470 likes | 1.09k Views
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วัตถุประสงค์. อธิบายพัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร อธิบายชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อธิบายลักษณะตัวกลางของการสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อธิบายลักษณะอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ บอกประโยชน์เครือข่ายคอมพิวเตอร์. พัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร.
E N D
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
วัตถุประสงค์ • อธิบายพัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร • อธิบายชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • อธิบายลักษณะตัวกลางของการสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • อธิบายลักษณะอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ • บอกประโยชน์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
พัฒนาการของการติดต่อสื่อสารพัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่ • ผู้ส่ง(sender) • ผู้รับ (Receiver) • ข่าวสาร(message) • ตัวกลาง(Media) • โพรโทคอล(protocal) เป็นข้อตกลงร่วมกันในการสื่อสาร
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อโดยผ่านตัวกลางในการสื่อสาร ข่าวสาร(message) ตัวกลาง(Media) ผู้ส่ง(sender) โพรโทคอล(protocal) คือภาษาที่ใช้ ผู้รับ (Receiver)
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
พัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการของการสื่อสาร
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คืออะไร การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป มาเชื่อมต่อกัน โดยผ่านตัวกลางในการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน(resource sharing) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญต่อองค์กรดังนี้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญต่อองค์กรดังนี้ 1. ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสามารถทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้พร้อมกัน 2.ส่งเสริมการใช้งานข้อมูลร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไรให้กับองค์กร 3. สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้คุ้มค่า เช่น แบ่งกันใช้ไฟล์ข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์(printer) และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน 4. ทำให้ลดต้นทุน เพราะสามารถพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้
ชนิดเครือข่าย แบ่งตามขนาดบริเวณพื้นที่การบริการ
ชนิดเครือข่าย 1. เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน(Personal Area Network :PAN) 2. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลน(Local Area Network :LAN) 3. เครือข่ายนครหลวง หรือ แมน(Metropolitan Area Network :MAN) 4. เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือ แวน(Wide Area Network :PAN)
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน(Personal Area Network :PAN) เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แพนไร้สาย (Wireless PAN: WPAN) มีการใช้งานแพร่หลาย ระยะไม่เกิน 10 เมตร เช่น ใช้เทคโนโลยีบลูทูธ(Bluetooth technology) เชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่กับหูฟัง และไมโครโฟนไร้สาย ใช้คลื่นวิทยุเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับเมาส์ หรือคีย์บอร์ดไร้สาย เชื่อมต่อเครื่องพิมพ์กับโทรศัพท์เคลื่อนที่
เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลน(Local Area Network :LAN) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน หรือพื้นที่เดียวกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในอาคาร หรือภายในองค์กรที่ระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นเครือข่ายที่แต่ละองค์กรดูและและบริหารจัดการด้วยตนเอง
เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลน(Local Area Network :LAN) ขอบเขตของแลน ภายในห้องเดียวกัน ระหว่างห้อง หรือระหว่างอาคาร เช่น ภายในโรงเรียน ภายในบริษัท ในระยะไม่เกิน 100 เมตร
เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลน(Local Area Network :LAN) เทคโนโลยีแลนที่นิยมในปัจจุบัน เช่น อีเทอร์เน็ต สามารถรองรับการสื่อสารด้วยความเร็วสูงมาก ตั้งแต่ 10 เมกะบิตต่อวินาทีขึ้นไป มีความผิดพลาดในการสื่อสารต่ำ สามารถรับส่งข้อมูลปริมาณมาก
เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลน(Local Area Network :LAN) ปัจจุบันมีแลนแบบไร้สาย(Wireless LAN: WLAN) ได้รับความนิยมเนื่องจากสะดวกในการวางระบบ ไม่ต้องอาศัยสายสัญญาณ ใช้เทคโนโลยีไวไฟ(WiFi technology) สามารถสื่อสารได้สูงกว่า 10 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมรัศมี 100 เมตรในอาคาร หรือ 500 เมตรภายนอกอาคาร
เครือข่ายนครหลวง หรือ แมน(Metropolitan Area Network :MAN) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรือแลนหลายเครือข่าย ที่ตั้งอยู่บริเวณไม่ไกล ภายในเมืองเดียวกันเข้าด้วยกัน ในระยะไม่เกิน 1000 เมตร หรือ 1 กิโลเมตร เช่น แลนของหน่วยงานเดียวกันที่ตั้งอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของเมืองเดียวกัน โดยอาจใช้สายไฟเบอร์ออปติก หรือแบบไร้สาย เช่น วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย
เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือ แวน(Wide Area Network :WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เช่น ระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ ระหว่างทวีป การสร้างแวนจึงต้องพึ่งพาระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ เช่น วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม
เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือ แวน(Wide Area Network :WAN) เทคโนโลยีที่ใช้กับแวน มีทั้งแบบไร้สายและแบบใช้สายนำสัญญาณ เช่น ช่องสัญญาณดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิ้ลที่วางตามถนนและวางใต้ท้องทะเล อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกและเป็นเครือข่ายแวน
ชนิดเครือข่าย แบ่งตามลักษณะการให้บริการ
ชนิดเครือข่าย 1. เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ(Client-server network) 2. เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer to Peer network :P2P)
1. เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ(Client-server network) • เป็นเครือข่ายที่มีเครื่องบริการ(Server) ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง สามารถให้บริการเครื่องรับบริการหลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ทำให้สะดวกในการบริหารจัดการ บำรุงรักษาทรัพยากรของระบบ เช่น เครื่องบริการไฟล์(File server) เครื่องบริการเมล(Mail Server)
2. เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer to Peer network :P2P) • เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นเครื่องรับและให้บริการได้ในขณะเดียวกัน และสามารถใช้ทรัพยากรของเครื่องอื่นได้อย่างเท่าเทียมกัน