1 / 13

สารบัญ แผนความต่อเนื่อง หน้า บทที่ ๑ บทนำ ๑

สารบัญ แผนความต่อเนื่อง หน้า บทที่ ๑ บทนำ ๑ บทที่ ๒ การบริหารความต่อเนื่องของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร ๒ บทที่ ๓ การบริหารความต่อเนื่องของ กลุ่มง านยุทธศาสตร์และสารสนเทศ ๓

lars-sutton
Download Presentation

สารบัญ แผนความต่อเนื่อง หน้า บทที่ ๑ บทนำ ๑

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารบัญ แผนความต่อเนื่อง หน้า บทที่ ๑ บทนำ ๑ บทที่ ๒ การบริหารความต่อเนื่องของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร ๒ บทที่ ๓ การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศ ๓ บทที่ ๔ การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานบริการข้อมูลผู้ประกอบการโรงงาน ๔ บทที่ ๕ การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานบริการข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ๕ บทที่ ๖ การบริหารความต่อเนื่องของฝ่ายงานบริการทั่วไปฯ ๖ บทที่ ๗ แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต ๗

  2. บทที่ ๑ • บทนำ สภาวะวิกฤติ เป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น ภัยจากน้ำท่วม ภัยจากการเกิดไฟไหม้ ภัยจากพายุ ภัยจากแผ่นดินไหว ภัยจากการชุมนุมประท้วง ภัยจากการก่อการร้าย ภัยจากโรคระบาด เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กร ทั้งทางตรงและทางอ้อม องค์กรอาจจะประสบกับสภาวะวิกฤติ เช่น ไม่สามารถเปิดดำเนินงานได้ภายหลังเกิดสภาวะวิกฤติ อาคาร บ้านพัก ยานพาหนะได้รับความเสียหาย เสียชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นองค์กรต้องมีการจัดการบริหารความต่อเนื่อง เพื่อช่วยในการจัดการบริหารความเสี่ยงหรือภัยคุกคาม และให้องค์กรสามารถดำเนินงานต่อได้ หรือกลับมาให้บริการในระดับปกติตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผลขององค์กร ซึ่งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่เห็นชอบกับกรอบแนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤติ จึงดำเนินการจัดทำแผนความต่อเนื่อง(Business Continuity Plan-BCP) ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานสามารถตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉินที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานหยุดชะงัก หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง -๑-

  3. บทที่ ๒ • การบริหารความต่อเนื่องของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร เป็นส่วนราชการภูมิภาคในสังกัด กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ ๑. กำกับ ควบคุม ดูแล และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยแร่ กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ กฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมแร่ดีบุก กฎหมายว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาค ๒. จัดทำ เสนอ และประสานแผนพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมในระดับจังหวัด รวมทั้งประสานการพัฒนาและประเมินผลการ ดำเนินงาน ตามแผนดังกล่าว ๓. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย แนวทางการดำเนินงานการบริหารความพร้อมต่อภาวะวิกฤต • ๑. ศึกษาและทำความเข้าใจองค์กร ซึ่งหมายถึงความรู้และเข้าใจในสภาพและ การดำเนินงานขององค์กรและหน่วยงานว่า จะได้รับ • ผลกระทบหรือความเสี่ยงอย่างไรผ่านวิธีวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อระบุความเร่งด่วนของกิจกรรมต่างๆ แล้วนำข้อมูลมาจัดระดับ • ความสำคัญของกระบวนงาน การกำหนดแนวทาง และการกำหนดกลยุทธ์ • ๒. จัดทำแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan-BCP) เพื่อเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานสามารถ • ตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉินที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานต้องหยุดชะงัก หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง • โดยมีแนวทางการดำเนินการดังนี้ • •กำหนดโครงสร้างและทีมบริหารความต่อเนื่องและกำหนดโครงสร้าง Call Tree • •กำหนดกระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน( Call Tree) • •กำหนดแนวทางการบริหารความต่อเนื่อง • •รวบรวมข้อมูลและรายละเอียดไว้ในแผนบริหารความต่อเนื่อง -๒-

  4. -๓- บทที่ ๓ • การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศ • การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศ เป็นการดำเนินงานโดยฝ่ายนโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ • รวบรวมศึกษาวิเคราะห์ เสนอแนะ และประสานการจัดทำแผนพัฒนา จัดทำยุทธศาสตร์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมในระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง กรม และจังหวัด • ประสานและจัดทำแผนงานโครงการ แผนปฏิบัติงาน และคำของบประมาณ ในความรับผิดชอบของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน • ประสานการดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยอ้อยและน้ำตาลทราย • บริหารงานทั่วไป ประชาสัมพันธ์ และข้อมูลสารสนเทศ • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานอื่นในความรับผิดชอบของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย

  5. บทที่ ๔ • การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานบริการข้อมูลผู้ประกอบการโรงงาน • การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานบริการข้อมูลผู้ประกอบการโรงงาน เป็นการดำเนินงานโดย ๒ ฝ่าย • ฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ • กำกับ ควบคุม ดูแล และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการเพื่อการลงทุน กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ • ส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโรงงาน • จัดทำข้อมูลและสารสนเทศด้านโรงงานอุตสาหกรรม • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานอื่นในความรับผิดชอบของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย • ฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ • ๑. กำกับ ควบคุม ดูแล และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยแร่ กฎหมายว่าด้วยพิกัดค่าภาคหลวงแร่ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมแร่ดีบุก กฎหมายว่าด้วยโรงงานเฉพาะในส่วนโรงงานโม่ บด หรือย่อยหิน การทำเกลือสินเธาว์ การสูบน้ำเกลือจากใต้ดิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องภายในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ • ส่งเสริมและพัฒนาการทำเหมืองแร่ แต่งแร่ และการประกอบประกอบโลหกรรม • ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำเหมืองแร่ แต่งแร่ และการประกอบโลหกรรม • ๔. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานอื่นในความรับผิดชอบของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย -๔-

  6. บทที่ ๕ • การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานบริการข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน • การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานบริการข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นการดำเนินงานโดยฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ • ประสานส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และอุตสาหกรรมวิสาหกิจชุมชน • ส่งเสริมการใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน • ประสานการส่งเสริมการลงทุน • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานอื่นในความรับผิดชอบของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย -๕-

  7. บทที่ ๖ • การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานบริการทั่วไปฯ • การบริหารความต่อเนื่องของกลุ่มงานบริการทั่วไป ฯ มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ • ประสานงาน ดูแล รักษาความปลอดภัย ด้านอาคารสถานที่ราชการ และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ • ประสานงาน ดูแล รักษาความปลอดภัยด้านยานพาหนะ ตรวจสอบความเรียบร้อยของยานพาหนะ เพื่อพร้อมใช้งานราชการและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานอื่นในความรับผิดชอบของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย -๖-

  8. -๗- การพัฒนาและเตรียมการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน บทที่ ๗แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต ๑. การกำหนดโครงสร้างและทีมบริหารความต่อเนื่อง หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง อุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน ผู้ประสานงานคณะบริหารความต่อเนื่อง ทีมบริหารความต่อเนื่อง ทีมบริหารความต่อเนื่อง ทีมบริหารความต่อเนื่อง ทีมบริหารความต่อเนื่อง กลุ่มงาน ยุทธศาสตร์และสารสนเทศ กลุ่มงานบริการข้อมูลผู้ประกอบการโรงงาน กลุ่มงาน บริการข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มงานบริการทั่วไปฯ ฝ่ายนโยบายและแผน ฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรม ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรม

  9. แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต ๒. การกำหนดโครงสร้าง Call Tree อุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน ผู้ประสานงานคณะบริหารความต่อเนื่อง บริหารความต่อเนื่อง กลุ่มงาน ๑ ทีมบริหารความต่อเนื่อง กลุ่มงาน ๒ ทีมบริหารความต่อเนื่อง กลุ่มงาน ๓ ทีมบริหารความต่อเนื่อง กลุ่มงาน ๔ ฝ่ายนโยบายและแผน ฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรม ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรม ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

  10. BIA Template 1 (พร้อมข้อมูล)

  11. BIA Template 2 (พร้อมข้อมูล)

  12. BIA Template 3 (พร้อมข้อมูล)

  13. BIA Template 4 (พร้อมข้อมูล)

More Related