980 likes | 2.1k Views
การวิจัยทางธุรกิจ. Principles Business Research รศ.ดร.สุทัศนา สุทธิกุลสมบัติ. บทที่ 1. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยทางธุรกิจ. ความหมายของการวิจัยธุรกิจ.
E N D
การวิจัยทางธุรกิจ Principles Business Research รศ.ดร.สุทัศนา สุทธิกุลสมบัติ
บทที่ 1 • ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยทางธุรกิจ
ความหมายของการวิจัยธุรกิจความหมายของการวิจัยธุรกิจ • หมายถึง การศึกษาค้นคว้าหาความจริงทางธุรกิจ โดยใช้กระบวนการที่เชื่อถือได้ตามระเบียบวิธีที่ถูกต้อง มีวัตถุประสงค์และมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาอธิบายและพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานทางธุรกิจ
ประเภทของการวิจัยธุรกิจประเภทของการวิจัยธุรกิจ
ขั้นตอนการวิจัยธุรกิจขั้นตอนการวิจัยธุรกิจ เลือกหัวข้อ นิยามปัญหา ดำเนินการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย /วิทยานิพนธ์ วิเคราะห์ข้อมูลและ แปรผล เก็บรวบรวมข้อมูล
ส่วนประกอบของรายงานการวิจัย ส่วนประกอบของรายงานการวิจัย • ส่วนนำ – ปก บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ • ส่วนเนื้อหา – ประกอบด้วย 5 บท • ส่วนท้าย – การอ้างอิงถึงบรรณนุกรม ภาคผนวก และประวัติผู้วิจัย
เนื้อหาของรายงานการวิจัย 5 บท • บทที่ 1 บทนำ – กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา คำถามวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และนิยามศัพท์เฉพาะ • บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง – ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เอกสารที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและกรอบแนวคิดการวิจัย
เนื้อหาของรายงานการวิจัย 5 บท • บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย – ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ • บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล - เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ตามกรอบแนวคิดการวิจัย
เนื้อหาของรายงานการวิจัย 5 บท • บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ – สรุปการดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะผลการวิจัย ข้อเสนอแนะงานวิจัยครั้งต่อไป
ประโยชน์ของการวิจัยธุรกิจประโยชน์ของการวิจัยธุรกิจ • กิจการได้รับความรู้ใหม่เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการพัฒนา • ช่วยในการกำหนดนโยบาย การวางแผน การกำหนดหลักการปฏิบัติงาน • ช่วยแนะแนวทางในการปฏิบัติงานที่ประหยัด และรวดเร็ว • ช่วยแก้ไขและหาทางออกของปัญหาต่างๆได้อย่างตรงจุดและยุติธรรม
ประโยชน์ของการวิจัยธุรกิจประโยชน์ของการวิจัยธุรกิจ • ช่วยในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารให้เป็นไปได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว • ช่วยในการติดตามและตรวจสอบประเมินผลงานของทุกฝ่ายในธุรกิจ • ช่วยให้เกิดการพัฒนาตนเองและบุคลากรในแต่ละฝ่าย • ช่วยสร้างความเข้าใจและสามัคคีกันระหว่างบุคคลและฝ่ายต่างๆของธุรกิจ
ทักษะของนักวิจัย • การเป็นนักวิจัยที่ดี นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลาแล้วหรือนอกจากจะเป็นผู้ที่มีไหวพริบอันชาญฉลาด การเป็นนักวิจัยที่ดีนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักจรรยาบรรณของนักวิจัยอีกด้วย
การสื่อสาร ทักษะของนักวิจัย ความอิสระ สติปัญญา การสร้างแรงจูงใจ เทคโนโลยี การจัดการ ทักษะของนักวิจัย
ด้านการสื่อสาร • สามารถสื่อสารความได้เข้าใจเกี่ยวกับขอบข่ายงานของตนเอง เช่นการนำเสนอรายงานหรือวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องนำเสนอทั้งงานเขียนและทั้งการอภิปราย ดังนั้นนักวิจัยจะต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจนและแจ่มแจ้ง
ด้านสติปัญญา • มีความรู้หรือความจำที่ดีตามหลักข้อเท็จจริง • มีความเข้าใจในข้อมูลที่ค้นคว้ามาเป็นอย่างดี • สามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์ไปใช้ได้เป็นอย่างดี • มีความสามารถในการแยกแยะข้อมูลเป็นส่วนๆ • มีความสามารถในการสร้างข้อมูล จากข้อมูลอื่น • สามารถประเมินค่าเพื่อตัดสินข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้
ด้านการใช้เทคโนโลยี • การวิเคราะห์ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในงานวิจัยธุรกิจอย่างน้อยต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในโปรแกรมด้านเอกสาร(Word Processing) เพื่อช่วยในการสร้าง แก้ไขเอกสารและนอกจากนั้นยังต้องมีความรู้เรื่องโปรแกรมเกี่ยวกับสถิติอีกด้วย(Statistical Package for the Social Science) หรือนักวิจัยควรจะมีความสามารถในการค้นคว้าข้อมูลจากสื่อออนไลน์อีกด้วย
ด้านการจัดการ • นักวิจัยที่ดีจะต้องมีทักษะทางด้านการวางแผนการจัดการ การควบคุมสถานการณ์ การแบ่งเวลาเพื่อปฏิบัติงานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
ด้านการสร้างแรงจูงใจ • แรงจูงใจ เป็นตัวผลักดันให้งานวิจัยมีคุณภาพและทำให้เสร็จสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ เช่น หัวข้อที่น่าสนใจที่จะนำมาอภิปรายหรือสัมมนาและการประชุมทางวิชาการ
ความอิสระ • การจะเป็นนักวิจัยที่ดีนั้น จะต้องมีความคิดเป็นของตัวเองปราศจากอคติหรือการครอบงำจากสิ่งใดๆ ความอิสระของนักวิจัย ไม่ได้หมายถึงความมั่นใจหรือความเชื่อมั่นในตัวเองสูง แต่เป็นการวิจัยที่ถูกต้องตามหลักการ
จรรยาบรรณในงานวิจัยธุรกิจจรรยาบรรณในงานวิจัยธุรกิจ • จรรยาบรรณของนักวิจัยเป็นแนวทางการปฏิบัติของนักวิจัยที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ดีสู่สังคม สู่ชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางวิชาการ นักวิจัยจะต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องนำเอาผลงานไปพัฒนาสังคมต่อไป
จรรยาบรรณในงานวิจัยธุรกิจจรรยาบรรณในงานวิจัยธุรกิจ • นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ และคุณธรรมทางวิชาการ • นักวิจัยจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและรับผิดชอบต่อข้อตกลงที่กำหนดไว้ • นักวิจัยจะต้องมีความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในสาขาที่ทำการวิจัย • นักวิจัยต้องรักษาในสิ่งที่ตนเองศึกษาค้นคว้าให้คงเดิมต่อไป
จรรยาบรรณในงานวิจัยธุรกิจจรรยาบรรณในงานวิจัยธุรกิจ • นักวิจัยจะต้องเคารพสิทธิส่วนบุคคลและรักษาความลับของกลุ่มที่ปฏิบัติงาน • นักวิจัยจะต้องมีอิสระทางความคิด ไม่มีอคติต่อขั้นตอนในการวิจัย • นักวิจัยต้องเผยแพร่งานวิจัยที่เป็นจริง เพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม • นักวิจัยต้องยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงเมื่อรู้ข้อผิดพลาด • นักวิจัยจะต้องรับผิดชอบในผลงานการวิจัยเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและสังคม
นักวิจัย เจ้าของ ทุนวิจัย ผู้ให้ข้อมูล สังคม (ธุรกิจ ชุมชน และประเทศชาติ) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณการวิจัยทางธุรกิจ
ปัญหาการทำวิจัยของนักศึกษาปัญหาการทำวิจัยของนักศึกษา • ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง • การบูรณาการทางด้านความคิด • การสื่อความหมายในการนำเสนอแนวคิด • การแปรผลการวิจัย • ขั้นตอนการทำวิจัย