1.64k likes | 7.54k Views
การแยกโดยโครมาโทกราฟี Chromatographic Separation. พุทธรักษา วรานุศุภากุล. 2302244 เคมีวิเคราะห์ 2. โครมาโทกราฟี (Chromatography).
E N D
การแยกโดยโครมาโทกราฟี Chromatographic Separation พุทธรักษา วรานุศุภากุล 2302244 เคมีวิเคราะห์ 2
โครมาโทกราฟี (Chromatography) • เทคนิคการแยกโดยใช้ความแตกต่างของอัตราการเคลื่อนที่ของแต่ละองค์ประกอบในของผสมบนเฟสคงที่ (stationary phase, SP) ภายใต้การพาของเฟสเคลื่อนที่ (mobile phase, MP)
What’s Chromatography? “Chromatography is a physical method ofseparationin which the components to be separated are distributed between two phases, one of which is stationary (stationary phase) while the other (the mobile phase) moves in a definite direction.” Official definitions of chromatography by IUPAC X A Mobile Phase A X A X A A X X X A A A Stationary Phase X A A X A X X
การแยกโดยโครมาโทกราฟีการแยกโดยโครมาโทกราฟี • สารประกอบ A มีการกระจายตัวระหว่างเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ เมื่อผ่านไปตามความยาวของคอลัมน์หรือแผ่นที่บรรจุเฟสคงที่ A (mobile) = A (stationary) • การกระจายตัวที่แตกต่างกัน ทำให้มีอัตราการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน โดยสารประกอบที่ชอบละลายอยู่ในเฟสคงที่มากกว่าเฟสเคลื่อนที่จะเคลื่อนผ่านเฟสคงที่ไปได้ช้ากว่าสารประกอบที่ชอบละลายอยู่ในเฟสเคลื่อนที่มากกว่าเฟสคงที่ stationary phase mobile phase สารที่ชอบเฟสคงที่ สารที่ชอบเฟสเคลื่อนที่ mobile phase
Signal Time โครมาโทแกรม (Chromatogram) • สารประกอบซึ่งถูกแยกจะเคลื่อนที่ไปตามความยาวของคอลัมน์ที่บรรจุเฟสคงที่ และผ่านออกมาจากคอลัมน์ ถ้าทำการวัดสัญญาณความเข้มข้นของสารประกอบแต่ละชนิดที่ผ่านออกมา กราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณการตรวจวัดนี้กับเวลาหรือปริมาตรของเฟสเคลื่อนที่ เรียกว่าโครมาโทแกรม • ข้อมูลจากโครมาโทแกรมนำไปใช้ในการทำปริมาณวิเคราะห์และคุณภาพวิเคราะห์ทางโครมาโทกราฟี
Distribution Coefficient, K • สารประกอบ A มีการกระจายตัวระหว่างเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ โดยค่าคงที่ของการกระจายตัว (distribution coefficient, K) เท่ากับอัตราส่วนของความเข้มข้นของ A ในเฟสคงที่ต่อความเข้มข้นของ A ในเฟสเคลื่อนที่ • ค่าคงที่ของการกระจายตัวนี้จะเป็นค่าจำเพาะของสารแต่ละชนิดในเฟสคงที่ เฟสเคลื่อนที่และอุณหภูมิหนึ่งๆ เท่านั้น • สามารถนำไปใช้ระบุหรือทำนายการจับอยู่ของสารกับเฟสคงที่ (retention) เมื่อมีการเปลี่ยนภาวะต่างๆ ในการแยก โดย CS = ความเข้มข้นของ A ในเฟสคงที่ CM = ความเข้มข้นของ A ในเฟสเคลื่อนที่
Distribution Coefficient • จากคำนิยามของค่าคงที่ของการกระจายตัวของสาร สำหรับคอลัมน์โครมาโทกราฟี สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่า Kกับปัจจัยต่างๆ ในทางปฏิบัติ จะได้ดังสมการ โดย b= phase ratio r = รัศมีของคอลัมน์ Df = ความหนาของเฟสคงที่
การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีการจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟี • เทคนิคทางโครมาโทกราฟีสามารถแบ่งประเภท (classification) ได้หลายแบบ ขึ้นกับจะใช้อะไรมาเป็นเกณฑ์ • สามารถแบ่งได้โดย • สถานะของเฟสเคลื่อนที่และเฟสคงที่ (type of mobile phase and stationary phase) • กลไกของการแยก (mechanism of retention) • รูปแบบ • การเคลื่อนที่ของสารผ่านเฟสคงที่ (sample development or movement)
การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟี ตามชนิดของเฟสเคลื่อนที่และเฟสคงที่
เทคนิคหลักๆ ของโครมาโทกราฟีตามกลไกการแยก Adsorption chromatography Partition chromatography Ion-exchange chromatography Size-exclusion chromatography Affinity chromatography กลไกการแยกมีได้หลายแบบ เช่น การดูดซับ (Adsorption) การกระจายตัว (Partition) การแลกเปลี่ยนไอออน (Ion exchange) การคัดเลือกตามขนาด (Size exclusion) การเกิดIon interaction Affinity Micelle Complexation การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีตามกลไกการแยก (retention mechanism)
การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีตามรูปแบบของเทคนิคการจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีตามรูปแบบของเทคนิค • แบบคอลัมน์ (Column chromatography) • เฟสคงที่จะบรรจุอยู่ในท่อหรือที่เรียกว่าคอลัมน์ • เฟสเคลื่อนที่จะไหลผ่านเฟสคงที่ในคอลัมน์ด้วยแรงดันหรือแรงโน้มถ่วง (gravity) • ตัวอย่างเทคนิค: gas chromatography (GC) • แบบแผ่น (Planar chromatography) • เฟสคงที่จะติดอยู่บนแผ่นเรียบหรือในรูพรุนของกระดาษ • เฟสเคลื่อนที่จะเคลื่อนผ่านเฟสคงที่ด้วยแรงแคพิลลารี (capillary action)หรือแรงโน้มถ่วง (gravity) • ตัวอย่างเทคนิค: paper chromatography (PC) column stationary phase flat plate
การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีตามการเคลื่อนที่ของสาร (sample development) การให้สารผ่านเฟสคงที่มีหลายแบบ ดังนี้ • Elution Chromatography • Frontal Analysis • Displacement Elution Frontal Displacement
A+B C C C+B C C+A C Elution Chromatography • การให้สารผ่านเฟสเคลื่อนที่แบบ Elution เป็นรูปแบบที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด • Elution Chromatography เป็นกระบวนการที่เฟสเคลื่อนที่ทำหน้าที่ชะสาร (solutes) จากเฟสคงที่และพาสารเคลื่อนที่ไปตามความยาวของเฟสคงที่ สารผสม Eluent
Elution ในคอลัมน์โครมาโทกราฟี เฟสเคลื่อนที่จะพาสารผ่านไปยังคอลัมน์ โดยสารประกอบแต่ละตัวจะมีอัตราการเคลื่อนที่บนเฟสคงที่ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการแยกของสารประกอบ สารตัวอย่างถูกผ่านเข้าในส่วนบนของคอลัมน์ Mobile Phase Sample A+B B A Packed column B A Detector t4 t0 t1 t2 t3 Signal A โครมาโทแกรม B Time
Distribution Isotherms • ไอโซเทอร์ม (isotherms)เป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ของการกระจายตัวของสารระหว่างเฟส 2 เฟสที่อุณหภูมิหนึ่ง ซึ่งแสดงโดยค่าความเข้มข้นของสารในเฟสทั้ง 2 • ไอโซเทอร์มจะแสดงว่าค่า Kจะเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเส้นตรงหรือไม่ เมื่อความเข้มข้นของสารตัวอย่างเปลี่ยนแปลง • Distribution Isotherm มีได้ทั้งที่เป็นเส้นตรงและเส้นโค้ง โดยที่พบทั่วไปมี • แบบเส้นตรง (Linear) - K is constant over all concentration ranges • แบบนูน (Convex) - K value changes to a higher ratio as concentration increases • แบบเว้า (Concave) - K value changes to a lower ratio as concentration increases
Cy Cy Cy Cx Cx Cx Distribution Isotherm กับลักษณะพีก แบบเส้นตรง (Linear)แบบนูน (Convex) แบบเว้า (Concave) พีกของโครมาโทแกรมที่ได้จาก Distribution Isotherm ต่างๆ จะมีลักษณะดังนี้ • Linear Isotherm - Symmetrical band/peak • Convex - Band/peak will have a sharpening front boundary and a diffuse rear boundary • Convex - Band/peak will have a diffuse front boundary and a sharpening rear boundary การแยกของโครมาโทกราฟี จะทำการวิเคราะห์ในช่วงที่ให้ Distribution Isotherm แบบเส้นเตรง เพื่อให้ได้พีกของโครมาโทแกรมแบบสมมาตร
ลักษณะพีก Gaussian shape Fronting Tailing
ลักษณะพีก (Peak Shapes) • ลักษณะพีกที่ต้องการคือแบบเกาส์เชียน (แบบสมมาตร) • ความกว้างของพีกที่ใช้เป็นข้อมูล สามารถวัดได้หลายแบบ ที่นิยมใช้กันมี • W or Wb – peak width at baseline • Wh– peak width at half height • ความกว้างของพีกเป็นตัวบ่งบอกที่สำคัญและใช้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของคอลัมน์และระบบของการแยก
พีกแบบไม่สมมาตร (Peak Symmetry) • ความสมมาตรของพีก สามารถหาได้จาก peak asymmetry factor, As • คำนวณโดยแบ่งความกว้างของพีกที่ความสูง 10% ของพีก เป็น 2 ส่วน (A และ B) โดยลากเส้นตรงแบ่งจากยอดพีกแล้วนำมาหาอัตราส่วนของทั้ง 2 ส่วน • ถ้า As = 0.9 – 1.1 Gaussian peak As > 1 Tailing peak As < 1 Fronting peak • ความไม่สมมาตรของพีก อาจบ่งบอกถึง peak overloading, การเกิด co-eluting, ความผิดปกติของเฟสคงที่ในคอลัมน์หรือปัญหาในการผ่านสาร (injection)
การบอกอัตราการเคลื่อนที่ของสารการบอกอัตราการเคลื่อนที่ของสาร อัตราการเคลื่อนที่ของสาร (Migration rate of solute) สามารถบอกได้หลายค่า ดังนี้ • Retention time, Retention volume - ใช้เป็นข้อมูลในการทำคุณภาพวิเคราะห์ • Linear flow velocity, Volumetric flow rate • Retention factor - นิยมใช้บอกและเปรียบเทียบการจับอยู่ของสารประกอบแต่ละชนิดในคอลัมน์หนึ่งๆ • Selectivity factor
Retention Time • Retention time, tR เวลาที่สารใช้ในการเคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์ นั่นคือจากต้นคอลัมน์ถึงจุดตรวจวัด (โดยปกติคือปลายคอลัมน์) • Dead time or hold-up time, tMor t0 เวลาที่เฟสเคลื่อนที่ใช้ในการเคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์ โดยปกติจะหาจากค่า retention time ของสารที่ไม่จับกับเฟสคงที่ (unretained compound) • Adjusted retention time, t'R เวลาที่สารใช้ในการอยู่กับเฟสคงที่จริงๆ โดย t‘R = tR - tM
Retention Volume นิยามคล้ายกับ retention time แต่เปลี่ยนจากเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของสารเป็นปริมาตรของเฟสเคลื่อนที่ที่ใช้ในการพาสารเคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์ • Retention volume, VR • ปริมาตรของเฟสเคลื่อนที่ที่ใช้ในการทำให้สารเคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์ • Holdup volume or dead volume, VM • ปริมาตรของเฟสเคลื่อนที่ที่ใช้ผ่านคอลัมน์ • Adjusted retention volume, V’R • Actual volume of MP spent by analytes in SP • V’R = VR - VM • สมการแสดงความสัมพันธ์กับค่า tR • VR = tR F (F = volumetric flow rate)
Linear Flow Velocity • Linear velocity เป็นค่าเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ของสารใน 2 มิติ โดยคำนวณจากค่าความยาวของเฟสคงที่ที่ให้สารผ่านหารด้วย retention time ของสาร • Average linear rate of solute, • Average linear velocity of mobile phase, u
Retention Factor • Retention factor, k‘เป็นการบอกถึงเวลาที่สาร (solute) ใช้อยู่กับเฟสคงที่เทียบกับเวลาที่เฟสเคลื่อนที่ใช้โดยคำนวณได้จาก • อัตราส่วนมวลของสาร (analyte masses) ในเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ • เป็นการวัดความสามารถของเฟสคงที่ในการจับยึดสาร (retain) • บางครั้งก็เรียก capacity factor
การพิจารณาทางทฤษฎีการแยกการพิจารณาทางทฤษฎีการแยก ในการแยกสารโดยเทคนิคโครมาโทกราฟีนั้น มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้การแยกได้ผลไม่ดี เช่น ได้แถบการแยกที่กว้าง พีกไม่เป็นแบบเกาส์เชียน หรือผลการแยกไม่เป็นแบบเส้นตรง ทฤษฎีที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ดีมีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ • ทฤษฎีเกี่ยวกับเพลต (Plate Theory) • ทฤษฎีนี้สามารถบอกถึงประสิทธิภาพของคอลัมน์ได้ดี แต่ใช้อธิบายพฤติกรรมของโครมาโทกราฟีได้ไม่ดีนัก • ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตราเร็ว (Rate Theory) • อธิบายปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อกระบวนการแยกทางโครมาโทกราฟี
Column performance A B B A Concentration Broadening Distance migrated
(L-1) (L+1) Number of molecules Analyte profile at end of packing L Distance migrated Sample in Packing L Detector Plate Theory • ทฤษฎีนี้สมมติว่าคอลัมน์แบ่งออกเป็นโซนๆ เรียกว่า theoretical plates โดยความสูงของแต่ละโซน เรียกว่า height equivalent to a theoretical plate, HETP หรือ H ซึ่งแต่ละชั้นจะเกิดสมดุลของการกระจายตัวของสารระหว่างเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ • การอธิบายด้วยทฤษฎีนี้จะเน้นถึงประสิทธิภาพของคอลัมน์ (column efficiency) ที่ทำให้อัตราการขยายตัวของแถบ (band) กว้างขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนที่ไปตามความยาวของเฟสคงที่ (ในคอลัมน์หรือแผ่นเรียบ)
ประสิทธิภาพคอลัมน์ • ประสิทธิภาพของคอลัมน์ (column efficiency) ที่ทำให้อัตราการขยายตัวของแถบ (band) กว้างขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนที่ไปตามความยาวของเฟสคงที่ (ในคอลัมน์หรือแผ่นเรียบ) บอกได้จาก • ความสูงของชั้น/โซน (Plate height: H) • จำนวนเพลตในคอลัมน์ (Plate count or number of theoretical plates: N) • คอลัมน์ที่มีค่า H ต่ำ จะดีกว่าคอลัมน์ที่มีค่า H สูง • ค่า N ยิ่งมีค่ามาก ประสิทธิภาพในการแยกก็จะดีตามไปด้วย • ค่า N และ H สามารถคำนวณได้จาก
tR Detector signal tM Time W การหาจำนวน plates การหาจำนวนเพลตสามารถคำนวณได้จากโครมาโทแกรม โดยใช้ค่า retention time และความกว้างของพีก ดังสมการ
ประสิทธิภาพคอลัมน์ • ประสิทธิภาพของคอลัมน์ นิยมบอกด้วยจำนวนเพลต, N ของคอลัมน์ • N มาก มีประสิทธิภาพในการแยกดี • ในการเปรียบเทียบคอลัมน์ที่มีความยาวแตกต่างกัน ค่า H จะบอกประสิทธิภาพของคอลัมน์ได้ดีกว่า
Rate Theory • อธิบายการขยายตัวของแถบ (bands) ที่กว้างขึ้นจากอุปสรรคของการถ่ายเทมวลระหว่างเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ อันเนื่องมาจากการแพร่กระจาย • ใช้หลักการของการแพร่กระจายแบบสุ่มมาอธิบาย (random-walk mechanism)
การขยายตัวของแถบ (band broadening) การกว้างขึ้นของแถบสารที่เคลื่อนที่ไปตามคอลัมน์ใน Rate Theory สามารถอธิบายได้จากสมการที่เรียกว่า Van Deemter Equationซึ่งแสดงสาเหตุต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อค่า H Van Deemter equation H = Plate height (cm) A = coefficient describing multi-path effects (eddy diffusion) B = Longitudinal diffusion coefficient u = linear velocity of the mobile phase (cm s-1) CS = Mass transfer coefficients for stationary phase CM = Mass transfer coefficients for mobile phase
Van Deemter Plot กราฟแสดงความสัมพันธ์ของ flow velocity กับค่า H จากผลของปัจจัยต่างๆ ใน Van Deemter Equation
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพคอลัมน์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพคอลัมน์
Eddy Diffusion: A • กระบวนการแพร่กระจายที่เกิดจากการมีวิถีในการเดินทางที่แตกต่างกัน เรียกว่า multiple path effect หรือ eddy diffusion • ในคอลัมน์โครมาโทกราฟีการแพร่กระจายแบบนี้มีผลมาจากลักษณะของอนุภาคที่บรรจุอยู่ในคอลัมน์ที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดช่องว่างที่ไม่สม่ำเสมอ เป็นผลให้ระยะทางในการเดินทางของสารในแต่ละวิถีแตกต่างกัน • ผลต่อค่า H จากการแพร่กระจายแบบ Eddy นี้ จะคงที่ ไม่แปรตามอัตราเร็วของเฟสเคลื่อนที่
Longitudinal Diffusion: B/u • Longitudinal diffusion หรือการแพร่กระจายแบบธรรมดา (ordinary diffusion) • การแพร่กระจายที่มีผลมาจากความแตกต่างระหว่างบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงกับบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำในทิศทางตามคอลัมน์ • การแพร่กระจายนี้จะขึ้นกับค่าสัมประสิทธิ์ของการแพร่กระจายในเฟสเคลื่อนที่ (DM = Diffusion coefficient) และมีผลต่อค่า H ลดลงเมื่ออัตราเร็วของเฟสเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น
8.0 0.4 7.0 0.3 6.0 H, mm H, mm 5.0 0.2 4.0 0.1 3.0 0.5 2.0 8.0 1.0 1.5 4.0 6.0 Linear flow rate, cm/s Linear flow rate, cm/s ผลจาก Longitudinal Diffusion Liquid chromatography Gas chromatography DM in gas are much greater than in liquid Longitudinal diffusion H B/u
การถ่ายเทมวล (Mass Transfer) • อุปสรรคของกระบวนการถ่ายเทมวล (mass transfer) เกิดจากความไม่สมดุลเฉพาะแห่ง (nonequilibrium effects) ที่มีสาเหตุมาจากอัตราการเกิดสมดุลตลอดคอลัมน์ที่แตกต่างกัน • การแพร่กระจายจากอุปสรรคของการถ่ายเทมวลเกี่ยวข้องกับเวลาที่โมเลกุลสารใช้อยู่ในเฟสทั้งสอง ซึ่งแยกได้เป็น 2 ส่วนคือ • Stationary phase mass transfer, CS • Mobile phase mass transfer, CM
Stationary Phase Mass Transfer: CSu • เป็นผลจากเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่เข้าและออกจากเฟสคงที่ โดยโมเลกุลที่แพร่เข้าไปในเฟสคงที่ได้ลึก จะทำให้ใช้เวลานานอยู่ในเฟสคงที่และเคลื่อนที่ลงมาตามคอลัมน์ในเวลาที่กำหนดได้ระยะทางสั้นกว่าโมเลกุลที่ใช้เวลาเคลื่อนที่เข้าและออกจากเฟสคงที่ไม่นานนัก • ผลจากพื้นผิวของของแข็ง: Csจะสัมพันธ์กับเวลาที่ใช้ในการ adsorbed หรือ desorbed • ผลจากเฟสคงที่ที่เป็นของเหลวที่เคลือบอยู่: Csจะแปรผันตรงกับความหนาของของเหลวที่เคลือบและแปรผกผันกับค่าการกระจายตัวของสารในเฟสคงที่ (Ds) Mobile phase df Ds
Mobile Phase Mass Transfer: CMu • เกิดจากอัตราการไหลของเฟสเคลื่อนที่ผ่านไปรอบๆ อนุภาคที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจาก • การไหลของโมเลกุลเฟสเคลื่อนที่ที่อยู่ตรงกลางจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าโมเลกุลของเฟสเคลื่อนที่ที่อยู่ใกล้กับอนุภาคของแข็ง • ความลึกของการเคลื่อนที่เข้าออกจากรูพรุนของอนุภาค • ค่า CMจะแปรผกผันกับค่าการกระจายตัวของสารในเฟสเคลื่อนที่ Stagnant mobile phase mass transfer
การเพิ่มประสิทธิภาพการแยกการเพิ่มประสิทธิภาพการแยก เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุต่างๆ ที่มีผลต่อค่า H ตาม Van Deemter Equation สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแยกให้ดีขึ้นได้ โดยการทำให้เทอมต่างๆ มีค่าน้อยลง
การเลือก (Selectivity) • Selectivity ของการแยกทางโครมาโทกราฟีจะบอกจากค่า separation factor หรือ selectivity factor, a • ค่า selectivity factor จะบอกถึงความชอบแบบสัมพัทธ์ของเฟสคงที่กับสาร 2 ชนิดที่ทำการแยก • ค่า aคำนวณได้จากอัตราส่วนของ retention factor ของสารที่ติดอยู่กับเฟสคงที่ได้นานกว่าต่อ retention factor ของสารที่ติดอยู่ได้แย่กว่า • โดยปกติจะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1
(tR)B (tR)A tM WA/2 WB/2 WB WA ค่าการแยก (Resolution: Rs) • ค่าการแยก (resolution) เป็นค่าที่บอกความสามารถในการแยกพีกของสาร 2 พีกที่อยู่ใกล้กัน • นิยามจากระยะห่างของพีกสารที่สัมพัทธ์กับความกว้างของพีก • จากนิยามจะได้ว่า ค่าการแยกของพีกสาร 2 พีกที่อยู่ใกล้กัน จะเท่ากับระยะห่างของพีกทั้งสองหารด้วยความกว้างเฉลี่ยของพีกทั้งสอง
ค่าการแยก • ค่าการแยกจะใช้ในการแสดงว่าการแยกสารจากโครมาโทกราฟีนั้นมีประสิทธิภาพในการแยกดีมากน้อยเพียงใด • ค่าการแยก (resolution) คำนวณได้จากสมการต่อไปนี้ จากโครมาโทแกรม ความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ ของการทดลอง
ค่า Resolution กับผลการแยก Signal Time
การเพิ่มประสิทธิภาพการแยกการเพิ่มประสิทธิภาพการแยก การเพิ่มค่าการแยกของสารสามารถทำได้ 2 วิธีคือ • การทำให้พีก 2 พีกอยู่ห่างกันมากขึ้น • การทำให้พีกมีความกว้างแคบลง การแยกเริ่มต้น Signal เพิ่มระยะห่างระหว่างพีก ลดความกว้างของพีก Time
ความสัมพันธ์ของค่า Rsกับปัจจัยต่างๆ Selectivity Efficiency Retention
ผลของค่าk, Nและa ต่อการแยก
ผลของค่าk, Nและa ต่อค่าการแยก
ปรับค่าอะไรหนอ (k, Nหรือa)