารการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่น้อยกว่า 3 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่มาแล้ว หรือผลงานทางวิชาการที่ตนรับผิดชอบตามภาระงาน อย่างน้อย 3 ชุดวิชา โดยเป็นผลงานที่เผยแพร่แล้ว
หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 2 อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา (ต่อ) ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ หรือเอกสารการสอน ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่น้อยกว่า 5 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหา ซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรือผลงานทางวิชาการที่ตน รับผิดชอบตามภาระงาน อย่างน้อย 5 ชุดวิชา โดยเป็นผลงานที่เผยแพร่ แล้ว ตำแหน่งศาสตราจารย์ ต้องเสนอผลงานทางวิชาการ เช่นเดียวกับ อาจารย์ประจำสาขาวิชา
หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 3 อาจารย์ประจำสำนักทะเบียนและวัดผลการศึกษา ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ หรือเอกสารการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่น้อย กว่า 3 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรือผลงานทางวิชาการที่ตนรับผิดชอบตามภาระงานอย่างน้อย 3 ชุดวิชา โดยเป็นผลงานที่เผยแพร่แล้ว
หมวด 2 ผลงานทางวิชาการ กรณีที่ 3 อาจารย์ประจำสำนักทะเบียนและวัดผลการศึกษา (ต่อ) ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ผลงานที่เสนอประกอบด้วย 1. ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ 2. ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ หรือเอกสารการสอนของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไม่น้อยกว่า 5 หน่วย หรือเทียบเท่า ซึ่งมี ความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหา ซึ่งมีคุณภาพดีและทันสมัย และได้รับ การตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรือผลงานทางวิชาการที่ตนรับผิดชอบตามภาระ งาน อย่างน้อย 5 ชุดวิชา โดยเป็นผลงานที่เผยแพร่แล้ว ตำแหน่งศาสตราจารย์ ต้องเสนอผลงานทางวิชาการ เช่นเดียวกับอาจารย์ ประจำสาขาวิชา
หมวด 3 หลักเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ • ประกอบด้วย 1. การแต่งตั้งบุคลากรให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เป็นไปตาม ประกาศ ก.พ.อ. 2. หลักเกณฑ์และวิธีการนับระยะเวลาการประเมินผลการสอน และ การประเมินผลงานทางวิชาการ ให้เป็นไปตามประกาศ ก.พ.ว. 3. การดำเนินการทุกขั้นตอนเป็นความลับ
หมวด 4 การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเสนอคำขอตามแบบที่กำหนด ต่อหน่วยงานต้นสังกัด คณะกรรมการประจำหน่วยงานต้นสังกัดตรวจสอบคุณสมบัติ ให้ถูกต้องสมบูรณ์ตามคำขอ แล้วส่งสำนักวิชาการ สำนักวิชาการรับเรื่อง และถือว่าวันรับเรื่องผู้ขอมีคุณสมบัติครบถ้วน สำนักวิชาการส่งเรื่องให้ ก.พ.ว. ก.พ.ว. รับเรื่องจากสำนักวิชาการ ก.พ.ว. แต่งตั้งอนุกรรมการประเมินผล การสอนทางไกล ก.พ.ว. แต่งตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินผลงานทางวิชาการ
ก.พ.ว. แต่งตั้งอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการ แบบปกติ แบบพิเศษ ก.พ.ว.แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3-5 คน กรณี ศาสตราจารย์ แบบปกติ วิธีที่ 2 ให้มี กรรมการ ก.พ.ว. หนึ่งคน เป็นประธาน และกรรมการอื่นอีก 5 คน การลงมติให้ถือเสียงข้างมาก ก.พ.ว.แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีประธาน ก.พ.ว. เป็นประธาน 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 5 คน การลงมติที่ประชุมให้ถือเสียง 4 ใน 5 เสียง และตำแหน่ง ศ. เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่ 1 เท่านั้น สำหรับคุณภาพผลงานทางวิชาการระดับ ผศ. รศ. ต้องมีคุณภาพระดับดีมาก ส่วน ศ. ต้องมีคุณภาพระดับ ดีเด่น หากข้อผลงานเพิ่ม ให้เสนอ ก.พ.ว. พิจารณาก่อน และดำเนินการภายใน 90 วัน หากไม่ทันขยายได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 90 วัน เมื่อพิจารณาเสร็จส่งผลการพิจารณา ให้ ก.พ.ว. หากข้อผลงานเพิ่ม ให้เสนอ ก.พ.ว.พิจารณาก่อน และ ดำเนินการภายใน 90 วัน หากไม่ทันขยายได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 90 วัน เมื่อพิจารณาเสร็จส่งผลการพิจารณาให้ ก.พ.ว.
ก.พ.ว.พิจารณาความเห็น + วิเคราะห์ + ประมวลผลสรุป เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ทำคำสั่งแต่งตั้งตามข้อ 27 มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่สำนักวิชาการ รับผลงานครบถ้วน สภามหาวิทยาลัย พิจารณาผลการประเมิน อนุมัติ ไม่อนุมัติ แจ้งผู้ขอภายใน 15 วัน
ประกอบด้วย • กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ตาม • ประกาศ ก.พ.อ. ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการ • พิจารณาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุนและการขอ • ทบทวนดังกล่าว แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทราบมติ • เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้รับเรื่องการขอทบทวนผลงานทางวิชาการแล้วให้ส่ง • คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการ • พิจารณาตำแหน่งทางวิชาการมีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย • วินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของสภามหาวิทยาลัยเป็นที่สุด หมวด 5 การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ
หมวด 6 ความผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ • ประกอบด้วย 1. การเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นจริง การลอกเลียนผลงาน ความประพฤติผิด จรรยาบรรณของวิชาชีพ กรณีตรวจพบ ให้ ก.พ.ว.เสนอเรื่องพร้อม ความเห็นให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณา 2. บุคลากรกระทำความผิดตามข้อ 27 ให้ยุติการขอตำแหน่ง และห้ามมิให้ ขออีกเป็นเวลา 5 ปี และหากพบหลังจากที่แต่งตั้งไปแล้วให้ถอดถอน กรณีของศาสตราจารย์ ให้สภามหาวิทยาลัยเสนอ ก.พ.อ. ดำเนินการ ต่อไป
บทเฉพาะกาล • หากบุคลากรผู้ใดยื่นขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ ต่อสภามหาวิทยาลัยก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2549 ให้พิจารณาแต่งตั้งบุคลากรผู้นั้น ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการยื่นเรื่องดังกล่าวต่อไปจนแล้วเสร็จ