1 / 19

มลพิษ

มลพิษ.

Download Presentation

มลพิษ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มลพิษ มลพิษ หรือ มลภาวะ  หมายถึง ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึง รังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย

  2. สาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม 1. การเพิ่มจำนวนของประชากร ส่งผลให้ความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ต้องการพื้นที่ทำการเกษตร ต้องการน้ำ อากาศ แร่ธาตุ พลังงาน และอื่นๆ มากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันขาดการวางแผนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีมลพิษ มลสาร และสารปนเปื้อนสูง

  3. 2. การขยายตัวของเมือง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศตามธรรมชาติ ประกอบกับขาดการวางแผนการวางผังเมืองไว้ล่วงหน้า ทำให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากมาย3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ปัจจุบันมนุษย์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและปัจจัยสี่ โดยการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ซึ่งก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อคุณภาพดินในระยะยาว 4. ค่านิยมที่ไม่เหมาะสม ค่านิยมที่ไม่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม

  4. มลพิษทางน้ำ มลพิษทางน้ำหมายถึง น้ำที่เสื่อมคุณภาพ หรือน้ำที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากธรรมชาติ ทั้งนี้เนื่องมาจากมีมวลสารสารพิษ หรือสารปนเปื้อนต่างๆ ปะปนเกินมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด จนทำให้ไม่สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำสังเกตได้จากหลายลักษณะได้แก่1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 2. การเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ 3. การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา 4. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

  5. มวลสารที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ1. สารอนินทรีย์ ส่วนใหญ่ได้รับจากน้ำที่ปล่อยทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และเหมืองแร่ทำให้น้ำมีคุณสมบัติทางกายภาพ ชีวภาพ และทางเคมีเปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่ผลเสียจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดละปริมาณ รวมทั้งระยะเวลาในการได้รับมวลสารนั้นๆ โดยที่สารอนินทรีย์เหล่านี้ไปตามห่วงโซ่อาหารจนกระทั่งถึงมนุษย์ในลำดับสุดท้าย เช่น โลหะหนักจำพวกปรอท ตะกั่ว แคดเมียม 2. สารอินทรีย์ มีทั้งพวกไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น โปรตีน กรดอะมิโน และปัสสาวะ รวมทั้งไม่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น สารจำพวกแป้ง คาร์โบไฮเดรต ไขมัน สบู่ และน้ำมัน

  6. 4. เชื้อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เชื้อโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคต่างๆ แก่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้5. สารกัมมันตรังสี เป็นผลผลิตจากเตาปฎการณ์ปรมาณู สารเหล่านี้สามารถทำลายหรือเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม 6. ความร้อน เกิดจากน้ำส่วนที่ใช้ระบายความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมหรือการกลั่นน้ำมันซึ่งความร้อนนี้มีผลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม7. ตะกอน ได้แก่ ตะกอนที่มาจากการกระทำของมนุษย์หรือเกิดตามธรรมชาติ ตะกอนเหล่านี้มีผลต่อความใส-ขุ่นของน้ำซึ่งอาจจะทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดน้อยลง จนทำให้พืชตายได้

  7. สาเหตุที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ แหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งเกษตรกร แหล่งน้ำต่างๆ ซึ่งอาจเกิดการเน่าเสียได้เอง ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางน้ำ ด้านสาธารณสุข ด้านการประมง  ด้านอุปโภคและบริโภค ด้านเกษตร . ด้านทัศนียภาพ 

  8. แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ1.ควบคุมมลพิษทางน้ำ ทำได้โดยการออกกฎหมายในลักษณะป้องกันมิให้น้ำเสีย โดยการกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงาน2. รัฐบาลต้องออกกฎหมายที่เหมาะสม โดยใช้วิธีชักจูงใจประชาชนและโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อมิให้กระทบกระเทือนไปถึงผู้บริโภคมากเกินไป3. กำหนดวิธีการกำจัดน้ำเสียก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนทางวิทยาศาสตร์แบบบรูรณาการ

  9. มลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลา นานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพ แวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสีย ของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหย ของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย 

  10. แหล่งกำเนิดมลภาวะทางอากาศแหล่งกำเนิดมลภาวะทางอากาศ การเผาไหม้เชื้อเพลิงของกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ รถยนต์ การเผาขยะมูลฝอย การฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองและอนุภาคต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรมผลิตหรือแปรรูปวัตถุดิบ การเกษตร เช่น การเผาพื้นที่ทำการเกษตร การฉีดพ่นสารเคมี เตาปฏิกรณ์ เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า  แหล่งกำเนิดจากธรรมชาติ เช่น ไฟป่า

  11. ผลกระทบจากภาวะมลพิษทางอากาศผลกระทบจากภาวะมลพิษทางอากาศ 1. เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะระบบหายใจ มะเร็งผิวหนัง ระบบประสาท และอาจสะสมในเนื้อเยื่อร่างกายมลสารแต่ละชนิดจะเป็นผลกระทบต่อสุขภาพต่างกัน2. สารพิษที่ระบายออกสู่บรรยากาศ บางชนิดคงตัวอยู่ในบรรยากาศได้เป็นเวลานาน และแพร่กระจายออกไปได้ไกล บางชนิดเป็นปฏิกิริยาต่อกันและเกิดเป็นสารใหม่ที่เป็นอันตราย3. ทำให้เกิดฝนกรด โดยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่มีสารกำมะถันเจือปน เมื่อทำปฏิกิริยารวมตัวกับน้ำและกลั่นตัวเป็นฝน จะมีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งก่อสร้าง4. ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก

  12. การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศการป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ 1.ลดสารภาวะมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด 2.เข้มงวดกับมาตรการลดผลกระทบด้านภาวะมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม 3.สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร  4.ปรับปรุงระบบการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนให้มีการบริหารจัดการแบบครบวงจร  5.ป้องกันการเกิดไฟป่า ตรวจติดตามปฏิบัติการดับไฟป่า 6. ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มาจากธรรมชาติ 7.ลดการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีสารประกอบของสารที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก 8. สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการขนส่งที่มีมลพิษน้อย และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน 9.รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอันตรายที่เกิดจากภาวะมลพิษทางอากาศ 10.ปรับปรุงกฎหมาย

  13. มลพิษดิน มลพิษดิน คือ ภาวะที่ดินมีมวลสาร สารพิษ หรือสารปนเปื้อน ซึ่งเกิดจากการเติมหรือทิ้งสิ่งต่างๆ ลงในดินเกินค่ามาตรฐาน จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมวลสารที่ก่อให้เกิดมลพิษดิน - มลสารที่มีชีวิต - มลสารเคมี - มลสารกัมมันตรังสี

  14. มลพิษขยะ ขยะมูลฝอยหมายถึง เศษสิ่งเหลือใช้และสิ่งปฏิกูลต่างๆ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด หรือที่อื่นๆ ทั้งจากการผลิต การบริโภค การขับถ่าย การดำรงชีวิต และอื่นๆประเภทของขยะ       1. ขยะเปียก หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร พืชผัก เปลือกผลไม้ เป็นต้น       2. ขยะแห้ง หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ เศษผ้า ไม้ ยาง เป็นต้น       3. ขยะอันตราย ได้แก่ สารเคมี วัตถุมีพิษ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ และขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล

  15. มลพิษอาหาร มลพิษทางอาหาร หมายถึง ภาวะที่อาหารมีการปนเปื้อนหรือมีสารพิษ  อาหารจึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือเสื่อมสภาพลง  ทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ สามารถแบ่งสารแปลกปลอมออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้      1. พิษที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของอาหารเอง  เช่น  เห็ดพิษ  ผักหวานป่า  ปลาบางชนิด  หอย  แมงดาทะเล  เป็นต้น      2. พิษที่เกิดจากการเจือปน

  16. มลพิษความร้อน มลพิษความร้อน หมายถึง ภาวะที่มีความร้อนมากเกินไปจนทำให้มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอยู่อย่างไม่ปกติสุขมลพิษความร้อน หมายถึง พลังงานที่ทำให้สิ่งแวดล้อมต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมนั้นไม่เหมาะต่อการใช้ประโยชน์ขององค์ประกอบในระบบนิเวศ

  17. มลพิษรังสี มลพิษทางรังสี หมายถึง การที่มีปริมาณรังสีในสภาพแวดล้อมมากจนทำให้บุคคลที่สัมผัสได้รับอันตราย ทั้งในแง่ของการสะสมในร่างกายและผลที่เฉียบพลันทันทีสารกัมมันตรังสี คือ สารที่ประกอบด้วยนิวเคลียสที่ไม่เสถียร ที่มีการสลายตัวและมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของรังสีสารกัมมันตภาพรังสี คือ อัตราการสลายตัวของไอโซโทปรังสี โดยนิวเคลียสที่ไม่เสถียรของอะตอมบางชนิด ที่พยายามปรับตัวเองให้เข้าสู่สภาวะที่เสถียรกว่า เป็นผลให้มีการปลดปล่อยอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

  18. มลพิษทางเสียง มลพิษทางเสียง หมายถึง สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเกินค่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดอันก่อให้เกิดความรำคาญ สร้างความรบกวน ทำให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ตกใจ และอาจถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยได้ เช่น เสียงที่ดังมา ก หรือเสียงที่ดังยาวต่อเนื่องเสียงรบกวน คือ เสียงที่ผู้ได้ยิน

  19. สรุปหลักการกำจัดมวลสารแบบบูรณาการสรุปหลักการกำจัดมวลสารแบบบูรณาการ มนุษย์ควรมีหลักการกำจัดมวลสารแบบบูรณาการ สำหรับป้องกันการเกิดผลกระทบต่อโครงสร้างของระบบนิเวศทั้งส่วนที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หรือป้องกันมิให้โครงสร้างเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม โดยมนุษย์ต้องยึดหลัก 3 หลักการ ดังนี้ 1. มนุษย์ควรมีการวางแผนการดำเนินการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 2. มนุษย์ควรมีหลักการใช้และป้องกันที่สอดคล้องกับหลักอนุรักษ์วิทยา  3.มนุษย์ต้องมีมาตรการในการควบคุม โดยรัฐบาลออกกฎหมาย

More Related