390 likes | 467 Views
การเตรียมการและการกำหนดท่าทีในการเจรจาต่อรองในระดับสากล. กลุ่ม 1. รายงานที่จะนำเสนอ. องค์การการค้าโลก : สมาคมคนรวยจริงหรือ ( เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ , TDRI) มองย้อนหลัง : ไทยได้อะไรมา เสียอะไรไป (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์). รายงานที่จะนำเสนอ (ต่อ).
E N D
การเตรียมการและการกำหนดท่าทีในการเจรจาต่อรองในระดับสากลการเตรียมการและการกำหนดท่าทีในการเจรจาต่อรองในระดับสากล กลุ่ม 1
รายงานที่จะนำเสนอ • องค์การการค้าโลก: สมาคมคนรวยจริงหรือ(เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, TDRI) • มองย้อนหลัง : ไทยได้อะไรมา เสียอะไรไป (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)
รายงานที่จะนำเสนอ (ต่อ) • มองไปข้างหน้า: การเจรจารอบใหม่ ไทยจะมีโอกาสได้อะไร และต้องเตรียมพร้อมอย่างไร (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์) • การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ (จันทวรรณ สุจริตกุล, ธนาคารแห่งประเทศไทย)
WTO มีหน้าที่อะไร • WTO เป็นเพียงเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศสมาชิก (รัฐต่อรัฐเท่านั้น) • WTO เองไม่มีจุดยืนใดๆ เกี่ยวกับความเหมาะสมหรือเป็นธรรมของข้อตกลงที่เป็นผลมาจากการเจรจาต่อรองของสมาชิกโดยทั้งสิ้น • เมื่อมีความตกลงกันแล้ว WTO เป็นผู้ดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกัน
แนวคิดต่อต้าน/สนับสนุน WTO ต่อต้าน:WTO เป็นเวทีที่ประเทศร่ำรวยเอาเปรียบประเทศที่ยากจนโดยการกำหนด กฎ กติกาการค้าที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเอง จากความแตกต่างของอำนาจต่อรองและทุนทรัพย์ทำให้ประเทศที่ร่ำรวยเป็นผู้นำในการเจรจาตลอดมา
แนวคิดต่อต้าน/สนับสนุน WTO (ต่อ) สนับสนุน: • ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็กได้เสมอ อย่างน้อยกฎ กติกา พหุภาคี (multilateral rules) มีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากกว่ากฎกติกาที่กำหนดขึ้นโดยฝ่ายเดียว (unilateral rules) • โดยโครงสร้างแล้ว WTO เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ให้ความเสมอภาคแก่สมาชิก อย่างน้อยโดยหลักการ (สมาชิกทุกรายมีเสียงเดียว และการดำเนินการต่างต้อง ได้รับฉันทามติ)
WTO เป็นสมาคมคนรวยจริงหรือ? • ผลการเจรจาทางการค้าที่ผ่านมาช่วยลดอุปสรรคกีดกันสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาหรือไม่ • กระบวนการระงับข้อพิพาททางการค้าให้การ คุ้มครองประเทศกำลังพัฒนาหรือไม่ • ประเด็นใหม่ที่มีการผลักดันเข้ามาใน WTO เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาหรือไม่ • การให้ “การปฏิบัติที่พิเศษ” แก่ประเทศกำลังพัฒนาในกรอบความตกลง WTO เป็นประโยชน์จรงหรือไม่
องค์การการค้าโลก: สมาคมคนรวยจริงหรือ คำถาม: (1) การเจรจาทำให้ประเทศที่ยากจนสามารถส่งสินค้าออกมากขึ้นหรือไม่ (1995 - 2002) • อัตราภาษีศุลกากรของสินค้าเกษตรและสินค้า อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นต่ำลงในอัตราที่เทียบเคียงกับของสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือไม่ • แนวโน้มการอุดหนุนสินค้าเกษตรลดลงหรือไม่ • ประเทศกำลังพัฒนาเป็นเป้าของมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดของประเทศพัฒนาแล้วจริงหรือไม่
อัตราภาษีศุลกากรของสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นในการผลิตอัตราภาษีศุลกากรของสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นในการผลิต
อัตราภาษีศุลกากรสูง (peak tariffs)ของสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นในการผลิต
อัตราภาษีศุลกากรของสินค้าเกษตรอัตราภาษีศุลกากรของสินค้าเกษตร
อัตราภาษีศุลกากรของสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นในการผลิตอัตราภาษีศุลกากรของสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นในการผลิต
กรณีข้อพิพาททางการค้ากรณีข้อพิพาททางการค้า LDC ร้องเรียน DC DC vs DC 17% 21% DC ร้องเรียน LDC 8% LDC vs LDC 54%
สรุปแล้ว การเปิดเสรีทางการค้าเอื้อประโยชน์ให้สินค้าจากประเทศอุตสาหกรรมเป็นหลัก
องค์การการค้าโลก: สมาคมคนรวยจริงหรือ (2) การระงับข้อพิพาทให้ความเป็นธรรมแก่ประเทศที่ยากจนหรือไม่ • กระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO เป็นอย่างไรเปิดกว้างต่อสมาชิกทุกรายอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ • ที่ผ่านมาประเทศกำลังพัฒนาใช้ระบบการระงับข้อพิพาทมากน้อยเพียงใด • ผลการตัดสินกรณีข้อพิพาทที่ผ่านมาแสดงว่ากระบวนการระงับข้อพิพาทเบี่ยงเบนไปในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อประเทศที่ร่ำรวยหรือไม่
กระบวนการข้อพิพาทของ WTO • ก่อนนำเรื่องเข้ากระบวรการต้องมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกันก่อน • การตั้งคณะพิจารณา (panel) และการรับรอง รายงานของคณะพิจารณา เป็นไปโดยอัตโนมัติ ยกเว้นมีฉันทามติคัดค้าน • มีเงื่อนไขของเวลาที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ DSU มิฉะนั้น... • ผู้เสียหายมีสิทธิตอบโต้
การเข้าร่วมในกระบวนการระงับข้อพิพาทของประเทศกำลังพัฒนา (1948-94) การเป็นผู้ร้องเรียน การเป็นผู้ถูกร้องเรียน
การเข้าร่วมในกระบวนการระงับข้อพิพาทของประเทศกำลังพัฒนา (1995-2000) การเป็นผู้ร้องเรียน การเป็นผู้ถูกร้องเรียน
ปัญหาของระบบระงับข้อพิพาทปัญหาของระบบระงับข้อพิพาท • มีค่าใช้จ่ายสูง • การตั้ง Advisory Centre ขึ้นมาไม่สามารถช่วยประเทศยากจนได้อย่างเพียงพอ • การใช้มาตรการตอบโต้โดยการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางการค้าเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นการให้อำนาจประเทศขนาดใหญ่ฝ่ายเดียว
ข้อเสนอของประเทศกำลังพัฒนาข้อเสนอของประเทศกำลังพัฒนา • ให้มีการชดเชยความเสียหาย • ให้สมาชิกสามารถรวมกันตอบโต้ได้ (collective retaliation) • ให้สามารถเลือกวิธีการในการตอบโต้ได้ (cross retaliation)
สรุปแล้ว การระงับข้อพิพาทใน WTO ที่มีค่าใช้จ่ายสูง และ การให้ผู้ เสียหาย “ทวงหนี้เอาเอง”ทำให้ประเทศที่ยากจนและประเทศที่มีอำนาจทาง การค้าต่ำเสียเปรียบ
องค์การการค้าโลก: สมาคมคนรวยจริงหรือ คำถาม: (3) ความตกลงที่มีลักษณะเป็นกฎ กติกาที่กำหนดขึ้น เอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศยากจนหรือไม่ • ประเด็นใหม่ๆ ที่เรียกว่า “behind- the- border issues”เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPS) มาตรฐานสินค้า อุตสาหกรรม (TBT) และ มาตรฐานสุขอนามัยเหล่านี้ เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาจริงหรือไม่
ลักษณะของประเด็นใหม่ที่มีการเจรจาใน WTO • ไม่ได้มีการวิเคราะห์ cost benefit analysis • มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอิงมาตรฐานของประเทศพัฒนาแล้ว • มีต้นทุนในการนำมาบังคับใช้สูง • มีความซับซ้อนทางเทคนิค ทำให้ประเทศที่ยากจน “ตามไม่ทัน”
สรุปแล้ว หัวข้อที่เป็น “Behind border issues” และลักษณะของความตกลงที่เน้นการสร้างกฎกติกาสากลไม่เอื้อประโยชน์และสร้างต้นทุนให้กับประเทศกำลังพัฒนา
องค์การการค้าโลก: สมาคมคนรวยจริงหรือ คำถาม: (4) ประเทศที่ยากจนได้รับ “แต้มต่อ” อย่างไร ในการเจรจา การให้แต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนาในองค์การการค้าโลกมีรูปแบบอย่างไร และสิทธิพิเศษเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนาจริงหรือไม่
รูปแบบของสิทธิประโยชน์รูปแบบของสิทธิประโยชน์ GATT - GSP TOKYO ROUND • Technical Assistance and Capacity Building • การลดหรือให้ความยืดหยุ่นแก้ข้อผูกพัน • การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อผูกพัน URUGUAY ROUND • การยืดระยะเวลาในการปฏิบัติตามข้อผูกพัน
ปัญหาของสิทธิประโยชน์ที่ได้รับปัญหาของสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ • ไม่ผูกพัน(เช่นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค) • ไม่เป็นรูปธรรม (เช่นการกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วคำนึงถึงความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาในกรณีที่มีข้อพิพาททางการค้า)
ปัญหาของสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ (ต่อ) • ไม่สอดคล้องกับความต้องการ(เช่นการอนุญาตให้ประเทศกำลังพัฒนากำหนดมาตรฐานสินค้า นำเข้าเองได้ ในขณะที่ปัญหาสำคัญคือมาตรฐานสินค้าส่งออก) • ไม่โปร่งใส (เช่น ในกรณีของ GSP ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงกดดันนอกเวทีการเจรจา)
ปัญหาของสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ (ต่อ) • มีเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิพิเศษ (เช่น การอนุญาตให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถปรับเปลี่ยนอัตราภาษีที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อผูกพันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ แต่เปิดให้การกระทำดังกล่าวถูกตอบ โต้จากผู้ที่ได้รับความเสียหาย)
ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของศักยภาพในการเจรจาต่อรองและระดับของการพัฒนาของสมาชิก
สรุปแล้ว WTO เป็นสมาคมคนรวยจริงในทางปฏิบัติ แต่หากเราไม่เข้าร่วมการเจรจาแล้ว เราจะมีทางเลือก ที่ดีกว่าหรือ ???
การมองย้อนหลัง • ทำไมประเทศไทยจึงตัดสินใจเข้าร่วมการเจรจาพหุภาคีในปี พ.ศ. 2525 • ไทยเป็นเศรษฐกิจเปิด • มีการใช้ AD/CVD เพื่อกีดกันการค้ามากขึ้น • ประหยัดทรัพยากรแทนการเจรจาทวิภาคี • สามารถใช้ WTO เป็นช่องทางในการเจรจาเพื่อยุติ ข้อพิพาท
การมองย้อนหลัง (ต่อ) • ประสบการณ์ • การใช้กลุ่ม Cairns ในการเจรจาผลักดันประเด็นสินค้าเกษตร • การถูกสหรัฐฯ บีบคั้นให้รับ TRIPS เพื่อแลกกับ GSP • ผลประโยชน์ที่ได้รับ • กฎกติกาการค้าที่รัดกุมขึ้น • กฎระเบียบทางการค้าของสินค้าเกษตร • การเปิดตลาดสิ่งทอ • การลงทุนจากต่างประเทศเนื่องจากการคุ้มครอง IP
การมองย้อนหลัง (ต่อ) • สิ่งที่นำไปแลก • การเปิดตลาด • การบังคับใช้ TRIPS • การปรับกฎหมายภายใน
การมองไปข้างหน้า • ประเด็นที่มีความสำคัญในการเจรจารอบต่อไป (เกษตร GATS SPS Safeguard) • กลยุทธ์ในการเจรจาต่อรองเพื่อผลักดันผลประโยชน์ของประเทศ (การรวมกลุ่มระหว่างประเทศกำลังพัฒนา การแลกเปลี่ยนกับประเทศ ที่พัฒนาแล้ว) • การพัฒนาศักยภาพในการเจรจา
ทำไมประเทศกำลังพัฒนาจึงเสียเปรียบทำไมประเทศกำลังพัฒนาจึงเสียเปรียบ • ขาดความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและด้านกฎหมายจึง “ตามไม่ทัน” • ถูกแรงกดดันนอกเวทีการเจรจา (GSP, AID) • ขาดผู้นำ • ขาดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เนื่องจากแต่ละประเทศมุ่งหวังเพียงผลประโยชน์ของตนเอง
ประเด็นที่ต้องพิจารณาประเด็นที่ต้องพิจารณา 1. ทำอย่างไรประเทศกำลังพัฒนาจึงจะสร้างอำนาจต่อรองได้ • เราจะใช้ประโยชน์จากประเทศจีนและ อาเซียนได้อย่างไร • เราจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสละแนวคิดแบบ “ตัวใครตัวมัน” ซึ่งทำให้กลุ่มอ่อนแอได้อย่างไร
ประเด็นที่ต้องพิจารณา (ต่อ) 2. การสร้างศักยภาพในการเจรจา • เราจะต้องปรับปรุงตัวเองอย่างไร • เราจะทำอย่างไรจึงจะมีบทบาทในเชิงรุกแทนที่จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ • เราควรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ยากจนเป็นพันธกรณีผูกพันประเทศที่ร่ำรวย • เราจะใช้ประโยชน์จากองค์กรพัฒนาต่างประเทศได้มากน้อยเพียงใด